135. กลยุทธ์สู่ชัยชนะแบบธุรกิจระดับโลก

คอลัมน์  How to Win กลยุทธ์สู่ชัยชนะแบบธุรกิจระดับโลก ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ ศาสตราจารย์ประจำ และผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศวิจัยอาเซียน Deming Business School, W.H. Taft University, Colorado, USA www.demingbusinessschool.com 19 กุมภาพันธ์ 2557 ———– “บริษัทไม่เอาไหน ไม่สนใจคู่แข่ง บริษัทปานกลาง เลียนแบบคู่แข่ง บริษัทชั้นแนวหน้า ก้าวล้ำหน้าคู่แข่ง ” ฟิลิป คอตเลอร์และมิลตัน คอตเลอร์, หนังสือ 8 เส้นทางสู่ชัยชนะ                ผมสังเกตดูว่า ผมมักจะต้องมีเหตุเดินทางไปต่างประเทศเป็นประจำ และสม่ำเสมอ การเดินทาง ทำให้ได้เรียนรู้ ได้พบ ได้เห็น เรื่องราวใหม่ๆ ได้ข้อคิดใหม่ๆ  ได้พูดคุยกับคนใหม่ๆ ที่แตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา ความเชื่อ รวมถึงการศึกษา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผมทำงาน อยู่ในสายงานด้าน “การค้าระหว่างประเทศ”  […]

134. คาราบาวโมเดล

คอลัมน์  How to Win คาราบาวโมเดล ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ———– “แล้วยิ่งถ้าเราเกิดขึ้นมาเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง แต่เราไม่เคยพูดอะไรให้กับสังคม ก็เท่ากับว่าเราเป็นคนที่ไม่มีประโยชน์ ” ยืนยง โอภากุล, Thailand Cloning List                ยามใดที่รู้สึกเครียด ยามที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ในบางวันเวลาที่รู้สึกอ้างว้าง และอยากอยู่คนเดียวเงียบๆ เสียงเพลงเพราะๆ และเพลงที่มีความหมายดีๆ  ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในดวงใจของหลายคน ผมเองก็ชอบฟังเพลง และฟังได้หลายแนว ฟังได้ตั้งแต่ลูกทุ่ง สตริง ลูกกรุง ฝรั่ง ป๊อป ร็อก จีน ฝรั่งจนถึงเพลงเพื่อชีวิต ถ้าว่าถึงเพลงเพื่อชีวิตแล้ว  ผมว่าเพลงของวงคาราบาว จะเป็นเพลงโปรดและอยู่ในใจของหลายคน ผมเริ่มฟังเพลงคาราบาว ตั้งแต่อายุแค่หลักสิบขวบเศษ  เพลงที่ชอบและโดนใจวัยเด็กคือเพลง “ลูกหิน” ต่อด้วย “เมดอินไทยแลนด์”  “แม่สาย” และอีกหลายเพลง เพลง “หลวงพ่อคูณ” เพลง “สุรชัยสามช่า”  […]

133. รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

คอลัมน์  How to Win รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 3 กุมภาพันธ์ 2557 ———– “ความดีมีทุกโอกาส ความประมาทจะทำให้พลาดจากความดี ความดีไม่มีขาย  ใครอยากได้ต้องทำเอง ! ” พระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน), หนังสือ ธรรมะสปอตไลต์                เมืองไทยวันนี้ ใกล้เคียงกับซีเรีย และรัสเซีย ตอนประเทศใกล้ล่มสลายเข้าไปทุกขณะ บ้านเมืองยามใกล้จะแตก จะเกิดสภาวะ “อกแตก” คนจะแบ่งแยกชิงดีชิงเด่น  ริษยา ขัดแข้ง ขัดขา ขัดแย้ง แข็งข้อ ทะเลาะกันรุนแรง ไม่มีใครฟังใคร ไม่ต้องดูชาติใดให้ไกล ดูแผ่นดินอยุธยาตอนปลายก็พอ จะพบความคล้ายกันโดยบังเอิญว่า สยามยามจะเสียแผ่นดินนั้น ก็แยกออกเป็น ค่ายบางระจัน ก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าตาก ก๊กนครราชสีมา ก๊กนครศรีธรรมราช และหัวเมืองตะวันออกคือชลบุรีระยองจันทบุรี แง่คิดวันนี้คือ ต้องรู้วิชา และรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี […]

