61. ปรัชญาอุทิส ศิริวรรณ (อัพเดต 29.03.57)

ปรัชญา อุทิส ศิริวรรณ

Uthit Siriwan’s Philosophy

ที่มา: มี หลายคนเสนอแนวคิดกับผมว่าผมมักจะมี “แง่คิดดีๆ” จากสิ่งที่พบเห็นในประเทศและประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้จากการพูดคุยคนรอบตัวบ้าง ได้จากการเดินทางไปพบ ไปเห็น ไปสัมผัสบ้าง ได้จากประสบการณ์ทำงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน ภาควิชาการบ้าง

อยากให้ฝากให้เป็นแง่คิดการทำงานกับผู้คนรอบตัวน่าที่จะมีการ
“รวบรวม” แนวคิดดังกล่าวมาเผยแพร่ที่ใดที่หนึ่ง

ดัง นั้น จึงเริ่มต้น “รวบรวม” ตามที่มีผู้แนะนำสามารถคัดลอกไปอ่านได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์จะไปดัดแปลงเป็นของท่านเองก็ไม่ว่าถือว่าทุกสิ่งคือ “ธรรมะ” อยู่ในธรรมชาติ

ปรัชญาประจำวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗:  19:45:15

ทัศนคติทางการเมือง

มีคนถามผมว่าผมสังกัดพรรคการเมืองไหน ?
ผมตอบไปว่า ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
มีคำถามต่อว่า มีใครบงการหรืออยู่เบื้องหลังหรือไม่?
ผมตอบไปว่า “ไม่มี” และได้เก็บมาคิดต่อว่า
สังคมบ้านเราสมัยนี้ คนที่ “เกลียด” และ “รังเกียจ”
นักการเมืองแบบเก่า ต้องเฟ้นหา “นักการเมือง” แบบใหม่ที่มี
คุณวุฒิ-คุณภาพ-คุณธรรม
เพราะคนมากด้วยความรู้ความสามารถ “ปาก” กับ “ใจ” ตรงกัน
ไม่เสแสร้ง ดีกว่าคนที่อ้างว่าตนเป็น “คนดี” “คนซื่อสัตย์” “คนสุจริต”
บ้านเมืองเรายามนี้ เรากำลังค้นหาคนที่ “คำพูด” เชื่อถือได้
คนที่ “คำไหนคำนั้น” คนที่ “ปาก” กับ “ใจ” ตรงกัน
คนที่ “รู้เท่า” เอาไว้กัน และ “รู้ทัน” เอาไว้แก้

ปรัชญาประจำวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ :  20:26:25

Work Hard vs Work Smart
มีคนถามผมด้วยคำถามแปลกๆ ว่า จะทำให้คนในองค์กรขนาดใหญ่
มีความทัดเทียม ไม่แตกต่าง ไม่เหลื่อมล้ำ ไม่เป็น “ขนมชั้น” ได้อย่างไร?

ตอบแบบ “ฟันธง” ถึงที่สุดแล้ว จะทำให้คน “เสมอภาค” เป็นเรื่อง “ยากที่สุด”

เพราะคนเรามี “เป้าหมายชีวิต” “ความต้องการ” “ความคาดหวัง” แตกต่างกัน

ตามภูมิหลัง เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส คุณธรรม ในจิต

แตกต่างกัน

คนเรา มีวิถีแห่ง “บุญ” “วาสนา” “บารมี” “เวลา” และ “โอกาส” แตกต่างกัน

ความสำเร็จจึง “แตกต่างกัน”  หรือใครคิดว่าจะทำให้คนทัดเทียมกันได้ทุกเรื่อง

ก็ช่วยอีเมล์บอกผมด้วยที่ druthit@druthit.com  จะได้นำมาเผยแพร่ต่อไป

 

ผมเองผ่านการทำงาน ผ่านการใช้ชีวิตในฐานะคน “ชั้น ๒” “ชั้น ๓”
“ชั้น ๔” และ “ไร้อันดับ”  Out of Class มาแล้ว
ได้แง่คิดว่า คนเราทุกคน จะมีความเสมอภาค เป็นธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ
ไม่เป็นขนมชั้นได้ ต้องทำงานแบบมี “เป้าหมายชีวิต” ที่ชัดเจน

