๒๕๓. พุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

  ความเรียง “พุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์” อุทิส ศิริวรรณ เขียน ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ ***** ผมเป็นคนชอบ “สงสัย” และ “ตั้งคำถาม”  ตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งคนที่ชอบสงสัยและซักถามแบบผม มีจำนวนมาก เลยเป็นเหตุให้นิยมชมชอบ “ค้นคว้า – ศึกษา – เล่าเรียน” และเมื่อเอาจริงเอาจัง เรียนจนได้ปริญญามาหลายสาขา หลายใบ ถึงวัยชรา ก็อยากเล่า “เกร็ด”บางเรื่อง ทำนอง “เล่าสู่กันฟัง” ผมมารู้ความจริงภายหลังเมื่อเติบโตแล้วว่าเพราะมีความคิดทาง “วิทยาศาสตร์” เลยเป็นคนที่ชอบ “ซักถาม” และ “ตั้งข้อสงสัย” ครูบาอาจารย์ที่ผมเรียนด้วย คนที่ผมคุยด้วย ถ้าไม่ใช่ที่ “เข้าใจ”  ก็อาจคิดว่า “ลองภูมิ” หรือมองทางลบ ทางร้าย ต่างจาก “ตัวตน” ที่ผมเป็น ซึ่งการที่ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์ก็ถูกอีก เพราะสมัยสอบเทียบทางวิชาชุดครู พ.กศ. ผมเลือกวิชา “วิทยาศาสตร์”    และส่วนตัวชอบ […]

๒๕๒. ไม่ว่าเราเชื่ออะไร สุดท้ายอะไรที่เราเชื่อนั้นจะกลายเป็นความจริงตามที่เราเชื่อ

๒๕๒. ไม่ว่าเราเชื่ออะไร สุดท้ายอะไรที่เราเชื่อนั้น จะกลายเป็นความจริงตามที่เราเชื่อ อุทิส ศิริวรรณ เขียน  ๑๒ เมษายน ๒๕๖๔ —— “เทวานุภาพ” นอกเหนือจาก “พระรัตนตรัย” ผมยัง “เปิดใจ” นับถือเทพด้วย ในพระไตรปิฎก มีระบุถึง “เทพ” หลายองค์ แต่เทพที่ผมสนใจ กลับเป็น “เทพ” ที่นักบวชฮินดู คิดและสร้างขึ้นภายหลัง เรียกว่า “เทพช้าง” หรือ “พระคเณศ” องค์พระคเณศบางแห่ง เคยแสดง “อิทธิปาฏิหาริย์” ให้ผมเห็น “ตาเปล่า” มาแล้ว ทั้งที่กรุงเดลี และกรุงเทพมหานคร ไว้ช่วงเวลาเหมาะสม จะเล่าให้อ่านกันสนุกๆ ว่าอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของพระคเณศเทพเจ้า ก็มีอยู่จริง แต่ต้องปลงใจเชื่อจริงๆ ยกตัวอย่างการแต่งคัมภีร์ยากๆ ลึกซึ้ง มีรายละเอียดมาก ว่ากันว่าต้องบูชาพระคเณศ จึงจะเอาชนะอุปสรรคที่ขัดขวาง การแต่งคัมภีร์สำคัญ อย่าง “คัมภีร์มหาภารตะ” ว่ากันว่า “ฤาษีวยาสะ” ต้อง […]

๒๕๑. “จาก ๑๑ เมษายน ๒๕๓๗ ถึง ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ เริ่มต้นชีวิตใหม่จากศูนย์”

“จาก ๑๑ เมษายน ๒๕๓๗ ถึง ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ เริ่มต้นชีวิตใหม่จากศูนย์” เรื่องเล่าคนสู้ชีวิตที่ล้มเหลวในบั้นต้น และสำเร็จในบั้นปลาย เรื่องราวคนที่เดินขึ้นหุบผาสูงชัน และหล่นลงเหวลึกเจียนอยู่เจียนตายมาแล้ว แคล้วคลาดปลอดภัยภัยอันตรายมาได้ เพราะคำว่า “บุญ” เพียงคำเดียว เหมาะสำหรับ “คนสู้ชีวิต” ที่ต่อสู้เอาชนะโชคชะตา ที่ดีงามและโหดร้าย ด้วย “หลักคิด – หลักทำ – หลักธัมมะ”   อุทิส ศิริวรรณ เขียน —– วันนี้ เป็นวันครบรอบ ๒๗ ปี ที่ผมก้าวออกจาก “วัดวาอาราม” ที่คุ้นเคยนาน นับแต่กรกฎาคม ๒๕๒๒ ถึง ๑๑ เมษายน ๒๕๓๗ ๑๔ ปี ๙ เดือน เรียกว่าก้าวออกจาก Comfort Zone แปลตรงตัวว่า “พื้นที่สะดวกสบาย” “พื้นที่คุ้นเคย” […]

