228. พระเจ้าอโสกแห่งกรุงสยาม

เป็น “ข้อเขียนที่เร็วที่สุด”
เขียนในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
เขียนเสร็จในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒
รวม ๓ วันเสร็จ

ความหนา ๗๔ หน้า กระดาษ A4

งานเขียนเทิดพระเกียรติ
“พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า”
รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี 

 

“พระเจ้าอโสกแห่งกรุงสยาม”
อุทิส ศิริวรรณ เขียน

 

 

“กฤษฎาภินิหารอันจะบดบังมิได้ของรัชกาลที่ ๓”

ตอน ๑

“ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ประสบการณ์อันสืบเนื่องกับรัชกาลที่ ๓”

เขียนโดย
ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก
หลักสูตร Ph.D. & D.B.A. in Business Administration (International Program) 
Charisma University, Providenciales, Turks and Caicos & Apollos University, Montana, USA 

——–

ผมถือเป็นหลักว่า
ทุกวันพระราชสมภพคือ ๓๑ มีนาคม ของทุกปี
และทุกวันเสด็จสวรรคตคือ ๒ เมษายน ของทุกปี
มีเวลา ผมจะใช้ “ความคิดอ่าน”
แต่ง “เรื่องราว” ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บูชาเป็นกษัตริยราชพลี
ในฐานะที่ผมเป็นผู้รับทุนการศึกษา

เรียนต่อระดับปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา

ทุนมูลนิธิสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นบางส่วน partial scholarship

ประเด็นที่ผมเล่า
ผมจะเล่าแบบบ้านๆ
ให้อ่านเข้าใจง่ายๆ

จะเป็นความเรียง ขนาดยาว หลายตอน
เขียนสะสมไว้ ก็จะกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง

ได้ทันที

——–

ตามประวัติ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีแนวพระราชดำริ
แตกต่างไม่เหมือนใคร

ผมเป็นคนหนึ่งที่
ค่อยๆ ซึมซับ รับรู้ และหลังพบ
หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์
ตำนาน พงศาวดาร คำบอกเล่า
และเรื่องราวที่เกี่ยวพัน เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่๓

ในหลากหลายประเด็น

ประเด็นที่ผมอยากรู้
“เหตุผล” ที่รัชกาลที่ ๓
ทรงมีพระราชศรัทธา
และทรงมีพระราชนิยม
ต่อการทำบุญทำทาน ?
หลังจากติดตามอ่านและติดตามดู “ประจักษ์พยานหลักฐาน”
ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
วัดโมลีโลกยาราม
ซึ่งประวัติศาสตร์ระบุว่าเป็น “ที่เกิด” ของพระองค์ท่าน
วังหน้า
วังท่าพระ
ผมก็ได้ “ข้อค้นพบ” หลายอย่าง
ที่อยากเล่าสู่กันฟัง

——–
หลักฐานที่เป็นทางการเท่าที่ค้นพบ

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์

(ขำ บุนนาค)
ได้จดบันทึก
พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๑-๔ เอาไว้
ความหนารวม ๒,๐๓๘ หน้า
ขนาดกระดาษ ๘ หน้ายกเล็ก ๑๖ หน้ายกใหญ่

ราคาขายชุดละ ๑,๒๐๐ บาท
ผม “ลงทุน” ซื้อ “ความรู้ในส่วนนี้” ที่ไม่ได้บังคับเรียนในชั้นเรียนมาอ่าน

ขณะเดียวกัน
ผมก็เดินทางไปในพื้นที่และวัดต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับรัชกาลที่ ๓
ตั้งแต่ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” “พระบรมมหาราชวัง”
“วังหน้าในอดีต” ซึ่งปัจจุบันคือ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”
“วัดพระเชตุพน” ที่พระนั่งเกล้าฯ ทรงมีแนวพระราชดำริ
จะสร้างให้เป็น “มหาวิทยาลัย” และได้กลายเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งแรก”
ของสยามประเทศ เกิดขึ้นจริง ดังที่ทรงคิด ฝัน หวัง และจินตนาการเอาไว้

“วัดมหาธาตุ” ท่าพระจันทร์ รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงฝัน
ที่จะสร้างเป็น “พระอารามขนาดใหญ่” มีผู้เรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

จำนวน ๑,๐๐๐ รูป และได้ทรงสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นรูปธรรม
มีผู้สอบได้เป็นมหาเปรียญ ทวีคูณ พหุคุณ ในแผ่นดินของพระนั่งเกล้า
“วัดราชโอรสาราม” ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ ซึ่งมีหลักฐานสำคัญต่างๆ
เกี่ยวกับพระนั่งเกล้า ทั้ง “พระแท่น” ที่ชอบเสด็จมาทรงงานควบคุมงานก่อสร้าง
ด้วยพระองค์เอง ทั้ง “ถาวรวัตถุต่างๆ” ที่ทรงสร้างไว้ในวัด ในมุมต่างๆ
“วัดสุวรรณาราม” บางกอกน้อย ที่ทรงระดม “อัครมหาศิลปิน” ด้านจิตรกรรม
ฝากฝีมือและผลงานไว้ในพระอุโบสถ
รวมถึง “ศาสนทายาท” ที่รัชกาลที่ ๓
มี “แนวพระราชดำริ” ที่อ่านประเมินจากวิธีวัดผลและประเมินผลแล้ว
“เห็นผล ได้ผล และรับรองผล” ได้จริง
มีผลผลิต ผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ และผลสำเร็จ
เป็นรูปธรรม อย่างน่าอัศจรรย์

เมื่อประมวลทุกเรื่องราว

ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ประสบการณ์

กลั่นกรองประสบการณ์-ปฏิบัติ-ทฤษฎี
ทุกอย่าง เกี่ยวพัน เกี่ยวข้อง และเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๓
ทำให้ผมนึกถึงคำว่า

“กฤษฎาภินิหาร อันจะบดบังมิได้”
ของรัชกาลที่ ๓

——-

ตอน ๒

 “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์”

“พระเถรเณรชี”
——–

ตลอดระยะเวลา ๑๘ ปีที่ครองราชย์
รัชกาลที่ ๓ ทรงเข้าใจ “ชีวิตพระเถรเณรชี”
บุคคล ๔ จำพวกในแผ่นดินต้นรัตนโกสินทร์
ถึงยุคดิจิทัล เหลือเพียงแค่บุคคล ๓ จำพวกคือ
พระ เณร ชี ส่วน “เถร” หายไปในอดีต

รัชกาลที่ ๓ มีรับสั่งเป็นพระราชดำรัสสั้นๆ ว่า

“ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์”
ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสำนวนไทยที่ชอบพูดกันมากในยุคนี้
“ชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์”
บรรดาแม่ชีทั้งหลายตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใดฝ่ายชั่วจึงมาอยู่กับชี
ฝ่ายดีทำไมไปอยู่กับสงฆ์

ผมได้ “ข้อค้นพบ” จาก “บทความ” แต่งโดย ส. พลายน้อย
เรื่อง “พระ-เถร-เณร-ชี? บุคคล ๔ จำพวกในพุทธศาสนา”
https://www.silpa-mag.com/culture/article_2090

ขอเล่าเป็น “สำนวน” ของผม ดังนี้
ความจริงชีในที่นี้เป็นคำรวมหมายถึงพระสงฆ์นั่นแหละ “ชี=พระ”
คือพระจะดีชั่วอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของท่าน (เรื่องมันเลยยุ่งอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้)

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ สามเณรเล่นเตะตะกร้อมีคนไปฟ้องร้องทุกข์กล่าวโทษ
รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงตัดบทว่า “เจ้ากูจะเล่นบ้างก็ช่างเจ้ากูเถิด”

ครั้งหนึ่งพระเถระไปเดินเที่ยวงานวัดพระเชตุพนฯ เดินเบียดเสียดกับหญิงสาว สาวน้อยสาวใหญ่ มากหน้าหลายตา ก็มีคนเพ่งโทษไปฟ้องร้องเป็นคดีความ

รัชกาลที่ ๓ ก็รับสั่งสั้นๆ ว่า “คนมากก็ต้องเบียดกันบ้าง”
พระเณรที่ชอบปลีกวิเวกก็ได้ใจถือว่าการเดินเบียดสีกา
โดยไม่เจตนาไม่เป็นไร (ความจริงเจตนาแต่กำหนดใจว่าไม่เป็นไร)

ส่วน “สำนวน” ของ ส. พลายน้อย เป็นดังนี้

“ความจริงคนไทยใกล้ชิดกับพระเถรเณรชีมาก คำเหล่านี้จึงติดปาก มีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องนึกถึง ซึ่งจะเห็นได้จากคำอุทานของคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อน เมื่อตกใจก็จะอุทานออกมาว่า “คุณพระช่วย” บ้าง “ตาเถรช่วย” บ้าง ที่พิสดารหน่อยก็เป็น “ตาเถรตกน้ำ” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นก็ไม่ทราบ สุนทรภู่ก็เคยได้ลายแทงจากตาเถร (รำพันพิลาป)

ที่น่าสังเกตก็คือเมื่อพูดถึงนักบวชดังกล่าวจะลำดับตำแหน่งไว้ชัดเจนว่า “พระเถรเณรชี” จะเห็นว่า “เถร” อยู่ระหว่างพระกับเณร แสดงว่าเถรต่ำกว่าพระและสูงกว่าเณร ตามความที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสอบถามสมเด็จพระสังฆราชแต่ครั้งยังเป็นสมเด็จพระวันรัต (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม ท่านบอกว่า เถรเป็นพวกครึ่งพระครึ่งเณร อาศัยวัดอยู่ตามศาลามุขหน้าโบสถ์ หลังโบสถ์ พระระเบียงหรือพะเพิงอะไรตามแต่จะหาได้ โดยมากพึ่งพระสงฆ์ ขอผ้าและอาหารที่เหลือไปบริโภค ทำการให้แต่พระสงฆ์ตามสมัครใจ ศีลนั้นไม่ปรากฏว่าถืออย่างไร อาจเป็นศีลสิบ ศีลแปด ศีลห้า หรือไม่ถือศีลเลยก็ได้ การนุ่งห่มนั้นใช้ผ้าเหลืองตามแต่จะหาได้ ลางคนก็นุ่งแต่ผ้าอาบหรือสบงเท่านั้น หรือมีผ้าห่มพาดบ่าอย่างที่เรียกว่าพาดควายก็มี และมีไตรจีวรครองเหมือนพระสงฆ์ก็มี ความประพฤติเอาแน่ไม่ได้

ที่ดีเหมือนพระภิกษุก็มีคนเคารพนับถือ ที่เลวถึงสูบกัญชาก็ไม่มีคนนับถือ

แต่ก่อนมีที่วัดสระเกศมากกว่าที่อื่น

เหตุที่พวกตาเถรถือศีลไม่มีกำหนดเหมือนพวกยายชีนุ่งห่มก็ไม่มีระเบียบเพียงแต่ตาเถรใช้ผ้าเหลือง ยายชีใช้ผ้าขาว อาศัยวัดเหมือนกัน ตาเถรเป็นชาย ยายเป็นหญิง จึงมีนิทานตาเถรกับยายชีเล่ากันเป็นที่ครื้นเครง

และด้วยเหตุที่ตาเถรมีรูปเป็นภิกษุแต่ไม่มีศีลเท่าภิกษุและแก่เกินเณรทางกฎหมายจึงวางไว้ระหว่างภิกษุกับเณร ใช้คำติดกันว่าพระภิกษุสงฆ์เถรเณร บางทีจะเกิดเพราะบวชเป็นเณรแล้วไม่บวชเป็นพระเมื่ออายุครบแต่ไม่สึก หรือบวชเป็นพระแล้วประพฤติตัวเหลวไหลจึงเลื่อนลงเป็นเถร อย่างเสภาเรื่องเถรสังของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ที่แต่งไว้ว่า “กล่าวถึงเถรสังบางกระจะ บวชเป็นพระแล้วเลื่อนลงเป็นเถน”

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยตรัสเรียกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พี่ทิด” บ้าง “พี่เถร” บ้าง รัชกาลที่ ๔ เห็นจะทรงรำคาญ เพราะคำว่า “เถร” หมายได้ทั้งดีและไม่ดี จึงทรงกำหนดใหม่ให้เรียกพวกตาเถรทั้งหลายนั้นว่า “เถน” (ในภาษาบาลี เถน แปลว่า ขโมย) เพื่อให้เขียนต่างกัน
https://www.silpa-mag.com/culture/article_2090

——

ตอน ๓

“พระราชปุจฉาที่ ๕ ของรัชกาลที่ ๓”

“อันตราย ๕ ประการของพระราชาคณะในการสร้างศาสนทายาท

สืบทอดคำสอนสำคัญคือพระไตรปิฎก ตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ ๓”

คำถามนี้ หาอ่านยาก

เป็นตอนว่าด้วย “เหตุการณ์สำคัญ” ที่น่าสนใจ และขอนำ “ข้อค้นพบ” มานำเสนอไว้

เรียกว่า “พระราชปุจฉาที่ ๕” หรือ “คำถามครั้งที่ ๕” ในแผ่นดินของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

“ฉันใด จะได้พระภิกษุสามเณร เป็นบาเรียน ให้สมควรแก่พระราชศรัทธา”

คำถามหรือข้อสงสัยนี้ เกิดขึ้นในพระทัยของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ หลังขึ้นครองราชย์ได้เพียงแค่ ๑ ปีเศษ ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม

พ.ศ. ๒๓๖๗

กาลต่อมา ปรากฏว่า สถิติผู้สอบบาลีได้เป็นมหาบาเรียน

มีจำนวนพุ่งสูงลิบลิ่ว ทำสถิติสูงสุด ในช่วงแผ่นดินรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เพราะ “รัชกาลที่ ๓” ทรงสนับสนุน บำรุง ถวายอุปถัมภ์

ผ่าน “ไวยาวัจกร” เรียกว่า “เงินสด” และ “ปัจจัย ๔”

เมื่อทรง “อัดฉีด” “บำรุงกำลัง” พระสงฆ์สามเณร

ด้วย “อาหารบิณฑบาต” “ที่อยู่อาศัย” “ไตรจีวร” และ “เสนาสนะกุฏิ

อันเป็นสัปปายะ” อย่าง “เต็มที่”

ไม่ทรงมองว่า “เงิน” เป็น “งูพิษ” หรือ “อสรพิษร้าย”

เมื่อพระ เณร ครูสอนบาลี ทั้งพระและโยม

มีเจ้านาย วังต่างๆ ช่วยกันระดมทุน ระดมเงิน

ทั้งจัดสร้างคัมภีร์พระบาลีระดับต่างๆ

ครบครันทั้ง พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา โยชนา

สัททาวิเสส มีการแลกเปลี่ยนตำราระหว่างไทยกับลังกา

มีการส่งพระจากกรุงสยามไปกรุงลงกา

ส่งพระจากกรุงลงกามายังกรุงสยาม

มีระบบ “สอบไล่บาลีสนามหลวง”

โดย “รัชกาลที่ ๓” เสด็จลงมาฟัง “การสอบไล่”

ด้วยพระองค์เอง

วงการเรียนพระบาลี พระปริยัติธรรมก็คึกคัก

และถึงจุดสูงสุด ในห้วงเวลา รัชสมัย

รัชกาลที่ ๓ – ๔ – ๕

ลงไว้ให้ “เรียนรู้” ว่า จะจัดการศึกษาให้ได้ผล

ผู้นำรัฐบาลระดับสูงสุด ราชวงศ์ ชนชั้นสูง

ก็ต้อง “เอาด้วย” ไม่ใช่ “แม่กองคิด” “แม่กองทำ”

แบบ “เถ้าแก่” งานก็ไม่ไปไกลถึงไหน

——

เมื่อผู้เรียนพระไตรปิฎก ตัดปลิโพธ ไม่มีความกังวลใดๆ ในใจ

จำนวนผู้ทรงจำ กล่าว บอก สอน เทศนา พระไตรปิฎก

ก็ทวีคูณ พหุคูณ เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมาก

ตาม “พระราชปณิธาน” และ “พระราชประสงค์”

ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งความปรารถนาเอาไว้

——

หมายรับสั่งเจ้ากรมราชบัณฑิต มีไปถึงสมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ

ผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงว่าทรงมอบพระองค์เป็น “ไวยาวัจกร” แห่งพระรัตนตรัย

คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งใจจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง

จำเริญสืบไป กว่าจะถ้วน “๕,๐๐๐ ปี”

ทรงเล่าถึง “ความคิด-ความฝัน-ความหวัง-ความปรารถนา” ซึ่งเรียกว่า

“พระราชศรัทธา” และ “พระราชนิยม” ว่าทรงปรารถนาจะได้

พระภิกษุสามเณรที่รู้พระไตรปิฎกเป็นเปรียญเอก, เปรียญโท, เปรียญตรี

จะได้ถวายจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานเภสัช ปัจจัย เป็น “ทานมัย”

นับเนื่องเข้าใน “ปรมัตถทานบารมี” ทานอันยิ่ง

จึงรับสั่งให้ “เจ้ากรมราชบัณฑิต” จัดประชุม “พระราชาคณะ ๑๖ รูป”

ล้วนทรงพระปริยัติธรรม ให้ชำระสอบไล่พระไตรปิฎกพระภิกษุสงฆ์และสามเณร

——-

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่า

รัชกาลที่ ๓ “ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยจะได้ทรงฟังแปลพระไตรปิฎก

