13. เพื่อนยามยากของเจ้าตาก

เพื่อนยามยากของเจ้าตาก

ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ
ปรับ ปรุง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
ปรับปรุงล่าสุด ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗
ทหารคู่พระทัยทั้งสี่ หรือเพื่อนยามยากของเจ้าตากมีใครรู้จักบ้าง?

เชื่อว่ามีคนที่รู้น้อยแทบจะนับนิ้วได้ เพราะบ้านเมืองเราไม่ค่อยเชิดชูบุคคลที่ทำประโยชน์ให้ชนในชาติกันเท่าใดนัก

เชิดชูกันอยู่ได้เฉพาะคนที่มั่งมีเงินทอง ขอให้มีเงินมีทองเป็นหมื่นล้านเป็นพันล้านบาท

แถมยังเชิดชูกันแบบถวายหัว เป็นเสียอย่างนี้แหละเมืองไทยเรา
อย่างเช่น พระนเรศวร องค์ดำ มีคนอ้างว่าตนเป็น “พระองค์” กลับชาติมาเกิด
บางคนเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีหลายสมัย รองนายกฯ ก็เคยเป็น
บางคนเป็นถึงนักวิทยาศาสตร์ระดับ “ดร.”
บางคนเป็น “นักร้อง” ก็ยังแอบอ้างหน้าตาเฉย
บางคนเป็น “นักทำนายทายทัก หมอดู หมอเดา” ก็เอากับเขาด้วย
บางคนเป็น “อธิการบดี” มหาวิทยาลัยเอกชนกลางทะเลทราย กันดารเวิ้งว้าง สุดหูสุดตา ไกลลิบโลก
โกงสะบัด ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ อ้างตนเป็น “องค์ดำ” หน้าตาเฉย

จากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์พบว่าองค์ดำตัวจริง เป็นคนพูดจริง ทำจริง เสียสละ ทำงานหนัก
“โมเดล” ความสำเร็จองค์ดำคือ รุกและรบ แบบ “รวดเร็ว ใช้คนน้อย ค่าใช้จ่ายต่ำ”
รบสำเร็จแต่ละครั้ง ใช้พลังงานน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น การศึกที่แม่น้ำสะโตง หรือยุทธหัตถีแบบ “1 ต่อ 1”
รักษาชีวิตไพร่พลไว้ได้เป็นแสนๆ ชีวิต ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย เหลือชีวิตกลับไปสร้างบ้านแปงเมืองต่อไป
องค์ดำ เหมือน “เจงกีสข่าน” ไม่คุยโว โอ้อวด แอบอ้าง ทำตัวง่ายๆ ชอบปลอมตัว ไม่ให้ใครรู้จักชือเรียงเสียงจริง
ไม่ชอบสวมหัวโขน ไม่ยึดติดในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ ชั่วชีวิตบริหารเหมือนไม่บริหาร
มีน้องรักคือ “พระเอกาทศรถ” ว่าราชการแผ่นดินแทน
คนยอมรับนับถือองค์ดำตั้งแต่ผืนแผ่นดินไทยจนทั่วแคว้นรัฐไทใหญ่ เชียงตุง เพราะ “ความสามารถ” เป็นหลัก

สำหรับประวัติชีวิต  “เจ้าตาก”  คนเป็นมหาราชเหมือนกัน ก็มีวิถีคล้ายกัน
ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างว่าพระองค์ท่านเคยเป็น “พ่อค้า” นักธุรกิจ ค้าขายเมืองนั้นเมืองนี้ สมัยโน้นเรียกว่า “พ่อค้าเกวียน”
บังเอิญเป็นคนที่ “เดินสาร” เก่ง สมัยนี้ก็คือมี ” คอนเนคชัน” เครือข่าย พวกพ้องในแวดวงการค้า การศาสนา ราชสำนักเพียบ
พบ “โอกาส” เล็กๆ ที่ “เมืองระแหง” เมืองตากว่า “ปลอด” ว่างเว้นเจ้าเมืองหลายปี
ก็เลยเดินสาร วิ่งเต้นผ่าน “พระยาจักรี” จนได้นั่งว่าการเป็น “เจ้าตาก”
จริงเท็จ ถาม ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่ง “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” เอาเอง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สกอ. ไม่รับทราบ ก.พ. ไม่รับรอง แต่ก็เห็นมีคนเรียนหลายพัน หลายหมื่นคน