๒๕๐. ชีวิตเราเป็นผู้เลือก เราเป็นผู้เขียนเส้นทางเดินชีวิตเรา

๒๕๐. ชีวิตเราเป็นผู้เลือก เราเป็นผู้เขียนเส้นทางเดินชีวิตเรา อุทิส ศิริวรรณ เขียน เสาร์ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ ♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦     ในสังคมทั่วไป ถ้าค่อยๆ สังเกต  จะเห็น “ผลงานเชิงประจักษ์” ว่า ชีวิตคนเรานั้น แต่ละคนแตกต่างกัน ไม่มีวันที่จะเหมือนกัน ได้แค่คล้ายคลึงกัน คนเราที่สำเร็จ  สมหวัง มั่งคั่ง ร่ำรวย ก็มีจำนวนมาก ส่วนคนที่ล้มเหลว ผิดหวัง อนาถา ยากจน ก็มีเยอะแยะมากมายกว่า ใดๆ อยู่ที่ “บุญ-วาสนา-บารมี-เวลา-โอกาส” ที่แตกต่างกัน คติฝรั่ง เชื่อว่า “โอกาส” เหมือน “ขุดทอง” ขุดอีกแค่ ๓ ครั้ง ก็พบ “เหมืองทองคำ” แต่ในชีวิตจริง หลายคน พยายาม ทุ่มเท เอาจริงเอาจัง วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่า ขุดดินไล่ล่าหาทองคำคือความสำเร็จ […]

๒๕๐. ชะตากรรมของพระพิมลธรรมสมัยแผ่นดินกรุงธนบุรี

ชะตากรรมของพระพิมลธรรม สมัยแผ่นดินกรุงธนบุรี อุทิส ศิริวรรณ เขียน ๙ เมษายน ๒๕๖๔ ———   สืบเนื่องจากเดินทางไปร่วมงานสมาคมศิษย์วัดพระเชตุพน เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา  เดินผ่านตำหนักวาสุกรี คณะกุฏิ น. ๑๖ แล้วหวนรำลึกถึงชะตาตนและชะตาท่าน ครั้งหนึ่งในชีวิต สมัยปี ๒๕๓๐ เคยพำนักอยู่ที่คณะกุฏิ น. ๑๗ เป็นปี และชีวิตชอกช้ำไม่ฉ่ำหวาน สอบตกประโยค ๘ ในปี ๒๕๓๑ ความผิดหวังโสกาดูรเศร้าโศกเสียใจเลยจำใจจำลานิราศร้าง ไปอางว้างนอนระทมที่วัดราชบุรณะ ไม่ไกลกันนัก และเมื่อกาลเวลาเยียวยารักษาบาดแผลแห่งความล้มเหลว ก็ลุกขึ้นสู้พยายามทุ่มเทสอบใหม่อีกครั้ง จนสอบได้ประโยค ๘ ในปี ๒๕๓๒ และประโยค ๙ ในปี ๒๕๓๓ ขณะเป็นสามเณรจนได้ พร้อมกับปริญญาตรีจาก มสธ ๑ ใบ และปริญญาตรีจาก มจร อีก ๑ […]

๒๕๐. สมถะและวิปัสสนาตามนัยแห่งเปฏโกปเทสปกรณ์

๒๕๐. สมถะและวิปัสสนาตามนัยแห่งเปฏโกปเทสปกรณ์   อุทิส ศิริวรรณ เขียน ๘ เมษายน ๒๕๖๔     ผมสนใจค้นคว้า “พระไตรปิฎก” และคัมภีร์บริวารต่างๆ เพื่อประกอบการวิจัยพุทธศาสนาชั้นสูง พบประเด็นน่าสนใจคือคำอธิบาย คำว่า “สมถะ” กับคำว่า “วิปัสสนา” สมถะ คือ ภาวะที่จิตตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยดี ตั้งลง ดำรงอยู่ ปรากฏอยู่ ตั้งอยู่ใกล้เคียง จิตมีสมาธิ จิตแน่วแน่ จิตไม่กระสับกระส่าย จิตไม่เดือดร้อน จิตสงบระงับ จิตมีฉันทะเกิดมีในใจ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว นี้เรียกรวมว่า “สมถะ”   ส่วน “วิปัสสนา”  คือการค้นคว้าวิจัย การค้นคว้ารอบด้าน การพิจารณา การใคร่ครวญ การยึด การถือ การถือควมั่น การพิจารณาด้วยจิต การไตร่ตรอง การใคร่ครวญ ความรู้ ความรู้แจ้ง ความมีปัญญาดังจักษุ ความรอบรู้ ความฉลาด […]

