๒๕๙. ข้ออรรถ ข้อธรรม “อุดมคติ เรื่อง พุทธานุวัตร”

๑๔.๔.๒๕๖๗

ข้ออรรถ ข้อธรรม

“อุดมคติ เรื่อง พุทธานุวัตร”

อุทิส ศิริวรรณ

เขียน

 


——————-——–
เกิดเป็นคน ควรมีอุดมคติ มีอุดมการณ์
มีปณิธาน มีเป้าหมาย ที่ชัดเจน

ในทางธรรม สรุปสั้น
คนเรา มีผลประโยชน์

ต่างตอบแทน
– เพื่อตน
– เพื่อญาติ
– เพื่อส่วนรวม

คนไหนที่กอบโกย ก้มหน้าก้มตา
ทำงานเพื่อตนและญาติ
พอตายลง สังคมก็ลืม กลายเป็นคนไม่สำคัญ

ส่วนคนที่สมดุล ทำเพื่อตนและส่วนรวม
ตายลงไป คนจะจดจำได้ ในรายที่ทำเพื่อส่วนรวม
เป็นผลงานยิ่งใหญ่ มีคุณค่าต่อคนในวงกว้าง

เช่น พระเจ้าอโศก ละร่างไปนับพันปี คนก็ยังไม่ลืม

เลือกได้ พิจารณาเอาเอง อยากเป็นคนแบบไหน

แต่ส่วนมาก ไม่ค่อยมีเวลาเลือก เพราะงานเฉพาะหน้ารึงรัดตัว
ทำให้หมดเวลา กระทั่งคิด ยังไม่มีเวลาคิด

——————–
พุทธานุวัตร แปลตรงตัวว่า
หมุนไปตามพระพุทธเจ้า
การที่มีคนหลายร้อยล้านคน
เลื่อมใส ศรัทธา พระพุทธเจ้า
เพราะความคิดอ่าน คำสอน และการกระทำ

เป้าหมายมนุษย์ทั่วไป ทุกวันนี้ มี ๒ แบบ
– อุดมคติ จากความไม่มีสู่ความมั่งมี
– อุดมคติ จากความมั่งมี สู้ความไม่มี
พุทธานุวัตร เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า คือแบบหลัง
อุดมคติ จากความมั่งมี สู่ความไม่มี

—————-
ข้อสังเกต พระพุทธเจ้า กล้าที่จะใช้ชีวิต
ท้าทายขนบความเชื่อเก่า หลายเรื่อง
บางเรื่อง ทำได้สำเร็จ  เช่น หลัก อัตตา หิ อัตตโน นาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่ต้องเชื่อนักบวช พราหมณ์ บูชายัญ
บางเรื่อง ยังเป็นปัญหาจนบัดนี้ เช่น วรรณะ
ซึ่งเมืองแขก ยังแก้ไม่ตกประเด็นวรรณะ

———–
พุทธานุวัตร ที่น่าสนใจคือ ไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิต
การตัดสินใจ เลือกใช้ชีวิต “ภิกษุ” ที่แปลว่า
ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร หรือ ผู้เที่ยวขออาหารคนเลี้ยงชีพ
น่าสนใจตรงที่ ใช้ผ้า “บังสุกุล” คลุกฝุ่น ที่คนไม่ใช้กัน
และใช้เพียงแค่ ๓ ผืน สบง อังสะ จีวร มีรัดประคตเอว แทนเข็มขัด
เครื่องมือหากิน มีแค่บาตรใบเดียว
ยุคแรกเคร่ง ไม่สวมรองเท้า
มาอนุญาต อนุโลมภายหลัง
———-
พระพุทธเจ้า มีคำสอนที่น่าเจริญรอยตามอยู่ข้อคือ
-ไม่ให้สะสม งดสะสม ห้ามสะสม
โดยเฉพาะ ทรัพย์สินมีค่า เช่น เงิน ทอง เงินสด
วิชา “บาตรเปล่าใบเดียว” ของพระพุทธเจ้า น่าขบคิด

เพราะพบว่า ภายหลัง พระภิกษุ ที่เจริญรอยตาม

ใช้แค่บาตรใบเดียว ทว่า อาหารไม่เคยพร่อง

และมีอติเรกลาภ ที่คนนำมาถวาย ล้นเหลือ เหลือเฟือ
ด้วยเพียงแค่บาตรใบเดียว และเครื่องแบบคือผ้า ๓ ผืน

ชุดเดียว โลว์คอสต์ ประหยัด เรียบง่าย ดูดี แต่สะอาด
————–

อาหารขบฉัน เครื่องดื่ม มีที่ห้ามไว้ชัดเจน และที่อนุญาต

อ่านได้ในหมวดวินัยปิฎก ตอนว่าด้วยปาติโมกข์

คำสอนที่เป็นอมตะ สองพันหกร้อยปี เกือบถึงสามพันปี

คือ บาลี คำสอนพุทธดั้งเดิม ที่มีเคล็ดวิชาคือ

สอนให้ยกระดับจิตถึงระดับ “วิมุติ” แปลว่าหลุดพ้นจากทุกข์

เป็นสุดยอดวิชา ที่ฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยทั่วไปไม่ได้สอน