ในเบื้องต้น คนเรามีความต้องการ ๔ ประเด็นสำคัญ

๑. ต้องการสุขภาพแข็งแรง

๒. ต้องการมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง

๓. ต้องการมีรถยนต์ไว้สัญจรไปมา

๔. ต้องการมีบ้าน

จากนั้น ความต้องการ ก็ขยายออกไปอีกไม่กี่เรื่อง

๑. ต้องการมีคนรัก

๒. ต้องการมีเพื่อน

๓. ต้องการให้คนให้เกียรติ ยกย่อง นับหน้า ถือตา

๔. ต้องการกิน

๕. ต้องการดื่ม

๖. ต้องการเล่น

๗. ต้องการเดินทางท่องเที่ย่ว

๘. ต้องการศึกษา “ธรรมะ” สัจธรรมชีวิต ค้นหา “คำตอบ” เพื่อชีวิต

และพอถึงที่สุดแล้ว คนเรา

๑. ต้องการรู้ว่า เกิดมาทำไม?

๒. ต้องการรู้ว่า ตายแล้ว ไปไหน?

๓. ต้องการ “ทำ” สิ่งที่ดี มีประโยชน์ มีคุณค่า ต่อสังคม

นี่คือมุมมองของ “คนดี”
แต่สำหรับ “คนเลว” จะไม่คิดแบบนี้

คนเลว

๑. ริษยา (เงินในกระเป๋าคนอื่น คนรักคนอื่น บ้านคนอื่น รถคนอื่น ตำแหน่งคนอื่น)

๒. เลื่อยขา (คิดและทำทุกวิถีทางที่จะสกัด ดาวรุ่ง ดาวเด่น ในที่ทำงาน)

๓. เหยียบตาปลา (มองว่าคนดีทั้งหลายมาทำให้ตนเองต้องต่ำต้อย น้อยใจ เสียหน้า)

คนเลว

๑. ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ความชอบธรรม

๒. บ้าอำนาจ เผด็จการ ครอบงำความคิด และผลงานคนอื่น

๓. กีดกัน ขัดขวาง ทำลายล้าง ทุกวิถีทางที่ “คนดี” กระทำ

 

ดังนั้น ถึงที่สุดแล้ว เลือกเอาเองว่า จะ Work Hard  หรือ Work Smart

ถ้าคิดแบบ “คนดี” ผลงานจะเป็นอีกทาง

ถ้าคิดแบบ “คนชั่ว” ผลงานก็จะเป็นอีกแบบ

แต่ไม่ว่าจะคิดแบบ “คนดี” หรือ “คนเลว” คนที่ทำงานหนักแบบกรรมกร

ไม่ใช้สมองเลย ก็จะเผชิญสภาวะ “ปาดเหงื่อ” “หยาดเลือด” “หยดน้ำตา”

คนทำงานแบบ “สมาร์ท” จะเผชิญ “โอกาสใหม่” “ช่องทางใหม่” และ

“ความสำเร็จใหม่” แบบว่า “ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน ประหยัดพลังงาน”

 

 

 

ปรัชญาประจำวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ : 12:12 น.

Social Innovation

จะสร้างคนให้เป็นคนดี หรือเป็นคนเก่ง?

