๒๕๘. ข้ออรรถ ข้อธรรม “ทฤษฎีเอาตัวรอด ทฤษฎีนวัตกรรมเอาตัวรอด”

๑๓.๔.๒๕๖๗

ข้ออรรถ ข้อธรรม

“ทฤษฎีเอาตัวรอด

ทฤษฎีนวัตกรรมเอาตัวรอด”

อุทิส ศิริวรรณ

เขียน

 

ว่าง ผมจะเขียน

เป็นธัมมทาน

ลอกเลียนได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

นำไปปรับใช้ได้ ไม่ต้องอ้างอิงก็ได้

ไม่ต้องขออนุญาต

ฝรั่งอเมริกา

ทั่วโลกยอมรับ

เก่งที่สุด ด้านบริหารจัดการ

เก่งกว่าเรา

อะไรที่ดีกว่าเรา

เรียนรู้ไว้

แต่อย่าถึงขั้นตามฝรั่งทุกเรื่อง

รัชกาลที่ ๓ ทรงเตือนไว้

ผมเอง เรียนทฤษฎีฝรั่ง

แต่ไม่งมงาย ใช้การปรับแต่ง

ให้ตะวันตก พบตะวันออก

เสริมจุดแข็ง

ไม่ด้อยค่า

ยอมรับความแตกต่าง

============

ปี ๒๕๔๔  สถิติที่บันทึกไว้

ผมจบ ดร. ปริญญาเอก ทางสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

ที่ The Wayne Huizenga

Graduated School of Business & Entrepreneurship

Nova Southeastern University,

Fort Lauderdale, Florida, USA

เป็นคนแรกของครอบครัวสกุล ศิริวรรณ

เป็นคนแรกของภาควิชาบาลีสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นคนแรกของภาควิชา พุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และทั้งมหาวิทยาลัย

เป็นคนแรกของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทุกคณะ (ผมจบ มสธ. รุ่น ๗)

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษา มสธ.

เป็นคนแรกของศิษย์เก่าวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร

เป็นคนแรกของศิษย์เก่าวัดพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร

เป็นคนแรกของศิษย์เก่าวัดบุพพาราม เชียงใหม่

เป็นคนแรกของทำเนียบ “เปรียญธรรม ๙ ประโยค”

กองบาลีสนามหลวง การศึกษาพระปริยัติธรรม

ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงจัดการศึกษา

แล้วทรงมอบให้คณะสงฆ์โดยสมเด็จพระสังฆราชดำเนินการแทน

แล้วต่อมา มหาเถรสมาคม มอบหมาย แม่กองบาลีสนามหลวง จัดการ

ปริญญาตรี  ๓ ใบ

พุทธศักราช ๒๕๓๓
ปริญญาตรี ใบที่ ๑
เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร
นาคหลวงสายสามเณรเปรียญ ๙ รูปที่ ๓๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
ทรงรับไว้ให้อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ พระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

ปริญญาตรี ใบที่ ๒
พุทธศาสตรบัณฑิต สาขา พุทธบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รุ่นที่ ๓๕

ปริญญาตรี ใบที่ ๓
ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุนที่ ๗

เป็นคนไทยคนแรก ที่จบปริญญาตรี และรับปริญญาตรี พร้อมกัน ๓ สาขา
๓ สถาบัน ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๓

ปริญญาโท ๒ ใบ

พุทธศักราช ๒๕๓๖
ปริญญาโทใบที่ ๑
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาบาลีและสันสกฤต
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปลี่ยนเส้นทางเรียน แบบ disruptor
ถ้าทำได้สำเร็จ คนก็ยกย่องเป็น “อัจฉริยะ”
ถ้าทำไม่ได้ ล้มเหลว คนก็ด้อยค่าเป็น “คนบ้า”

พุทธศักราช ๒๕๓๙
ปริญญาโท ใบที่ ๒
Master of Business Administration in Finance & Insurance
The School of Risk Management, Insurance & Actuarial Science,
St. John’s University,* New York, USA
*AACSB Accredited

พุทธศักราช ๒๕๔๔
ปริญญาเอก
Doctor of International Business Administration (D.I.B.A.)*
The Wayne Huizenga Graduate School of Business & Entrepreneurship
Nova Southeastern University*, Fort Lauderdale, Florida, USA
*AACSB Accredited