พระราชประสงค์จะให้เป็นพระอุปนิสัย ประดับ “พระสันดาน” ไปในอนาคต

แต่ทรงฟังมากำหนด ๒๕ วันแล้ว ก็มิได้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่รู้พระไตรปิฎก

เป็นอย่าง เอก, โท, ตรี เมื่อมิได้สมพระหฤทัยที่มุ่งมาด ก็มีพระกมลมัวหมองถึง

พระพุทธศาสนาว่านับแต่วันเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานมา พระพุทธศาสนาก็ยังมิทันจะถึงกึ่ง

ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมายังมิทันจะถึงเพลาเที่ยง ดังฤาจะมาขาดพระภิกษุสงฆ์สามเณร

ผู้รู้พระไตรปิฎกดังนี้ ควรจะอัศจรรย์นัก”

——–

นอกจากจะทรง “คิดอ่าน” แล้วยังทรง “วินิจฉัย”

คือผมเห็นว่า ทุกวันนี้ นอกเหนือจาก “วิเคราะห์” “วิจัย” “วิจารณ์” แล้ว

คนที่กล้าฟันธง “วินิจฉัย” โดย “ตัดสินใจ” ได้ “เด็ดขาด” และ “เฉียบขาด”

เป็นบุคคลที่หาได้ยาก

รัชกาลที่ ๓ นำเสนอ “อันตราย” ที่ทรงคาดว่าจะ “เกิดมี” แก่ผู้ที่จะรักษา

พระศาสนาไว้ ๕ ประการ

๑. พระราชาคณะมีอายุพรรษามากเกิน ใช้ภาษาร่วมสมัยก็ “เฒ่าชรา”

ทรงใช้คำว่า “อายุมาก” และ “อ่อนเปลี้ยเพลียแรง” ทรงใช้ศัพท์ว่า

“มีกำลังอันทุพพลภาพ” ด้วยความชรา จักษุมืด มือสั่น จะบอกพระปริยัติธรรมก็ไม่ได้

จะแสดงธรรมโปรดสัตว์ก็ไม่ได้

๒. พระราชาคณะบางรูป “ป่วย” อาพาธ ต้องดูแลตัวเอง

เลยไม่มีเวลาทำหน้าที่ “ผู้นำ” ปกครองคณะสงฆ์ได้เต็มประสิทธิภาพ

๓. พระราชาคณะบางรูป “เบื่อหน่าย” จากเพศบรรพชิต

สิ้น “ศรัทธา” ขอ “ลาสิกขา” “ลาผนวช” จากวงการ

๔. พระราชาคณะบางรูป ไม่สำรวมระวัง “กาย” และ “วาจา”

ราษฎรเห็น “อากัปกิริยา” และ “ความคิดอ่าน” “คำพูดคำจา”

“ท่วงทีท่วงท่า” อิริยาบถ ๔ “ยืน-เดิน-นั่ง-นอน” ไม่สำรวม

ก็ “เสื่อมศรัทธา” ไม่อยากเป็นทายก ทายิกา ถวายอุปถัมภ์

ไม่อยากทำบุญทำทานด้วย

๕. พระราชาคณะบางรูปถึงแก่ “มรณะ” ละสังขาร

ถวายพระพร อำลา ลาจากไปสู่ภพภูมิอื่น บอกลาหน้าที่

ไปยัง “ปรโลก”

รัชกาลที่ ๓ ทรงย้ำว่า “อันตราย ๕ ประการนี้ พระราชาคณะทั้งปวง

มิได้พิจารณาเห็น” ถ้าสำนวนผมก็คือ “มิได้เก็บมาคิดอ่าน วิเคราะห์

และหาแนวทางแก้ไขปัญหา”

และที่ผมประทับใจคือ “ถึงเจ้าพระคุณพระราชาคณะทั้งปวง

จะรักพระสาสนาอยู่ ก็เหมือนมิได้รักพระสาสนา

เหตุมิได้ศึกษา ฝึก สอน ศิษยานุศิษย์ ให้รู้พระปริยัติธรรม

จะได้แทนพระองค์รักษาพระสาสนาสืบต่อไป”

————-

ตอน ๔

“กิเลส – กรรม – วิบาก

ของสมเด็จพระพนรัตน อาจ

วัดสระเกศ”

 

——–

สมภารวัดสระเกศ

มีเรื่องอื้อฉาว

แต่ครั้งแผ่นดินต้น

สมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ มาแล้วในอดีต

ตอนนี้ผมค้นคว้า

และนำเสนอเรื่องราว

บุญ วาสนา บารมี

ของพระพิมลธรรม (ด่อน)

ที่ชะตาแรงกว่า

เบียด “สมเด็จพระพนรัตน อาจ”

ให้ถูกถอดยศถอดตำแหน่ง

ลงมากลายเป็นเพียงแค่ “พระอาจ”

และกาลต่อมา พระพิมลธรรม (ด่อน)

ก็ได้รับการเลื่อนชั้นทางสมณศักดิ์

เป็นสมเด็จพระพนรัตน แทน พระอาจ

สะท้อนความจริงว่าสมเด็จด่อน

ชะตาชีวิตยังดวงดี โชคดีกว่า

ได้รับพิจารณาเลื่อนสมณกดิ์เป็น

สมเด็จพระพนรัตน ด่อน

และได้รับการสถาปนาเป็น

สมเด็จพระสังฆราช ด่อน

สถิต ณ วัดมหาธาต

——-

ในช่วงแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ กับ รัชกาลที่๓

เรื่อง “พระ” ทำให้ ร. ๓ ปวดพระขมองอยู่หลายเรื่อง

เรื่องของสมเด็จพระพนรัตน อาจ

ที่ถูกฟ้องกล่าวหาว่า “ตุ๋ยเต็ก”

สุดท้าย “สารภาพ” ว่าอาจแค่ “หยอกเอิน”

แต่ไม่ถึงขั้น “เสพสังวาส”

ทว่าการ “รักเด็กหนุ่ม” “เอ็นดูเด็กหนุ่ม”

เกินเลยวิสัย “พระเถระชั้นผู้ใหญ่”

ก็มีผลทำให้ “อนาคต” ที่จะเป็น

“สมเด็จพระสังฆราช” ดับวูบลง มืดสนิท

สมเด็จอาจ

ที่ถูกถอดยศจากพระสมเด็จ

กลายเป็น พระภิกษุอาจ

หลวงตาอาจ ด้วยข้อหา “ชายชอบชาย”

ในช่วงปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๒

ต่อยุคต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๓

เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นก่อน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ ดวงมาลา

วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์

น่าสนใจอ่าน ประวัติศาสตร์ตอนนี้

——-

เรื่องราวการพระพุทธศาสนา

เท่าที่ผมวิจัยและตรวจสอบเอกสาร

รัชกาลที่ ๓ ไม่ใช่แค่ “โยนออกข้าง” แต่มี “แนวปฏิบัติ” ที่ทรงวางไว้ชัดเจน

รายละเอียดที่น่าสนใจ มีดังนี้

ข้อแรก รัชกาลที่ ๓ ทรง “จัดทีม” โดยวางพระทัยให้ “สมเด็จพระสังฆราช” “พระพุทธโฆษา” “พระพรหมมุนี”

“พระญาณวิริยะ” “กรมหมื่นนุชิตชิโนรส” “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ”

รวม ๖ รูป เป็น “ตัวแทน” ของรัชกาลที่ ๓ จัดการ “สอบสนามหลวง”

แผนกบาลี ต่อเนื่องจากสมัยแผ่นดินราชวงศ์อยุธยา

จาก “หลักฐานสืบเนื่อง” พบว่า “สมเด็จพระสังฆราช” ที่รัชกาลที่ ๓

ทรงมอบ “ราชธุระ” ให้ “จัดการศึกษา” สนองแนวพระราชดำริคือ

“สมเด็จพระสังฆราช” (ด่อน) ซึ่งตามประวัติ พบเพียงว่าประสูติในรัชกาล

สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔

ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ ปรากฏหลักฐานในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ว่าเป็นที่ “พระเทพโมลี” อยู่วัดหงส์ ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนขึ้นเป็นที่ “พระพรหมมุนี”

แล้วเลื่อนขึ้นเป็น “พระพิมลธรรม” เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ขณะอายุเพียงแค่ ๕๕ ปี

นับว่า “เร็ว-แรง-รวด” ในปีเดียวกับที่ทรงตั้ง “สมเด็จพระสังฆราช (มี)”

เท่าที่ดูจากพยานหลักฐานสำคัญ รัชกาลที่ ๒ คือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ไม่ทรงเห็น “สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)” อยู่ในพระเนตรพระกรรณแต่อย่างใด

สมัยนี้ก็เรียกว่า “ม้ามืด” หรือ “ม้านอกสายตา”

ทฤษฎี “ม้ามืด” หรือ “ม้านอกสายตา” ผมฝากให้นำไปขบคิด

เวลานี้หลายวงการ คนที่ก้าวขึ้นเป็นใหญ่ เป็นผู้นำ ล้วนเป็นม้ามืดและม้านอกสายตา

ด้วยกันแทบทุกวงการ

เกร็ดประวัติศาสตร์พุทธศาสนาช่วงต้นรัตนโกสินทร์น่าสนใจ ต้อง “ปะติดปะต่อ”

และ “ผูกเรื่องราว” เอาเอง ถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๒ ปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๒

ทรงพระราชดำริจะตั้ง “สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช

จึงโปรดให้แห่ไปอยู่วัดมหาธาตุ เพื่อเตรียมการทรงตั้งต่อไป

และรัชกาลที่ ๒ โปรดให้ “พระพิมลธรรม (ด่อน)” ย้ายจากวัดหงส์รัตนาราม

มาครองวัดสระเกศ เป็นเจ้าอาวาสแทนสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ นั้น

พูดอย่างภาษาชาวบ้าน

วาสนาของ “พระพิมลธรรม (ด่อน)”

ไปได้ไกลเกินก็เป็นเพียงแค่ “เจ้าอาวาสวัดสระเกศ”

หรือไกลสุดเอื้อม เต็มที่ก็แค่ “สมเด็จพระพนรัตน (ด่อน)”

ไม่แตกต่างจาก “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทยมหาเถร)”

ซึ่งก็ไม่คาดคิด คาดหวัง คาดฝันว่าพระองค์จะมีบุญมีวาสนาได้รับการสถาปนาเป็น

“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช” สถิต ณ วัดสระเกศ

ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ และได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชสั้นๆ เพียงแค่ ๒ ปีเศษ

ก็สิ้นพระชนม์ลง ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ ในแผ่นดินของรัชกาลที่ ๙

——

แทนที่ “สมเด็จพระพนรัตน อาจ” วัดสระเกศ

จะได้เป็น “สมเด็จพระสังฆราช” ในรัชสมัยแห่งรัชกาลที่ ๒

อยู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดคาดฝัน

ถ้าเราพิเคราะห์เหตุการณ์ร่วมสมัยยุคดิจิทัล

การที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

เต็ง ๑ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราช”

ไม่ได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จพระสังฆราช”

ทว่า “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร)” วัดราชบพิธ

ม้ามืด ม้านอกสายตา ไม่มีใครคาดคิด คาดหวัง และคาดฝัน

กลับมีบุญวาสนาสูงกว่า ได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จพระสังฆราช” แทน

เหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ น่าขบคิด เพราะสำหรับสมเด็จพระพนรัตน (อาจ)

นั้น เมื่อแห่ไปอยู่วัดมหาธาตุได้ ๘ เดือน ยังมิทันได้ทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ก็เกิดอธิกรณ์มีเรื่องมีราวขึ้นเสียก่อน รัชกาลที่ ๒ จึงโปรดให้ถอดออกจากสมณศักดิ์

แล้วให้ออกไปเสียจากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง ซึ่งเรียกกันอีกชื่อว่าวัดแหลม

คือบริเวณตรงกับที่สร้างวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน กระทั่งถึงแก่มรณภาพ

และรัชกาลที่ ๒ ทรงตั้ง “พระพิมลธรรม (ด่อน)” ขึ้นเป็น “สมเด็จพระพนรัตน (ด่อน)”

แทนในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ในคราวเดียวกับทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม

ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช

อ่านเรื่องราว “สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)” ซึ่งถูกถอดออกจาก “สมเด็จ”

ในปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ แล้ว ผมนึกถึงคำว่า “กรรม-กิเลส-วิบาก”

คือผู้ใดก่อกรรมอันใดเอาไว้ สุดท้ายผู้นั้นก็ต้องรับกรรมอันนั้นด้วยตนเอง

ผมนึกถึงพระบาลีคือ “คาถาคัมภีร์ธัมมบท” ว่า

“สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ

นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย

จะบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ รู้ได้ด้วยตัวเอง เป็นเรื่องเฉพาะตัว

คนอื่น จะให้อีกคนบริสุทธิ์ ย่อมเป็นไปไม่ได้”

———-

ตอน ๕  

“ผลงานสำคัญของรัชกาลที่ ๓

ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์:

สึกพระราชาคณะ

จับติดคุก ๓ รูป

สังหารหมู่ ๑๐ ราย”

——-

ที่จั่วหัวไว้

เป็น “อีกด้าน” ที่สะท้อน

“ความเด็ดขาด” ของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเด็น

ที่เกี่ยวข้องกับ “คดีทิ้งบัตรสนเท่ห์”

ใส่ร้ายใส่ความ “พ่อ” คือ “รัชกาลที่๒”

ผมมั่นใจว่านี่คือผลงานที่ ร. ๓ สลดพระทัย

และสะเทือนพระทัยเป็นยิ่งนัก

ผม “คาดเดา”

และ “ลงสันนิษฐาน” เอาเองว่า

การที่ “รัชกาลที่ ๓” เปลี่ยนความคิด

เปลี่ยนแปลงตนเอง

จากคน “ห้าว” และ “เข้มงวด”

กลายเป็นคนละคน

อะไรก็ได้

ยังไงก็ได้

อย่างไรก็ได้

ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

ก็คง “จาก” สาเหตุ

คดีสำคัญดังกล่าวนี้

——–

พระจะทำอะไร ใดๆ

รัชกาลที่๓ ก็รับสั่งว่า

“ไม่เป็นไร” บ้าง

“ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” บ้าง

ที่มาที่ไป

ก็น่าจะเกิดจาก

การจับพระราชาคณะ ๓ รูป

ติดคุก

และการฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง

ระดับพระองค์เจ้า ที่เป็นพระญาติกัน

รวมถึง “บริวาร” และ “คนใกล้ชิด”

ที่เกิดจากมูลคดีคล้ายคลึงกันคือ

“บัตรสนเท่ห์”

โดยที่ “คำพิพากษา” ที่รัชกาลที่ ๓

ทรง “เขียน” และทรง “ร่วม” รับรอง

ลงนามไว้ อาจมีข้อ “พลั้งเผลอ”

จนเป็นสาเหตุแห่ง

“กรรม-กิเลส-วิบาก” ในชีวิต

ของพระองค์ท่าน

———

เรื่องราวตอนนี้ “ดุเดือด”

ผมนึกถึง

พระบาลี มงคลสูตร ในคัมภีร์ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎก ความว่า

“ผุฏฺฐสฺส จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”

“จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมสัมผัสแตะต้องไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก

ปลอดปราศจากธุลี เยือกเย็นใจ นั่นเป็น “มงคลอันสูงสุด” ในชีวิต”

คนเราไม่ว่า “ผม” ไม่ว่าใคร ต้องหมั่นขบคิด ทบทวน และพิจารณา

“โลกธรรม ๘ อันประกอบด้วย “ลม” ที่พัด “โชคชะตา” คือ “ชีวิต”

ให้ไปพบเจอ “โลกธรรมฝ่ายดี ๔ ประการ” อันประกอบด้วย “ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ” ซึ่งตรงข้ามกับ “โลกธรรมฝ่ายเสื่อม ๔ ข้อ” อันประกอบด้วย “เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และคำนินทา”

ไม่ว่า “ผม” หรือ “ผู้อ่าน” ทุกท่าน

ล้วน “เผชิญ” โลกธรรม ๘ ประการ

ด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้น อย่าประมาท ในการใช้ชีวิต

อย่าไปทำให้ใครเจ็บ หรือตาย

อย่าไปฉ้อ ฉล คด โกง ใคร

อย่าให้ใครหมั่นไส้ อิจฉา ริษยา เลื่อยขา และใส่ร้ายใส่ความ

จนตัวเราเสียผู้เสียคน เพราะน้ำคำ น้ำถ้อย และลมปากคน

และอย่าใช้ “อำนาจ” ทำเกินหน้าที่

จนมีคนบาดเจ็บ คนล้มตาย คนติดคุก ติดตะราง

เพราะ “การบันดาลโทสะ” และ “ความโมโห”

อันเป็น “อารมณ์ชั่ววูบ” ของเรา ในชั่วขณะ

———

ถึงตอนนี้ ผมเริ่ม “เห็น” เค้าเงื่อน “อะไร” บางอย่าง “ในพระทัย”

ของรัชกาลที่ ๓ ที่รับสั่งเสมอว่า “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์”

การเป็น “ผู้พิพากษา” ที่โบราณเรียก “ตุลาการ” ตัดสิน พิพากษาคดีความพระ

ในฐานะที่เป็น “เสนาบดี” กำกับดูแล “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ”

ทำความลำบากใจให้แก่ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” มากน้อย หลายเรื่อง