วิถีเจ้าตากในปรัตยุบันสมัยนี้  โดนแอบ โดนอ้าง โดนร่างทรงต่างๆ เอาชื่อมาขายกินถ้วนทั่ว
สมณะ และชี ทั้งแอบ ทั้งอ้าง เอาชื่อมาหากิน พุทธาภิเษก เทวาภิเษก กันบ่อยๆ ขาดอย่างเดียว “ราชาภิเษก”
ถ้าปลุก ถ้าเสกได้ ก็คงโดนหลวงพ่อ หลวงน้า หลวงพี่ หลวงชี “ลงมือ” ไปแล้ว
โดนคนเป็นๆ แอบอ้างเป็น “เจ้าตาก” ก็มี บางคนชื่อพ้องก็ถูกโยงเป็น “เจ้าตาก” เอาดื้อๆ
หนำซ้ำคนโดนโยงความเชื่อให้ แรกๆ ก็ไม่ศรัทธา ฟังไปฟังมาชักเคลิ้มอินกับบท พักหลังเปลี่ยนจาก “ศรัทธา” เป็น “ปสาทะ”
ข่าวล่าสุด เจ้าตัวไม่ปฏิเสธ ยอมรับในเชิงพฤตินัย บ้านเมืองต่างๆ วิบัติเพราะคนใกล้ชิด คนรอบตัวที่เป็น “พรายกระซิบ”
กระซิบเชิงบวกก็เป็นคุณ กระซิบเชิงลบ ก็ก่อโทษมหันต์ สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายได้
เหมือนราชสำนักจีน ตำแหน่ง “ฮ่องเต้” หายไปเป็นร้อยปีถึงบัดนี้ เพราะ “ฮองเฮา” กับ “มหาขันที” ป่วนบ้านป่วนเมือง
สร้างเรื่อง สร้างสถานการณ์ ยุยง ก่อให้เกิดความแตกแยก กระด้างกระเดื่อง แข็งข้อ แข็งเมือง ชิงบ้านชิงเอาเมือง
เป็นบทเรียนน่าคิดสำหรับองค์กรต่างๆ ให้ระวัง “ตัวป่วน” โดยเฉพาะคนที่ “คิดเล็ก คิดน้อย ขี้อิจฉา” อยู่ใกล้ตัวให้ระวัง
อุปนิสัยคนที่เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าไม่น่าคบคือ “เปิดประโยคสนทนาด้วยการจับผิด ไม่มีคนดีในสายตาเขา/เธอ”
“คนโน้นไม่ดีอย่างนี้ คนนี้ไม่ดีอย่างนั้น” สรุป “มึงดีคนเดียว”  เจอใครแบบนี้ Run Away รีบร้องเพลงถอยดีกว่าไม่เอาดีกว่า
คนเป็นใหญ่เป็นโตบางคนอินไปกับบทที่คนอื่นเขียนให้ ทั้งที่รู้แน่แก่ใจดีว่าตนเองมิใช่ “เจ้าตาก”
เจ้าทั้งหลาย ส่วนใหญ่ “มีบุญญาธิการ”  “มีบารมี” คนยำเกรง เกรงอกเกรงใจในคุณงามความดี
มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาด ปลอดภัย ตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้
และต้องมีเหตุให้ “ต่อสู้” กับ “เหล่าคนพาล”  ชีวิตโลดโผน พิสดาร ไม่ราบเรียบ
ศึกษาชีวิต “มหาราช” ทั้งหลาย จะพบว่า “ผาดโผน พิสดาร”
ชีวิตมีโจทย์ยากให้แก้ มีเรื่อง “หนักๆ” ให้ต่อสู้ เอาชนะ ชั่วชีวิต “มารผจญ” ตลอด
แต่ก็ต่อสู้ เอาชนะจนได้ ในท้ายที่สุด ในทุกๆ เรื่อง