AACSB is The Association to Advance Collegiate Schools of Business
เป็นสมาคมวิชาชีพทางบริหารธุรกิจชั้นสูง ที่รับรองมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และนานาชาติ
ที่เปิดสอนทางบริหารธุรกิจ ถือเป็น top accredited institution ค่าเรียนแพงระยับ
เพราะคุณภาพและมาตรฐานทางบริหารธุรกิจสูง ข้อดี จบมหาวิทยาลัยที่ AACSB รับรอง
จะสมัครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วโลก หรือทำงานบริษัทระหว่างประเทศสะดวก รวดเร็ว ง่ายกว่าปกติ

*ปริญญาเอก สาขาที่น้อยคน จะเรียนจบและได้รับ ทุกวันนี้ ไม่รับคนเรียนต่อแล้ว
คือบันทึกผลสำเร็จด้านการศึกษา
ทางโลกและทางธรรม
ที่ทำได้จริง ในปี ๒๕๔๔

ที่ยกความสำเร็จมาเล่าสลับกับความล้มเหลว
ให้เห็นความจริงว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ ไม่ง่าย
ต้องใช้เวลาเรียนหนังสือทุกระบบ ทั้งทางธรรมและทางโลก
ตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ ถึงปี ๒๕๔๔ รวม ๒๒ ปี ค่อนชีวิต
ไม่ได้อะไรมาโดยง่ายดาย ไม่มีปาฏิหาริย์
มีแต่ขยัน ทุ่มเท อดทน ท้อแท้แต่ไม่ท้อถอย
พากเพียร พยายาม จนประสบความสำเร็จ

เล่าเป็นข้อสังเกตว่า
คนเรา ถ้าพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาในระบบ
จนประสบความสำเร็จขั้นแรกของชีวิต

จากนั้น จะไปทำการอื่นๆ ก็สำเร็จได้
เป็นความจริง

ดังนั้น ทรัพย์มรดกที่ล้ำค่า เล่อค่าที่สุด
คือการศึกษา มีปริญญาบัตรยืนยันรับรอง
นกไม่มีขน คนไม่มีความรู้
บินขึ้นสูงไม่ได้ เป็นสัจธรรมชีวิต
พ่อแม่ ไม่มีอะไรจะให้ลูก
ก็ต้องให้ด้วยการให้การศึกษา
จะเป็นขุมทรัพย์ ตัวช่วย ติดตัวไปจนวันตาย
เพราะที่ไหนๆ ในไทยและต่างแดน
ต่างต้องการวุฒิที่รับรองถูกต้อง

เลือกได้
อย่าไปอยากได้ วุฒิเถื่อน วุฒิปลอม
เรียนเอาเอง พากเพียร พยายาม
ภูมิใจกว่า แม้จะเสียเวลานาน

———-

เมื่อแลย้อนอดีต นับแต่ปี ๒๕๖๗

ย้อนกลับไปปี ๒๕๔๔

๒๓ปีให้หลัง

ผมอยาก “เขียน” บันทึก “อะไร” ที่ควรเล่า

เป้าหมาย เพื่อระบุ “ปลายทาง” ที่คนรุ่นหลัง

ที่มีแต่ “หยาดเหงื่อแรงงาน”

 “หยาดเลือดหยดน้ำตา”

ไร้คนสนับสนุน ไร้ทุนการศึกษา

ทว่าในหัวใจ ยังมีแรง

ยังมี “มันสมองสองมือ”

จะได้นำ “ข้อมูลและโอกาส”

ไปคิดและทำตาม

เพื่อ “ความสำเร็จ”