เรื่องราวของสมเด็จพระพนรัตน อาจ วัดสระเกศ ก็คงเป็นหนึ่งในหลายๆ เรื่องราว

ที่รัชกาลที่ ๓ ทรงหนักพระทัย และทรงอึดอัดพระทัย

ผมสงสัย ใคร่รู้ว่า “สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)” ต้องคดีความด้วยข้อกล่าวหาอันใด

จึงได้ “อ่าน” พระราชพงษาวดาร เพิ่มเติมพบข้อมูลน่าสนใจในหน้า ๕๐๑

หัวข้อ “พระราชาคณะต้องอธิกรณ์” พระราชพงศาวดาร บันทึกไว้ว่า

“ครั้นมาถึงเดือนสิบสอง (พ.ศ. ๒๓๕๙) มีโจทก์ฟ้องพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี)

วัดมหาธาตุ พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลาง พระมงคลเทพ (จีน) วัดหน้าพระเมรุ

กรุงเก่า ว่ากระทำ “เมถุนปาราชิก” จนมีบุตรเติบโตหลายคน โปรดให้ “กรมหมื่นรักษ์รณเรศวร”

“กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” “กรมหมื่นสุรินทรรักษ์” เป็น “ตุลาการ” ชำระคดี

พิจารณาได้ความจริง ให้ลงพระราชอาญา ส่งไปจำไว้ ณ คุก

———

เรื่องราว “พระราชาคณะ” ติดคุก

ถึง ๓ รูป นำโดย พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ

พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลาง

พระมงคลเทพ (จีน) วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา

เป็นตำนานพระสงฆ์ ที่น่าอ่านกันเป็นยิ่งนัก

เพราะมีทั้งผู้เห็นด้วย และเห็นต่าง เป็นอันมาก

สุดท้าย มีศิษย์พระ

ต้อง “สังเวย” ชีวิต

เพื่อพระที่ตนนับถือ

อย่างพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี)

ก็ต้อง “สังเวยคดีพระ”

ด้วยชีวิตของศิษย์เอก

ที่มิได้ก่อกรรม อย่าง

กรมหมื่นศรีสุเรนทร์”

และมีผลสืบเนื่อง

ให้รัชกาลที่ ๓ ชำระคดีความ

“บัตรสนเท่ห์” คดีอื่นๆ

สุดท้าย ถูกรัชกาลที่ ๓ ในฐานะ

“ตุลาการ” ต้องรักษา “กฎหมาย”

ด้วยการบังคับใช้กฎหมาย “สังหารหมู่”

รวม ๑๐ ราย เป็นอย่างน้อย

ที่ฝ่าฝืน “พระราชอำนาจ”

ในแผ่นดินของรัชกาลที่ ๒

ซึ่งเป็น “เสด็จพ่อ” ของรัชกาลที่ ๓

——-

ตอน ๖
“กิเลส-กรรม-วิบากของรัชกาลที่ ๓”

“รัชกาลที่ ๓ จับพระราชาคณะสึก ๓ รูป
และจับติดคุกอีกต่างหาก”

 

ตอน ๖ เป็นตอนที่ผม

อ่านช้าๆ

คิดช้าๆ

และเขียนช้าๆ

เหมือนมี “อะไร” บางอย่าง

มา “สะกด” นิ้วมือผม

ให้กดลงบน “แป้นพิมพ์”

อย่างช้าๆ

โดยที่ผม “ควบคุม”

แป้นพิมพ์ ไม่ได้ !

ตอนนี้ น่าอัศจรรย์

เกี่ยวพันกับ

กรรม-กิเลส-วิบาก

หลายชีวิต

ที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ ๓

ทั้งพระ และฆราวาส !

——–

เรื่องราวตอนนี้

เป็น “กรรม-กิเลส-วิบาก”

ของรัชกาลที่ ๓ โดยแท้จริง

ถ้า “ย้อนอดีต” ได้

ผมเชื่อว่า ร. ๓ จะไม่ “ลงมือ” เป็นอันขาด

สะท้อนได้จาก “บั้นปลาย” พระชนมชีพ

วันแล้ววันเล่า ล่องเรือมาในคลองบางกอกใหญ๋

ผ่านวัดโมลีโลกยาราม “บ้านเกิดบ้านเก่า” สมัยเด็ก

ทะลุมาในคลองภาษีเจริญ

ผ่านวัดปากน้ำ เป็นต้น

เรื่อยเลยมาจบลงที่วัดราชโอรส

ก็นุ่ง “โสร่ง” ผืนเดียว

ยืนคุมงานก่อสร้าง วัดราชโอรส

ใต้ต้นพิกุล เดียวดาย

และเปรยกับคนใกล้ชิดว่า

“ถ้าข้าตาย ข้าจะมาอยู่ใต้ต้นพิกุล”

ข้างโบสถ์วัดราชโอรส

จากคำรำพัน

ไม่มีความคิด ความฝัน

ความยึดติดใน

“ตำแหน่ง” พระราชา

ซึ่งให้คุณให้โทษคนได้

ไม่ยึดติดใน “หัวโขน” แต่อย่างใด

เรื่องราวของรัชกาลที่ ๓ ตอนนี้

น่าครุ่นคิด พิจารณา และขบคิด

สำหรับกลุ่มคนที่กระหายและแย่งชิงอำนาจ

ยึดติดในหัวโขน ตำแหน่ง บทบาท

“นายกรัฐมนตรี”

วันที่ไปเห็นสถานที่จริง

แท่นทรงงาน ใต้ต้นพิกุล

ข้างพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง

ผมขนลุกซู่ เมื่อนึกถึง “คำเปรย” ของรัชกาลที่ ๓

ผมคาดเดาว่า แต่เดิม

นิสัยของ ร. ๓ เป็นคน “ตงฉิน” “เด็ดขาด”

ทำตาม “กฎหมาย” ไม่ยืดหยุ่นตามหลัก “รัฐศาสตร์”

ทว่าหลังเกิดเหตุการณ์ “ใส่ร้ายใส่ความ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ที่ควรตาย ก็ให้ตาย ที่ควรให้ติดคุก ก็ให้ติดคุก

ก็ลดหย่อน ผ่อนปรนลง

เปิดช่อง เปิดโอกาส

ให้ผู้กระทำผิด หลบหนี “ราชภัย”

ดังความที่ปรากฏต่อมา

ในแผ่นดินของรัชกาลที่ ๓ เอง

———

เรื่องราวพระราชาคณะที่ถูกรัชกาลที่ ๓

สมัยเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” จับสึก ๓ รูป

จะมาเกี่ยวพัน เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับ ร. ๓ ได้อย่างไร?

ค่อยๆ อ่าน จะพบ “ความบังเอิญ” ที่ “ไม่บังเอิญ”

ที่แน่ๆ ผมอ่านจบแล้ว

กลัว “กรรม-กิเลส-วิบาก”

ของการใช้ “อำนาจ” เกินหน้าที่

คนเราทุกคน

มีกรรมเป็นของตน

มีกรรมเป็นกำเนิด

มีกรรมเป็นของตน

ทำดีไว้ ก็ได้ดี

ทำร้ายใครเอาไว้

ก็จะถูกทำร้ายตอบ

ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

คิดและเชื่อเช่นนี้

จะอโหสิกรรม

ไม่ผูกใจเจ็บใคร

ไม่อิจฉาริษยาใคร

ไม่หมั่นไส้ใคร

จะไม่ประมาทในบุญคือ

ทาน-สีล-ภาวนา

 “บุญเป็นที่พึ่งแท้จริง

ของพวกเราในโลกหน้า”

ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

อย่างแท้จริง

 “พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๒”

หน้า ๕๐๒ – ๕๐๓

ผมขอเล่าด้วย “สำนวน” ผม

จะเข้าใจง่ายกว่าอ่านตรงจากพงศาวดาร

พระราชพงศาวดารตอนนี้เป็นเรื่องราว

“กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ทิ้งบัตรสนเท่ห์”

——–

ครั้งนั้น กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ซึ่งเป็นศิษย์

“นายบุญศรี” อดีตพระพุทธโฆษาจารย์

ไม่เห็นด้วยกับ “คำพิพากษา” ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงเป็นองค์คณะผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน

คดีดังกล่าว

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์

บันทึกไว้ว่า “นายสีพระพุทธโฆษาจารย์” ไม่เห็นด้วย ก็ทิ้งหนังสือเป็นคำโคลงหยาบช้าต่อตุลาการ
พงศาวดาร ไม่ได้บันทึกเอาไว้

ต้องไป “สืบค้น” จาก “ฉบับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ”

“ไกรสรพระเสด็จได้ สึกชี

กรมเจษฎาบดี เร่งไม้

พิเรนทรแม่นอเวจี ไป่คลาส

อาจพลิกแผ่นดินได้ แม่นแม้นเมืองทมิฬ”

——–

 

ตอน ๗
“ศิษย์พลีชีพเพื่อพระอาจารย์

พี่จำลงโทษน้อง
หลานจำไต่สวนและพิจารณาโทษอาชาย”
———

การทิ้งหนังสือบัตรสนเท่ห์นี้ ผม “คาด” ว่า

“ลึกซึ้ง” และ “กินใจ” ต่อ “อารมณ์” และ “ความรู้สึก

ทำให้เกิด “ความสะเทือนใจ” ถึง “กรรม-กิเลส-วิบาก”

ที่รัชกาลที่ ๓ ทรงก่อ “คดีใหญ่” ด้วยพระองค์เอง

แต่จำใจลงมือเพราะ “บัตรสนเท่ห์” ฉบับนี้

กระทบกระทั่งถึงพระเจ้าแผ่นดิน

คือรัชกาลที่ ๒ ด้วย

จึงโปรดให้วังหน้าพิจารณา “บัตรสนเท่ห์” ฉบับนี้

ได้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์

กับนักปราชญ์ผู้รู้กาพย์กลอนโคลงฉันท์

พิจารณากันเป็นองค์คณะ

ก็ลงความเห็นว่าเป็นสำนวนฝีโอษฐ์ของ

กรมหมื่นศรีสุเรนทร์แน่แท้

จึงออกหมายเรียกกรมหมื่นฯมาสอบปากคำ

ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า

กรมหมื่นศรีสุเรนทรเป็นจินตกวี

ได้ทรงแต่งโคลงสมโภชพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมวงศ์

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ไว้เรื่อง ๑

กับฉันท์กล่อมช้างเผือกพลาย เมื่อคราวสมโภชพระยาเศวตกุญชรอีกเรื่อง ๑

เหตุผลที่ ๒

พระเจ้าน้องยาเธอของรัชกาลที่ ๒ ผู้นี้

เป็นศิษย์ของพระพุทธโฆษาจารย์บุญศรี

และหลักฐานที่สำคัญ

ในโคลงบัตรสนเท่ห์

ใช้คำว่า “ไป่” แทน “ไม่”

ซึ่งกรมหมื่นศรีสุเรนทร์

มักทรงใช้ในโคลงที่ทรงนิพนธ์แต่ก่อนๆ เสมอมา

ด้วยเหตุผล ๓ ประการนี้

จึงมีรับสั่งให้เอากรมหมื่นศรีสุเรนทรมาขังไว้

แล้วให้เฆี่ยนถามต่อไปจึงได้รับเป็นสัจจะ

ที่น่าสะเทือนใจก็คือ

กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ทนรับพระราชอาชญา

คือถูกเฆี่ยนถูกโบยตีไม่ไหว

ก็สิ้นชีพใน “ทิม” คือ “ที่คุมขัง”

ยุคดิจิทัลเรียก “ทิม” ว่า “ห้องขัง”

ขณะสิ้นพระชนม์ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ ช

ตรงกับวันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ ตรงกับวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๙

พระชันษาเพียงแค่ ๓๐ ปี

ประวัติย่อ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคันธรส กรมหมื่นศรีสุเรนทร์
 (๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๓๐ – ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๙)
ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะแม นพศก จุลศักราช ๑๑๔๙
ตรงกับวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๓๐
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และเจ้าจอมมารดาพุ่ม ไม่มีนามสกุลพระราชทาน

ในปี พ.ศ. ๒๓๕๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นศรีสุเรนทร์

ต้องพระราชอาญา

พ.ศ. ๒๓๕๙ สมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) สิ้นพระชนม์ลง

ครั้งนั้นว่ากันว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ
อาจจะได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
แต่ก็ได้เกิดอธิกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นครั้งสำคัญและครั้งแรกขึ้น
ในรัชกาลที่ ๒ เพราะมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์
ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง ๓ รูป
ดังมีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่า

“ในเดือน ๑๒ ป็ชวดอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น
มีโจทก์ฟ้องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป ๑
พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป ๑
พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป ๑
ทั้ง ๓ รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ
ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน จนถึงมีบุตรหลายคน
โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์
ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึ
งมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก”

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคันธรส กรมหมื่นศรีสุเรนทร์
ทรงเป็นศิษย์เอกในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี)
ทรงโกรธในการกระทำอันเกินกว่าเหตุของเจ้านาย ๒ พระองค์คือ
 “กรมหมื่นรักษ์รณเรศ” กับ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” มาก
และเห็นว่าอาจะเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อไม่ให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
พระอาจารย์ของกรมหมื่นศรีสุเรนทร์
ชื่อเสียงเสียหายมัวมองจนขาดคุณสมบัติได้รับการพิจารณา
ให้ได้รับการเสนอชื่อสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
จึงทรงเขียนบัตรสนเท่ห์เล่นงานพระญาติด้วยกันเอง

———

ตอน ๘

“รัชกาลที่ ๓ ทรงชำระคดี
พระราชาคณะต้องอธิกรณ์
และเจ้านายชั้นสูงทิ้งบัตรสนเท่ห์”

———–

ผมเดาเอาว่า “เหตุการณ์ทิ้งบัตรสนเท่ห์”
ที่รัชกาลที่ ๓ ทรงเป็น ๑ ในองค์คณะผู้พิพากษา

จะทรงสลดพระทัย ทรงสะเทือนใจ

การที่ “ศิษย์” คือ “กรมหมื่นศรีสุเรนทร์”

ต้องมาชดใช้กรรมเก่าในอดีตชาติทดแทน

“พระคุณ” พระพุทธโฆษาจารย์ศรี ผู้เป็น “ครูบาอาจารย์”

พระอาจารย์ ที่ตนเคารพนับถือ เห็นว่าถูกกลั่นแกล้ง

ไม่เป็นธรรม

และร. ๓ คงทรงฉุกคิด หวนคิดถึง

“กรรม-กิเลส-วิบาก”

ที่ทรงมีส่วนร่วมก่อกรรมทำเข็ญ

กับ “กรมหมื่นศรีสุเรนทร์”

ไม่มากก็น้อย

แต่ก็ต้องตัดสินตาม

“หลักฐาน” ที่ปรากฏ

ตามคำฟ้องของผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ

——–

ผม “เดา” เอาเองว่า “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” โดยน้ำใสใจจริงแล้ว

ถ้าผู้ฟ้องหากันด้วยหยาบช้าแล้ว ชำระเป็นสัจ ไต่สวนได้ความจริง ทรงพิพากษาอรรถคดี

ตามความยุติธรรม รายที่ตายก็ควรตาย รายที่ควรจำคุกก็จำคุก

ทว่าก็มีเหตุบังเอิญให้ “รัชกาลที่ ๓” สมัยเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”

ต้องจำใจจำยอมจำเป็น “หัวหน้าคณะผู้พิพากษา” คดีหนึ่ง ซึ่งผมว่า “ส่งผล”

ต่อ “กรรม-กิเลส-วิบาก” โดยไม่เจตนา

เรื่องราวมีว่า หลังเสร็จคดี “กรมหมื่นศรีสุเรนทร์” ก็มีผู้ทิ้งหนังสือหยาบช้า

“อีกาคาบข่าว” ในพระบรมมหาราชวังขึ้นอีก หนนี้รัชกาลที่ ๒ โปรดให้

“กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” หรือ “รัชกาลที่ ๓” เป็นตุลาการพิจารณา

กรมหมื่นฯ พิจารณาโดยให้ค้นลายมือเจ้านาย และเจ้าจอมทุกตำหนัก ทุกเรือน

ทุกวัง เอามาสอบกับ “บัตรสนเท่ห์” พงศาวดารใช้คำศัพท์ว่า “หนังสือทิ้ง”

ก็พบว่า “สอดคล้อง” ต้องตรงกันกับ “ลายมือ” พระองค์เจ้ากระษัตรีซึ่งเป็นภคินี

ของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ ได้ชำระความไล่เลียงไต่ถาม “พระองค์เจ้ากษัตรี”

ก็ไม่ยอมรับ ด้วยทรงโมโหจึงรับสั่งให้ลงพระราชอาญาจำไว้ที่หลังห้องพระสุคนธ์

ทว่า “พระองค์เจ้ากษัตรี” ขณะถูกคุมขังได้ติดสินบนผู้คุมเรือนจำให้ไปซื้อกระดาษ

กับดินสอมาให้ ได้เขียน “หนังสือ” แล้วจ้างผู้คุมไปมอบให้ “นายคล้าย” บุตรพระสิริโรท

เอาไปทิ้งที่ท้องพระโรงอีกครั้ง นายคล้ายเป็น “คนรำ” แต่รัชกาลที่ ๒ พระราชทาน

ให้เป็น “บุตรบุญธรรม” ของพระองค์เจ้ากษัตรี พอ “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” ไต่สวน

ก็รับผิดทั้ง ๒ คน

เรื่องราวที่ควรจะจบเพียงแค่นี้ ก็ยังหายุติลงได้ง่ายๆ ไม่ เพราะต่อมา “ทาสชาย”