วิถีชีวิต “เจ้่าตาก” อาภัพ อับโชค อับวาสนา เมื่อเทียบกับ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” “เสด็จพ่อ ร. ๕”
ก็พอๆ กับมหาราชอีกพระองค์คือ “พระพุทธยอดฟ้ามหาราช” ที่เป็น “พ่อตา” และลูกน้องท่านนั่นแหละ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอาภัพทั้งคู่ ทั้งที่ทำดีมากมายมหาศาล
กำลังวิจัยทั้ง ๒ พระองค์อยู่ จะเผยแพร่เมื่อแล้วเสร็จ
โดนคนนั้นคนนี้ อ้างเป็น “ทหารเสือ” กลับชาติมาเกิดเพียบ
เป็นถึงผบ. ทบ. ก็เคยมี เป็นทหารยศนายพลก็มากมาย
พอๆ กับ “เสด็จพ่อ ร. ๕”
จากสังเกตดูความเป็นไปในสังคม มหาราช ๓ พระองค์ถูก “แอบอ้าง” มากที่สุด
แสดงว่า “มีดี”  และผู้คน “นับถือ” “ยำเกรง”
สังคมสมัยนี้ ยกย่องคนมีเงิน เห็นใครมีเงินก็ตาโต อยากรู้จัก ไม่สนใจคน “ทำดี” เสียสละทั้งชีวิต
หนำซ้ำ ใครทำดี ก็ใส่ร้าย สาดโคลน กลั่นแกล้ง จนเขาหลบลี้หนีหายจากสังคม
ปรีดี พนมยงค์  ป๋วย อึ๊งภากรณ์  พลตำรวจเอก สมเพียร มีสมญา ฯลฯ นี่คือตัวอย่างคนดีที่ “ท้อแท้”

สังคมไทยวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม  มีเงินนับว่าท้อง มีทองนับว่าพี่ ทำความดีข้าไม่รู้จัก และไม่สนใจ…
บางคน พอมั่งมีเงินทอง ลูกน้องบริวารก็เชียร์ ยกยอปอปั้น โยงใยว่านี่แหละคือ “เจ้าตาก” กลับชาติมาเกิด
ถ้าเป็นเจ้าตากจริง ต้อง “เสียสละ” กล้าที่จะให้ มิใช่ “กอบโกย” เฉพาะวงศ์สกุลตนเอง
แบบนี้ น่าจะเป็นกลุ่ม “ขุนจิตรจูล” หรือ “ขุนประมูลราชทรัพย์” ที่แล่เนื้อเถือหนังพรรคพวกมาเกิดมากกว่า
ประเภทที่ “หลอกให้คนไปเจ็บ ไปตาย” แทน อย่าได้หลงเชื่อ
เจ้าตากตัวจริงคงไม่แหวกวงล้อมพาพสกนิกรไปบาดเจ็บล้มตาย และไม่ก่อให้เกิด “การแตกแยกในสังคม” กันดอก
ประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลาย ระบุไว้ชัดเจนว่า เจ้าตากตกอยู่ในฐานะ “ละเว้นปฏิบัติหน้าที่” สมัยนี้ก็คือ ม. 21
เมื่อชีวิตกลายเป็น “นักโทษอาญา” ทำผิดต่อแผ่นดิน ชีวิตไม่มีทางเลือก ต้องเลือกเอา “แพ้ก็เป็นโจร ชนะก็เป็นเจ้า”
ไม่อยากสู้ ก็ต้องสู้ ไม่อยากเป็นนักโทษอาญาแผ่นดิน ขบถต่อแผ่นดิน ก็ต้องทำ เพราะหาไม่แล้ว จะตายหมู่อีกหลายร้อยชีวิต
วิธีดูว่าใครมาเกิดจากอดีตชาติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สอนไว้ว่า ให้สังเกต “นิสัย” “สันดาน”  “ความชอบ” “วิถีชีวิต”

เช่น บางคน เกลียดแตงโม เกลียดสีแดง ก็ตามไปดูเอาเองว่า ชาติก่อนเกิดเป็นใคร? ทำกรรมใดไว้?
บางคน ทำใดๆ แล้วก็ เจ๊ง เจ็บ จน ก็ต้องดูว่าเกิดจากกรรมอะไรในอดีตชาติ?