ถ้าถามผม ต้องเฟ้นหาคน เอาคนดีมาสร้างให้เป็นคนเก่ง
ส่วนคนเก่ง จะเอามาสร้างให้เป็นคนดี ก็เป็นเรื่องที่ควรจะทำ
เพราะคนในศตวรรษหน้า คือคนที่เป็น “คนเก่ง” และเป็น “คนดี”
ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาไทย ที่จัดการศึกษา “ล้มเหลว” จนนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา
เพราะเรามัวแต่สร้าง “คนเก่ง” ปล่อยปละละเลย “คนดี”
ก็เลยต้องเสียเงินงบประมาณมากมายมหาศาลในการไล่ล่าเล่นงาน “คนเก่ง คนโกง”
คนเก่ง ก็จะโกงเก่ง เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว แต่คนเก่ง คนโกงทั้งหลาย กลัว “คนดี” เพราะคนดี
มีดีอย่างที่คนเก่ง คนโกงไม่มีคือ “ความจริง”  สู้กันกี่ศาล คนดีก็ชนะคนเก่ง คนดีชนะคนโกง เพราะ
เอา “ความจริง” เข้าสู้ ซึ่งนี่คือ “จุดอ่อน” ของคนเก่ง ของคนโกง
สุดท้ายเราต้องเสียเงิน เสียเวลา เสียโอกาส ในการสร้างคนที่ทั้งเก่ง และดี
ถ้าไม่อยากเสียเงินสร้างคนดีให้เป็นคนเก่ง
วิธีที่สะดวก รวดเร็ว  ใช้เงินน้อย ใช้เวลาไม่มาก ในการสร้างคนดีให้เป็นคนเก่ง
อย่างแรก “ระบบ” ต้องเอาคนดีมาฝึกอบรม “หลักคิด”  “หลักพูด” “หลักทำ” ให้เป็นระบบ
โดยกลไกสำคัญคือ “ความคิด” โดยเฉพาะ ค่านิยม “คนดี”

ค่านิยมคนดี ๒๗ ข้อ (ปรับจากหนังสือ “คุณธรรม นำความรู้” สำนักพิมพ์ฟรีมายด์, ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, ๒๕๕๓: หน้า ๒๐-๒๓)

๑. มีความตั้งใจดี
๒. มีความรับผิดชอบสูง
๓. มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้แก่คนรอบตัว
๔. มีความเห็นอกเห็นใจคนรอบตัว
๕. เข้ากับคนอื่นได้ง่าย
๖. เมตตาสัตว์ทุกชนิด
๗. ร่าเริง แจ่มใส
๘. คิดจริง พูดจริง ทำจริง
๙. เคารพครูอาจารย์ พ่อแม่ ผู้อาวุโส
๑๐.แต่งกายสะอาด เรียบร้อย
๑๑.มีสุขภาพดี รักษาสุขภาพ
๑๒.มีสติ สมาธิในการทำงาน
๑๓.พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
๑๔.เอาใจใส่ตรวจตรา ดูแลทรัพย์สินของตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวมเป็นอย่างดี
๑๕.ตรงต่อเวลา
๑๖.พูดจาสุภาพ เรียบร้อย มีมารยาท
๑๗.รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตนเอง รู้จักความพอดี พอเหมาะ พอประมาณ รู้จักกาลเทศะ เคารพสถานที่ และชุมชน
๑๘.มีความตั้งใจทำงาน
๑๙.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดบวก
๒๐.มีความตั้งใจที่จะฝึกสมาธิ
๒๑.มีกิริยามารยาทที่ดี
๒๒.มีความอดทนอดกลั้นอดออมอดใจ
๒๓.มีความมั่นใจ
๒๔.เชื่อว่าทำดีสักวันต้องได้ดี แต่ทำดีแล้วไม่หวังผลตอบแทน
๒๕.ไม่เอ๊ะ ไม่อ๊ะ ไม่ลังเล ไม่สงสัย ยินดี เต็มใจ พร้อมจะช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือ
๒๖.ไม่แก้ไข ไม่แก้ตัว ไม่โยนทุกข์ โยนความผิด โยนบาปให้ผู้อื่นรับเคราะห์ รับโศก รับกรรมแทน
๒๗.ไม่ใส่ร้าย ใส่ความ ปั้นน้ำเป็นตัว หาเรื่องกลั่นแกล้งคนอื่นให้เดือดร้อน

 

 

 

 

ปรัชญาประจำวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕

ค่านิยมเพื่อความสำเร็จ
เวลาที่นึกถึง “ความสำเร็จ” ผมมักจะนึกถึง “คนเกาหลี” ก่อนเป็นอันดับแรก
คนเกาหลีฝึกคนในชาติให้กล้า “เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม” ด้วยการสร้างจิตสำนึก
แบบ “เกาหลี” สอนให้ทุกคนติดดิน ทำงานได้ทุกอย่าง ไม่เลือกงาน ไม่เกี่ยงงาน
ทำงานเป็นทีม ฝึกนิสัยอดทน และพัฒนาต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง (Continuous Improvement)
สิ่งที่ทำให้เกาหลีกลายเป็นผู้นำแถวหน้าของโลกได้ เพราะนำเสนอ “ค่านิยมใหม่” และ
คุณค่าใหม่ เช่น “นวัตกรรมคุณค่า Value Innovation”  ผ่านนักคิดระดับโลก อาทิ ดับลิว เจ คิม
แตกต่างจากเมืองไทย คนไทยหลายคนรอบตัวที่ผมได้เห็น ได้สัมผัส พร้อมจะเป็น “ผู้นำระดับโลก”
แต่เพราะระบบเราสอนไม่ให้เชื่อมั่่นในคน ไม่เคารพคน ไม่พัฒนาคนให้เข้ากับค่านิยมไทย
ท้ายที่สุด เราหา “แก่น” หา “ราก” ของเราไม่เจอ เพราะเรามัวแต่ตาม “ฝรั่ง”
ความจริงคนไทยมีค่านิยมดีหลายเรื่อง ที่น่าพิจารณานำเสนอเป็น “วาระแห่งชาติ” อาทิ
คนไทยโอบอ้อมอารี คนไทยอะลุ้มอล่วย คนไทยเอื้ออาทร คนไทยมีน้ำใจ คนไทยเดินสายกลาง
คนไทยใฝ่เรียน ใฝ่รู้ คนไทยมีความขยัน อดทน ไม่แพ้ใครในโลก คนไทยชอบบริการ คนไทยชอบช่วยเหลือคน
แต่คนไทยมีปัญหาสังคมทุกวันนี้ เพราะเราไม่ “ส่งเสริม”  ไม่ “สนับสนุน” กันจริงจัง
ต้องช่วยกัน รวมกลุ่มคนดีคนเก่งให้ทำโครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมคนดีคนเก่งให้ขยายวงกว้างออกไป
มากเรื่อยๆ แล้วในที่สุด เราก็จะกลายเป็น “ต้นแบบ”  เป็นผู้นำในอาเซียนได้
ปรัชญาประจำวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

 

ต้องสู้

ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับ “ท่านสุชาติ ลายน้ำเงิน”

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 3 (ท่านฐานิสร์ เทียนทอง)

ท่านให้แง่คิดว่า คนเราต้องสู้ ชีวิตต้องต่อสู้

ท่านกรุณาเล่าประสบการณ์เป็น ส.ส. 4 สมัยว่า

ท่านเองต้องต่อสู้ บางครั้งเป็นคดีความยาวนานถึง 8 ปีก็ต้องสู้

จนได้รับชัยชนะในท้ายที่สุด เป็นแกนนำเสื้อแดง ก็ถูก “ถล่ม” สาดโคลนต่างๆ นานา

แต่ก็ต่อสู้ฝ่าฟัน จนเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ก่อนจะหมุนเวียน

มาคุม กรมพัฒนาชุมชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ฯลฯ

เป็นแง่คิดว่า คนเราที่จะได้เป็นใหญ่ เป็นโต จะต้องมีคน “หาเรื่อง” “หาความ” ใส่ร้ายป้ายสีโดน

นินทา คำพระเรียกว่า “มีมารมาผจญ” เหมือนพระพุทธเจ้าเองก็ต้องต่อสู้กับ “มาร” หลายรูปแบบ

ด่าว่าตลอด คดีความต่างๆ ทุกคนมีสิทธิพบ มีสิทธิเผชิญด้วยกัน

ทั้งนั้น แต่เมืองไทย “คนมีเงิน” และ “คนมีพวก” คดีต่างๆ ก็

“คลี่คลาย” เป็นแง่คิดว่า คนที่จะมีวาสนา จะได้เป็นใหญ่เป็นโต

ต้องมีเรื่องมีราว มีคดีความ ถูกกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ป้ายสี สาดโคลน
แอบเล่นงาน ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง  ถ้าไม่เป็นโจทก์ ก็เป็นจำเลย