๒๔๙. ผลการสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี ๒๕๖๔

วันที่โพสต์ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ ผลการสอบบาลีสนามหลวงประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ เครดิตข้อมูลจาก “พระธรรมราชานุวัตร” วัดโมลีโลกยาราม เป็นไฟล์  PDFดาวน์โหลดได้ฟรี ตามคลิกนี้ สถิติประโยค ป.ธ. ๙ ปี ๒๕๖๔ สถิติประโยค ป.ธ. ๘ ปี ๒๕๖๔ สถิติประโยค ป.ธ. ๗ ปี ๒๕๖๔ สถิติประโยค ป.ธ.๖ ปี ๒๕๖๔ สำหรับสถิติอื่นๆ สถิติบาลีศึกษาประโยคต่างๆ ผลสอบครั้งที่ ๑ ปี ๒๕๖๔ สถิติบาลีศึกษาประโยค ๖-๗-๙ ผลสอบครั้งที่ ๑ ปี ๒๕๖๔ *บาลีศึกษา ๘ สอบตกทั้งประเทศ ไม่มีผู้สอบได้แม้แต่คนเดียว

๒๔๘. ปราชญ์บาลีฝรั่งกับผลงานทำพจนานุกรมบาลี

“ปราชญ์ฝรั่งกับผลงานทำพจนานุกรมบาลี” ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ แต่งแปลเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ****** จิตสัทธา เขียนไว้เพื่อบูชาพระคุณบุรพาจารย์ครูบาลียุโรป ที่โลกลืม เนื่องในวาระสำคัญที่อีก ๓ ปีข้างหน้า ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จะเป็นวันครบรอบ ๒๐๐ ปี  ปราชญ์บาลีชาวเดนมาร์ก นามว่า วี. เทรงก์เนอร์ ภาพที่ ๑ วี. เทรงก์เนอร์ : ปราชญ์บาลีชาวเดนมาร์ก ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๗ ถึง ๙ มกราคม ๒๔๓๔ ตอน ๑ ——– ไดนส์ แอนเดอร์สัน กรุงโคเปนเฮเกน ได้เขียน “อัตชีวประวัติ” ของ วี. เทรงก์เนอร์เอาไว้ ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ […]

๒๔๗. บทความวิจัย “สถานการณ์พุทธศาสนาในโลกตะวันตก”

บทความวิจัย “สถานการณ์พุทธศาสนาในโลกตะวันตก”ตีพิมพ์ในวารสารธรรมธารา ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๖๒ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้https://www.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160787/115929 คลิกอ่านจากวารสารธรรมธาราออนไลน์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/16078

๒๔๖. บทความวิชาการพระไตรปิฎกศึกษา ตอน ๑ “คัมภีร์พุทธวงศ์และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี”

๔.๑๐.๒๕๖๒ บทความวิชาการ พระไตรปิฎกศึกษา ตอน ๑ “คัมภีร์พุทธวงศ์และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี” อุทิส ศิริวรรณ เขียน   สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง —— เมื่อ “อายุ” ล่วงเลยมาถึงวันเวลาอันเหมาะสม ผมก็มีเวลา “เรียนรู้” ปริยัติคือพระไตรปิฎก ที่สนใจและอยากศึกษา ทว่า “ชีวิต” และ “โชคชะตา” ที่ขับเคลื่อนด้วย “ความไม่มั่นคง” และ “ความไม่แน่นอน” ทำให้ผมต้องหันไปทำการอื่นๆ เพื่อสร้างตัว สร้างฐานะ สร้างรายได้ จนมั่นคงระดับหนึ่ง จึงมีเวลาศึกษา “ปริยัติ” คือ “พระไตรปิฎก” —— ผมอาจมีอุปนิสัย เหมือนนักอักษรศาสตร์ทั่วไป คือเวลาอ่าน “ตำราหลัก” หนังสือหนัก หนา และเนื้อหาลุ่มลึก เข้าใจยาก อย่าง “พระไตรปิฎก” ผมจะชอบอ่านที่เป็น “ตัวเล่ม” ไม่ชอบอ่าน “อีบุ๊ก” […]

1 2 3 4 27