ของ “เจ้าจอมมารดาพิม” พระสนมของรัชกาลที่ ๒ ฟ้องกล่าวโทษว่า “เจ้าจอมมารดาพิม”

รักใคร่เป็นชู้กับ “นายสุด” พี่เขยของตัว ครั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เอาตัวมาไต่สวน

ชำระความ “นายสุด” ก็รับเป็นสัจจะแต่โดยดี ไม่ต่อสู้คดีแต่อย่างใด

กาลภายหลัง เกิดเรื่องราววุ่นวายในวังหลวงอีกเรื่อง กล่าวคือ “นายอู่” พนักงานนมัสการ

ฟ้องกล่าวโทษ “นายนิ่ม” คนรำ บุตรหลวงราชโยธาเทพ ว่าเป็น “ชายชอบชาย”

รักใคร่ให้เพลงยาวแก่ “นายรอด” ตำแหน่งขุนหมื่นในกรมช่างทหารใน เข้ามาทำ

การเรือนในพระบรมมหาราชวัง สืบสาวได้ความว่าเป็นแต่พูดจานัดหมายให้ลาออก

อ้างว่าป่วย จะได้ออกจากราชการมารักษาตัว สืบความพบพยานหลักฐานสาวเชื่อมโยมถึง

“หม่อมเจ้าองุ่น” ในกรมหลวงนรินทรณเรศวร กับ “ปราง” พี่ของ “นายนิ่ม” เป็นผู้มีส่วน

รู้เห็นด้วย เลยเอาตัวมาจำไว้ที่ “ทิม” หรือ “คุก” ในสวนซ้าย

ครั้นเกิดความ “บัตรสนเท่ห์” พระองค์เจ้ากระษัตรีขึ้น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ชำระความ

ค้นลายมือได้หลักฐานสำคัญคือ “เพลงยาว” แต่งโดย “นายช้อย” ที่เรือนหม่อมเจ้าองุ่น

ตัวของ “หม่อมเจ้าองุ่น”

จึงทิ้งหนังสือเป็น “บัตรสนเท่ห์” ซ้ำอีก

รับสั่งให้ประหารชีวิต “นายช้อย” “นายรอด” “นายศุก” “พระองค์เจ้ากระษัตรี”

“หม่อมเจ้าองุ่น” “เจ้าจอมมารดาพิม” “นายคล้าย” “”แหโขลน” “นิ่ม” และ “ปราง”

รวม ๑๐ คน

แต่สำหรับราย “พระองค์เจ้ากระษัตรี” โปรดให้ไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์

ไม่ให้ “ถอดพระนาม” คงเรียกว่า “พระองค์เจ้ากระษัตรี” ดังเก่า

———

อ้างอิงที่มา : พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ หน้า ๕๐๑-๕๐๔

เรื่อง “พระราชาคณะต้องอธิกรณ์” และเรื่อง “กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ทิ้งบัตรสนเท่ห์”

ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เล่ม ๑, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, ๒๕๕๕.

———

ตอน ๙

“สมัยรัชกาลที่ ๒ และที่ ๓

ก็เคยมีเรื่องราว

ถอดยศจากตำแหน่งพระสมเด็จฯ

ปรับสถานะให้กลายเป็นพระหลวงตา”

———

เรื่องราว “หลวงตาอาจ” หรือ “พระอาจ”

ซึ่งครั้งที่ โชค ชะตา บุญ วาสนา บารมี หนุนนำ

ก็ได้ขึ้นสูงสุด

ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่อย่างวัดสระเกศ

ได้เป็น “เต็ง ๑” ที่จะขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราช”

ทว่าในที่สุด ชีวิตจริง และความเป็นจริง

กลับถูกถอดยศ ถูกริบคืนตำแหน่ง

“สมเด็จ” ก็ไม่ได้เป็น

ตำแหน่ง “เจ้าอาวาสพระอารามหลวง” ก็ถูกปลดออก

หนำซ้ำยังต้องคดี ถูกพระเจ้าอยู่หัว “เนรเทศ”

ออกจากวัดใหญ่ ต้องไปใช้ชีวิตเงียบสงบ

และมรณภาพใน วัดราษฎร์เล็กๆ

สะท้อน ความไม่แน่นอน ของชีวิตคนเรา

ตอนนี้ น่าอ่าน

ผมค้นคว้าหลักฐานเพิ่มเติม จนได้ข้อยุติว่าเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวพันกัน

ว่าเกิดขึ้นในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๙ ตรงกับแผ่นดินรัชกาลที่ ๒

สมเด็จพระพนรัตน (มี) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ในคราวเดียวกันนี้ ร. ๒ โปรดให้สถาปนาพระพิมลธรรม (อาจ)

เป็นสมเด็จพระพนรัตน ปริยัติวรา วิสุทธิสังฆาปรินายก ตรีปิฎกธราจารย์

สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณิศร บวรวามะคณะสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

ถึงเดือน ๑๒ ปี ๒๓๕๙ มีผู้ฟ้องร้องว่าพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ

พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลาง และพระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุ กรุงเก่า

ต้องอาบัติปาราชิกมานานแล้ว เนื่องจากเสพเมถุนจนมีบุตรหลายคน

เมื่อไต่สวนพบว่าเป็นจริงก็โปรดให้นำทั้ง ๓ คนไปจำคุก

แล้วโปรดให้สมเด็จพระสังฆราช (มี) และสมเด็จพระพนรัตน (อาจ)

แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี เกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณะ

เพื่อคัดแจกจ่ายไปตามพระอารามต่าง ๆ

หลังจากสมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์และรับพระราชทานเพลิงพระศพ

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๖๒

รัชกาลที่ ๒ มีพระประสงค์จะสถาปนาสมเด็จพระพนรัตน (อาจ)

เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ในเดือน ๔

ในปีถัดมาเกิดอหิวาตกโรคระบาดหนักจนทำให้การสถาปนาต้องเลื่อนออกไป

จนถึงเดือน ๑๑ มีผู้ฟ้องร้องว่า

“สมเด็จพระพนรัตน” ท่านชอบหยอกเอินศิษย์หนุ่มด้วยกิริยาไม่เหมาะสม

สมเด็จฯ ท่านรับสารภาพแต่ยืนยันว่าไม่ถึงปาราชิก

รัชกาลที่ ๒ จึงรับสั่งให้ถอดจากสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

แล้วเนรเทศออกจากพระอารามหลวง

ตามประวัติ “หลวงตาอาจ” ซึ่งถึงคราวตกอับ อาภัพ อับวาสนา

ชะตาชีวิตยามรุ่งเรือง

ได้เป็นถึง “สมเด็จพระพนรัตน”

แต่ถึงคราวตกยากและตกต่ำ

ก็ถูกถอดยศ ตำแหน่ง ฐานันดรศักดิ์ อันสูงส่ง

เมื่อ “กรรม-กิเลส-วิบาก” ให้ผลเพราะไม่สำรวม “กายกรรม-วจีกรรม”

พระภิกษุอาจ จึงยอมรับในโชค ชะตา ฟ้าลิขิต ยอมจำนน “โองการ” ฟ้า

ย้ายไปอยู่วัดไทรทอง (ปัจจุบันคือวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร)

จนกระทั่งมรณภาพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านเรื่องราว “สมเด็จพระพนรัตน”

หยอกเอิน “ศิษย์หนุ่ม” แล้วถูกลงพระราชอาญา

ด้วยการ “ถอด” ออกจากฐานันดรศักดิ์ชั้นสูงสุด

ระดับ “สมเด็จ” แล้ว

ผมก็ให้คิดเห็นไปว่า ทุ

กสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง

คิดเห็นก็เป็นอนิจจังไปเสียทั้งนั้น

จะดีจะชั่ว อยู่ที่ตัวทำ

จะสูงหรือต่ำ อยู่ที่ทำตัว

เรื่องราว “พระราชาคณะ” ที่ต้องคดีความจำนวนหลายรูป

ด้วย “คดีความ” ความผิดข้อหาต่างๆ กัน

เป็น “กรณีศึกษา” ที่ชวนให้ขบคิดกระทั่งถึงยุคดิจิทัลว่า

“ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้”

ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐ การที่พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ

ถูกดำเนินคดี ถึง ๓ รูป พระราชาคณะชั้นเทพ ถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์อันสูงส่ง

พระราชาคณะชั้นราช ก็ถูกถอดออกจากสมณศักดิ์ ลงเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง

คล้าย “พระภิกษุอาจ” ซึ่งเป็นอดีต “สมเด็จพระพนรัตน”

คิดเห็นไปว่า ล้วนเป็นเรื่องของ “กรรม-กิเลส-วิบาก” ของแต่ละท่าน

ที่เป็น “ปัจจัตตัง” อันเจ้าตัวจะรู้หรือไม่ ก็ไม่มีใครพยากรณ์ได้

เป็นเรื่องของ “สังสารวัฏ”

ดังนั้น เห็นใครรุ่งเรืองแล้วร่วงโรย

ส่วนตัวผมมองว่า “ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม”

ให้กำลังใจกันได้ก็ควรให้

อย่าซ้ำเติมกันและกัน

หาไม่แล้วจะเกิดกรณี “คิดเยอะ คิดมาก”

กระทั่งผูกคอตายเพราะ “คิดไม่ตก” “ปลงไม่ได้”

อย่างรายกรณี “พระพรหมสุธี”

พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ วัดสระเกศ เป็นต้น

ซึ่งกาลต่อมา “พระพรหมสิทธิ”

พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จฯ วัดสระเกศ

คู่กรณี

สุดท้าย “ตายทั้งเป็น” ด้วย “การติดคุก”

ยังไม่ออก กระทั่งถึงบัดนี้

นึกถึงคำว่า

“สังสารวัฏ”

“กรรม-กิเลส-วิบาก”

เป็น ปัจจัตตัง

สาระสำคัญที่เล่า

มุ่งให้ผู้อ่านทุกท่าน

รักบุญ

ระวังไม่สร้างบาป

ไม่สร้างกรรม

จะได้ไม่ชดใช้กรรมที่กอ่

เป็นสำคัญ

——-

ตอน ๑๐

“รัชกาลที่ ๓

ทรงจับพระสึก ๕๐๐ รูปเศษ

พระราชาคณะเป็นปาราชิก

ก็หลายรูป”

——–

หลัง “ส่งเสริมและสนับสนุน”

ทว่าเกิด “ผลกระทบอีกแรง”

นั่นคือ เกิดมี “พระนอกรีตนอกรอย”

เกิดขึ้นจำนวนนับไม่ถ้วน

ขนาดเป็นถึง “ตำแหน่งโปรดเกล้าฯ”

ตำแหน่ง “พระราชาคณะ” ที่มีเงินเดือน

เงินประจำตำแหน่ง “นิตยภัตร”

ชีวิตสบายๆ ไม่ลำบากเดือดร้อน

ทว่า “พระราชาคณะ” ยุคนั้น

ก็ยังเป็น “ปาราชิก” กันมาก

สะท้อนความจริงว่า อย่าให้พระมีลาภสักการะมาก

จะเคยตัว “เงิน” และ “ตำแหน่ง”

นำมาซึ่ง “อิตถี” “นารี” พิฆาตพระ

เรื่องราว เงิน – ตำแหน่ง – อิตถี

หรือ สตรี-สตางค์

ทำร้ายพระดี เสียผู้เสียคนเป็นอันมาก

ตั้งแต่สมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ แล้ว

รวมถึงวงการอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น วงการการเมือง

ผมนึกถึง “พระบาลี” ในธัมมบทว่า

“กาเยน สํวุตา ธีรา อโถ วาจาย สํวุตา

มนสา สํวุตา ธีรา เต เว สุปริสํวุตา”

แปลว่า

“นักปราชญ์ทั้งหลาย ระมัดระวังกาย

ระมัดระวังการใช้ถ้อยคำ

ระมัดระวังใจ

นักปราชญ์เหล่านั้นแล

ได้ชื่อว่าระมัดระวังรอบคอบดีแล้วนักแล”

ใดๆ สะท้อนถึง

กรรม-กิเลส-วิบาก

ปิดทวาร

ปิดกรรม

ควบคุมกิเลส

ไม่ประมาท

ก็จะได้รับแต่

วิบากแห่งกุสลกรรม

บุญหนุน

กุสลนำ

โชคชะตา

ชีวิต

ก็เปลี่ยนแปลง

ไปในทางที่ดี

——–

รัชกาลที่ ๓ ทรงมีแนวพระราชดำริว่า

“มนุสฺสทุลฺลโภ”

สรรพสัตว์

จะได้บังเกิดเป็นมนุษย์

พบพระพุทธศาสนานี้

ยากนัก

คล้าย “เต่าตาบอด”

จมอยู่ในมหาสมุทร

นับหมื่นปีแสนปี

เจ้าพระคุณพระราชาคณะทั้งปวง

จะรักษาพระศาสนาฝ่ายพุทธจักรนั้น

มิได้มีดำริแนวคิดเหมือนฝ่ายพระราชา

ที่มีแนวคิดจะรักษาแผ่นดิน

ฝ่ายราชอาณาจักร

ถึงจะมีอันตราย

ก็จัดแจงแต่งตั้ง “ตัวแทน” “ตัวกัน” ขึ้นไว้

ฝ่ายพุทธจักรนั้น

พระราชาคณะจะรักษาพระศาสนา

ก็มิได้ “ดำริ” “คิด”

ที่จะ “ฝึกสอน” ศิษยานุศิษย์ให้รู้พระไตรปิฎก

จะได้สนองงาน

ถึงจะเป็นอันตรายลง

จะได้ “แทนกัน” ขึ้นไว้

พระพุทธจักรกับพระราชอาณาจักร

มี “พระดำริ” มิได้ต้องกัน

จึงเป็นดังนี้

ยุคดิจิทัล

ถ้ามหาเถรสมาคมจะสืบสาน

สืบทอด สืบต่อ

แนวพระราชดำริ

ก็ควรจัดประชุม “ชาวพุทธ” ทุกภาคส่วน

ทำแผนปฏิบัติการ

ทำการวิเคราะห์เทคนิค “สวอต” SWOT

วิเคราะห์ “ภัยคุกคาม ๕ ประการ”

ซึ่งภัยประการแรกเกิดจาก

“ความเสื่อมภายใน”

ภัยประการที่ ๒ คือ “ความเสื่อมภายนอก”

ภัยประการที่ ๓ คือ “ภัยจากศาสนาอื่น”

ภัยประการที่ ๔ คือ“ภัยจากลัทธิผสมผสาน”

และภัยสุดท้าย “ภัยจากการแข่งขันกันเอง”

ตามแนวคิดของไมเคิล อี พอร์เตอร์

ทำแบบจำลอง “ทำนายอนาคตพุทธศาสนา”

ด้วยหลัก Scenario

มหาเถรสมาคม อย่านิ่งเฉย

ควรเสนอให้ “คณะสงฆ์” จัดประชุม

“ตัวแทน” “ตัวกัน”

และออกนโยบายสร้าง “ผู้นำ” ที่เป็น “ศาสนทายาท”

เพื่อสืบทอดและนำพระพุทธศาสนาต่อไป

เสนอให้รัฐบาล

ระดมพล

ระดมผู้รู้

ช่วยกันคิดอ่าน

ระดม

“พลังศรัทธา”

ในการส่งเสริมสนับสนุน

และปกปักรักษา

“พระพุทธศาสนา”

โดยจะต้องให้ “พุทธบริษัท”

ช่วยกันคนละแรง “สร้าง”

ตัวตาย ตัวแทน ขึ้นรับช่วงสืบทอด

“อำนาจ” ในการทำให้

“พุทธศาสนา”

สถิตถาวรยาวนานถึงห้าพันปี

แต่ผมก็ยังไม่พบ

“แผนยุทธศาสตร์” ใดๆ ที่ออกโดยมหาเถรสมาคม

แสดงให้เห็นถึง “ความพร้อม” ด้านพุทธจักร

ไม่พบทั้ง

“วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ค่านิยม-แผนการ-โครงการ”

สร้าง “ศาสนทายาท” ที่เป็นรูปธรรม

ในฟากของ “มหาเถรสมาคม”

——-

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ จดบันทึกรายละเอียดไว้โดยย่อว่า

“เรื่อง “ชำระพระสงฆ์ประพฤติอนาจาร”

เมื่อ ณ เดือน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓

เกิดชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารมิควร

ทั้งบ้านทั้งเมืองได้ตัวชำระสึกเสียก็มาก

ประมาณ ๕๐๐ เศษ

ที่หนีไปก็มาก

พระราชาคณะเป็นปาราชิกก็หลายรูป

ในเดือน ๔ นั้น

การเมรุผ้าขาวสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เสร็จแล้ว

ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ

ชักศพไปเข้าเมรุ ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ

พระราชทานเพลิง”

ตอนนี้

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๘๕

หลังรัชกาลที่ ๓

ครองราชย์มาได้ ๑๘ ปี

ควรทราบว่ารัชกาลที่ ๓

เสด็จขึ้นครองราชย์

พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๙๔

——-

เหตุการณ์ที่ว่าเกิดขึ้น

ตอนปลายสมัยของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

นับเป็นการชำระสะสาง

อลัชชีในคณะสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏ

ในประวัติการปกครองคณะสงฆ์ในยุครัตนโกสินทร์

ซึ่งแสดงให้เห็นถึง

“ความเสื่อม” ของวงการสงฆ์ในยุคนั้น

และหักล้างทฤษฎีว่า

“ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์”

