๒๔๓. ข้ออรรถ ข้อธรรม “การวิจัยซ้ำผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง”

๒๖.๙.๒๕๖๒
ข้ออรรถ ข้อธรรม
“การวิจัยซ้ำ
ผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง”


อุทิส ศิริวรรณ
เขียน 

——-

เวลานี้
นักวิจัย
ฝรั่งตะวันตก
กำลังทดสอบ
เพื่อหาหลักฐาน
ยืนยันว่า
ทฤษฎีการฝึกฝน
การฝึกหัด
การฝึกซ้อม
การฝึกอบรม
อย่างน้อย
๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง
จึงจะผ่านการรับรองผลว่า
สิ่งที่ทำลงไป
สำเร็จ สำเร็จ สำเร็จ
พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีจริงหรือไม่?

ประเด็นวิจัยดังกล่าว
สืบเนื่องจาก
แนวคิด ๒ แนวคิดที่ปะทะกัน
ระหว่าง
การเรียนรู้โดยธรรมชาติ
คือลองผิดลองถูกก็เป็นเอง
กับอีกแนวคิด
คนจะมีความรู้ความสามารถได้
ต้องผ่านกระบวนการ
และขั้นตอนการฝึกฝน
ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ฝึกหัด และฝึกหนัก
จึงจะเป็นคนเก่ง

คำตอบล่าสุด
น่าสนใจ

ผลการวิจัยโดยทดสอบซ้ำพบว่า
บางวงการ
ฝึกแค่ ๒๐๐ ถึง ๕๐๐ ชั่วโมง
ก็เก่ง

บางอาชีพอย่างวงการกีฬา
ต้องฝึกซ้อม
อย่างน้อย ๒ ถึง ๔ พันชั่วโมง

อย่างวงการนักบิน
ปกติทั่วไปฝึกบินประมาณ ๒๐๐ ชั่วโมง
หลักสูตรการบินทั่วไป
ค่าเล่าเรียน ๓ ล้านบาท
เฉพาะค่าฝึกบิน ๒ ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายฝึกบิน
ชั่วโมงละหมื่นบาท
ถ้าจะบินได้ถึงหมื่นชั่วโมง
ก็ต้องหาเงินมาจ่ายค่าฝึกเรียนฝึกบิน
ถึง ๑๐๐ ล้านบาท

ดังนั้น
ชั่วโมงบินสี่พันชั่วโมงขึ้นไป
นักบินที่มีชั่วโมงบินระดับนี้
ค่าตัวหกแสนถึงหนึ่งล้านบาทไทย

ที่จะฝึกซ้อมจนถึง
๑ หมื่นชั่วโมง
พอจะเก็บตัวอย่าง
คนที่ฝึกซ้อมหนักจนถึงขั้นหมื่นชั่วโมงจริงๆนั้น

ต้องใช้เวลาฝึกต่อเนื่องนานหลายปี

และไม่มีกลุ่มตัวอย่างให้ควบคุม
ทดลองปฏิบัติการจริง

——-

ทว่าก็ได้รับข้อค้นพบบางประการ
คือทักษะที่จะเกิดจากการฝึก

บางวงการ
องค์ความรู้ขั้นพื้นฐาน
ผู้เรียนจะใช้เวลาฝึกเท่าเทียมกัน
ไม่แตกต่างกัน

คือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ไม่แตกต่างกันมาก

ทว่าบางวงการ
ยิ่งฝึกถึงขั้นกลางและขั้นสูงสุด

ยิ่งพบความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คือพบความจริงว่า
คนเรา
บุญวาสนา
ไม่เท่ากัน
มีความแตกต่างกันจริง
ระหว่างคนเก่งจริง
กับคนที่โง่จริง

ระหว่างคนที่เรียนรู้งานเร็วกว่า
กับคนที่เรียนรู้งานได้ช้ากว่า

ระหว่างคนหัวไวกว่า
กับคนที่คิดช้ากว่า

———

มองย้อนกลับมาใน
วงการเมือง การเศรษฐกิจ การสังคม
การเทคโนโลยี การแพทย์ การศึกษา
การศาสนา การเรียนภาษา
การค้าขาย

ในกลุ่มคนชาติอาเซียนต่างๆ
น่าจะมีการเก็บข้อมูลทำวิจัย

หรือแม้กระทั่งในเมืองไทย

ความเหมือน
ความต่าง
ในการคิดอ่าน
ของคนในแต่ละชนชั้น
ชั้นคนมีการศึกษาสูงๆ
ชั้นคนรวย
ชั้นคนจน