เป็นอย่างนี้แทบจะทั้งนั้น

จิตมนุษย์นั้นไซร้ ยากแท้หยั่งถึง

เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ หลังเป็นประธานสอบปิดตัวเล่มนักศึกษาปริญญาโท
สาขาการจัดการ SMEs มหาวิทยาลัยบูรพา ผมมีเวลาขับรถวนดูหาดบางแสนในวันพฤหัสบดี
ชายหาดเงียบเหงา ผู้คนประปราย น้ำทะเลสีคราม สุดขอบฟ้า สุดหู สุดตา
หวนนึกถึงคำสอนว่า “น้ำเคี้ยวคดเลี้ยวลดสุดพรรณนา จิตมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง”
ผมนึกถึงคำพูดที่บอกนักศึกษาปริญญาโท Nobel University 2-3 คนที่มานั่งคุยว่า
คนเราชอบเอ๊ะ ชอบอ๊ะ ชอบสงสัยเฉพาะกับคนที่ “ดี” “ดีกว่า” “ดีที่สุด” กับเรา
เพราะคนส่วนใหญ่ติดรูป ติดเปลือกภายนอก
ชอบคน “ปากหวาน” ชอบคน “เสแสร้ง” แล้วคิดว่าคนพรรค์นั้น “จริงใจ”
หลายคน นิสัย “ไม่จริงใจ” เพราะลึกๆ ในใจคิดว่าคนอื่น “ไม่จริงใจ” กับตัว
แต่เราจะไม่เอ๊ะ ไม่อ๊ะ กับคนที่ “เลว” ตั้งแต่ต้น เพราะรู้ว่าหมอนี่ “คบไม่ได้”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปรัชญาประจำวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

มหาวิทยาลัยไทยก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558

 ผมมองว่าปัญหามหาวิทยาลัยไทยทุกวันนี้ยังไม่กล้าเปลี่ยน
We lead, you follow, then, runaway
อาจารย์มีหน้าที่ชี้นำ ลูกศิษย์เดินตาม หลังจากนั้น ตัวใครตัวมัน
แนวโน้มเด็กเกิดลดลง จะส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ปรับตัว
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เด็กวัยรุ่นจะเหลือเรียนในระบบปีละไม่เกิน 2 ล้านคน
มหาวิทยาลัยในเมืองไทย จะต้องสนใจคนอีกกว่า 40 ล้านคน
อายุระหว่าง 30-50 ปีชึ้นไป นี่น่ะคือ “ตลาด” ที่แท้จริงของอุดมศึกษาไทยในอนาคตอันใกล้!!!
คนเหล่านี้ วัยเด็กยากจน มัวแต่ทำงานสร้างฐานะ ไม่มีเวลาเรียนปรับวุฒิตัวเอง
มีเงิน มีงาน พร้อมเรียน พร้อมช่วยเหลือมหาวิทยาลัย
ทัี้งที่เป็นคนวัยทำงาน คนสูงอายุ ต้องการเรียนหลักสูตรแบบต่อเนื่องตลอดชีวิต ต้องการมีเพื่อน มีเครือข่าย
อยากอบรม และพัฒนาตนเอง เฉพาะในบางด้าน บางสาขาที่ตนเองสนใจ
ถ้ามัวแต่สนใจกลุ่มเด็กมัธยมแค่ 2-3 ล้านคน  ถ้าผู้บริหารยังปล่อยให้เป็นเช่นนั้น
มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็คงกลายเป็น “ตึกร้าง” กันเป็นแถว

 

คำแนะนำสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ

ผมเองก็เป็นอาจารย์ ทุกวันนี้ก็เป็นอาจารย์
แต่ชอบการจัดการศึกษาแบบอเมริกา และนานาชาติ อิสระ คล่องตัวสูง
เข้ากับสภาพโลกาภิวัตน์ "คนเก่งก็เลี้ยงตัวรอด" ก็อยากให้แง่คิดสำหรับ
อาจารย์ต่างๆ ที่ยังสอนหนังสือเป็นอาชีพหลักว่า
ต่อไป เมื่อนักศึกษาน้อยลง รายวิชาก็จะถูกตัด ถูกหั่น รายได้ก็จะเหลือน้อยลง
แล้วจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ กินอยู่ กันอย่างไร? น่าเป็นห่วงจริงๆ