ยกเว้นสายบริหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่มีการเรียนการสอนคล้ายกันคือหลักอริยสัจ

– ทุกข์ = ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

– สมุทัย = การทบทวนเอกสาร

– นิโรธ = ระเบียบวิธีวิจัย

– นิโรธคามินีปฏิปทา = ข้อค้นพบ สรุป อภิปรายผล

———————————-

พุทธานุวัตร ที่น่าสนใจคือ “การทำตัวจน”

คนทั่วไป จะชอบภาพลักษณ์ ปอนๆ มอซอ ยากจน

อย่างภาพลักษณ์ มหาตมะ คานธี

ภาพพระนักปฏิบัติ อย่างครูบาศรีวิชัย

แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ชอบภาพลักษณ์

พระแบบพระสังข์กัจจายน์ อ้วนพี ยิ้มแย้ม ใจดี อิ่มหมีพีมัน

หัวเราะ สนุกสนาน เบิกบาน ร่าเริง อารมณ์ดี

วงการชนชั้นสูง

ชอบพระมีสมณศักดิ์ พัดยศ ตำแหน่งใหญ่โต

ที่ชอบพระวัดป่า สายกรรมฐาน ก็มีผสมผสาน

นานาจิตตัง

———————–
พุทธานุวัตร ที่โดดเด่น คือ ไม่เก่งคนเดียว ไม่ดีคนเดียว
ไม่เด่นคนเดียว ไม่ดังคนเดียว แต่มีชื่อเสียงที่คนร่ำลือแบบ
“ยกทีม” ทำงานกันเป็นทีม

ข้อสังเกต เวลาจะไปในที่ทุรกันดาร ยากลำบาก
พระพุทธเจ้าวาน “พระสิวลี” ที่ทำบุญมาดี ด้านทานบารมี
ให้ร่วมทางไปด้วย

สะท้อนการทำงานเป็นทีม ของพระพุทธเจ้า

===========================

นอกจากนี้ พระพุทธเจ้า ยังทรงตั้งตำแหน่ง เอตทัคคะ
เป็นยอดสูงสุดกว่าพระรูปอื่นๆ ในสาขานั้นๆ เช่น
พระมหากัจจายนเถระ
เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิศดาร

พระสีวลี
เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก

พระมหาโกฏฐิตเถระ
เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา 4 (แตกฉานในอรรถ-ธรรม-นิรุตติ (ภาษา)-ปฏิภาณ)

พุทธานุวัตร ที่น่าสนใจคือ ตำแหน่งเอตทัคคะ
ชาววัดวาอาราม ต้องพยายาม ยกย่อง พระและสามเณรที่มีผลงานโดดเด่น
ด้านต่างๆ เป็นเอตทัคคะ ในยุคดิจิทัล

เอตทัคคะ เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทะเจ้าทรงแต่งตั้งให้พุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่นๆ ในด้านนั้นๆ และควรทราบว่าแต่ละตำแหน่ง พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งเพียง ท่านเดียวเท่านั้น

 

 

เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัททั้ง ๔ ไว้ในตำแหน่ง คือ

 

๑. ได้รับการยกย่อง ตามเรื่องที่เกิดขึ้น (อัตถุปปัตติโต) ได้แสดงความ สามารถให้ปรากฏโดยสอดคล้อง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

๒. ได้รับการยกย่อง ตามที่ได้สะสมบุญมา ในอดีตชาติ (อาคมนโต) ได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมาตั้งแต่อดีตชาติ พร้อมทั้งตั้งจิตปรารถนา เพื่อบรรลุตำแหน่งนั้นด้วย

 

๓. ได้รับการยกย่อง ตามความเชี่ยวชาญ (จิณณวสิโต) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ

 

๔. ได้รับการยกย่อง ตามความสามารถเหนือผู้อื่น (คุณาติเรกโต) มีความสามารถในเรื่องที่ทำ ให้ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเหนือกว่าผู้อื่น ที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน

=========================
พุทธานุวัตร ที่ควรเจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ยังมีอีกหลายเรื่อง
ที่ผมประทับใจที่สุด คือ หลักคำสอน “อัปมาทธัมมะ”
จงใช้ชีวิตอยู่อย่างคนไม่ประมาท
คนที่ประมาท เหมือนคนที่ตายแล้ว

ดังนั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ การจะทำตามอุดมคติ
คือพยายามสร้างตัวให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น

พอมีฐานะดี มีเงินเหลือกินเหลือใช้ ก็แบ่งปัน ตามกำลัง
ทำบุญแบบเรียบง่าย ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน
– ให้ทาน ตามกำลัง ทำเท่าที่สบายใจ วัดไหนๆ ก็ทำได้
– ศีล รักษาศีล ๕  สมาทานไว้ตลอดเวลา ไม่ให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย
– ภาวนา เจริญสติ นั่งสมาธิ ทำภาวนา กำหนดนับลมหายใจเข้าออก
ในวันเวลาที่พอเหมาะพอควร
 

 

Comments

comments