153. SEPSA2014งานวิจัยระดับนานาชาติ

SEPSA2014  งานวิจัยระดับนานาชาติ
—————————-

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศวิจัยอาเซียน

Deming Business School

W.H. Taft University, Colorado, USA

www.demingbusinessschool.com

เขียน

๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗

————————————–

วันที่ ๙ ถึง ๑๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗  ที่จังหวัดอุบลราชธานี

มีงานวิจัยระดับนานาชาติที่น่าสนใจ

จัดโดยคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

—————————————-

เท่าที่คลิกดูล่าสุด รายชื่อ Key Note Speaker  มี 2 ท่าน

หนึ่งคือ ท่าน ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการ WTO มีชื่อเสียงระดับโลก
อีกท่านคือ ท่าน ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชนมีชื่อเสียงระดับประเทศ

 

 

ผมได้รับเชิญจากทางท่านคณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะที่เป็น “แกนนำ” ในการจัดสัมมนาวิจัยระดับนานาชาติ
และได้ให้ความร่วมมือในการอ่านประเมินผลงานบทความทางวิชาการที่จะนำเสนอและ ตีพิมพ์เผยแพร่ในงานดังกล่าว แต่เนื่องจากในห้วงเวลาดังกล่าว
ผมติดภารกิจในต่างแดน ไม่สะดวกจะเดินทางไปร่วมงาน ซึ่งได้แจ้งผู้จัดงานทราบเนิ่นๆ แล้วโดยแจ้งผ่านทางท่านดร. เพ็ญภัคร พื้นผา ผู้ช่วยคณบดี
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

——————————————-
การจัดงานครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยร่วมมือกันทำงานสัมมนาวิจัยระดับนานาชาติ ขึ้น ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสต์จากประเทศเกาหลีใต้,
มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ชลบุรี, มหาวิทยาลัยเมียนเจย์ ประเทศเขมร, มหาวิทยาลัยพะตะบอง ประเทศเขมร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สิริรวม ๘ แห่ง

ถือเป็นการเริ่มต้นที่ทำได้พอเหมาะพอควร พอประมาณกับโครงสร้างและพื้นฐานรวมถึงศักยภาพท้องถิ่นอุบลราชธานีที่จักกระทำ

———————————————-

สำหรับรายชื่อ คณะกรรมการอ่านประเมินผลงาน เข้าไปดูได้ในเว็บไซต์
http://sepsa.in.th/viewer.html

 

 

 

 

ผมเองรับเป็น ๑ ในคณะกรรมการอ่านประเมินผลงานครั้งนี้ด้วย มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยนานาชาติต่างๆ เข้าร่วม เท่าที่เห็นรายชื่อจากอเมริกานอกจากทางโคโลราโดแล้ว
ก็มีจากทางมหาวิทยาลัยเซาธ์ฟลอริดา เป็นต้น

การได้ “ริเริ่ม” เพียงแค่ก้าวแรก เป็นธรรมดาว่าย่อมต้องขลุกขลัก และมีปัญหามากมายพาใจเหนื่อยล้า แต่ก็เป็นธรรมดาของ “การบุกเบิก” ที่ต้องต่อสู้และฟันฝ่าอุปสรรคนานัปประการ ทั้งที่ตามองเห็น และตามองไม่เห็น เพราะต้องต่อสู้กับความขัดแย้งและแรงต้านทั้งจากผู้ไม่เห็นด้วย และผู้นั่งอยู่เฉยๆ

ผมเชื่อว่า คณะผู้ริเริ่มการวิจัย เมื่อได้ “ปักธง” สำเร็จเป็นครั้งแรกแล้ว ก็เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมมนาวิจัยครั้งนี้ให้ดีกว่า เร็วกว่า และถูกกว่าเดิม ในครั้งหน้า ก็รวบรวมสรรพกำลังนักวิจัยและคณาจารย์มหาวิทยาลัยจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมเพิ่มเติม ซึ่งผมเชื่อว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ และดีกว่าเดิม

ใครอยู่แถวอุบลราชธานี ไปเที่ยวช่วงเข้าพรรษาแถบนั้น ก็อย่าลืมแวะไปฟังหัวข้อวิจัยต่างๆ ซึ่งน่าสนใจหลายเรื่อง และสำหรับใครอยู่ในแวดวงวิชาการ ก็เชิญติดต่อไปได้ตามเบอร์ที่ปรากฏ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นงาน “ประเดิม” อาเซียนครั้งแรก แม้จะเริ่มต้นเพียง ๒ ประเทศ แต่ผมเชื่อว่าหลังจากน้้นก็คงมีมหาวิทยาลัยจากลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เข้าร่วมในโอกาสต่อไป

———————————————————–

เท่าที่ได้ร่วมงานกับทาง SEPSA ก็ทำได้ “มาตรฐาน” และ “คุณภาพ” เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ  แต่อย่าหวั่นไหวครับว่า ส่งมาแล้ว “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เพราะกรณีไม่ผ่านก็ทำตามคำแนะนำปรับปรุง ถ้าแก้ไขได้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด  ผลงานก็สามารถ “ตีพิมพ์” และเผยแพร่ได้