การแก้ปัญหา ต้องเน้นอาจารย์สอนที่เป็น “นักวิชาชีพ” อย่าเอาแต่สอนหนังสืออย่างเดียว
ต้อง “แอพพลาย” ให้เป็น ต้องเปิดตัว เปิดใจ เรียนรู้ลู่ทางทำมาหากิน ซึ่งยังมีช่องทางและโอกาสอีกหลายด้าน
ทฤษฎี-ปฏิบัติ-อาชีพ-ประสบการณ์
ถ้าไม่อยากตกงาน ก็ต้องฝึกฝน พัฒนาตัวเอง สนใจ “อาชีพ” เสริม รายได้เสริม ทำวิจัยบ้าง เป็นที่ปรึกษาแผนธุรกิจบ้าง
กู้เงินบ้าง ปล่อยเงินกู้บ้าง สอนพิเศษบ้าง  กวดวิชาบ้าง ทำการเกษตรบ้าง ขายตรงบ้าง ขายประกันบ้าง ขายของตลาดนัดบ้าง ทำอาหารขายบ้าง อะไรที่ทำแล้ว ได้เงิน ได้ทอง ไม่ทำให้ใครเจ็บ ไม่ทำให้ใครตาย ก็ทำเถอะ ไม่ต้องอายที่จะมีอาชีพเสริม
ถ้าแวดวงอาจารย์กล้าลุกขึ้นมาพลิกโฉม กล้าทำงาน ไม่ใช่เอาแต่สอนหนังสือ
จะพลิกโฉมแวดวงอุดมศึกษา จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตรต่อเศรษฐกิจและสังคม
ชนิดที่คนในสังคมไทยเห็นแล้ว อึ้งแล้วทึ่ง และจะเกิดแรงสนับสนุนเป็นอันมากเลยทีเดียว

 

ต่างคน ต่างคิด ต่างคน ต่างทำ

ปัญหาวันนี้ องค์การภาครัฐภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชน ประสบพบพานเหมือนกันหมดคือ
“ขาดคน” ไม่มีคนทำงานทีตั้งใจ ทุ่มเท ทุ่มสุดตัว จงรักภักดีองค์กรเหมือนในอดีต
แตะนิด แตะหน่อย ก็ลาออกทันที
เมืองไทย กำลังเผชิญสภาวะ  “รัฐคิด รัฐทำ เอกชนคิด เอกชนทำ ประชาชนคิด ประชาชนทำ”
ปัญหาคือ เมืองไทยกำลังเผชิญรอยแยก รอยเปลี่ยน ระหว่าง “คนทำงานแบบเดิม” กับ “คนทำงานแบบใหม่”
เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Culture Shock”
จะแก้ปัญหา ต้องแก้ที่ “ความรับผิดชอบ”
ถ้าไม่มีความรับผิดชอบ ต่อให้เรียนสูงแค่ไหน ก็แก้ไม่ได้
คนส่วนใหญ่ รับชอบ ไม่ยอมรับผิด
โครงการต่างๆ จึงเป็นแบบว่า “ใครคิด ก็ต้องทำเอง หาเงินเอาเอง หาลูกค้าเอาเอง”
อยากทำงานให้สำเร็จ ก็ต้องหางานที่ “คิดเอง ทำเอง”

 

 

ปรัชญาประจำวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕

“ได้” เพราะ “ผลบุญ” หรือ “ผลกรรม”

การจะได้มาซึ่งสิ่งใดๆ มิใช่ได้มา “ง่าย” “สะดวก” “รวดเร็ว”

คนที่ได้อะไรมาง่ายๆ แสดงว่า “มีบุญ”

เป็นผล “กตัญญู” และ “กตเวที”

 

อย่าช่วยคนที่คิดว่า “เงิน” ทำได้ทุกสิ่ง

บางคน เห็นคนช่วยเหลือตน แทนที่จะซาบซึ้ง ขอบคุณ

ในความมีน้ำใจ กลับคิดว่าเขาหรือเธอ เอาเงิน “ฟาดหัว”

ซื้อเอาอะไรได้ง่ายๆ คนแบบนี้มีจำนวนมาก ไม่สมควรช่วย

 

