๒๔๔. วิชาการอาถรรพณ์ และบทวิเคราะห์คำในพระไตรปิฎก “ปโรสหสฺสํ”

๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ วิชาการอาถรรพณ์ และบทวิเคราะห์ คำในพระไตรปิฎก “ปโรสหสฺสํ”  อุทิส ศิริวรรณ เขียน —— ปรับแก้นิดเดียว ก็เป็นตัวอย่าง “บทความวิชาการวิจัยคัมภีร์พระไตรปิฎก” ดังที่บอก ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ถึงปัจจุบัน ผม “ทุ่มเท” ความคิดอ่าน มุ่งรับใช้ “พระ – เทพ – เจ้า” ตามที่ผมสัทธา ไม่สนใจ “งาน” ในวงการอื่นๆ ตอนนี้ มุ่งอธิบายคำ “ปโรสหสฺสํ” ค้นคว้าและเขียนเป็น “วิทยาทาน” ผู้ที่อ่าน “พระไตรปิฎกบาลี” จะได้รับคุณค่า และแสงสว่างแห่งปัญญามาก   ลงไว้ให้อ่าน และอนุโมทนาบุญกันในวงกว้าง สาธุ สาธุ สาธุ ——- ผมว่า พระบาลีคือพระไตรปิฎก ก็เป็นของสูง ใครเรียนแล้ว ตีความผิด ใช้ผิด ก็มีอันเป็นไป แพ้ภัยตนเอง […]

๒๔๓. ข้ออรรถ ข้อธรรม “การวิจัยซ้ำผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง”

๒๖.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “การวิจัยซ้ำ ผลของทฤษฎีการฝึก ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง” อุทิส ศิริวรรณ เขียน  ——- เวลานี้ นักวิจัย ฝรั่งตะวันตก กำลังทดสอบ เพื่อหาหลักฐาน ยืนยันว่า ทฤษฎีการฝึกฝน การฝึกหัด การฝึกซ้อม การฝึกอบรม อย่างน้อย ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง จึงจะผ่านการรับรองผลว่า สิ่งที่ทำลงไป สำเร็จ สำเร็จ สำเร็จ พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีจริงหรือไม่? ประเด็นวิจัยดังกล่าว สืบเนื่องจาก แนวคิด ๒ แนวคิดที่ปะทะกัน ระหว่าง การเรียนรู้โดยธรรมชาติ คือลองผิดลองถูกก็เป็นเอง กับอีกแนวคิด คนจะมีความรู้ความสามารถได้ ต้องผ่านกระบวนการ และขั้นตอนการฝึกฝน ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ฝึกหัด และฝึกหนัก จึงจะเป็นคนเก่ง คำตอบล่าสุด น่าสนใจ ผลการวิจัยโดยทดสอบซ้ำพบว่า บางวงการ ฝึกแค่ ๒๐๐ ถึง ๕๐๐ […]

๒๔๑. โชคดีที่เกิดเป็นชาวสยาม เงินน้อยของหลวงพ่อคูณ บุญคือการเล่าเรียนพระไตรปิฎก

๒๓.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม ในภาพถ่ายที่อนุสาวรีย์ “ลินคอล์น” ผมชอบ “วิถีการต่อสู้” ของประธานาธิบดีท่านนี้ เป็น Hero ในดวงใจผม คล้าย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” “โชคดีที่เกิดเป็นชาวสยาม” อุทิส ศิริวรรณ —— สรุปว่า “แต่ละชีวิต” มี “โชคดี” ไม่เหมือนกัน สั้นๆ ง่ายๆ และทุกชีวิต ก็เหมือนกัน ต้อง “ต่อสู้” ด้วยมันสมอง สองมือ กว่าจะได้มาซึ่ง “ผลงาน” ——–   ค่อนวัน ผมนั่งรับฟังเรื่องราว การต่อสู้ชีวิต และโชคชะตา ของหญิงตัวคนเดียว เจ้าของร้านอาหารไทย Thanya Thai Cuisine ก่อนจากกัน เธอร่วมทำบุญ ๒๐ บาทไทย พนมมือ “สาธุ”   ผมย้ำกับเธอว่า อยาก “รวย” จริง ให้หมั่น […]

๒๔๐. เล่าเรื่องงานวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนาในรอบ ๑๕ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๕