ซึ่งฝากเป็นแง่คิดสำหรับนักวิจัยต่างๆ ที่สนใจเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ว่า  งานวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ  ไม่มี “ปาฏิหาริย์” เป็นงาน Empirical มีผลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นหลักฐานสามารถพิสูจน์นำสืบทราบได้ชัดเจน อย่าทำงานที่คิดว่า “พอผ่าน” แต่จงเน้นนำเสนอผลงานที่ “เตรียมการมาดี” ในบทที่ ๓ โดยเฉพาะ “ระเบียบวิธีวิจัย” ต้องแน่น และเขียนวัตถุประสงค์ในบทที่ ๑ ต้องให้สอดคล้องกับ “หัวข้อ” การทำวิจัย ยิ่งการทำผลงานวิจัยระดับนานาชาติด้วยแล้ว  “หัวข้อ” “วัตถุประสงค์” “กรอบแนวคิด” “สมมติฐาน” “นิยามปฏิบัติการ” “ระเบียบวิธีวิจัย” และ “การทบทวนวรรณกรรม” รวมถึง “กลุ่มตัวอย่าง” และ “เครื่องมือคือแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิจัย” ต้องเลือกที่ “ยากที่สุด” อย่าเลือกสถิติและแบบสอบถามที่ “ง่ายๆ” ต้องเน้นแบบสอบถามและสถิติที่ “ยากที่สุด” เพราะจะเป็นการ “กลั่นกรอง” ให้งานของท่านยกขึ้นสู่สนามการแข่งขันที่สูงขึ้นอีก “ระดับหนึ่ง” และควรเลือกหัวข้อวิจัยที่ “ตามกระแส” เป็นที่สนใจ อย่าเลือกเรื่องที่คิดว่า “ชอบ” เท่านั้น

———————————————————-

ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ถ้าถามผม ผมมองว่า “ประเด็น” ที่น่าสนใจ ควรเลือกเรื่องที่มี “ผลกระทบ” และ “โดน” ความรู้สึกของคนมากที่สุด คนทั่วโลกวันนี
ถ้าสายบริหารธุรกิจ ก็เลือกหาหัวข้อวิจัยที่ “เร็วกว่า, ดีกว่า, ถูกกว่า” ประเด็น “การเมือง” ในประเทศและต่างประเทศ ขณะนี้ ควรงดเว้นโดยสิ้นเชิง เพราะบ้านเมืองเรา
กำลังเข้าสู่สถานการณ์ที่ “เงียบ” ดีที่สุด ถ้าเราไม่ทำวิจัยประเด็นการเมือง เราก็สามารถเลือกทำด้าน “วัฒนธรรม” “ศาสนา” “ประเพณี” “เศรษฐกิจ” “พฤติกรรม” “ค่านิยม”
และ “ประวัติศาสตร์” รวมถึงด้านอื่นๆ ที่สามารถเลือกมาทำวิจัยได้ ไม่ว่าจะเป็นด้าน เศรษฐกิจหลักและรอง, สังคม, เทคโนโลยี, แนวคิดนวัตกรรม และการจัดการสมัยใหม่
โดยเฉพาะหัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียง” ยังมีหลายเรื่องที่นำมาเป็นประเด็นวิจัยได้ รวมถึง “ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ต่างๆ” ที่คาดว่าประเทศต่างๆ ในอาเซียนจะต้องรับมือในอนาคต

———————————————————

ที่น่าสนใจคือ “พระพุทธศาสนา” ผมว่าเป็นประเด็นวิจัยที่น่าสนใจในขณะนี้ เราสามารถนำประเด็นต่างๆ ที่ “สัมพันธ์” กับหลักคิด-หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทาง “ภาษาศาสตร์” “วรรณคดี” “การเมือง” “การปกครอง” “เศรษฐกิจ” “สังคม” “เทคโนโลยี” “วิทยาศาสตร์” รวมถึง “จิตวิทยา” และ “ทรัพยากรมนุษย์” รวมถึง “ค่านิยมการทำงาน” มาเปรียบเทียบทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และสามารถเปรียบเทียบระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกได้ โดยเฉพาะกับทาง “ขงจื้อ” “เหล่าจื้อ” หรือ “ไบเบิ้ล” และ “อัลกุรอ่าน”
และ “พระเวท” ของฮินดู  ผมเชื่อว่าเราจะได้ผลงานวิจัยที่น่าสนใจเพ่ิมขึ้นอีกไม่น้อย เพื่อพัฒนาคน-พัฒนาสังคม-พัฒนาเศรษฐกิจในระดับอาเซียนเพื่อสร้างผู้นำรุ่น ใหม่สู่การทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียนได้ในอนาคตอันใกล้

——————————————————

Comments

comments