สาเหตุที่ได้อะไรยาก

บางคน ได้อะไรมายากแสนยาก แสดงว่า “บุญไม่ถึง” “ไม่มีบุญ”

คนมีบุญคือ คนที่มีน้ำใจ คิดแต่จะให้ เต็มใจจะให้ ตั้งใจจะให้ อิ่มอกอิ่มใจเมื่อให้

มีน้อยก็ให้ มีมากก็ให้ มีเท่าไรก็ให้ ไม่มีเงินก็ให้แง่คิด ให้กำลังใจ ให้อาหาร ให้น้ำ

ให้เครื่องดื่ม ให้คำพูดที่ฟังแล้วสบายอกสบายใจ ล้วนถือว่าให้ ถือว่าทำบุญอย่างหนึ่ง

คนที่คิดแต่จะให้ในใจตลอดเวลา คือคนที่มี “บุญ” แล้วด้วยผลบุญอันนี้แหละ

จะเป็นอานิสงส์ผลบุญทำให้ได้อะไร “ง่าย” แสนง่าย ง่ายดายเหลือเกิน ง่ายกว่าคนอื่นๆ

เพราะในใจคิดแต่จะให้ผู้อื่นก็เลยมีแต่คนที่จะคิดให้กลับ คิดให้ตอบแทนตลอดเวลา

ไปแห่งหนตำบลใด ก็จะมีเพื่อน มีพวก มีคนรู้จักนับหน้าถือตาตลอดเวลา เพราะบุญคือ “น้ำใจ”

 

ทำไมต้องอยู่อย่างคนไม่ประมาท

คนที่ประมาท หลงระเริง ยึดติด กับวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง เงินเดือน งานที่กำลังรุ่งเรือง

เหมือนคนที่ตายทั้งเป็น ลืมฉุกคิดว่าวันหนึ่งสิ่งที่มีอยู่อาจ “หาย” ไปในชั่วพริบตา

จงใช้ชีวิตอย่าง “ไม่ประมาท” มีสติ ระมัดระวัง ไม่ลุ่มหลง มัวเมา ในลาภ ยศ สุข เสียงสรรเสริญ

ให้พิจารณาทุกวัน ทุกเช้า และก่อนนอนว่า “ชีวิตขึ้นๆ ลงๆ วันนี้สุข พรุ่งนี้ทุกข์”

 

ยิ่งทำงานใหญ่ ยิ่งต้องระวังคนใกล้ตัวให้มาก

โดยเฉพาะต้องระมัดระวังคนรอบตัว คนใกล้ตัวที่มีนิสัย “อิจฉาริษยา” ซึ่งมีอยู่รอบตัว รอบด้าน

คนริษยา พร้อมจะทำทุกอย่างใส่ร้ายคนนั้นคนนี้ ยุยงให้คนในองค์กรแตกกันด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

ไม่ว่าจะใส่ร้าย ใส่ความ ร้องทุกข์ กล่าวโทษ กล่าวหา

 

ไม่อยากมีเรื่องก็ต้องรอบคอบ

นิสัยคนไทยทั่วไป รักสงบ แม้จะเป็นคนไม่ชอบมีเรื่อง แต่ก็มีเรื่องกล่าวหากันล้นโรงพัก ล้นศาล

ส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก “เอกสาร” และ “คำพูด” ไม่อยากมีเรื่องต้อง “รู้เท่าเอาไว้ทัน รู้กันเอาไว้แก้” ฝากเป็นแง่คิดว่าหากจะทำการใดๆ จะเซ็นเอกสารใดๆ

ให้รอบคอบ อย่าประมาท อย่าเซ็นเอกสารสำคัญใดๆ ง่ายๆ โดยไม่ได้ปรึกษาทนายหรือผู้รู้

จะได้ไม่เกิดเป็นปัญหาแก่ชีวิตในภายภาคหน้า หลายคนที่มีเรื่องมีราวเดือดเนื้อร้อนใจเพราะใจอ่อน

ใจดี ทำอะไรง่ายๆ เซ็นอะไรง่ายๆ ใครเอาอะไรมาให้เซ็นก็รีบเซ็น ในที่สุดก็กลายเป็น “แพะรับบาป”

 