132. ชนะหรือแพ้อยู่ที่เคล็ดลับเคล็ดวิชา

คอลัมน์  How to Win ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์เชียงใหม่ธุรกิจ ตีพิมพ์ครั้งที่ 2  ที่ www.druthit.com ชนะหรือแพ้อยู่ที่ เคล็ดลับ เคล็ดวิชา ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 22 มกราคม 2557 ———– “ผู้ที่เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ว่ากรรมดีมีผลตอบสนองในด้านดีคือความสุขความสวัสดีแก่ผู้กระทำ กรรมชั่วมีผลตอบสนองในด้านที่ไม่ดีแก่ผู้กระทำ คือความทุกข์ความเดือดร้อน ย่อมเป็นผู้รู้จักหลีกเลี่ยงการทำกรรมชั่ว ขวนขวายทำกรรมดี กรรมดีก็คือบุญนั่นเอง ” ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์, หนังสือ “บุญคืออะไร”                บ้านเมืองยามนี้ กำลังใกล้ลุกเป็นไฟ แผ่นดินกำลังร้อนระอุ ด้วยไฟกิเลสคืออำนาจและเงินตรา ประเทศอิสราเอล สถานการณ์ก็ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกับเมืองไทย นั่นคือ คนในชาติแบ่งแยก แตกแยกทางความคิด ระหว่างยิว-ปาเลสไตน์-อาหรับบางส่วน แต่ในที่สุดแล้ว อิสราเอลก็ยังยืนหยัดอยู่มาได้ ท่ามกลางกระบอกปืนและอาวุธร้ายแรงรุนแรงนานาชนิดที่อาหรับอีก 16 ชาติจ่อปากกระบอกปืนมายังอิสราเอลพร้อมลั่นไกพร้อมรบพร้อมยิงกันทุกเมื่อ ปัญหาเมืองไทยคือดวงเมือง เหมือนพม่าที่ต้องย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ แล้วทุกอย่างก็สงบ แต่ใครกล้าที่จะลุกขึ้นมา “ย้ายเมืองหลวง” เพื่อแก้ […]

131. มีดีต้องอวด แต่อย่าอวดดี

คอลัมน์  How to Win มีดีต้องอวด แต่อย่าอวดดี ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 7 มกราคม 2557 ———– “เงินอาจซื้อความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตได้ แต่เงินซื้อความสุขไม่ได้  เหมือนคนเราซื้อหนังสืออ่านได้ แต่ซื้อความรู้ไม่ได้  เพราะความสุขเป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ใช่เรื่องของการมีหรือไม่มีวัตถุ” พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี                ปีใหม่ พุทธศักราช 2557 ขออวยพรให้ทุกท่านที่อ่านบทความนี้ติดต่อกันมาย่างเข้าปีที่ 5 จงเปี่ยมล้นด้วย “พลธรรม 5” พลังอำนาจแห่ง “ศรัทธา” มีความเชื่อในสิ่งที่ชอบและใช่ ดำเนินชีวิตปกติสุข ด้วยความสงบ สันติ เรียบง่ายด้วยพลังอำนาจแห่ง “ศีล” ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความสุขุม ระมัดระวัง ละเอียด รอบคอบ ไม่นำตนเข้าสู่สภาวะเจ๊งเจ็บจนด้วย “สติ” มีความตั้งใจแน่วแน่ ทุ่มเทเอาใจใส่ พร้อมที่จะเผชิญและแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วย “สมาธิ” สำคัญที่สุดคือการใช้ความรู้ภาคทฤษฎี-ปฏิบัติ-จิตวิญญาณ-ประสบการณ์นำพาตน และองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคตด้วย “ปัญญา” […]

130. อกตัญญู เนรคุณ ทรยศ หักหลัง

วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2556 ———– “ถึงหากจะยกแผ่นดินทั้งหมดให้แก่คนอกตัญญูที่คอยจ้องจับผิด ก็หาได้ทำให้คนอกตัญญูยินดีด้วย”                                                            ธัมมปทัฏฐกถาแปล, หน้า ๑๙๙                ปลายปี 2556 วันคืนที่อากาศหนาวเหน็บ หนังสือที่ผมหยิบอ่านเป็นประจำในห้วงเวลานี้ นอกจากแนววิชาการแล้วนั่นคือ “หนังสือธรรมะ” โดยเฉพาะเรื่องราว “ความอกตัญญู” เป็นประเด็นที่ผมสนใจศึกษาค้นคว้าเป็นพิเศษ ธรรมะ เป็นเรื่อง “นามธรรม” แต่บุคคลที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน เป็น “รูปธรรม” ทีผมสนใจศึกษาชีวิตและธรรมะ ยังคงเป็นบุรพกษัตริย์ไทยในอดีต โดยเฉพาะเรื่องราวของ “มหาราช” แต่ละพระองค์ ซึ่งล้วนประสบพบพานชะตากรรมกับคนรอบตัวที่ “อกตัญญู เนรคุณ ทรยศ หักหลัง” คนเหล่านี้ ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ดีต่อหน้า ด่าว่านินทาใส่ร้ายป้ายสีเสียดสีลับหลัง  จ้องจับผิด หาเรื่องเดือดร้อนวุ่นวายตลอดเวลา เป็นเรื่องราวเล่าขานเป็นตำนานในประวัติศาสตร์ ทั้งเรื่องราวที่ “มอญ” หักหลังหลอกลวง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” จนเกือบถูกลอบปลงพระชนม์ โชคดีที่ “คุณพระช่วย” ได้พระมหาเถรคันฉ่อง ช่วยเหลือเอาไว้ ให้ตาสว่าง […]