ด้านการศึกษา และอื่นๆ ต่อไป

—————————–

ผมใช้ชีวิตทำงานที่นิวยอร์กและรัฐอื่นๆ

ทั่วอเมริกา นาน

เกินกว่า ๑๐ ปี

จนทุกวันนี้ก็ทำกับมหาวิทยาลัยระบบออนไลน์

ที่รัฐมอนทาน่า สหรัฐอเมริกา

ชื่อ Charisma University

ที่สกอ. หน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐ

รับรองวุฒิทางการ

ตำแหน่งบริหาร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยธุรกิจโลก

ผู้อำนวยการโครงการ

ปริญญาตรี โท เอก สาขาบริหารธุรกิจ

คณะบริหารธุรกิจ

ตำแหน่งวิชาการ ศาสตราจารย์ประจำ

ทางสาขาบริหารธุรกิจ

ผมร่วมงานกับที่นี่มานาน ตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้ง

ที่เมืองพรอวิเดนเชียลส์ เกาะทีซี ในทวีปอเมริกากลาง

จนขยายมาตั้งแคมปัส ที่เมือง Billings รัฐ Montana

การทำงานระบบมหาวิทยาลัยฝรั่ง

ทำให้ผมได้ประเด็นเป็นแง่คิดการทำงานหลายเรื่อง

อยากเล่าประสบการณ์ให้ฟัง

—————–

ศาสตราจารย์ คริสเตนเช่น ผู้ล่วงลับ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

นิยามคำว่า Disruptor & Disruptive Innovation

จนฮิต ในแวดวงวิทยาการวิจัยชั้นสูง สาขาบริหารธุรกิจ นานาชาติ

อะไรที่ฮาร์วาร์ดคิด

จะมีคนนำไปใช้ ลงมือทำ

และแพร่หลายอัตโนมัติทั่วโลกยอมรับ

วันนี้ ผมจะเล่าถึงแนวคิด Disruptor

เพราะใกล้เคียงและสอดคล้อง

 ชีวิตและประสบการณ์ทำงานของผม

Disruptor สัมพันธ์กันกับ S Curve

ที่คิดค้นโดย Roger

ใน google คลิกคำค้นว่า

Roger’s adoption S-Curve

จะพบ

ผมยังนึกคำแปลตรงตัวไม่ได้

ถ้าจะเลือกใช้คำที่เหมาะกัลป์ Disruptor

ผมชอบคำว่า “เอาตัวรอด” คือ “ปรับตัว”

เข้าได้กับ “การเปลี่ยนแปลง” ทุกสถานการณ์

แต่ส่วนมาก เห็นแปล Disruptor กันว่า “นักพลิกชีวิต”

ส่วนอีกคำ Disruptive Innovation

เห็นแปลกันว่า “นวัตกรรมพลิกกระแส”

=========

ผมเลือกใช้คำง่ายๆ

– Disruptor เอาตัวรอด

-Disruptive Innovation นวัตกรรมเอาตัวรอด

คือคนหรือธุรกิจที่เอาตัวรอด จะปรับตัวรับมือ

สถานการณ์ที่ยากจะคาดการณ์ เดาไม่ได้ แต่สามารถ

ตั้งรับ หรือรุกคืบ แล้วเอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์

ในทุกวงการ ทั้งที่ตนเอง ไม่ถนัด ไม่คุ้นเคย

ศัพท์เทคนิค เรียก เดินออกจาก comfort zone

ที่จริง ไม่อยากเขียนไทยปนอังกฤษ

แต่บางที ก็หาคำเหมาะไม่ได้

จำต้องเขียน ไทยปนอังกฤษ

———-

ผมนึกถึงกระแสการเปลี่ยนแปลง

นับจากปี ๒๕๔๔ ที่ผมจบ ดร.

จนถึงปี ๒๕๖๗ โลกเปลี่ยนรวดเร็ว และรุนแรง

เราจะเจอการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งแล้วครั้งเล่า

ที่เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส

การเข้าใจ S Curve

การเป็นนักปรับตัว

และใช้นวัตกรรมปรับตัว

จะช่วยให้เรามีชัยในที่ทุกสถาน

โชคดีในกาลทุกเมื่อ

ทุกวงการ นำไปปรับใช้ได้

———–

แนวคิดทฤษฎี “ปรับตัว”

กับ “นวัตกรรมปรับตัว” และเส้นกราฟ “S Curve”

ผมว่าสอดคล้องกับแนวคิด “ไตรลักษณ์” ที่ย่นย่อคือ

– หลักอนิจจตา แปลว่า ทุกชีวิต เผชิญการเปลี่ยนแปลง ผันแปร ไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน

– หลักทุกขตา แปลว่า ทุกชีวิต เผชิญทุกข์ ทนได้ยาก อยู่ยาก ลำบาก ทุกคน ทุกวงการ

– หลักอนัตตตา แปลว่า ทุกชีวิต เผชิญสภาวะ “ไร้ตัวตน” “ว่างเปล่า” “ไม่ยึดติด” “ไร้อัตตา”