แง่คิดในการช่วยเหลือคน

การจะช่วยคนบางกลุ่ม ถ้าช่วยแล้วมีปัญหาภายหลัง

ปล่อยให้พวกเขาไปรับเวรรับกรรมตามเดิมจะดีกว่า

หากคิดจะช่วยคน ต้อง “เลือก” ต้อง “เฟ้น” ต้อง “วิจัย”

ต้องเลือกช่วยเหลือคนที่เลือกเฟ้นวิจัยแล้วว่าเป็นคนดี คนเก่ง มีน้ำใจ มี “คุณภาพ”

ดีกว่าช่วยเหลือคนที่ “ไร้ค่า” มียศ มีตำแหน่ง มีงานทำแค่ระดับหนึ่ง แต่หลงผิด

คิดว่าตนเอง “มีคุณภาพ” ช่วยแล้วเกิดปัญหา อย่าช่วยเป็นอันขาด

 

ได้ง่ายไร้คุณค่า ได้ยากกลับมีค่า

คนในโลกส่วนใหญ่คิดคล้ายกันว่าสิ่งใดได้ยากมีค่า สิ่งที่ได้ง่ายไร้ค่า

ยกตัวอย่างเช่นเรียนจบมหาวิทยาลัยจากยุโรปหรืออเมริกาคนทั่วไปรู้สึกมีค่า

เพราะได้มายาก ต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคเรื่องภาษา และค่าเล่าเรียนที่แพง

แต่ปริญญาที่ได้จากประเทศด้อยพัฒนา เรากลับมองว่าได้ง่ายเกินไป ไร้คุณค่า

เพราะมองว่าได้ง่าย บินไปไม่กี่ครั้งก็ได้รับปริญญาแล้ว

รู้สึกไร้ค่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สำเร็จการศึกษาจากประเทศพัฒนาแล้ว

 

ทำอะไรอย่าง่ายจนเกินไป ต้องเป็นไปตามหลักการ

คนที่อยากได้อะไร ต้องปล่อยให้ดิ้นรน ขวนขวาย หาเอาเอง พยายามเอาเอง

แล้วจะรู้ว่าสิ่งที่อยากได้ “มีค่า” เพราะคนอื่นๆ ก็อยากได้

นิสัยคนไทยส่วนใหญ่ที่สัมผัส พอทำอะไรให้ง่ายๆ

ทันที ทันใด ทันใจ กลับคิดว่า “ไม่น่าเชื่อถือ” “เอ๊ะ อ๊ะ” ระแวง สงสัย คิดลบร่ำไป เรื่อยไป

 

เมตตาท่าน เผาเรือนตัวเอง

การส่งเสริมคนที่เราเห็นว่าเก่งแต่ขาดวุฒิให้ยกสถานะทางสังคมด้วยวุฒิการศึกษาก็ดี

การอวยยศอวยศักดิ์ ให้ได้ตำแหน่ง ชั้น “ยศ” เป็นนายร้อย นายพัน นายพล ก็ดี

การใช้ “บารมี” ส่วนตัว คัดเลือกกลั่นกรองให้ใครต่อใครได้รับ “รางวัล” ต่างๆ ก็ดี

การฝาก “ลูกท่านหลานเธอ” ร่ำเรียนโรงเรียนเกรดเอในแต่ละปีก็ดี

การฝาก “ลูกท่านหลานเธอ” ทำงานในตำแหน่ง ในหน่วยงานสำคัญต่างๆ ก็ดี

การติดต่อให้มีตำแหน่งอันทรงเกียรติ อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรี กรรมาธิการต่างๆ ก็ดี

คณะทำงานรัฐมนตรีก็ดี หรือ “ตำแหน่ง” อื่นใดก็ดี

ถ้าเขาหรือเธอผู้นั้น ไม่เห็นความจำเป็น ไม่กล้าลงทุน ไม่อยากได้จนเต็มที่ ไม่เห็นคุณค่าจริงๆ

อย่าช่วยเหลือกันเป็นอันขาด มิฉะนั้น จะเป็นดังคำผู้ใหญ่แต่บุร่ำบุราณสั่งสอนกันมาว่า

“เมตตาท่าน เผาเรือนตัวเอง”

Comments

comments