กล่าวคือ ตอนต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๓

อาจปล่อยพระสงฆ์สบายๆ

แต่พอชักจะเละเทะ และไม่ไหว

ก็ทรงใช้ “พระราชอำนาจ”

สึกพระที่ประพฤติไม่เหมาะสม

จำนวนมากถึง ๕๐๐ รูปเศษ

และพบหลักฐานว่าพระราชาคณะ

เป็นปาราชิกกันมาก

สะท้อน “การปฏิรูปสงฆ์”

ซึ่งสืบเนื่องต่อมา

ถึงการถือกำเนิด “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”

ผมเดาว่า

พระ-เณร-ชี มีมาก

แต่ “เถร” ที่ไม่ใช่พระและเณร

คงสร้างความเอือมระอา และเสื่อมศรัทธากันมาก

ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึง

“ความเข้มงวดกวดขันเอาจริงเอาจัง”

ของรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิต

ทำตัวเป็น “ไวยาวัจกร” ทำงานแทนพระรัตนตรัย

ด้วย ความคิดอ่าน คำพูด และการกระทำ

ไม่พูดไปเรื่อย ไม่รับปากไปเรื่อย

ทรงพยายามทำ “พระให้เป็นพระ”

และทรงทำ “วัดให้เป็นวัด”

ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เต็มพระสติปัญญาอยู่เสมอ

แน่นอนว่า “พระสงฆ์” หลบหนี “ราชภัย”

ในแผ่นดินพระนั่งเกล้ากันมาก

นอกจาก “พระภิกษุภู่” หรือ “สุนทรภู่” แล้ว

ผมเชื่อว่า “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” วัดระฆังโฆสิตาราม

ก็หนี “ราชภัย” ตามไปด้วย ตลอดรัชกาล

เพิ่งจะหวนกลับมา ในแผ่นดินของรัชกาลที่ ๔

เพราะสมเด็จโต ท่าน “แผลง” และ “ไม่ธรรมดา”

จึง “หลบหนี” ตลอดราชภัย

เป็นถ้อยคำที่สมเด็จโต สนทนากับ รัชกาลที่ ๔ เอง

 

———–

 

ตอน ๑๑

 “พระราชนิพนธ์ขอขมาพระสงฆ์ของรัชกาลที่ ๓”

 

——–

วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี 
ตรงกับ “วันสวรรคต” ของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้บังเอิญว่าวันนี้เป็น “วันพระราชสมภพ” 
ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
คนทั่วไป เลยไม่ค่อยรับรู้ว่าวันนี้แท้ที่จริง 
เป็น “วันสำคัญ” ในอดีต

——-
เรื่องราวที่ผมอ่านแล้วเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง
และประทับใจเกี่ยวกับ “น้ำพระทัย” ของรัชกาลที่ ๓ 
มีอยู่ ๒ เรื่องหลักด้วยกัน
ตอน ๑๑ จะขอเล่าเรื่องแรกคือ “พระราชนิพนธ์ทรงขอขมาพระสงฆ์”

สอบทานเป็นวันเดือนปีในยุคดิจิทัล
พบว่า “ข้อเขียนชิ้นนี้” เขียนขึ้นในวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ไทย
ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๙๓
เวลา ๑๗ นาฬิกาเศษ
รัชกาลที่ ๓ สิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๓
ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ไทย 
แสดงว่าทรงตั้งพระทัย เขียนด้วยพระองค์เอง
ล่วงหน้าเพียงแค่ ๒๕ วัน ก่อนสวรรคต

พระราชนิพนธ์ เป็นสำนวนภาษาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
ผมอ่านแล้ว “ซาบซึ้ง” ในคำและความ ขอนำมาลง บางส่วน ดังนี้ 
“ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเป็นอดีตล่วงแล้ว ๒๓๙๓ พรรษายุกาล
ผคุณมาส ศุกรปักษ์ ฉัฏฐมีดิถี โสรวาร บริเฉทกาลกำหนด
เพลาบ่าย ๕ โมงเศษ…”
ควรทราบว่า แต่โบราณ คนไทยเรานับวันเดือนปีแบบจันทรคติ
ผคุณมาส ตรงกับเดือน ๔
ศุกรปักษ์ คือเวลาข้างขึ้น
ฉัฏฐมีดิถี คือวันขึ้นหรือแรม ๖ ค่ำ 
ดูว่าเป็น “ศุกรปักษ์” ข้างขึ้น หรือ “กาฬปักษ์” ข้างแรม
โสรวาร แปลตรงตัวว่า “วันเสาร์”

ภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ 
ส่วนตัวผมเห็นว่า “ผู้ที่รักการศึกษา”
ควรขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพราะจะทำให้อ่านคำและความโบราณ
ด้วยความเข้าใจในอรรถและธรรมที่ลึกซึ้ง
เมื่อตีความได้ถูกต้อง เข้าใจตรงกัน
ก็จะเกิดความคิดอ่านที่ไม่เคยมี 
จากข้อคิดข้อเขียนเก่าๆ 
ยกตัวอย่างเช่น “ข้อเขียนก่อนสวรรคต ของรัชกาลที่๓”

——-

ผมว่า คนที่ “เตรียมตัวตาย” แบบรัชกาลที่ ๓
เป็น “ตัวอย่าง” และ “แบบอย่าง” ที่ดีเยี่ยม
ตลอดระยะเวลา “ไตรมาสสุดท้าย” ก่อนสิ้นพระชนม์
รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงวางแผน “เตรียมตัวตาย”
ดังนั้น เมื่อถึงวันเวลาที่สิ้นพระชนม์จริงๆ 
ลูกๆ หลานๆ พี่ๆ น้องๆ 
เจ้านาย พระราชวงศานุวงศ์ อำมาตย์ ข้าราชบริพาร
พระสงฆ์ราชาคณะ และผู้เกี่ยวข้อง
จึงมิได้ “เปิดศึก” แย่งชิง “อำนาจ” และ “สังหาร” 
หรือ “ลอบสังหาร” ฝ่ายตรงข้าม

——-

สิ่งที่ “ค้างคา” ในใจของรัชกาลที่ ๓ 
ในรอบ ๓ เดือนก่อน “สวรรคต” 
เรื่องแรกคือ “ราชบัลลังก์” 
ทรง “เผย” รายชื่อ อย่างน้อย ๔ ชื่อ 
สรุป ๑ ใน ๔ ชื่อที่ทรง “ทำนาย” 
ได้สืบทอด “พระราชอำนาจ” จริง
นั่นคือ “รัชกาลที่ ๔”
แต่ก็มาพร้อมกับ “ความห่วงใย”
เรื่องเดียวคือทรงเกรงว่าพระจอมเกล้า
จะใช้ “พระราชอำนาจ” บีบบังคับ ฝืนใจ
ให้พระสงฆ์สยาม เปลี่ยนจาก “ห่มแบบมังกร”
กลายเป็น “ห่มแหวก” แบบรามัญมอญ 
ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงเป็นจอมปราชญ์
จนทุกวันนี้ การห่มจีวร ก็มีทั้ง ๒ แบบ
มิได้มีเพียงแบบเดียว ตามที่รัชกาลที่ ๓ ทรงห่วงใย

เรื่องที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ทรง “ทำนาย” อนาคตสยามประเทศ
เอาไว้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะ “การศึกสงคราม”
ทรงมีวิสัยทัศน์อันแม่นยำราวกับตาเห็นว่า
“การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าจะไม่มีอีกต่อไป”
และให้ “เรียนรู้” จาก “ฝรั่ง” แต่อย่าถึงกับ “นับถือเลื่อมใส”
เห่อฝรั่ง จนลืม “เอกลักษณ์ไทย”

ผมพบว่า “สยามกับสหรัฐอเมริกา” เริ่มผูกสัมพันธไมตรีเป็นมิตรต่อกัน
ในแผ่นดินรัชกาลที่๓ นี้เอง

เรื่องที่ ๓ รัชกาลที่ ๓ ทรงห่วงใย “พระราชาคณะทั้งหลาย”
จะละเลยการสร้าง “ศาสนทายาท” ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
กับ ๒ เรื่อง เรื่องแรกคือ “วิชาการพระพุทธศาสนา” 
มีการแลกเปลี่ยนคัมภีร์ระหว่างสยามกับลังกา เป็นเรื่องเป็นราวชัดเจน
ต่อจากแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในสมัยอยุธยา
ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงกับมี “คณะลังกา” และมีพระสงฆ์ลังกาจำนวน ๑๑ รูป
มาพำนักประจำ และ “วัดบวรนิเวศ” เป็นวัดศูนย์กลาง “นานาชาติ”
มีบาทหลวงต่างศาสนา มาสนทนา แลกเปลี่ยน พูดคุย
ข้ออรรถ ข้อธรรมกับเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งกาลต่อมาได้เป็น “รัชกาลที่ ๔”
มีการเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาสันสกฤต และเริ่มมีการใช้ “เทคโนโลยีการพิมพ์”
เพื่อช่วยเหลือการเรียนพระไตรปิฎกศึกษาให้ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว กว่าแต่เก่าก่อน

อีกเรื่องคือ “การถวายทุนสนับสนุนการศึกษาพระไตรปิฎก” 
รัชกาลที่ ๓ ทรงชักชวน “ข้าราชการ” “อำมาตย์” “นักวิชาการ” “เศรษฐี” “เจ้าสัว”
ให้ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมการเรียนพระไตรปิฎก ให้แต่ละวัง แต่ละตำหนัก
จ้าง “ครู” สอนบาลี สำนักต่างๆ และช่วยกันถวายอุปถัมภ์ “ครูบาลี” “พระและสามเณรที่เรียนบาลี”
ในรูปแบบที่เรียกว่า “นิตยภัตร” ในรูปของ “เงินเดือน” และ “ข้าวถัง”

กับ “คิลานภัตร” ในรูปของ “ยารักษาโรค”

พระสงฆ์สามเณรยุคนี้ เรียนพระปริยัติธรรมกัน
เยอะมาก วัดใหญ่ๆ อย่างวัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดมหาธาตุ วัดบวรนิเวศ มีพระภิกษุจำพรรษากันจำนวนร้อยถึงหลายร้อยรูป
เฉพาะพระและสามเณรเปรียญที่นิมนต์รับถวาย “เงินสด” ในรูปของ “นิตยภัตร” 
มีจำนวนมากมายถึงเกือบหนึ่งหมื่นรูป สะท้อนว่า “รัชกาลที่ ๓” เข้าใจระบบ “อัดฉีด”
ซึ่งกระตุ้นให้เกิด “แรงจูงใจ” ดังคำสมัยใหม่ว่า “เงินมีหน้าสด เงินหมดหน้าแห้ง”

ผมประทับใจ “Human Resource Management” การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งหลักใหญ่ใจความสำคัญคือ 
รับสมัครผู้บวชเรียน-คัดเลือกผู้บวชเรียน-ฝึกหัดคัดกรองผู้บวชเรียน-ประเมินผลการเรียน-
การสร้างแรงจูงใจให้อยากเรียนพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะผ่าน “เงินสด” หรือ “ระบบประกันสุขภาพ”
และ “สวัสดิการอาหาร” นับว่ายังคงทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ของกิจการชั้นนำระดับนานาชาติทั่วโลก

ทว่าวัดวาอารามต่างๆ ละเลย HRM ทุกวันนี้ ถ้าวัดวาอารามต่างๆ ยังใช้ระบบ “ทิ้งๆ ขว้างๆ”
ผมเรียกว่า “ระบบตายฝังยังเลี้ยง” พูดให้เห็นภาพชัดเจน ให้นึกถึงภาพ 
“หมาแมวถูกนำไปปล่อยลอยแพทิ้งไว้ตามวัดแบบอนาถา”

ถ้า “มหาเถรสมาคม” ไม่ชักชวนพุทธบริษัทให้ช่วยกัน “คิดอ่าน”
อนาคตวัดต่างๆ ก็คง “ไม่เหลือ” ศาสนทายาทผู้ที่มีใจสัทธาเลื่อมใส
อยากสืบทอด สืบสาน ดูแล รักษา ศาสนวัตถุ และศาสนทายาท สืบต่อไป

ขนาดรัชกาลที่ ๓ ใส่พระทัย ดูแลอย่างดี 
ในปีที่ ๑๘ ของรัชกาล 
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
ก็ยังได้ทำจดหมายเหตุเป็นทางการ
“พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓”
ระบุ “หลักฐาน” ยืนยันไว้ชัดเจนว่า
พระราชาคณะขนาดจำนวนน้อยเพียงแค่ ๑๐๐ รูปเศษ
ก็ยังเป็นปาราชิกกันมาก
พระที่หลบหนีราชภัยก็มาก
และถูกจับสึกก็มากมายถึงจำนวน ๕๐๐ รูปเศษ

ดังที่บอก ๘ ปีสุดท้ายแห่งรัชกาล
ผมคิดว่า “พระเจ้าอโสกแห่งกรุงสยาม”
คือ “พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” ก็คงไม่สบายพระทัยนัก
เกี่ยวแก่เรื่อง “พระ-เถร-เณร-ชี” 
ความจริงปรากฏจาก
“ข้อเขียน” ที่ไม่ระบุชื่อผู้เขียนจดสนองรายงาน
แต่ระบุตรงๆ ว่าเป็น “พระราชนิพนธ์”
ก็แสดงให้เห็นว่า “รัชกาลที่ ๓” จงใจ “สื่อ”
เกี่ยวกับ “สาร” คือ “สิ่งที่ค้างคาใจ” ก่อนจากไปยังปรโลก
มุ่งตรงถึง “พระ” โดยตรง

คนแบบ “รัชกาลที่ ๓”
ผมมองว่าเป็นบุคคลที่หาได้ยาก
ในรอบหลายร้อยปี 
จะกลับมาเกิดอีกสักครั้ง

คนแบบนี้ เป็นตัวอย่างของ “คนสู้ชีวิต”
กว่าจะได้ราชบัลลังก์มาครอง
ก็เกิดจาก “มันสมอง” และ “สองมือ” ล้วนๆ

และเป็นคนที่คิดและทำเพื่อ 
สถาบันชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์
จนวันสุดท้าย

แต่เข้าใจว่า “ราชาคณะต่างๆ”
คงจะไม่ยอม “ษมา” และ “อโหสิกรรม”
เพราะรัชกาลที่ ๓ แทนที่จะได้รับยกย่องเป็น “มหาราช”
ท้ายที่สุด กลับได้เป็นเพียงแค่ 
“พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า”
นึกถึงคำว่า “ทำคุณกับใคร เหมือนไฟตกน้ำ”

——-

ตอน ๑๒

“พระราชนิพนธ์ฉบับสุดท้ายของรัชกาลที่ ๓”

——

สะท้อน “กิเลส-กิเลส-วิบาก” ของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยสำนวนภาษาร่วมสมัย

รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงพระประชวร มีความรำจวน (แปลว่าสะเทือนใจ)
ถึงพระราชกิริยา (กายกรรม) ที่ได้ทรงประพฤติมา ในการซึ่งได้ทรง
ปฏิสันถารปราศรัย และมีพระราชดำรัส (วจีกรรม) ด้วยกิจใดๆ 
กับพระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรม บาเรียน (เปรียญ) และภิกษุอนุจร องค์ใดๆ ก็ดี
ตั้งแต่จำความได้มาจนกาลบัดนี้ ทรงพระปริวิตกระแวงอยู่ ว่าจะมีความพลั้งพลาด
ประมาทใน “โวหาร” เป็นการ “อคารวะ” (ใช้ถ้อยคำไม่เคารพ) 
ไม่สมควรที่จะตรัสแก่สมณะในพระศาสนา

อนึ่งตั้งแต่ทรงถวัลยราชราชาภิเษกมา บางทีอธิกรณ์มีในพระสงฆ์
ก็ได้ตรัสประภาษเป็นพระราชดำริดุจหนึ่งกระด้าง เพื่อจะให้พระราชาคณะ
ฐานานุกรม เจ้าหมู่ เจ้าคณะทั้งปวง เกรงพระราชานุภาพ

*วิจารณ์ตรงนี้ว่า “การที่ทรงแข็งกระด้าง” กับพระสงฆ์ ก็เพื่อให้พระสงฆ์
เคารพ ยำเกรงใน “ราชานุภาพ” ซึ่งก็คือ “พระราชอำนาจ” โดยตรง
ก็คือ “กฎหมายบ้านเมือง” และหมายรวมถึง “พระธรรมวินัย”
———

จะให้อุตสาหะสั่งสอนศิษยานุศิษย์ และปราบปรามภิกษุอลัชชี เหล่าอันธพาล
ให้พระพุทธศาสนาถาวร วัฒนาการ บริสุทธิ สะอาด ด้วยอำนาจพระเดชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ที่เป็นศาสโนปถัมภก ก็ครั้งนี้มีพระราชวิตกว่า
พระราชกิริยาทั้งปวงนั้น “ลางอัน” จะเป็น “อคารวะ” และ “ไม่เป็นที่ชอบใจ”
แก่พระผู้เป็นเจ้าบางองค์ “วิปฏิสาร” (เดือดร้อนใจ) อยู่
*วิจารณ์ตรงนี้ว่า ต้องการเห็นพระราชาคณะ รับภาระ ธุระ พระศาสนา
ต้องการให้พระสั่งสอนสร้างศิษย์ให้เป็นพระที่ทรงศีล และช่วยกันปราบปรามพระทุสีล
ขจัดออกจากวงการ เป้าหมายมุ่งให้พระพุทธศาสนา “ถาวร” “เติบโต” “หมดจด” 
และ “ผุดผ่องใส” เป็นสำคัญ แต่บางทีการที่ทรง “เสียงดัง” พูดเหมือนข่มขู่ ตะคอกพระ
เพราะเป็นผู้มีอำนาจ พระฟัง “เจ้า” พูดเสียงดังแล้ว ก็อาจเกิดความรู้สึกว่า “พระเจ้าอยู่หัว”
ไม่เคารพพระ และการเป็นคนโผงผาง ตรงไปตรงมา พระอาจรู้สึกชัดใจ ไม่ประทับใจ

จึงมีพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสีหนาท อาราธนา
“เจ้าฟ้ามงกุฎ” “สมมุติเทวาวงศ์” (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยผนวช เรียกขานกันในวังว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือเจ้าฟ้าใหญ่ คู่กับ
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกขานกันว่า เจ้าฟ้าน้อย)
ให้เป็น “ธุระ” รับเชิญกระแสพระราชโองการ มาอ่อนน้อมนมัสการ
ขอษมาโทษที่จะพึงมี เพราะพระราชดำรัส (วจีกรรม) 
เย้าหยอก ฤาคมคาย ใดๆ ก็ดีทั้งปวง เป็นพระราชกิริยาอันล่วงเป็นไปในพระราชาคณะ
ฐานานุกรม เปรียญ ภิกษุอนุจรองค์ใดๆ ในเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งล่วงมาแล้วนั้น 
ให้ทราบตลอดไปทุกรูป บรรดาที่ได้เคยเข้ามารัชราชนิมนตนกิจทั้งปวง 
ขอให้พระผู้เป็นเจ้าทุกองค์จงปลงอัธยาศัย ออมอดโทษถวายอภัย
ด้วยน้ำใจอันเต็มไปด้วยเมตตากรุณาเป็นบุเรจาริก (เบื้องหน้า) อย่าให้เป็นกรรมเวรต่อไป
ให้สิ้นพระราชวิปฏิสารรำคาญทั้งปวงนั้น (ให้เลิกเป็นกังวลในใจอีกต่อไป)
*พระราชนิพนธ์ตอนนี้ สะท้อนว่า รัชกาลที่ ๓ ท่านก็ “พูดเล่น” กับพระที่ท่านคุ้นเคย
และบางทีก็ “เล่า” ความในใจที่ “ลึกซึ้ง” และ “คมคาย” พูดให้พระเก็บไปคิด
โดยเฉพาะแนวคิด “การสร้างตัวแทน” และ “การเรียนพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นแก่นแท้
แก่นธรรมของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ไปลุ่มหลงกับ “เล่นแร่แปรธาตุ” “เล่นหวย”
หรือ “การอื่นๆ” แทน แต่ความที่อาจไม่ “ระมัดระวัง” คำพูดคำจา จนไปก่อเกิดกลายเป็น
“วจีกรรม” เป็น “บาปกรรม” รัชกาลที่ ๓ ท่านไม่ประสงค์จะให้เป็นบาปเป็นกรรมติดตัว
ก็เลยตัดสินใจ “เขียนคำขอขมา” ให้พระราชาคณะวัดต่างๆ รับทราบกัน
และกรณีที่พระราชาคณะเป็นปาราชิกกันมากก็ดี
การที่พระหลบหนีราชภัยกันมากก็ดี
การที่พระถูกจับสึกในปีที่ ๑๘ แห่งการครองราชย์
จำนวนมากถึง ๕๐๐ รูปเศษ ก็ดี สะท้อนว่า “ทรงไม่สบายพระทัย”
ยังไม่นับที่ตัดสินจับพระผู้ใหญ่สึกถึง ๓ องค์
ถอดยศ “สมเด็จพระพนรัตน” ลงเป็น “หลวงตา” เป็นต้น
กายกรรม-วจีกรรมต่างๆ ล้วนทำให้เกิด “ความในใจ” ที่ต้องการ “ระบาย” ก่อนตาย

——–

การเปิดใจคุยกัน ระหว่างรัชกาลที่ ๓ กับพระสงฆ์ที่กุมอำนาจปกครองสงฆ์
ท่อนต่อไป ผมว่าน่าสนใจ
“อนึ่งขอให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงกระทำสัตยาธิษฐาน (อธิษฐานจิตด้วยสัจจะความจริง)
ด้วยคุณพระศรีรัตนตรัย และจตุปาริสุทธศีล และศาสนานุสิกขากิจ 
ถวายพระราชกุสโลทิศ (พระราชกุศล อุทิศ) แด่สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หั
ให้มีประชวรคลายหายพระโรคเป็นเกษมสุขสวัสดิ์ ให้ได้ทรงปฏิบัติ
บำเพ็ญพระกุศล เป็นพุทธการบารมี เพื่อพระโพธิญาณ สมควรแก่การ
ที่ได้ทรงประสบพบพระพุทธศาสนา อันเป็นอดุลาดิศัยบุญเขตต์นี้เทอญ ฯ”

ให้พระราชาคณะและฐานานุกรม บรรดาที่ได้มาอ่านกระแสพระราชโองการนี้
บอกแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม และเปรียญ ในอารามที่ยังไม่ได้อ่าน 
มาอ่าน ณ ศาลายามค่ำ เวลาบ่ายต่อๆ ไป เถิด.

*ภาพชายคนหนึ่ง นุ่งโสร่ง ล่องเรือลำเล็ก มาในคลองบางกอกใหญ่
ผ่านวัดที่ “เพื่อน” สร้าง ซ้ายมือคือวัดกัลยาณมิตร 
คิดถึง “พระหลวงพ่อโตซำปอกง” ที่ “เจ้าตัว” เป็นผู้มาวางศิลาฤกษ์สร้างเอง
ให้เพื่อนคือ “เจ้าพระยานิกรบดินทร์” ต้นตระกูล “กัลยาณมิตร”
ภาพขวามือเป็นภาพ “บ้านเกิด” สมัยเด็กๆ เดินเล่นกับน้องๆ คือ
เจ้าฟ้าใหญ่ (รัชกาลที่ ๔) เจ้าฟ้าน้อย (พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ภาพตำหนักของพระอาจารย์ คือ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)”
ที่ทรงหล่อพระรูปให้คู่กับพระอุปัชฌาย์คือ “สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวโร”
วัดราชสิทธาราม

ก่อนที่วันแล้ววันเล่า จะจบลงที่ “แท่น” ข้างพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม
แล้วพอโพล้เพล้ ก็ล่องเรือกลับมาเทียบท่าที่พระบรมมหาราชวัง 
ใกล้กับวัดพระเชตุพน เป็นแบบนี้ติดต่อกันหลายปี

โดยไม่ไปหาใคร ไม่สุงสิงกับใคร เจียมเนื้อเจียมตั
มีอำนาจ ก็ทำตัวเหมือนเป็นคนไม่มีอำนาจ

คนที่ไม่รู้จัก ก็คงมองไม่ออก นึกว่าเป็น “เจ้าสัว” คนมีอันจะกินคนหนึ่ง
จากผิวพรรณ ใบหน้า และรูปร่าง เพราะยุคนั้น ยังไม่มีเทคโนโลยีถ่ายรูป
ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นใคร นอกจากจะมีทหารราชองครักษ์เพียงไม่กี่นายยืนเคียงข้าง

——–

 

ตอน ๑๓
“พระดำรัสอันเป็นอมตะของรัชกาลที่ ๓”

——

วันนี้ เป็น “วันตาย” ของชายร่างใหญ่คนนั้น 
ซึ่ง “ฝัน” ไว้ว่า “วันหน้า” ถ้าตาย
“ดวงวิญญาณ” จะขอมาสถิต 
ณ แท่นทำงานเล็กๆ ใต้ต้นพิกุล
ข้างพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม

——-
ผมประทับใจ “คำคมคาย” ที่รับสั่งไว้
ในวันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ก่อนสวรรคต
เพียงแค่ราวเดือนเศษว่า
“หนังสืออันนี้ถ้าท่านผู้ใดได้เห็นได้อ่านแล้ว
ถ้าเห็นเหลือสติปัญญาซึ่งจะเยียวยาโรคข้าให้หายได้
ก็จงจำเริญพระไตรลักษณ์ว่า 
นามรูปํ อนิจฺจํ 
นามรูปํ ทุกฺขํ
นามรูปํ อนตฺตา *
จะมีผลานิสงส์แก่ตนเป็นอันมาก”
*แปลว่า นามรูป ไม่เที่ยง นามรูปเป็นทุกข์ นามรูป เป็นอนัตตา
การที่ “เขียน” พระบาลีบทนี้ เพราะอาการของโรคคือ

เดินให้กะเสาะกะแสะ และกินข้าวไม่มีรสติดต่อกันมาปีเศษถึงสองปีแล้ว
กินข้าว ๙ มื้อ ๑๐ มื้อ จะมีรสสักมื้อ เบื่อข้าวสวย ก็กินแต่ข้าวต้ม
ข้าวรมควัน ข้าวมูนกะทิ กินได้แค่ถ้วยหนึ่ง ช้อนถ้วย เจ็บหลัง
เสียดท้องข้างซ้ายตามชายโครงตั้งแต่ยอดอกเป็นตะคริว
ตั้งแต่ชายโครงลงไปจนกระทั่งข้อเท้า ได้ให้หมอนวดก็หายบ้าง
๒๔ ชั่วโมง มีความสุขเพียงแค่ ๑๒ ชั่วโมง 
นานๆไป จะสบายตัวก็เฉพาะตอนนวดเท่านั้น
ได้แต่บอกหมอนวดให้หายามาให้กินหลายขนานก็ยังไม่ทุเลา
ร่างกายก็ซูบผอมลงทุกวันๆ เจ็บจนล้มหมอนนอนเสื่อ นอนหงายก็ไม่ได้
รู้สึกปวดคลื่นเหียน หิวมากแต่กินข้าวไม่ได้เลย เจ็บหน้าสะโพกจนนอนไม่หลับ
แต่ละคืนเคลิ้มหลับได้เต็มที่ก็แค่ ๓ ชั่วโมง กลางวันได้งีบเพียงแค่ ๑ ชั่วโมงเศษ
กินยาก็พอประทังมาได้ อีกโรคคือขัดปัสสาวะเบาออกเล็กน้อย ปวดอยู่หลายวัน
อั้นฉี่นานๆ ปล่อยก็ค่อยยังชั่ว โรคในกายมีเพียงแค่นี้ 
ข้าราชบริพาร คนรอบตัวก็พยายามหาหมอทุกวงการมารักษา อาการป่วย ซึ่งมีอยู่เพียงแค่นั้น 
ไม่ลุกลามมากไปกว่านั้น แต่สุดท้าย ด้วยอายุขัยที่ “กรรม” กำหนด 
วันนี้ ๒ เมษายน ก็เสด็จสู่ “สวรรคาลัย” มิได้เสด็จไปสถิต ณ พระแท่น ข้างพระอุโบสถ
วัดราชโอรส ดังที่ตั้งพระทัย

——–

ตอน ๑๔
“คติรัชกาลที่ ๓ อย่าประมาท”
——–

วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี 
ตรงกับ “วันสวรรคต” ของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้บังเอิญว่าวันนี้เป็น “วันพระราชสมภพ” 
ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
คนทั่วไป เลยไม่ค่อยรับรู้ว่าวันนี้แท้ที่จริง 
เป็น “วันสำคัญ” ในอดีต

——-
เรื่องราวที่ผมอ่านแล้วเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง
และประทับใจเกี่ยวกับ “น้ำพระทัย” ของรัชกาลที่ ๓ 
มีอยู่ ๒ เรื่องหลักด้วยกัน
ตอน ๑๑ จะขอเล่าเรื่องแรกคือ “พระราชนิพนธ์ทรงขอขมาพระสงฆ์”

สอบทานเป็นวันเดือนปีในยุคดิจิทัล
พบว่า “ข้อเขียนชิ้นนี้” เขียนขึ้นในวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ไทย
ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๙๓
เวลา ๑๗ นาฬิกาเศษ
รัชกาลที่ ๓ สิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๓
ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ไทย 
แสดงว่าทรงตั้งพระทัย เขียนด้วยพระองค์เอง
ล่วงหน้าเพียงแค่ ๒๕ วัน ก่อนสวรรคต

พระราชนิพนธ์ เป็นสำนวนภาษาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
ผมอ่านแล้ว “ซาบซึ้ง” ในคำและความ ขอนำมาลง บางส่วน ดังนี้ 
“ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเป็นอดีตล่วงแล้ว ๒๓๙๓ พรรษายุกาล
ผคุณมาส ศุกรปักษ์ ฉัฏฐมีดิถี โสรวาร บริเฉทกาลกำหนด
เพลาบ่าย ๕ โมงเศษ…”
ควรทราบว่า แต่โบราณ คนไทยเรานับวันเดือนปีแบบจันทรคติ
ผคุณมาส ตรงกับเดือน ๔
ศุกรปักษ์ คือเวลาข้างขึ้น
ฉัฏฐมีดิถี คือวันขึ้นหรือแรม ๖ ค่ำ 
ดูว่าเป็น “ศุกรปักษ์” ข้างขึ้น หรือ “กาฬปักษ์” ข้างแรม
โสรวาร แปลตรงตัวว่า “วันเสาร์”

ภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ 
ส่วนตัวผมเห็นว่า “ผู้ที่รักการศึกษา”
ควรขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพราะจะทำให้อ่านคำและความโบราณ
ด้วยความเข้าใจในอรรถและธรรมที่ลึกซึ้ง
เมื่อตีความได้ถูกต้อง เข้าใจตรงกัน
ก็จะเกิดความคิดอ่านที่ไม่เคยมี 
จากข้อคิดข้อเขียนเก่าๆ 
ยกตัวอย่างเช่น “ข้อเขียนก่อนสวรรคต ของรัชกาลที่๓”

——-

ผมว่า คนที่ “เตรียมตัวตาย” แบบรัชกาลที่ ๓
เป็น “ตัวอย่าง” และ “แบบอย่าง” ที่ดีเยี่ยม
ตลอดระยะเวลา “ไตรมาสสุดท้าย” ก่อนสิ้นพระชนม์
รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงวางแผน “เตรียมตัวตาย”
ดังนั้น เมื่อถึงวันเวลาที่สิ้นพระชนม์จริงๆ 
ลูกๆ หลานๆ พี่ๆ น้องๆ 
เจ้านาย พระราชวงศานุวงศ์ อำมาตย์ ข้าราชบริพาร
พระสงฆ์ราชาคณะ และผู้เกี่ยวข้อง
จึงมิได้ “เปิดศึก” แย่งชิง “อำนาจ” และ “สังหาร” 
หรือ “ลอบสังหาร” ฝ่ายตรงข้าม

——
สิ่งที่ “ค้างคา” ในใจของรัชกาลที่ ๓ 
ในรอบ ๓ เดือนก่อน “สวรรคต” 
เรื่องแรกคือ “ราชบัลลังก์” 
ทรง “เผย” รายชื่อ อย่างน้อย ๔ ชื่อ 
สรุป ๑ ใน ๔ ชื่อที่ทรง “ทำนาย” 
ได้สืบทอด “พระราชอำนาจ” จริง
นั่นคือ “รัชกาลที่ ๔”
แต่ก็มาพร้อมกับ “ความห่วงใย”
เรื่องเดียวคือทรงเกรงว่าพระจอมเกล้า
จะใช้ “พระราชอำนาจ” บีบบังคับ ฝืนใจ
ให้พระสงฆ์สยาม เปลี่ยนจาก “ห่มแบบมังกร”
กลายเป็น “ห่มแหวก” แบบรามัญมอญ 
ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงเป็นจอมปราชญ์
จนทุกวันนี้ การห่มจีวร ก็มีทั้ง ๒ แบบ
มิได้มีเพียงแบบเดียว ตามที่รัชกาลที่ ๓ ทรงห่วงใย

เรื่องที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ทรง “ทำนาย” อนาคตสยามประเทศ
เอาไว้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะ “การศึกสงคราม”
ทรงมีวิสัยทัศน์อันแม่นยำราวกับตาเห็นว่า
“การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าจะไม่มีอีกต่อไป”
และให้ “เรียนรู้” จาก “ฝรั่ง” แต่อย่าถึงกับ “นับถือเลื่อมใส”
เห่อฝรั่ง จนลืม “เอกลักษณ์ไทย”

ผมพบว่า “สยามกับสหรัฐอเมริกา” เริ่มผูกสัมพันธไมตรีเป็นมิตรต่อกัน
ในแผ่นดินรัชกาลที่๓ นี้เอง

เรื่องที่ ๓ รัชกาลที่ ๓ ทรงห่วงใย “พระราชาคณะทั้งหลาย”
จะละเลยการสร้าง “ศาสนทายาท” ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
กับ ๒ เรื่อง เรื่องแรกคือ “วิชาการพระพุทธศาสนา” 
มีการแลกเปลี่ยนคัมภีร์ระหว่างสยามกับลังกา เป็นเรื่องเป็นราวชัดเจน
ต่อจากแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในสมัยอยุธยา
ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงกับมี “คณะลังกา” และมีพระสงฆ์ลังกาจำนวน ๑๑ รูป
มาพำนักประจำ และ “วัดบวรนิเวศ” เป็นวัดศูนย์กลาง “นานาชาติ”
มีบาทหลวงต่างศาสนา มาสนทนา แลกเปลี่ยน พูดคุย
ข้ออรรถ ข้อธรรมกับเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งกาลต่อมาได้เป็น “รัชกาลที่ ๔”
มีการเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาสันสกฤต และเริ่มมีการใช้ “เทคโนโลยีการพิมพ์”
เพื่อช่วยเหลือการเรียนพระไตรปิฎกศึกษาให้ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว กว่าแต่เก่าก่อน