  เล่าเรื่องงานวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนาในรอบ ๑๕ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๕ อุทิส ศิริวรรณ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๒ ——— หลังทำงานวงการต่างๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗-๒๕๕๙ รวม ๒๒ ปี ทั้งงานบริหารกิจการ งานวิชาการ งานสอน งานวิจัย สายบริหารธุรกิจ และบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยในไทยและต่างแดน ผมก็มาถึงความรู้สึกอิ่มตัว ในปี ๒๕๕๙ หรือเมื่อ ๔ ปีก่อน สืบเนื่องจาก “เบื่อหน่าย” การปั้นคน การสร้างคน โดยเฉพาะ “ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย” ผมพบว่า “ผม” ไม่ใจเย็นพอ และ “คน” ที่ผมคิดว่าจะสร้าง ให้เป็นคนมีคุณค่า คือมีคุณวุฒิ คุณภาพ และคุณธรรม บางรายที่ “สนิทสนม” “คุ้นเคย” และ “ไว้วางใจ” ว่าจะเป็น “คนใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม” ที่ไหนได้ […]

๒๓๙. ความสำเร็จไม่มีลางบอกเหตุ ความล้มเหลวไม่มีนิมิตหมาย

๑๑.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ความสำเร็จไม่มีลางบอกเหตุ ความล้มเหลวไม่มีนิมิตหมาย” อุทิส ศิริวรรณ เขียน  ——- เรื่องราวที่จะยกมาเป็น “กรณีศึกษา” คนสู้ชีวิตต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของ “ปาโบล เอสโกบาร์” มหาเศรษฐีเจ้าของฉายา “ราชาโคเคน” ที่ติดอันดับ ๗ มหาเศรษฐีของโลกติดๆ กันถึง ๗ ปี ตั้งแต่ปี ๑๙๘๗-๑๙๙๓ ขณะอายุน้อยมากเพียงแค่ ๓๘-๔๔ ปี ในไทย เราอาจไม่คุ้นเคย คุ้นหูชื่อของชายคนนี้ แต่ที่นิวยอร์ก ชื่อเสียงของเขาโด่งดังมาก คนในวงการธุรกิจรู้จักเขาดี จากสินค้าชื่อดังของเขา ซึ่งยังคงขายดิบขายดีกระทั่งถึงบัดนี้ นั่นคือ “โคเคน” ซึ่งเหนือชั้นกว่า “กัญชา” —– ทุกวันนี้ ผมครุ่นคิดว่า “ทุกความสำเร็จ มีลางบอกเหตุชัดเจนหรือไม่” คำตอบคือ “ไม่มี” ทุกวันนี้คนเรามี “ช่วงแห่งชีวิต” คล้ายคลึงกัน เรียนหนังสือ ทำงาน แต่งงาน หรือไม่แต่งงาน มีครอบครัว […]

๒๓๘. “กฎ ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง ผลการฝึกฝน การฝึกหัด การฝึกอบรม และการเพาะบ่มนิสัยคนมีสมรรถนะสูง”

๙.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “กฎ ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง ผลการฝึกฝน การฝึกหัด การฝึกอบรมและการเพาะบ่มนิสัยคนมีสมรรถนะสูง” อุทิส ศิริวรรณ —— ผมสนใจหลักธัมมะ ข้อว่าด้วย “วิริยะ” แปลว่า “ความพยายาม” เวลาอ่าน “กฎเกณฑ์” “หลักการ” “สมการ” และ “ทฤษฎี” นานาชาติ ผมก็ชอบอ่านหนังสือแนว “วิริยะ” —– ผมเคยคิดเล่นๆ ไม่คิดจริงจังว่า ในยุคดิจิทัล เราสามารถ “ฝึกฝน” “ฝึกหัด” และ “ฝึกอบรม” เพาะบ่ม “คนผู้หนึ่ง” ให้กลายเป็น “คนมีนิสัยที่มีสมรรถนะสูง” ได้หรือไม่? เวลานี้ ทุกวงการต้องคิดอ่าน และหาหนทางสร้าง “คน” ขึ้นมาเป็น “คนมีสมรรถนะสูง” เป็นตัวตายตัวแทนของ “คนที่มีสมรรถนะสูง” ในวงการนั้นๆ —– ถ้าตอบตามหลักวิทยาศาสตร์ จนถึงขณะนี้ “การฝึก” ในระบบ นับเป็นชั่วโมงแบบที่เรียกว่า […]

๒๓๗. “สมการชีวิต : ความรู้+ความสามารถ+เกียรติยศ+อำนาจ+เงินตรา”