อีกแนวคิดทางหลักธัมมะ

ที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีฝรั่งที่ทันสมัยคือ

หลัก “โลกธรรม ๘”

– มีลาภ เสื่อมลาภ

– มียศ เสื่อมยศ

– มีสุข มีทุกข์

– มีคนนินทา ก็มีคนสรรเสริญ

—————-

ทุกวันนี้ ยังขาดผู้รู้พุทธนิกายเถรวาท

ปรับใช้แนวคิด “บาลี” คำสอนพุทธดั้งเดิม

ให้เข้ากับศาสตร์ทันสมัย เช่น บริหารธุรกิจ

การเงิน การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ

การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทั้งที่ทุกองค์การ ต้องการ

– คน เคียงข้างกับ ผลิตภัณฑ์

– เงินลงทุน คู่กับ ราคาที่ต้องจ่าย

– ทรัพยากร วัสดุ ครุภัณฑ์ สอดคล้องกับ สถานที่

– วิธีการ สมดุลกับการสนับสนุนส่งเสริมผลิตภัณฑ์

———–

จากการวิจัยธุรกิจทั่วโลก พบว่า คนและองค์กร

ในช่วงแรกของเส้นโค้ง จะปรับตัวช้าๆ

ก่อนเข้าสู่ จุดพลิกผัน tipping point

ที่ก้าวกระโดดเติบโตพุ่งทะยานรวดเร็ว

ไปสู่จุดที่เรียกว่า การเติบโตข้ามขั้น hyper growth

แล้วจบลงที่ 90% อันเป็นจุดสูงสุด

ก่อนที่จะลดลงสู่ระดับ 0%

แล้วค่อยนับ 1 ใหม่

กรณีศึกษาคือ Facebook

ใช้เวลา 4 ปีเพื่อไต่เส้น S Curve

ไปแตะที่ระดับ tipping point จุดพลิกผัน

คือ 10% ของคนทั่วโลก 1,000 ล้านคน = 10%

พอทะยานถึงจุดพลิกผัน ผู้คนบอกต่อปากต่อปาก

4 ปีให้หลัง สถิติผู้ใช้ facebook พุ่งทะยาน

จาก 10% ถึง 80% เศษ

ทะลุถึง 800 ล้านคน จาก 1,000 ล้านคน

——————

มนุษย์ทุกวงการเช่นกัน

จะปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง

พลิกสถานการณ์ จากอนาคตไม่แน่นอน

สู่อนาคตที่จีรังยั่งยืน

จำต้องมี หลักคิด หลักทำ หลักธัมมะ

จึงจะไม่ขาดสติ ไม่ล้มเหลว ไม่ล้มเลิก

ไม่หยุดกลางครัน

วงจรชีวิตคือไตรลักษณ์

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และโลกธรรม ๘

เดี๋ยวได้ เดี๋ยวเสีย

เดี๋ยวมีตำแหน่ง เดี๋ยวหลุดจากตำแหน่ง

เดี๋ยวมีความสุข เดี๋ยวก็กลับรู้สึกเป็นทุกข์

วันนี้ คนชม พรุ่งนี้คนด่า

ก็เรียนรู้ได้จากเส้นโค้งตัว S

—————–

แนวคิด เอาตัวรอด

และนวัตกรรมเอาตัวรอด

คล้ายความรู้สึกไปปีนเทือกเขาทักซังที่ภูฏาน

หรือพิชิต “ยอดดอยสุเทพ”

โดยการเดินขึ้นนะ

ไม่ใช่ขับรถขึ้น

ใครเรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เคยมีประสบการณ์เดินขึ้นดอยทุกคน

หรือตัวอย่างใกล้เคียง

การเดินขึ้นเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี

ที่ต้องลงทุนขึ้นรถ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย

และออกเดินขึ้นด้วยสองเท้าเปล่า

กว่าจะถึง “พระธาตุอินทร์แขวน”