อีกเรื่องคือ “การถวายทุนสนับสนุนการศึกษาพระไตรปิฎก” 
รัชกาลที่ ๓ ทรงชักชวน “ข้าราชการ” “อำมาตย์” “นักวิชาการ” “เศรษฐี” “เจ้าสัว”
ให้ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมการเรียนพระไตรปิฎก ให้แต่ละวัง
แต่ละตำหนัก จ้าง “ครู” สอนบาลี สำนักต่างๆ และช่วยกันถวายอุปถัมภ์ “ครูบาลี”
คือ “พระและสามเณรที่เรียนบาลี” ในรูปแบบที่เรียกว่า “นิตยภัตร”
ในรูปของ “เงินเดือน” และ “ข้าวถัง”

กับ “คิลานภัตร” ในรูปของ “ยารักษาโรค”

พระสงฆ์สามเณรยุคนี้ เรียนพระปริยัติธรรมกัน
เยอะมาก วัดใหญ่ๆ อย่างวัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดมหาธาตุ วัดบวรนิเวศ มีพระภิกษุจำพรรษากันจำนวนร้อยถึงหลายร้อยรูป
เฉพาะพระและสามเณรเปรียญที่นิมนต์รับถวาย “เงินสด” ในรูปของ “นิตยภัตร” 
มีจำนวนมากมายถึงเกือบหนึ่งหมื่นรูป สะท้อนว่า “รัชกาลที่ ๓” เข้าใจระบบ “อัดฉีด”
ซึ่งกระตุ้นให้เกิด “แรงจูงใจ” ดังคำสมัยใหม่ว่า “เงินมีหน้าสด เงินหมดหน้าแห้ง”

ผมประทับใจ “Human Resource Management” การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งหลักใหญ่ใจความสำคัญคือ 
รับสมัครผู้บวชเรียน-คัดเลือกผู้บวชเรียน-ฝึกหัดคัดกรองผู้บวชเรียน-ประเมินผลการเรียน-
การสร้างแรงจูงใจให้อยากเรียนพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะผ่าน “เงินสด” หรือ “ระบบประกันสุขภาพ”
และ “สวัสดิการอาหาร” นับว่ายังคงทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ของกิจการชั้นนำระดับนานาชาติทั่วโลก

_____

ตอน ๑๕
“ความผูกพันในพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๓”

——-

ทว่าวัดวาอารามต่างๆ ละเลย 
HRM (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)

ทุกวันนี้ ถ้าวัดวาอารามต่างๆ 
ยังใช้ระบบ “ทิ้งๆ ขว้างๆ”
ผมเรียกว่า “ระบบตายฝังยังเลี้ยง” 
พูดให้เห็นภาพชัดเจน ให้นึกถึงภาพ 
“หมาแมวถูกนำไปปล่อยลอยแพทิ้งไว้ตามวัดแบบอนาถา”

ถ้า “มหาเถรสมาคม” 
ไม่รีบออกนโยบาย
ชักชวนพุทธบริษัทให้ช่วยกัน “คิดอ่าน”

อนาคตวัดต่างๆ ก็คง “ไม่เหลือ” 
ศาสนทายาทผู้ที่มีใจสัทธาเลื่อมใส
อยากสืบทอด สืบสาน 
ดูแล รักษา ศาสนวัตถุ 
และศาสนทายาท สืบต่อไป

ขนาดรัชกาลที่ ๓ ใส่พระทัย ดูแลอย่างดี 
ในปีที่ ๑๘ ของรัชกาล 
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
ก็ยังได้ทำจดหมายเหตุเป็นทางการ
“พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓”
ระบุ “หลักฐาน” ยืนยันไว้ชัดเจนว่า
พระราชาคณะขนาดจำนวนน้อยเพียงแค่ ๑๐๐ รูปเศษ
ก็ยังเป็นปาราชิกกันมาก
พระที่หลบหนีราชภัยก็มาก
และถูกจับสึกก็มากมายถึงจำนวน ๕๐๐ รูปเศษ

ดังที่บอก ๘ ปีสุดท้ายแห่งรัชกาล
ผมคิดว่า “พระเจ้าอโสกแห่งกรุงสยาม”
คือ “พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” ก็คงไม่สบายพระทัยนัก
เกี่ยวแก่เรื่อง “พระ-เถร-เณร-ชี” 
ความจริงปรากฏจาก
“ข้อเขียน” ที่ไม่ระบุชื่อผู้เขียนจดสนองรายงาน
แต่ระบุตรงๆ ว่าเป็น “พระราชนิพนธ์”
ก็แสดงให้เห็นว่า “รัชกาลที่ ๓” จงใจ “สื่อ”
เกี่ยวกับ “สาร” คือ “สิ่งที่ค้างคาใจ” ก่อนจากไปยังปรโลก
มุ่งตรงถึง “พระ” โดยตรง

คนแบบ “รัชกาลที่ ๓”
ผมมองว่าเป็นบุคคลที่หาได้ยาก
ในรอบหลายร้อยปี 
จะกลับมาเกิดอีกสักครั้ง

—–

คนแบบนี้ เป็นตัวอย่างของ “คนสู้ชีวิต”
กว่าจะได้ราชบัลลังก์มาครอง
ก็เกิดจาก “มันสมอง” และ “สองมือ” ล้วนๆ

และเป็นคนที่คิดและทำเพื่อ 
สถาบันชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์
จนวันสุดท้าย

——–

แต่เข้าใจว่า “ราชาคณะต่างๆ”
คงจะไม่ยอม “ษมา” และ “อโหสิกรรม”
เพราะรัชกาลที่ ๓ แทนที่จะได้รับยกย่องเป็น “มหาราช”
ท้ายที่สุด กลับได้เป็นเพียงแค่ 
“พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า”
นึกถึงคำว่า “ทำคุณกับใคร เหมือนไฟตกน้ำ”

——
ผมขอเล่าถึง “พระราชนิพนธ์ฉบับสุดท้าย”
สะท้อน “กรรม-กิเลส-วิบาก” ของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยสำนวนภาษาร่วมสมัย

รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงพระประชวร มีความรำจวน (แปลว่าสะเทือนใจ)
ถึงพระราชกิริยา (กายกรรม) ที่ได้ทรงประพฤติมา ในการซึ่งได้ทรง
ปฏิสันถารปราศรัย และมีพระราชดำรัส (วจีกรรม) ด้วยกิจใดๆ 
กับพระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรม บาเรียน (เปรียญ) และภิกษุอนุจร องค์ใดๆ ก็ดี
ตั้งแต่จำความได้มาจนกาลบัดนี้ ทรงพระปริวิตกระแวงอยู่ ว่าจะมีความพลั้งพลาด
ประมาทใน “โวหาร” เป็นการ “อคารวะ” (ใช้ถ้อยคำไม่เคารพ) 
ไม่สมควรที่จะตรัสแก่สมณะในพระศาสนา

———

ตอน ๑๖
๒.๔.๒๕๖๒
“พระราชนิพนธ์ขอขมาพระสงฆ์ของรัชกาลที่ ๓”

——

อนึ่งตั้งแต่ทรงถวัลยราชราชาภิเษกมา บางทีอธิกรณ์มีในพระสงฆ์
ก็ได้ตรัสประภาษเป็นพระราชดำริดุจหนึ่งกระด้าง เพื่อจะให้พระราชาคณะ
ฐานานุกรม เจ้าหมู่ เจ้าคณะทั้งปวง เกรงพระราชานุภาพ

*วิจารณ์ตรงนี้ว่า “การที่ทรงแข็งกระด้าง” กับพระสงฆ์ ก็เพื่อให้พระสงฆ์
เคารพ ยำเกรงใน “ราชานุภาพ” ซึ่งก็คือ “พระราชอำนาจ” โดยตรง
ก็คือ “กฎหมายบ้านเมือง” และหมายรวมถึง “พระธรรมวินัย”
———

จะให้อุตสาหะสั่งสอนศิษยานุศิษย์ และปราบปรามภิกษุอลัชชี เหล่าอันธพาล
ให้พระพุทธศาสนาถาวร วัฒนาการ บริสุทธิ สะอาด ด้วยอำนาจพระเดชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ที่เป็นศาสโนปถัมภก ก็ครั้งนี้มีพระราชวิตกว่า
พระราชกิริยาทั้งปวงนั้น “ลางอัน” จะเป็น “อคารวะ” และ “ไม่เป็นที่ชอบใจ”
แก่พระผู้เป็นเจ้าบางองค์ “วิปฏิสาร” (เดือดร้อนใจ) อยู่
*วิจารณ์ตรงนี้ว่า ต้องการเห็นพระราชาคณะ รับภาระ ธุระ พระศาสนา
ต้องการให้พระสั่งสอนสร้างศิษย์ให้เป็นพระที่ทรงศีล และช่วยกันปราบปรามพระทุสีล
ขจัดออกจากวงการ เป้าหมายมุ่งให้พระพุทธศาสนา “ถาวร” “เติบโต” “หมดจด” 
และ “ผุดผ่องใส” เป็นสำคัญ แต่บางทีการที่ทรง “เสียงดัง” พูดเหมือนข่มขู่ ตะคอกพระ
เพราะเป็นผู้มีอำนาจ พระฟัง “เจ้า” พูดเสียงดังแล้ว ก็อาจเกิดความรู้สึกว่า “พระเจ้าอยู่หัว”
ไม่เคารพพระ และการเป็นคนโผงผาง ตรงไปตรงมา พระอาจรู้สึกชัดใจ ไม่ประทับใจ

จึงมีพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสีหนาท อาราธนา
“เจ้าฟ้ามงกุฎ” “สมมุติเทวาวงศ์” (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยผนวช เรียกขานกันในวังว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือเจ้าฟ้าใหญ่ คู่กับ
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกขานกันว่า เจ้าฟ้าน้อย)
ให้เป็น “ธุระ” รับเชิญกระแสพระราชโองการ มาอ่อนน้อมนมัสการ
ขอษมาโทษที่จะพึงมี เพราะพระราชดำรัส (วจีกรรม) 
เย้าหยอก ฤาคมคาย ใดๆ ก็ดีทั้งปวง เป็นพระราชกิริยาอันล่วงเป็นไปในพระราชาคณะ
ฐานานุกรม เปรียญ ภิกษุอนุจรองค์ใดๆ ในเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งล่วงมาแล้วนั้น 
ให้ทราบตลอดไปทุกรูป บรรดาที่ได้เคยเข้ามารัชราชนิมนตนกิจทั้งปวง 
ขอให้พระผู้เป็นเจ้าทุกองค์จงปลงอัธยาศัย ออมอดโทษถวายอภัย
ด้วยน้ำใจอันเต็มไปด้วยเมตตากรุณาเป็นบุเรจาริก (เบื้องหน้า) อย่าให้เป็นกรรมเวรต่อไป
ให้สิ้นพระราชวิปฏิสารรำคาญทั้งปวงนั้น (ให้เลิกเป็นกังวลในใจอีกต่อไป)
*พระราชนิพนธ์ตอนนี้ สะท้อนว่า รัชกาลที่ ๓ ท่านก็ “พูดเล่น” กับพระที่ท่านคุ้นเคย
และบางทีก็ “เล่า” ความในใจที่ “ลึกซึ้ง” และ “คมคาย” พูดให้พระเก็บไปคิด
โดยเฉพาะแนวคิด “การสร้างตัวแทน” และ “การเรียนพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นแก่นแท้
แก่นธรรมของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ไปลุ่มหลงกับ “เล่นแร่แปรธาตุ” “เล่นหวย”
หรือ “การอื่นๆ” แทน แต่ความที่อาจไม่ “ระมัดระวัง” คำพูดคำจา จนไปก่อเกิดกลายเป็น
“วจีกรรม” เป็น “บาปกรรม” รัชกาลที่ ๓ ท่านไม่ประสงค์จะให้เป็นบาปเป็นกรรมติดตัว
ก็เลยตัดสินใจ “เขียนคำขอขมา” ให้พระราชาคณะวัดต่างๆ รับทราบกัน และกรณีที่พระราชาคณะเป็นปาราชิกกันมากก็ดี การที่พระหลบหนีราชภัยกันมากก็ดี การที่พระถูกจับสึกในปีที่ ๑๘ แห่งการครองราชย์ จำนวนมากถึง ๕๐๐ รูปเศษ ก็ดี สะท้อนว่า “ทรงไม่สบายพระทัย” ยังไม่นับที่ตัดสินจับพระผู้ใหญ่สึกถึง ๓ องค์ ถอดยศ “สมเด็จพระพนรัตน” ลงเป็น “หลวงตา” เป็นต้น กายกรรม-วจีกรรมต่างๆ ล้วนทำให้เกิด “ความในใจ” ที่ต้องการ “ระบาย” ก่อนตาย

——–
การเปิดใจคุยกัน ระหว่างรัชกาลที่ ๓ กับพระสงฆ์ที่กุมอำนาจปกครองสงฆ์
ท่อนต่อไป ผมว่าน่าสนใจ
“อนึ่งขอให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงกระทำสัตยาธิษฐาน (อธิษฐานจิตด้วยสัจจะความจริง)
ด้วยคุณพระศรีรัตนตรัย และจตุปาริสุทธศีล และศาสนานุสิกขากิจ 
ถวายพระราชกุสโลทิศ (พระราชกุศล อุทิศ) แด่สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หั
ให้มีประชวรคลายหายพระโรคเป็นเกษมสุขสวัสดิ์ ให้ได้ทรงปฏิบัติ
บำเพ็ญพระกุศล เป็นพุทธการบารมี เพื่อพระโพธิญาณ สมควรแก่การ
ที่ได้ทรงประสบพบพระพุทธศาสนา อันเป็นอดุลาดิศัยบุญเขตต์นี้เทอญ ฯ”

ให้พระราชาคณะและฐานานุกรม บรรดาที่ได้มาอ่านกระแสพระราชโองการนี้
บอกแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม และเปรียญ ในอารามที่ยังไม่ได้อ่าน 
มาอ่าน ณ ศาลายามค่ำ เวลาบ่ายต่อๆ ไป เถิด.

*ภาพชายคนหนึ่ง นุ่งโสร่ง 
ล่องเรือลำเล็ก 
ค่อยๆมาในคลองบางกอกใหญ่

ผ่านวัดที่ “เพื่อน” สร้าง 
ซ้ายมือคือวัดกัลยาณมิตร 
คิดถึง “พระหลวงพ่อโตซำปอกง” 
ที่ “เจ้าตัว” 
เป็นผู้มาวางศิลาฤกษ์สร้างเอง
ให้เพื่อนคือ “เจ้าพระยานิกรบดินทร์” 
ต้นตระกูล “กัลยาณมิตร”

ขวามือเป็น “วัดโมลีโลกยาราม”
ภาพเก่า “บ้านเกิด” ในอดีต 
ผุดขึ้น
สมัยเด็กๆ 
เคยเดินเล่นกับน้องๆ คือ
เจ้าฟ้าใหญ่ (รัชกาลที่ ๔) 
เจ้าฟ้าน้อย (พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ภาพตำหนักของพระอาจารย์ 
คือ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)”
ที่ตนเองหล่อพระรูปถวาย
คู่กับพระอุปัชฌาย์คือ 
“สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวโร”
วัดราชสิทธาราม
เห็นเด่นเป็นสง่าแต่ไกล

สะท้อนความเป็นคนกตัญญู
กตเวทีรู้คุณครูบาอาจารย์

พระปรางค์วัดอรุณลอยเด่น

ก่อนที่วันแล้ววันเล่า 
จะจบลงที่ “แท่น” 
ข้างพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม
แล้วพอโพล้เพล้ 
ก็ล่องเรือกลับมาเทียบท่า
ที่พระบรมมหาราชวัง 
ใกล้กับวัดพระเชตุพน 
เป็นแบบนี้ติดต่อกันหลายปี

โดยไม่ไปหาใคร ไม่สุงสิงกับใคร 
เจียมเนื้อเจียมตัว
มีอำนาจ ก็ทำตัว
เหมือนเป็นคนไม่มีอำนาจ

คนที่ไม่รู้จัก ก็คงมองไม่ออก 
นึกว่าเป็น “เจ้าสัว” คนมีอันจะกินคนหนึ่ง
จากผิวพรรณ ใบหน้า และรูปร่าง 
เพราะยุคนั้น ยังไม่มีเทคโนโลยีถ่ายรูป
ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นใคร 
นอกจากจะมีทหารราชองครักษ์
เพียงไม่กี่นายยืนเคียงข้าง

ทั้งที่
นี่คือ “จอมราชันย์”
ผู้กุมราชอาณาจักรสยาม
ไว้ในพระหัตถ์ แต่เพียงผู้เดียว
ทว่าก็ทำตัวง่ายๆ ติดดิน 
ไม่วางตัวเย่อหยิ่ง 
ง่ายๆ ทำตัวเหมือนชาวบ้านทั่วไป

นี่คือ “แนวปฏิบัติ”
ที่ผู้นำวงการต่างๆ 
ที่ทำงานต่างพระเนตรพระกรรณ
เช่น “ผู้พิพากษา” “เสนาบดี” 
บางคนเป็นต้น
ควรน้อมไปปฏิบัติ
ไม่ใช่อ้าง “ทำงานแทนพระเจ้าอยู่หัว”
แล้วทำตัวเป็น “เจ้า” เสียเอง !