128. กิจกรรมการศึกษาดูงานในต่างประเทศ

กิจกรรมทัศนศึกษา “กำแพงเมืองจีน” วิเคราะห์ความสำเร็จ “การสร้างกำแพงเมืองจีน” จนถึง “การสร้างคน” และ “การสร้างชาติ” จนกลายเป็นมหาอำนาจของจีน China มาจากคำสองคำคือ  “Center” กับ “Country” Dr. Michael Ha จาก Xi’an Jiaotong Liverpool University อธิบายให้ฟังว่าคำว่า “จีน” มาจาก 2 คำคือ “จ้ง Zhong” และ “กว๋อ GUO” แปลว่า “จีนเป็นศูนย์กลางแห่งโลก” (Middle Kingdom) เหตุผลที่อังกฤษใช้ China แต่คนไทยเรียก “จีน” เพราะ “จิ๋นซีหวาง” (จิ๋นคืออาณาจักร, ซีคือการเริ่มต้น, หวางคือจักรพรรดิ) คือ “จักรพรรดิองค์แรกที่สามารถรวบรวมอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ” การได้ไปยืน  เดินมอง เห็น “กำแพง” เมืองจีนสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ด้วยสายตาแล้ว ได้แง่คิด “การบริหารจัดการ” ต่างๆ กลับมามากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษา การศึกษาที่ทันสมัยและใหม่ตลอดเวลาต้องใช้ “IQ, […]

127. ยิ่งฝึกยิ่งเก่ง จริงหรือไม่?

ยิ่งฝึกก็ยิ่งเก่ง จริงหรือไม่? ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2556 —- “เราทุกคนล้วนมีความเก่งกาจอยู่ในตัว เราไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะพัฒนาความเก่งกาจให้ได้อย่างเต็มศักยภาพ”                                                             Daniel Coyle : The Little Book of Talent (2012) งานวิจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระดับโลก กำลังสนใจวิเคราะห์การทำงานของเซลล์ประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “สมอง” เพื่อค้นหาคำตอบว่าอะไรคือปัจจัย อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนเราเก่งกาจ ผลการวิจัยล่าสุดค้นพบความจริงว่าคนเก่งหรืออัจฉริยะส่วนใหญ่คือคนที่ช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่ง ของชีวิตได้พบพานได้ทำงานใกล้ชิดคนเก่งจนเกิดแรงบันดาลใจและแรงจูงใจที่จะเป็นอย่างนั้น “ช่วงจุดประกาย” ดังกล่าวก่อเกิดความคิดเล็กๆ แวบเดียวแต่ทรงพลังที่ผุดขึ้นมาในจิตใต้สำนึกว่า “เขาทำได้เราก็ทำได้”  ทฤษฎีดังกล่าว สร้างคนให้สำเร็จได้รุ่นแล้วรุ่นเล่า รายแล้วรายเล่า ไมอีลินเป็นฉนวนหุ้มใยประสาทในสมองคนเราคล้ายกับเทปพันสายไฟ มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้กระแสประสาทสัมผัสผ่านไปได้เร็วขึ้นเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที ในรอบร้อยปีเศษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์มองว่าไมอีลินและเซลล์ประสาทที่กี่ยวข้องกับสมองไม่มีหน้าที่ อะไร เป็นเพียงแค่เยื่อหุ้มใยประสาทสมองคนเฉยๆ ทว่าเป็นความเข้าใจผิดมหันต์ เพราะไมอีลินเติบโตตามสัญญาณประสาทที่ได้รับนั่นคือ “การฝึกฝน” งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดค้นพบว่าไมอีลินจะเพิ่มจำนวนมากมายตามชั่วโมง ที่คนเราฝึก พูดให้ฟังง่ายๆ ยิ่งฝึกฝนฝึกหัดเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเท่าใด […]

ทฤษฎี แนวคิด ปรัชญา นวัตกรรมการจัดการและการตลาด

รวมทฤษฎีแนวคิดปรัชญานวัตกรรม การจัดการและการตลาด ที่ ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิด 4ท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่นี่ แนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่ พลังอำนาจทั้ง 6 และต้นแบบการทำโครงการระดับประเทศให้สำเร็จลุล่วง 6 Powers & Deal Maker ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านนิตยสาร MBA ฉบับเดือนมกราคม 2553 รายละเอียดฉบับเต็ม คลิกดาวน์โหลดอ่านฟรีได้ที่นี่ http://www.druthit.com/uploads/files/6Powers.DealMakerModel.pdf

1 12 13 14 15 16 27