หรือความคิดอ่าน
คิดแบบนักการเมือง
คิดแบบนักกฎหมาย
คิดแบบนักการแพทย์
คิดแบบนักวิศวกร
คิดแบบนักเทคโนโลยี
คิดแบบนักบวช
คิดแบบครู
คิดแบบอาจารย์
คิดแบบนักวิจัย
คิดแบบนักวิชาการ
คิดแบบนักบัญชี
คิดแบบนักการตลาด
คิดแบบนักขาย
คิดแบบนักธุรกิจ
คิดแบบพ่อค้า
คิดแบบคนเป็นพ่อแม่
คิดแบบเด็กๆ
คิดแบบสัตว์ดิรัจฉาน
คิดแบบสัตว์นรก
คิดแบบเปรต
คิดแบบอสุรกาย
คิดแบบมนุษย์ใจสูง
คิดแบบเทวดา
คิดแบบพรหม
คิดแบบสากล
คิดแบบแท็กซี่
คิดแบบลูกน้อง
คิดแบบเถ้าแก่
คิดแบบคนมีสี
คิดแบบคนมีเส้น
คิดแบบคนโสด
คิดแบบคนมีคู่
คิดแบบคนมีกิ๊ก
คิดแบบกิ๊ก
คิดแบบพยาบาล
คิดแบบคนขายประกัน
คิดแบบคนชายตรง
คิดแบบคนชอบยืมเงิน ติดเงิน แล้วเบี้ยว
คิดแบบคนเป็นหนี้แต่รับผิดชอบสูงใช้หนี้
คิดแบบคนเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ
คิดแบบคนเอาแต่ได้คนเห็นแก่ตัว
คิดแบบคนเมือง
คิดแบบคนบ้านนอก
คิดแบบนักท่องเที่ยว
คิดแบบคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม
คิดแบบคนเข้าวัดจับผิดพระ
คิดแบบคนมีอัตตาสูง
คิดแบบคนไม่ยึดติด
คิดแบบคนนิสัยดี
คิดแบบคนนิสัยเลว
คิดแบบคนอารมณ์ดี
คิดแบบคนคิดลบคิดร้าย
คิดแบบขี้ยา
คิดแบบคนคุก
คิดแบบคนโกง
คิดแบบนักเล่นพนัน
คิดแบบคนติดเกม
ฯลฯ

ซึ่งความคิดอ่าน
ที่หลากหลาย
และแตกต่าง
ถ้าวิจัยและทดสอบ
การวิจัยซ้ำ
ผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง

น่าจะเป็นประโยชน์
โดยเฉพาะ
ปัญหาสังคม
ทั้งด้านหนี้สิน
และคนที่ขยัน
มุ่งทำมาหากิน

——-

ผมอ่านงานวิจัยนี้จบ
นึกถึง
“ผลกระทบนักบุญมัทธิว”
ที่ว่า
“รายที่รวย ก็จะรวย รวย รวย
รายที่จน ก็จะ จน จน จน”

คล้ายความเชื่อ
“กรรมเก่า”
เลยไม่กล้าคิด
ไม่ทำอะไร
กลัวการเปลี่ยนแปลง
อะไรก็โทษ
และยกให้
เป็นเรื่องของ
เจ้ากรรมนายเวร
พรหมลิขิต
พระเจ้าดลบันดาล

ทฤษฎีการฝึกหนึ่งหมื่นชั่วโมงขึ้นไป
น่าทดสอบ
กลุ่มตัวอย่าง ๒ กลุ่ม

กลุ่มแรก
คนยิ่งรวย
หยิบจับอะไร
ก็เป็นเงินเป็นทอง
อยากได้อะไร
ก็เหมือนลอยในอากาศ
คว้าอากาศเปล่า
มาลงกระดาษเปล่า
แปลงความคิดอ่าน
เป็นเงินสดได้
เปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นพันธกิจได้
เขียนแผนเขียนโครงการเป็น
บริหารคนบริหารเงิน
บริหารเวลา
บริหารงาน
บริหารโชคชะตาเป็น
ก็รวยเอาๆ

อีกกลุ่ม
คนยิ่งจน
ก็ยิ่งเจ๊ง
ขยับตัวทำอะไรก็เจ็บ
สุดท้าย
กลับมาจนเหมือนเดิม

เลยติดกับดัก
กฎแห่งกรรม

——-

แต่ผมเล่า
จากที่ตาเห็น
พูดแล้วจะขัดใจ
แต่เป็นความจริง

คือถ้าในแง่ค้าขาย
หัวเซ็งลี้ ทำกำไร
ต้องคนเชื้อจีน

หัวหมอทางกฎหมาย
คดีความ
ต้องคนทางปักษ์ใต้
เรียนกฎหมายกันดี
แต่ตอนหลัง
สูสีกับคนอีสาน