๑๘.๘.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “สมการชีวิต : ความรู้+ความสามารถ+เกียรติยศ+อำนาจ+เงินตรา”   อุทิส ศิริวรรณ เขียน —– คำสำคัญ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” “ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์” “เจริญ กนกรัตน์” “สังข์ พัธโนทัย” “สังเวียร มีเผ่าพงษ์” “สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม” “เหตุผลที่ต้องเล่าเรียนสูงๆ” “สารลับโตเกียวถึงกวางเจา” “พระไทยไปเรียนอินเดีย รับนิมนต์ไปเยือนปักกิ่ง กลับไทยติดคุก ๔ ปี ๑๐ เดือน ๑๔ วัน เท่ากับเรียนปริญญาตรี ๑ ใบ” ปิดท้ายด้วย “คำให้การ” ของพลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต แกนนำก่อการรัฐประหาร “ต้องการปรับปรุงกองทัพบกเพราะเสื่อมโทรม ผู้บังคับบัญชาไม่เอาใจใส่ เพราะมัวแต่ไปยุ่งการค้าการเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของทหาร” —— […]

๒๓๖. ทำดีเอาหน้า สร้างภาพเอาเงิน

๑๖.๘.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ทำดีเอาหน้า สร้างภาพเอาเงิน” อุทิส ศิริวรรณ เขียน ——–   คนที่ใจบุญสุนทาน จิตใจจะคิดเพียงว่า “ให้” ดังนั้น คนที่ใจบุญสุนทาน พอทำบุญทำทานระยะหนึ่ง จะประสบพบพานกลุ่มคนที่เป็นปุถุชน ทั้งประเภท “เอาหน้า” และ “เอาเงิน” เป็นเช่นนี้ แต่ไหนแต่ไรมา  นับพันนับหมื่นปี ผู้รู้จึงสอนให้คนที่ชอบทำบุญทำทาน “วิจัย คัดเลือก เลือกเฟ้นแล้ว จึงทำทาน” สอนให้เกิด “หิริ ความละอาย” และ “โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป” อย่าทำตัวเป็นคนปราศจากหิริโอตตัปปะ อย่าทำตัวเป็น “คนกล้าเพียงดังกา” คือ “คล้ายกับอีกา” ไปไหนมาไหน ก็พูดพล่าม “ของกู ของกู” เดินตามหาแต่ “เงิน”  เปล่งเสียงร้องระงมรอบสารทิศว่า “เงินอยู่ไหน เงินอยู่ไหน” การทำบุญทำทานอันประกอบด้วยปัญญา คือการระลึกรับรู้ถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของผู้ให้ ของผู้รับ […]

๒๓๕. คิดแบบฮาร์วาร์ด : การเพิ่มผลผลิตอย่างยิ่งยวด

คิดแบบฮาร์วาร์ด : การเพิ่มผลผลิตอย่างยิ่งยวด คอลัมน์   Get Idia 5.0 8.8.2562 ตลอดเดือนพฤษภาคมปีนี้ ผมใช้เวลาส่วนมากที่ Harvard Business School มีเวลา ผมจะเล่ารายละเอียดให้ฟัง วันนี้ ขอเล่าเพียงแค่บางส่วน ประเด็นที่เรียนรู้จากฮาร์วาร์ด และน่าสนใจคือ “แนวคิดการเพิ่มผลผลิตอย่างยิ่งยวด” หรืออังกฤษเรียกว่า extreme productivity ผมแปลสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “แนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพในระดับที่เข้มงวด”  ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ในวงการบริหาร เป็นคำศัพท์ใหม่ Robert Pozen ผู้นำเสนอแนวคิดนี้ เป็นเด็กมัธยมที่ไม่เอาไหน พ่อแม่ไม่เอาถ่าน แต่วาสนาชะตาคน มีปัญหาเรื่องเงินทอง รายได้เอาแน่เอานอนไม่ได้ ทว่าตนเอง ต่อสู้ พากเพียรพยายาม สุดท้ายได้ดิบได้ดี นอกจากเป็นอาจารย์สอนพิเศษ ที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแล้ว ท่านผู้นี้ยังสอนกฎหมาย ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นประธานบริหาร MFS Investment Fund Management กิจการลงทุนระดับโลก กรรมการบริหาร บริษัทมหาชน ๒ แห่ง […]

1 2 3 4 5 27