95. การจัดการแบบ “ข้าราชการ” กับ “ผู้ก่อการ”

การจัดการแบบ “ข้าราชการ” กับ “ผู้ก่อการ”

วิจัยโดย

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
รองศาสตราจารย์ ดร. โชติกา รามบุตร
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์ชุดา ฐิติกัลยาณ์
ดร. บุรชิต โสตถิวันวงศ์
ดร. สมพล เติมพิทยาเวช

ดร. ทัศนีย์ ฐิติกัลยาณ์
สมาคมบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

ร่วมกับ

โครงการปริญญาเอก Joint DBA 3 สถาบันนานาชาติ

12 กุมภาพันธ์ 2556

———————————————–

 

สมาคมและโครงการปริญญาเอกบริหารธุรกิจ 3 สถาบันได้ร่วมกันทำ

“วิจัย” การจัดการแบบ “ข้าราชการ” กับ “ผู้ประกอบการ”

ซึ่งขอเรียกย่อๆ ว่า “ผู้ก่อการ”

คณะผู้วิจัยได้กำหนด “ตัวแปรต้น” และ “ตัวแปรตาม” สำหรับ “กลุ่มศึกษา” ไว้คล้ายกัน

เริ่มจาก “ตัวแปรต้น” สิ่งที่เหมือนกันคือ

-เพศ

-อายุ

-การศึกษา

-ตำแหน่ง

-รายได้

-วิธีคิด

โดยกำหนดตัวแปรตามคือ “การบริหารจัดการ”
-เวลา (Time)
-เงิน/งบประมาณ (Money/Budget)
-พลังงาน (Energy)
-โอกาส (Opportunity)

มีผลลัพธ์คือ “ความสำเร็จ” ทางเศรษฐกิจ และสังคม

ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คณะผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างไว้แบบ “เจาะจง” (Purposive Sampling)

สัดส่วนประชากรเท่ากันคือฝ่ายละ 200 คน

ระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีวิจัยผสมผสาน เชิง “ปริมาณ” และ “คุณภาพ”

สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และวิเคราะห์ เชฟเฟ กรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Factor Analysis)โดยวิธีวิเคราะห์
“ความเป็นไปได้สูงสุด”

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาความ

พื้นที่เก็บตัวอย่างคือ “กรุงเทพมหานคร” “นนทบุรี” “ปทุมธานี” และ “ชลบุรี”

ระยะเวลา 1 ปีเต็ม ระหว่าง เดือนมกราคม-ธันวาคม 2555

ผลการวิจัยพบประเด็นที่เป็น “สาระสำคัญ” น่าสนใจดังนี้

ข้าราชการกับผู้ก่อการ มีความแตกต่างกันเพียง 2 เรื่องคือ “รายได้” กับ “วิธีคิด”

ข้าราชการส่วนใหญ่ รายได้น้อย ซึ่งประเด็นนี้สัมพันธ์กับ “วิธีคิด”

ทั้งข้าราชการกับผู้ก่อการส่วนใหญ่มีชีวิตที่คล้ายกัน เช่น แบ่งเป็นเพศชายเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป แต่สิ่งไม่เหมือนกันในการบริหารจัดการคือ “ข้าราชการ” ต้องอยู่ใต้ “ระเบียบวินัย” จะขยับตัว เปลี่ยนแปลง ทำอะไรสะดวกรวดเร็วแบบ “ผู้ก่อการ” ไม่ได้ เพราะชีวิตตกอยู่ใต้ “กฎ” “เกณฑ์ “ระเบียบ” หยุมหยิม จุกจิก มากมายควบคุมเอาไว้ พอชีวิตอยู่ใต้ระเบียบวินัยนานๆ เข้า “นิสัย” ก็เปลี่ยน กลายเป็นคนที่มีชีวิตแบบว่าต้องฟัง “นาย” สั่ง ทำให้ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการบริหาร “เวลา” “เงิน/งบประมาณ” “พลังงาน”
และ “โอกาส” มีความเป็นไปได้ในระดับ “น้อยที่สุด”

แตกต่างจาก “ผู้ก่อการ” ส่วนใหญ่ไม่ต้องรอรับ “คำสั่ง” นาย อยากคิด อยากพูด อยากทำอะไรก็ได้ทำ รายได้ “สัมพันธ์” กับ “วิธีคิด” เมื่อคิดแล้วทำได้ทันที ชีวิตก็มีแต่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ รับข้อมูลข่าวสารแปลกใหม่ ได้รับความคิดใหม่ๆ ได้พบ ได้เห็นผู้คนและหลัการบริหารจัดการแบบ “เอกชน” ที่แตกต่างหลากหลายในแต่ละองค์กร ก็เกิดการเรียนรู้ ได้ฝึกฝน ได้อบรม และได้พัฒนาด้วยหลัก “ขับเคลื่อนรวดเร็ว ทำงานได้สำเร็จทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้” Move fast and break things การบริหาร “เวลา” “เงิน” “พลังงาน” และ “โอกาส” ของ
ผู้ก่อการ หรือผู้ประกอบการ มีความเป็นไปได้ในระดับ “มากทีสุด”

Recommendation สำหรับการวิจัยชิ้นนี้คือ

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานและบุคลากร

1. จากผลการวิจัยที่ได้รับ องค์การภาครัฐและเอกชนต้องปรับกลยุทธ์และวิสัยทัศน์การทำงานให้สะดวกรวดเร็ว
เฟ้นหาสินค้าและบริการที่ “เป็นเลิศ” และ “ดีที่สุด”
2. จากผลการวิจัยที่ได้รับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องเน้นให้เกิดการเรียนรู้ การรับรู้ การเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นตลอดเวลาในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการเปลี่ยน “วิธีคิด” วิธีบริหารจัดการ
“เวลา” “เงิน/งบประมาณ” “พลังงาน” และ “โอกาส”
3. จากผลการวิจัยที่ได้รับ บุคลากรองค์กรต่างๆ ต้อง “ปรับตัว” ให้รวดเร็ว โดยเฉพาะการคิดแบบมีเป้าหมาย
และขับเคลื่อนตนเองและองค์การไปสู่ความสำเร็จด้วยความ “รวดเร็ว”

 

ปรัชญาจากการวิจัยครั้งนี้

“ถ้าเคยคิดแต่ไม่เคยทำอะไรสำเร็จ

แม้แต่เพียงเรื่องเดียว

แสดงว่าคุณยังขับเคลื่อนไม่รวดเร็ว

ต้องเพิ่มอัตราเร่งให้เร็วกว่าเดิม

ยังไม่สายเกินไปที่จะทำงานให้เร็วกว่าเดิม”

Comments

comments