ทว่าตัวเลขสถิติ
คนที่รับราชการและตำแหน่งใหญ่โต
ส่วนมากเป็นคนใต้

อาจต้องใช้ทฤษฎี
คาดเชือกวัวชน
คือเป็นคนมีน้ำอดน้ำทน
เพราะภัยธรรมชาติ

แต่ถ้าที่เมืองจีน

ครั้งหนึ่ง
ผมไปประชุมวิชาการ
นั่งฟังทฤษฎี
คนจีนตอนใต้
กับคนจีนตอนเหนือ

มีข้อค้นพบว่า
คนจีนตอนเหนือ
อย่างคนเกิดแถวปักกิ่ง
จะสำเร็จในระดับสูง
เป็นเจ้าคนนายคน
ยิ่งกว่าคนจีนตอนใต้
อย่างคนไหหลำ

——-

ในทางพุทธศาสนา
มีคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
เรียก มงคลสูตร ๓๘ ประการ

ผมประทับใจข้อว่า
“ทำบุญมาดี”
คือกินบุญเก่า
ตรงกับพระบาลีว่า
ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
สะท้อนว่า
ถ้าคิดอ่าน
ฝึกฝน
ฝึกซ้อม
ฝึกอบรม
ฝึกหัด
ตรงกับ
“บุญเก่า”

จะทำอะไรก็รุ่ง
และราบรื่น

ดังนั้น
จึงเกิดมี
โหราศาสตร์
ดูดวงดาว
เคราะห์ดีเคราะห์ร้าย
โชตชะตา
ความเป็นอนิจจังแห่งชีวิต

ศาสตร์ดูกลุ่มเลือดญี่ปุ่น
พิจารณาความถนัด

ศาสตร์ฮวงจุ้ยจีน
ย่นย่อความสำเร็จ

ศาสตร์ตัวเลข
แบบอียิปต์โบราณ
พิจารณาถอดรหัส
ชื่อสกุลออกมาเป็นตัวเลข
แล้วทำนายอนาคต

จีน ญี่ปุ่น
ก็เชื่อเลข 8
ว่ามั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน

คนไทยก็เชื่อเลข ๙
ว่าสูงสุด
เขียนเป็นเลขไทย
ปลายหางเลขที่ตวัด
จะมองภาพออก

เป็นต้น

เมืองไทยเอง
ชนชั้นสูง
ที่มีการศึกษาสูง
มีตำแหน่งสูง
จึงให้ความสำคัญ
กับโหราศาสตร์
พยากรณ์ศาสตร์
ไม่ต่างจากนานาชาติ

ยกตัวอย่าง
นพเคราะห์
ทางพราหมณ์
พอมาถึงล้านนา
ก็ปรับเปลี่ยน
กลายเป็น
คาถาชินบัญชร

และหากศึกษาพระไตรปิฏก
เชิงเปรียบเทียบกับ
พราหมณ์และเชน

ก็จะพบความน่าทึ่งของคำ ๓ คำ

อิทธิปาฏิหาริย์ การใช้พลังเหนือธรรมชาติ
อาเทสนาปาฏิหาริย์ การอ่านใจคน
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หลักธรรม
ที่คิดอ่านแล้วสำเร็จ

——-

เอาที่ง่ายๆ
อย่างจะเอาเงินคนอื่นมาใช้
อย่างจะกู้เงินธนาคาร
ต่อให้เป็นหมอ เป็นวิศวกร
ก็คิดอ่านเอาเงินออกจากธนาคารไม่ได้

แต่ถ้าคุยกับคนจบทางบริหารธุรกิจ
คนที่เขียนและทำแผนธุรกิจเป็น

จะเอาเงินออกจากธนาคารได้

ยิ่งรวยมาก
แบงก์ก็ปล่อยกู้จำนวนมาก
และพอสะสมเงินได้จำนวนหนึ่ง
ก็คิดอ่าน
สร้างธุรกิจเป็นระบบ
เอากิจการเข้าตลาดหุ้น
ระดมทุนได้เอง
ไม่ผ่านแบงก์
ต้นทุนค้าขายคือดอกเบี้ยต่ำกว่าคนปกติ
อย่างซีพี 7-11 แม็คโคร
ปตท.
รายใหญ่ แทบไม่พึ่งพาระบบธนาคาร

