152. เกร็ดความรู้การเรียนระดับปริญญาเอก

เกร็ดความรู้การเรียนระดับปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยเมืองนอกทำกันอย่างไร?

ดร. อุทิส ศิริวรรณ

ศาสตราจารย์ประจำ สาขาบริหารธุรกิจ และผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศวิจัยอาเซียน

William Howard Taft University, Colorado, USA

www.demingbusinessschool.com

Research Chair

Charisma University, Turks & Caicos, UK

www.charismauniversity.org

๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗

——————————–

การเรียนระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเมืองนอก มีส่วนที่คล้ายและแตกต่างจากเมืองไทย

เริ่มต้นจากกระบวนการเข้าสู่ระบบ และการเรียนรู้ ผมพบว่าหลักสูตรเมืองนอกตอบสนองไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตของนักศึกษาได้ดีกว่า

โดยเฉพาะ “การเรียนรู้นอกห้องเรียนในมหาวิทยาลัย” และ “การศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย”

———————————————-

การที่ผมได้มีโอกาสเดินทางบินไปสอนประเทศนั้นประเทศนี้ สมัยยังอ่อนอาวุโส ก็เริ่มต้นจากระดับปริญญาตรี

จากนั้นก็ยกระดับสู่การเรียนวิชาการช้้นสูง ระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก

รวมถึงได้ทำวิจัยในลักษณะความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป อเมริกาและเอเชีย

และรวมถึงประสบการณ์การเป็นคณะกรรมการอ่านผลงานทั้งในรูปแบบบทความวิชาการสำหรับตีพิมพ์เผยแพร่ในแวดวง

สัมมนาวิชาการระดับนานาชาติและระดับโลก (International/World Conference) รวมถึงการอ่านประเมินผลงาน

ของผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการทั้งระดับ “รองศาสตราจารย์” และ “ศาสตราจารย์” มหาวิทยาลัยประเทศต่างๆ

 ทำให้ผมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้เกิดการเรียนรู้ และเห็นข้อเปรียบเทียบ ซึ่งเดิมไม่เคยคิดจะเขียน

แต่เห็นว่า ข้อเขียนแบบนี้ ยังไม่มีคนเขียนจริงจัง ถ้าได้เขียนไว้ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยโดยเฉพาะประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจใฝ่เรียนใฝ่รู้

————————————————-

การเรียนระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ปกติจะเริ่มต้นจาก “ผู้เรียน” ออกค้นคว้าเสาะแสวงหาเองว่า มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่เปิดรับ

ใช้เกณฑ์อะไรบ้างในการรับผู้เข้าเรียน ซึ่งตัวเราเองต้องตรวจสอบคุณสมบัติของเราเป็นอันดับแรก

ประการที่ 1 วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทที่เรามี ตรงตามที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศสนใจรับเข้าศึกษาต่อหรือไม่?

ประการที่ 2 ผลคะแนนเฉลี่ย ส่วนใหญ่พิจารณาตั้งแต่ 3.25  ขึ้นไป แต่ถ้าจะแคล้วคลาดปลอดภัย ก็ควรได้ประมาณ 3.5 ขึ้นไป สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท

ประการที่ 3 ความถนัดทางภาษา อย่างน้อยภาษาอังกฤษต้องได้รับผลคะแนน TOEFL  ซึ่งทางมหาวิทยาลัยยอมรับ บางแห่งอาจมีระบบจัดสอบวัดความถนัด

ภาษาอังกฤษเอง

ประการที่ 4 ความพร้อมด้านการเงิน ต้องตรวจดูด้วยตนเองว่า มหาวิทยาลัยที่เราสนใจเรียนต่อ ค่าเล่าเรียนถูกหรือแพง

ประการที่ 5 ความพร้อมเรื่องเวลา ต้องตรวจสอบตนเองว่า มีเวลาส่วนอื่นๆ เหลือพอที่จะศึกษาค้นคว้า และทำวิจัยหรือไม่?

ประการสุดท้าย เป้าหมายระยะสัน-กลาง-ยาว ของตัวเราเอง เราต้องการนำความรู้ที่เรียนรวมถึงวุฒิไปใช้ทำอะไร ? เพื่ออะไร? เพิ่มพูนประสิทธิภาพ ศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ

ด้านใดที่เราขาด

———————————————–

ถัดไปคือต้องตรวจสอบ “มหาวิทยาลัย” ที่เราสนใจจะเข้าศึกษาต่อ

ประการแรก ได้รับอนุญาตจัดตั้งหรือไม่? ถ้าในอเมริกา ก็ดูกันเป็นรายรัฐ ถ้าเป็นประเทศอื่นๆ ก็ดูจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศนั้นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประการที่ 2 ตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการอนุมัติปริญญาเอกหรือไม่?

ประการที่ 3 ถ้าอายุน้อย คิดจะรับราชการ ก็หามหาวิทยาลัยที่ สำนักงาน ก.พ. รับรอง หาเบอร์แล้วโทร.ไปถาม ง่ายนิดเดียว แต่กรณีคนทำงานจนเงินเดือนเกินวุฒิ

ที่ ก.พ. กำหนด ก็ไม่ต้องสนใจ เพราะสำนักงาน ก.พ. เน้นผู้ประสงค์จะรับราชการ และอายุไม่เกิน ๓๕ ปี ถ้าอายุมากหรือเกินกว่านั้น แม้จะมีวุฒิที่ ก.พ. รับรอง

ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะรับราชการ

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ข้าราชการไทยหลายคนที่มีตำแหน่งระดับสูง หรือขั้นเงินเดือนเกินวุฒิที่สำนัก งาน ก.พ. กำหนด เลือกไปเรียนต่อที่อินเดีย หรือฟิลิปปินส์แทน

เพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่า จบเร็วกว่า ส่วนดีกว่าหรือไม่? มหาวิทยาลัยดีๆ ชั้นแนวหน้าของอินเดียและฟิลิปปินส์ก็มี จัดการศึกษาได้มาตรฐานโลกก็มีจำนวน หลายแห่ง

แต่คนไทยเรา จะได้เรียนในมหาวิทยาลัยหรือไม่? ส่วนใหญ่มีน้อย เพราะคนต้องการมีวุฒิปริญญาเอก ส่วนใหญ่ก็รู้ “ข้อด้อย” และ “ข้อจำกัด” รวมถึง “จุดอ่อน”

ที่ตนเองมี และส่วนมากก็จะเลือกเรียน “มหาวิทยาลัย” ที่เหมาะแก่คุณวุฒิตนเอง และเงินในกระเป๋าที่ตนเองมี

นี่คือความจริงที่เห็นที่พบมา

————————————————–

Comments

comments