———-

ตอน ๑๗

“วันสุดท้ายของรัชกาลที่ ๓”

——–
วันนี้ เป็น “วันตาย” 
ของชายร่างใหญ่คนนั้น 
ซึ่ง “ฝัน” ไว้ว่า “วันหน้า” ถ้าตาย
“ดวงวิญญาณ” จะขอมาสถิต 
ณ แท่นทำงานเล็กๆ ใต้ต้นพิกุล
ข้างพระอุโบสถ วัดราชโอรสาราม

แต่แล้วฝันก็ผันแปร
กลายเป็นอื่นไป

——-
ผมประทับใจ “คำคมคาย” ที่รับสั่งไว้
ในวันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ก่อนสวรรคต
เพียงแค่ราวเดือนเศษว่า
“หนังสืออันนี้ถ้าท่านผู้ใดได้เห็นได้อ่านแล้ว
ถ้าเห็นเหลือสติปัญญาซึ่งจะเยียวยาโรคข้าให้หายได้
ก็จงจำเริญพระไตรลักษณ์ว่า 
นามรูปํ อนิจฺจํ 
นามรูปํ ทุกฺขํ
นามรูปํ อนตฺตา *
จะมีผลานิสงส์แก่ตนเป็นอันมาก”
*แปลว่า นามรูป ไม่เที่ยง นามรูปเป็นทุกข์ นามรูป เป็นอนัตตา
การที่ “เขียน” พระบาลีบทนี้ เพราะอาการของโรคคือ
เดินให้กะเสาะกะแสะ และกินข้าวไม่มีรสติดต่อกันมาปีเศษถึงสองปีแล้ว
กินข้าว ๙ มื้อ ๑๐ มื้อ จะมีรสสักมื้อ เบื่อข้าวสวย ก็กินแต่ข้าวต้ม
ข้าวรมควัน ข้าวมูนกะทิ กินได้แค่ถ้วยหนึ่ง ช้อนถ้วย เจ็บหลัง
เสียดท้องข้างซ้ายตามชายโครงตั้งแต่ยอดอกเป็นตะคริว
ตั้งแต่ชายโครงลงไปจนกระทั่งข้อเท้า ได้ให้หมอนวดก็หายบ้าง
๒๔ ชั่วโมง มีความสุขเพียงแค่ ๑๒ ชั่วโมง 
นานๆไป จะสบายตัวก็เฉพาะตอนนวดเท่านั้น
ได้แต่บอกหมอนวดให้หายามาให้กินหลายขนานก็ยังไม่ทุเลา
ร่างกายก็ซูบผอมลงทุกวันๆ เจ็บจนล้มหมอนนอนเสื่อ นอนหงายก็ไม่ได้
รู้สึกปวดคลื่นเหียน หิวมากแต่กินข้าวไม่ได้เลย เจ็บหน้าสะโพกจนนอนไม่หลับ
แต่ละคืนเคลิ้มหลับได้เต็มที่ก็แค่ ๓ ชั่วโมง กลางวันได้งีบเพียงแค่ ๑ ชั่วโมงเศษ
กินยาก็พอประทังมาได้ อีกโรคคือขัดปัสสาวะเบาออกเล็กน้อย ปวดอยู่หลายวัน
อั้นฉี่นานๆ ปล่อยก็ค่อยยังชั่ว โรคในกายมีเพียงแค่นี้ 
ข้าราชบริพาร คนรอบตัวก็พยายามหาหมอทุกวงการมารักษา อาการป่วย ซึ่งมีอยู่เพียงแค่นั้น 
ไม่ลุกลามมากไปกว่านั้น แต่สุดท้าย ด้วยอายุขัยที่ “กรรม” กำหนด 
วันนี้ ๒ เมษายน ก็เสด็จสู่ “สวรรคาลัย” มิได้เสด็จไปสถิต ณ พระแท่น ข้างพระอุโบสถ
วัดราชโอรส ดังที่ตั้งพระทัย

——–

ตอน ๑๘

“ปริศนาในประวัติศาสตร์ : พระอุดมปิฎก
พระราชาคณะที่รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชสัทธา”

——

เป็น
เรื่องราว
พระอุดมปิฎก
สอน พุทฺธสโร
พระราชาคณะ ป.ธ. ๙
ที่รัชกาลที่ ๓ 
ชอบสนทนาข้ออรรถ ข้อธรรม
แต่รัชกาลที่ ๔ ไม่ข้องแวะด้วย

ไม่พบบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ
หรือพระราชพงศาวดารใดๆ

อ้างอิงจาก
https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=14575
———

สถานะเดิมของพระอุดมปิฎก

พระอุดมปิฎก มีนามเดิมว่า “สร (สอน)” เป็นบุตรของนายศรีแก้ว และ นางปาน ซึ่งเป็นต้นสกุล “ศิริกุล” ถือกำเนิดที่บ้านหัวสนทรา หรือ บ้านสนทรา ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา เอกศก จ.ศ. ๑๑๔๑ ตรงกับวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๒๒ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

อุปสมบทของ “พุทฺธสโร ภิกฺขุ”

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๕๒ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ พระอุโบสถวัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยมี เจ้าคณะเมืองพัทลุง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ศรีแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทฺธสโร” การอุปสมบทครั้งนี้เล่ากันว่า พระอุดมปิฎกได้รับการอุปถัมภ์ค้ำจุนจากพระยาพัทลุง (ทองขาว) เป็นอย่างดี

การสอบเปรียญธรรมในอดีต

พระอุดมปิฎกได้เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรก โดยบิดามารดาได้นำตัวไปฝากเรียนกับอาจารย์ศรีแก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดสุนทราวาส ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน ได้เรียน นโม ก ข ขอมไทย จนมีความรู้ความชำนาญ เมื่อุปสมบทแล้วพุทธสรภิกขุได้จำพรรษาที่วัดสุนทราวาส ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉาน เพื่อให้การศึกษาพระพุทธศาสนากว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงได้ขออนุญาตบิดามารดา และกราบลาอาจารย์ เดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร โดยได้รับการอุปถัมภ์ช่วยเหลือจากพระยาพัทลุง (ทองขาว) ต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดหงสาราม หรือวัดหงส์รัตนาราม ฝั่งธนบุรี ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักวัดหงส์รัตนาราม แต่ในชั้นต้นพระพุทธสรภิกขุมิได้เข้าเรียนตามชั้นที่อาจารย์สอนเพียงแต่ท่านถือโอกาสในเวลาที่พระภิกษุรูปอื่นเข้าห้องเรียนหนังสือไปปัดกวาดอยู่ใกล้ ๆ สถานที่สอนหนังสือ จึงมีโอกาสได้ฟังคำบรรยายของอาจารย์ไปด้วย กระทำอยู่อย่างนี้เป็นประจำ ทำให้ความรู้แตกฉานยิ่งขึ้น

การสอบเปรียญธรรมของพระภิกษุในสมัยก่อนใช้วิธีสอบแปลด้วยปากเปล่าต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อถึงกำหนดสอบ พระพุทธสรภิกขุไม่สามารถเข้าสอบได้ เพราะเป็นนักเรียนบ้านนอกและไม่ได้เข้าห้องเรียน ประกอบกับมีรูปร่างเล็กไม่สง่างาม จึงต้องอาสาสมัครไปช่วยเหลือกรรมการสอบด้วยการช่วยต้มน้ำร้อนชงน้ำชาถวายพระกรรมการเป็นประจำ

มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งขณะที่พระกรรมการประชุมสอบพระภิกษุ ได้มีพระกรรมการรูปหนึ่งออกจากที่ประชุมเพื่อทำกิจส่วตัว ได้ยินพระพุทธสรภิกขุพูดกับพระภิกษุอื่นๆ ในวงน้ำชาว่า “ประโยคนี้ใครแปลไม่ได้ก็แย่แล้ว” พระกรรมการมีความสนใจจึงหันมาถามพระพุทธสรว่า “แปลได้หรือ” พระพุทธสรภิกขุได้ตอบว่า “ถึงแปลได้ก็ไม่มีคนรับรองให้เข้าสอบ” พระกรรมการรูปนั้นยินดีรับรองให้ พระพุทธสรภิกขุจึงได้เข้าสอบ และได้ใช้วิชาความรู้ ความเฉลียวฉลาด จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคในวันเดียวเป็นการสร้างชื่อเสียงให้สำนักวัดหงส์รัตนารามมาก

และยังเป็นที่ยกย่องชอบพอพระราชหฤทัยเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะในสมัยที่จำพรรษาอยู่ที่วัดหงส์รัตนารามนั้น พระพุทธสรภิกขุมีความสนิทสนมเป็นอย่างดีกับพระองค์ท่าน
เล่ากันว่าพระองค์ได้เสด็จมาสนทนาธรรมกับพระพุทธสรภิกขุเป็นประจำ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านธรรมและภาษาบาลี จนกระทั่งพระพุทธสรภิกขุได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามรูปที่ ๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อถึงกำหนดพระราชพิธีราชาภิเษก เนื่องจากเคยมีความสนิทสนมกับพระพุทธสรภิกขุมาก่อน จึงได้รับการอาราธนาไปในงานพระราชพิธีด้วย ในวันพระราชพิธีราชาภิเษก เมื่อพระสงฆ์ราชาคณะ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานเข้านั่งตามลำดับชั้น ส่วนพระพุทธสรภิกขุนั่งอยู่ปลายแถว เพราะในขณะนั้นท่านยังเป็นพระสามัญ และเป็นพระที่ไปจากชนบทด้วย เมื่อรัชกาลที่ ๓ ได้เสด็จสู่โรงพิธีนมัสการพระสงฆ์แล้ว ทรงทอดพระเนตรไปทั่วๆ เพื่อจะหาใครคนหนึ่ง
เมื่อทอดพระเนตรไปเห็นพระพุทธสรนั่งอยู่ปลายแถว จึงได้เสด็จมุ่งตรงไปยังท่านแล้วหมอบกราบลงบนตัก ทรงตรัสว่า “โยมนี้เป็นห่วงมาก คิดถึงมาก เพราะไม่ได้พบปะสนทนากันมานาน นี้นับว่าเป็นโชคดีของโยมที่ได้พบกันอีกคราวหนึ่ง โยมปลื้มใจมาก” แล้วกราบลงบนตักอีกวาระหนึ่ง และยังโปรดรับสั่งต่อไปอีกว่า “ทรงโสมนัสยิ่งนัก ท่านเดินทางมาไกลนานปีจึงได้พบกัน โปรดให้พรแก่โยมให้ชื่นใจทีเถิด” (เหตุการณ์นี้บางกระแสเล่าว่าเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔)
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระพุทธสรภิกขุได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์เป็นพระอุดมปิฎก เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สวรรคต พ.ศ. ๒๓๙๓ เจ้าฟ้ามงกุฎได้ทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะนั้นพระอุดมปิฎกมีความชราภาพอายุได้ ๖๐ ปีเศษ และยังเคยได้กระทำให้เป็นที่ขุ่นเคืองในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในเรื่องที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุต จึงได้ถวายพระพรลาออกมาอยู่ที่วัดหัวสนทราหรือวัดสุนทราวาส เมืองพัทลุง ซึ่งเป็นมาตุภูมิเดิมของท่านเอง
สาเหตุที่พระอุดมปิฎกออกมาอยู่ที่วัดสุนทราวาส เมืองพัทลุงในครั้งนั้น ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ได้ความว่าในสมัยที่รัชกาลที่ ๔ ยังทรงผนวชอยู่ พระอุดมปิฎกได้เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามแล้วเป็นพระเถระที่รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดปรานมาก เป็นผุ้ที่มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรมมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น มักจะมีความเห็นไม่สอดคล้องกับรัชกาลที่ ๔ ในเรื่องพระสงฆ์ธรรมยุตและการแปลหนังสือภาษาบาลีเป็นภาษาไทยว่าอย่างนั้นถูก อย่างนั้นผิด โดยแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับรัชกาลที่ ๔ หลายครั้ง ดูเหมือนเรื่องที่ขัดแย้งกันมากได้แก่เรื่องการตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตดังได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระอุดมปิฎกจึงได้ถวายพระพรลากลับเมืองพัทลุง ในทำนองเพื่อหนีราชภัย เพราะกลัวไปว่าจะเป็นภัยแก่ตนเอง
ความขัดแย้งระหว่างพระอุดมปิฎกกับเจ้าฟ้ามงกุฎ น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งปรากฏหลักฐานให้เห็นในปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ขณะที่พระอุดมปิฎกเป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม รัชกาลที่ ๓ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศที่เจ้าฟ้าอิศเรศรังสรรค์ ช่วยในการบูรณะวัดหงส์รัตนาราม สมเด็จพระศรีสุริเยนรามาตย์รับพระราชโองการก็ได้กะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้งมงกุฎทรงสร้างพระวิหาร เจ้าฟ้าอิศเรศรังสรรค์ทรงสร้างโรงธรรม ส่วนสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ทรงรับทำพระอุโบสถ แต่ในการบูรณะวัดหงส์รัตนารามครั้งนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎไม่รับตามที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ทรงมอบหมายโดยพระองค์ได้ทรงให้เหตุผลไว้หลังจากได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ว่าไม่สมพระเกียรติ
ซึ่งปรากฏหลักฐานใน “พระบรมราชาธิบายเรื่องวัดหงส์” ความตอนหนึ่งว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าที่ซึ่งทรงกะเกณฑ์มาให้ช่วยทำพระวิหารนั้น เป็นของเล็กเหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือใหญ่อยู่นานไปใครไม่รู้เรื่องความพระราชพงศาวดาร เป็นการที่แท้ก็จะเข้าใจปรวนแปรว่าไปอย่างอื่น เป็นที่เสียพระเกียรติยศไปไหน ๆ เกิดมาเป็นชายชีวิตยังไม่ทำลาย ไม่ควรจะประมาทดูหมิ่นกัน เพราะเหตุนั้นจึงได้รับสั่งห้ามเสีย ไม่รับทำด้วย ไม่ให้ข้าในกรมไปช่วย ไม่ยอมให้ไว้พระนามในพระอารามวัดหงส์นี้เลย” จากพระบรมราชาธิบายนี้ แม้จะไม่ทรงกล่าวถึงความขัดแย้งกับพระอุดมปิฎกในฐานะที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่พระองค์ไม่ยอมรับการบูรณะวัดหงส์รัตนารามในครั้งนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการขัดแย้งกับพระอุดมปิฎก

อ้างอิงจาก
https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=14575

ผลงานของพระอุดมปิฎก

พระอุดมปิฎก (สอน) เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียนทางพุทธศาสนา มีความรู้แตกฉานทางพระปริยัติธรรม จนเป็นที่โปรดปรานไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มาก ท่านได้ปฏิบัติสมณกิจเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น
๑. เป็นประธานฝังหลักเมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้มีการย้ายเมืองสงขลาจากบ้านแหลมสนมาตั้งใหม่ที่บ้านบ่อยาง คือ เมืองสงขลาในปัจจุบัน ในการฝังหลักเมืองครั้งนั้น ปรากฏตามหลักฐานในพงศาวดารเมืองสงขลา ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๓ ได้ระบุไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเทียนชัย หลักชัยพฤกษ์ กับเครื่องไทยทาน และได้อาราธนาสมเด็จเจ้าอุดมปิฎก หรือพระอุดมปิฎก เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระสงฆ์อันดับ ๘ รูป ฝ่ายพราหมณ์ได้อาราธนาพระครูอัษฎาจารย์ พร้อมด้วยพราหมณ์ ๘ นาย ออกมาประกอบพิธีฝังหลักเมืองสงขลา มุมเมืองกับโรงพิธีพราหมณ์เสร็จแล้วได้ทำพิธีฝังหลักเมืองสงขลา ตรงกับเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า ๑ โมง กับ ๑๐ นาที
๒. การบูรณะวัดสุนทราวาส ในปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ปีเดียวกับที่พระอุดมปิฎกได้ออกมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธีฝังหลักเมืองสงขลา ท่านคงได้ถือโอกาสไปเยี่ยมบ้านเกิดที่บ้านสนทรา เมืองพัทลุง และได้พบว่า วัดสุนทราวาส ซึ่งเป็นวัดที่เคยเล่าเรียน นโม ก ข ขอมไทย มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม จึงได้ทำการบูรณะ และสร้างศาสนสถานในวัดขึ้นใหม่ เช่น การสร้างพระอุโบสถแบบเก๋งจีน ตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเรื่องพุทธประวัติ ทศชาติชาดก สร้างศาลาการเปรียญและกุฏิสงฆ์ โดยได้รับการอุปถัมภ์ช่วยเหลือจากพระยาพัทลุง (จุ้ย จันทโรจวงศ์)
๓. การแต่งวรรณกรรมเรื่องสุทธิกรรมชาดก ชาวพัทลุงทั่วไปมีความเชื่อกันว่า พระอุดมปิฎก เป็นผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องสุทธกรรมชาดกคำกาพย์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ใช้สวดกันตามวัดและบ้านเรือนในภาคใต้สมัยก่อน

อ้างอิง
https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=14575

Comments

comments