กลับกัน
ยิ่งจน
ยิ่งเสียเปรียบ
คนจนส่วนมาก
ต้นทุนการเงินสูง
เลยพึ่งพาเงินนอกระบบ
เป็นสัจธรรม

โรคซึมเศร้า
หลักๆ
เกิดจาก
หนี้สิน

ธัมมะ
ที่จะเปลี่ยนใจคนได้
คือคำสอน
เรื่องความขยัน

คนที่ขยัน
และเติม
ความคิดอ่าน
ความฝัน
ความหวัง
และอยู่อย่าง
มีจินตนาการ
จะไม่ซึมเศร้า
จะไม่เครียด
จะไม่เกิดอารมณ์ชั่ววูบ
ฆ่าตัวตาย

คำสอนให้คนขยัน
การฝึกอบรมคน
ยังขาด
ในส่วนของ
การสอนคนให้กล้า
คิดเป็น
คิดสร้างสรรค์
คิดแบบคนมีความใฝ่ฝัน
คิดแบบมีความหวัง
และคิดแบบมีจินตนาการ

ซึ่งญี่ปุ่น
ก็สอนจนมีครบ
ทุกสิ่ง
แต่ทำไม
คนจึงฆ่าตัวตาย

สิ่งหนึ่งที่สังคมญี่ปุ่นเผชิญ
คือ “สบาย” จนเกินไป

ผมสังเกต
ภูฏาน
คนไม่ฆ่าตัวตาย
เพราะกษัตริย์ภูฏาน
สอนให้คน
อยู่กับธรรมชาติ

คำสอนเรื่อง
สันโดษ
คือยินดีพอใจ
สิ่งที่ได้
สิ่งที่ดี
สิ่งที่มี
สิ่งที่เป็น
แค่ไหน
แค่นั้น
ไม่ต้องคิดอะไรมาก

ไม่ต้องซ้ำเติมกัน
ในวันที่ล้มเหลว
ในวันที่ท้อแท้

ยังคงเป็นสิ่ง
ที่ต้องเติมเสริมเข้ามา
ในการฝึกอบรม

หลักไตรลักษณ์
หลักโลกธรรม

หลักผู้แพ้ก็มีที่ยืน

รัฐควรคิด

อย่างเรื่องหนี้สิน
นอกจากดาราจะเครียดจนฆ่าตัวตาย
นักศึกษาปี ๔ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ก็เพิ่งยิงตัวตาย
เพราะยืมเงินป้ามาใช้
แค่แสนบาท
แล้วไม่มีเงินชดใช้

ถ้าใช้ระบบธนาคาร
ยืดหนี้
ผ่อนชำระ
สำหรับปัญหาทางสังคม

รวมถึง
ฝึกให้คนทำใจเผื่อใจไว้
ถ้าไม่สมหวัง

ล้วนเป็นประเด็น
ที่ควรขบคิด

——-

ถ้าถามผม
ในเกมชีวิต
ผมฝึกซ้อม ฝึกฝน ฝึกอบรม ฝึกหัด ฝึกหนัก
กระนั้นผมก็ยังเคยล้มเหลวบ้าง
แต่เป็นส่วนน้อย

ทว่าผมผสมผสาน
หลักวิชาการกับหลักธัมมะ
และศาสตร์ต่างๆ
ดวง
เลข
สี
วัตถุมงคล
ฮวงจุ้ย
กลุ่มเลือด
ธาตุที่ถูกโฉลก
คนที่คบ
งานที่ถนัด

คิดเผื่อ
เมื่อเจอวิกฤต วิบัติ วินาศ

ใช้ข้อมูลเป็น
ใช้โอกาสไม่เปลือง

และที่จำเป็นยิ่งยวด
เมื่อคราวคับขัน
เอาตัวรอดให้ได้!

สำคัญคือ
ผมบริหาร
อารมณ์
อาหาร
อากาศ
อึ
ออกกำลัง
เป็นต้น

สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
คือ บุญ ๑๐ อย่าง

อย่างการเขียน
ข้อคิดเห็น
ให้อ่าน
เป็นวิทยาทาน
เป็นธรรมทาน

ก็หล่อเลี้ยงชีวิตผม
ให้มีความสุข

เพราะ
ศาสตร์การเขียน
เป็นการสื่อสาร
ที่ผมทำได้ดี
ฝึกปรือมานาน
และมีความถนัด

แต่ทุกคนไม่ต้องเหมือนผม!

Comments

comments