66. ปรัชญาพระคเณศ

คอลัมน์    How to Win

ปรัชญาพระคเณศ สู่ความสำเร็จที่รวดเร็ว

พระคเณศ  มีลักษณะสมบูรณ์ที่สุด ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ทรงนำมาจากชวา
ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (วังหน้า) กรุงเทพมหานคร
สักการะได้ ทุกวันพุธ-อาทิตย์ ในวันเวลาราชการ หยุดวันจันทร์-อังคารและวันนักขัตฤกษ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ อยู่แถวสนามหลวง ติดหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

   ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ

อ่านแล้วต้องการแชร์ไอเดีย คลิก

druthit@druthit.com

ASEAN Research Information Center Director

  MBA & DBA Program, Deming Business School, W.H. Taft University

www.demingbusinessschool.com

หนังสือพิมพ์เชียงใหม่ธุรกิจ

วันพุธที่ 24 ตุลาคม 2555

ปรับปรุง 25 ตุลาคม 2555

               เทพเจ้าที่ผู้คนในเมืองไทยนับถือมากคือ “พระคเณศ” หรือ “พระพิฆเนศวร์”

หลายหน่วยงาน ใช้ “สัญลักษณ์” ของท่าน เป็นตราสัญลักษณ์สถาบันหรือองค์กร อย่างเช่น กรมศิลปากร  หรือมหาวิทยาลัยศิลปากร

มีหนังสือฝรั่งหนึ่งเล่ม ชื่อ “เทพเจ้าแห่งการจัดการ” แต่เป็นเทพทางด้านตะวันตกทั้งหมด  ได้นำปรัชญา แนวความคิดเรื่อง “เทพ” ต่างๆ มานำเสนอเพื่อการบริหารจัดการ

สำหรับปรัชญาตะวันออก ยังไม่มีใครนำเสนอปรัชญาความเชื่อเรื่อง “เทพ” เพื่อการบริหารจัดการ

วันนี้ผมจะขอนำเสนอปรัชญา “พระคเณศ”

พระคเณศ มีปรัชญาบริหารจัดการที่สำคัญ 2 เรื่อง  เรื่องแรกคือขจัดปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้อง ติดขัด ไม่สะดวกต่างๆ  ข้อ 2 ทำการใดๆ จะมุ่งนำไปสู่ความสำเร็จ

ซึ่งปรัชญาดังกล่าวข้างต้น ถ้าใครนำไปคิด ไปปฏิบัติ คิดแล้วคลิก ผลที่จะเกิดตามมาคือ รวยเร็ว รวยแรง รวยรวด

เรื่องแรก ขจัดปัญหาอุปสรรค มีความหมายเริ่มต้นตั้งแต่ “เจ้ากรรม นายเวร”

มนุษย์ทุกผู้เกิดมา มีปัญหามาเกิดตั้งแต่แรกเกิด  มีสิ่งที่ตามองไม่เห็น เรียกว่า “เจ้ากรรม” บ้าง “นายเวร” บ้าง คอยติดตาม ตรวจสอบ สกัดกั้น กีดขวาง ขวัดขวาง ไม่ให้ทำงานได้ลุล่วง ราบรื่น สะดวก

เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลาย มาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

จากปัจจัยภายในตัวเองคือ  ความคิด ความฝัน ความเชื่อ และจินตนาการ

แค่ 4 เรื่องนี้แหละที่ทำให้คนจน คนรวย คนสำเร็จ กับคนที่ล้มเหลว แตกต่างกัน

สถานการณ์แตกต่างกัน   เรื่องราวเล่าขานแตกต่างกัน ความคิดจินตนาการแตกต่างกัน ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จไม่เหมือนกัน

ปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ คนในเครือสหพัฒน์ทั้งหมดตกอยู่ในอาการขวัญระส่ำ ทั้งที่หลายคนเรียนจบ MBA จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ทั้งจุฬา ฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ จากเมืองนอกก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป

แต่เพราะสถานการณ์ชักนำทุกคนสู่สภาวะ “ไก่ในเข่งเดียวกัน” จึงเกิดการจิกตีกัน ถีบกัน ยันกัน ขวัญระส่ำ แตกสามัคคี

สถานการณ์วิกฤตสร้างวีรบุรุษชื่อ “บุญเกียรติ โชควัฒนา” เจ้าของโมเดลธุรกิจ “MOP”
ด้วยหลักการทำงาน “ไม่ท้อ ไม่เหนือย ไม่กลัว ไม่มีปัญหา” เขาได้บอกเล่าแก่คนในองค์การซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ไม่ต้องท้อแท้ ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องกลัว ทุกปัญหาแก้ไขได้ ชีวิตต้องสู้ ในวิกฤตคือโอกาส
เขาได้เล่าขานเรื่องราวที่ “คิดบวก” ให้ทุกคนเกิดความฮึกเหิม “ไม่ท้อ ไม่เหนื่อย ไม่กลัว ไม่มีปัญหา” ให้ทุกคนจินตนาการสู่ความสำเร็จ

ในที่สุด ธุรกิจในเครือสหพัฒน์ก็พ้นวิกฤต กลับมาเป็นองค์การชั้นนำของประเทศได้อีกครั้ง หลังปี 2540 เป็นต้นมา

สถานการณ์แตกต่างกัน เรื่องราวเล่าขานแตกต่างกัน ความคิดจินตนาการแตกต่างกัน หนทางสู่ความสำเร็จ…ย่อมไม่เหมือนกัน

เราลองสังเกตคนรอบตัว คนที่คิดบวก มองโลกในแง่ดี นิสัยดี อารมณ์ดี ชอบช่วยเหลือคน เห็นวิกฤตเป็นโอกาส จะค้นพบช่องทาง โอกาส ใหม่ และแตกต่างตลอดเวลา

แตกต่างจากคนคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ดุด่าว่าคนรอบตัว นายไม่ดี เพื่อนไม่ดี แฟนไม่ดี เงินไม่ดี คนเหล่านี้ รวยไม่ทน จนยากนาน ชีวิตติดๆ ขัดๆ พบพานแต่อุปสรรคร่ำไป เรื่อยไป

นอกจากปัจจัยภายในที่ขัดขวางต่อความสำเร็จแล้ว ระบบทำงาน ระบบสื่อสาร ก็สำคัญ คนที่ขจัดอุปสรรคได้ คือคนที่มีเครื่องมือการบริหารจัดการครบ การข่าวดี ภาษาสื่อสารเยี่ยม ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารได้ครบครัน ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสารทุกชนิด

ส่วน “เจ้ากรรมนายเวร” ประเภทตามองไม่เห็น ก็แก้ไขไม่ให้เป็นอุปสรรคได้ ด้วยการไหว้พระสวดมนต์ บำเพ็ญจิตภาวนา ปล่อยสัตว์ เลี้ยงเพล ถวายสังฆทาน ทำบุญเป็นระยะ แผ่บุญกุศลให้สม่ำเสมอ ก็จะคลี่คลาย จากร้ายกลายเป็นดี

สำหรับปัจจัยภายนอกคือ ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งลูกหลาน บริวาร เจ้านาย ลูกค้า หุ้นส่วน คู่ค้า ก็ทำให้ไม่เป็นปัญหา ด้วยบริการที่ครบวงจร  ต้องการอะไรก็จัดหาให้ได้  “ทันที ทันใด ทันใจ สะดวก รวดเร็ว” แบบว่า “ได้เลย ดีเยี่ยม สบายมาก เหมาะสม”

เมื่อ “ขจัดปัญหาและอุปสรรค” ได้ ก็จะนำไปสู่ “ความสำเร็จ” มั่นคงด้วยทรัพย์สฤงคาร มั่งคั่งด้วยภูมิปัญญาแบบ “พระคเณศเทพเจ้า” ยั่งยืนตลอดไป

Comments

comments