คือตัวอย่าง เส้นโค้ง S

การเดินขึ้นดอย จะทำให้เรารู้สึก

พระธาตุดอยสุเทพ หรือยอดเขาคิชฌกูฏ

สูงชันเหลือเกิน เกินจะเดินขึ้นถึง

แต่สุดท้ายหลายคน ทุกคน

ก็เดินขึ้นไปจนถึงยอดดอย

ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

ไม่ต่างจากชีวิตจริง

ถ้าเราไม่ล้มเลิกความพยายาม

ในที่สุด เราก็จะได้ดั่งหวัง

แต่ต้องพยายามไปให้ได้สัก 10%

จากนั้น พอเราแตะถึงระดับจุดพลิกผันนี้

สติปัญญาความรู้ความสามารถ

และประสบการณ์ทำซ้ำๆ

ทำผิดซ้ำๆ ซากๆ ลองผิดลองถูก

นับหมื่นครั้งขึ้นไป จะหล่อหลอม หลอมรวม

ความพ่ายแพ้เป็นบทเรียน

นำเราไต่ขึ้นสูง แตะระดับ 90%

ของการปรับตัว เอาตัวรอด

และนั่นคือการไต่เส้นโค้ง S

ไปสู่เส้นชัยที่เรียกว่า

“ความสำเร็จ”

และเราสามารถคว้าชัยคือ “เป้าหมาย”

ที่เราวางแผนและเลือกไว้

ไม่ว่าจะเป็น “บ้าน – รถ – เงินสด –

งานดีๆ – ตำแหน่ง – คำชมเชย”

มีชื่อเสียง

สังคมไทยและสังคมนานาชาติ

ยอมรับ นับถือ

แต่ต้องเลือกอยู่ถูกที่ ถูกวงการ

————

ทว่าต้องรับสัจธรรมชีวิตข้อ “อนัตตา”

คืออย่ายึดติดในความสำเร็จและเป้าหมาย

และข้อว่า “เสื่อม”  คือเสื่อมจากลาภ ยศ สุข สรรเสริญ

ชีวิตไม่ได้ตลอก ไม่ตกต่ำตลอด

พอขึ้นสูง จะตกกลับสู่สภาวะเดิม ติดดิน

ร่วงหล่น สูญเสีย วิมานในฝันพังทลาย

ถ้าเราทำใจให้ยอมรับความว่างเปล่าได้

ว่าถึงเวลาที่เราจำต้องออกแรง พยายาม ค้นหา

เสาะแสวงหา เส้นโค้ง S ครั้งแล้วครั้งเล่า

จนกว่าจะถึงปัจฉิมวัย

ซึ่ง Harvard Business School

หรือโรงเรียนการลงทุนทั้งหลายทั่วโลก

ไม่ได้สอนให้เราบริหารความโลภ

และบริหารความสำเร็จให้ได้

ต้องเรียนรู้เอาเองจากบาลีพระไตรปิฎก

คำสอนพุทธดั้งเดิม

ที่ระบุชัดเจน

หลักไตรลักษณ์ และหลักโลกธรรม ๘

ทุกวงการต้องเผชิญ

นั่นคือ ถึงจุดสูงสุด ทุกคนต้องตกต่ำ

กลับสู่ 0 ถ้าทำใจไม่ได้ ส่วนใหญ่ ฆ่าตัวตาย

อับอาย ขายหน้า ทนต่อไปไม่ได้

แต่ถ้าทำใจได้ ก็จะชิลๆ สบายๆ

เมื่อเรานำหลักการสำคัญ ๒ หลัก

ไปปรับใช้กับหลัก

Disruptor

Disruptive Innovation

S Curve

เราก็จะแพ้ไม่เป็น ชนะตลอดกาล

และทำใจได้ เมื่อวันหนึ่ง ถึงจุดสูงสุด

แล้วชะตาชีวิตพลิกผัน ตกต่ำ กลับมาเริ่มต้นที่ศูนย์ อีกครั้ง

เพราะพอชะตาชีวิต กลับมาที่ “0“

คือ สุญญตา อนัตตา ว่างเปล่า

เมื่อเราเข้าใจจนตกผลึกว่า ทุกชีวิตเป็นเช่นนี้

ก็จะไม่หลงมัวเมา กับสิ่งมอมเมา

ที่กล่อมชีวิตเราให้หลงผิด

จนคิดฆ่าตัวตาย

ไม่ว่าจะเป็นอาการเครียด

โรคซึมเศร้า

Sex Beer หรือ Drink Drank Drunk

อบายมุข ก็จะทำร้ายเราไม่ได้

เมื่อใช้ธัมมะ นำใจ

 

Comments

comments