ชาตินี้ คงไม่ต้องไปดูว่า ใครเป็นใครในอดีต แต่ดูคนที่ “ผลงาน” มากกว่า
คนใดก็ตามที่ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติได้สูงสุด เสียสละเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน คนเยี่ยงนี้ อย่างนี้ น่าเคารพยกย่องบูชา
ยกตัวอย่างเช่น “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” ที่เสียสละมาตลอดทั้งชีวิต โดยไม่หวังผลตอบแทน
หรืออย่าง “หลวงพ่อวิริยังค์”  วัดธรรมมงคล ที่เดินสายสอนคนให้เป็นคนดีตลอดทั้งชีวิต
อย่างเจ้าสัว “บุญชัย เบญจรงคกุล” นี่ก็น่าค้นประวัติว่าเป็นกษัตริย์องค์ใดกลับชาติมาเกิด
ชีวิตมีสีสัน ซ้ายมือมีทั้งตะละแม่กุสุมา ขวามือก็มีตะละแม่จันทรา ส่งเสริมทั้งศิลปะ วัฒนธรรม การพระศาสนาก็ส่งเสริม
โครงการที่สร้างชื่อเสียงคือ  “ชุมชนรักบ้านเกิด”
แอบทำดีเงียบๆ โดยไม่หวังเครื่องราชฯ เช่นกัน และไม่สร้างความ “แตกแยก” กับใคร
รวมถึง “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์”  คนเหล่านี้ วิถีชีวิต “เยี่ยงกษัตริย์”
กว่าจะเป็น “มหาเศรษฐีอันดับ 1” ก็เคยเป็นช่างทำทองมาก่อน
ยามยากลำเค็ญ ว่างๆ ชอบไปวัดเบญจมบพิตร วัดโพธิ์ท่าเตียน ยึดวัดเป็นที่พำนักหัวใจ
ศึกษาธรรมะจนนำ “มรรค ๘” มาเป็น “พฤกษาโมเดล” บริจาคเงินปีละนับสิบล้านบาท
สนับสนุนพระญี่ปุ่น “หลวงพ่อมิตซุโอะ คเวสโก”  หลวงพ่ออลงกต “วัดพระบาทน้ำพุ”
มอบทุนการศึกษามหาวิทยาลัยรัฐต่างๆ และโครงการเพื่อสังคมอีกนับไม่ถ้วน
คนใช้ชีวิตเยี่ยงนี้ ดูแลพนักงานนับพันคน เทียบได้กับ “เจ้าเมือง” เป็นกษัตริย์ปกครอง ๑ เมืองได้สบาย
ดียิ่งกว่านักการเมืองหลายๆ คนเสียอีก
คัมภีร์วิสุทธิมรรรคระบุไว้ชัดเจนว่าคนที่วิถีชีวิตระดับกษัตริย์ต้องมี “ดี” ในตัว อย่างแรก “สติปัญญา” ดี
ต้องมี “กึ๋น” มือทอง สมองเพชร “ใจถึง มือถึง ตาถึง บุญถึง ฝึมือถึง” นอกจากตัวเองจะ “เก่ง” แล้ว ต้อง “เฮง” ด้วย
สำคัญต้องมี “ทีม” ห้อมล้อม
สมัยโบราณก็ต้องมีช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนนางแก้ว ขุนคลังแก้ว วิมานแก้ว
สำคัญสุด “น้ำพระทัยกว้างขวาง” ใจกว้าง อภัย อโหสิ เมตตา ปกป้องอาณาประชาราษฎร์ให้พ้นภัยคนพาล อภิบาลคนดี
คิดแต่จะให้ คิดแต่จะบำเพ็ญบารมี  มีทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการครบถ้วน

ทศพิธราชธรรม 10 ประกอบด้วย
ทาน (ทานํ) หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
ศีล (สีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
บริจาค (ปริจฺจาโค) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
ความเพียร (ตโป) คือ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
ความไม่โกรธ (อกฺโกธนํ) คือ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏเห็นเช่นทำร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
ความไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) คือ การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
ความอดทน (ขนฺตี) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย
ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนา) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ
และสิ่งที่ “เจ้า” หรือ “กษัตริย์” ต้องบำเพ็ญเงียบๆ โดยไม่ “ป่าวประกาศ” ให้ใครรู้คือ “บารมี ๑๐ ทัศ”

บารมี 10 หรือ ทศบารมี หรือ บารมี ๑๐ คือ กำลังใจที่ต้องทำให้เต็ม ไม่พร่อง มี ๑๐ อย่าง
ทาน การให้โดยไม่หวังผล
ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
เนกขัมมะ การถือบวช
ปัญญา ความรู้
วิริยะ ความเพียร
ขันติ ความอดทนอดกลั้น
สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
เมตตา ความรักด้วยความปรานี
อุเบกขา ความวางเฉย การใช้เหตุผล ไม่ตกอยู่ใต้อารมณ์ ไม่ยินดี ยินร้าย ในลาภยศสุข สรรเสริญ มุ่งช่วยคนร่ำไป เรื่อยไป
ทำดีไม่หวังผล

นี่คือ “เคล็ดลับ” ในการสำรวจตรวจดูว่าใครเป็น “เจ้า” หรือเป็น “กษัตริย์” กลับชาติมาเกิด เอา “ทศพิธราชธรรม” ไปตรวจดู “นิสัย” “สันดาน”  “วิถีชีวิต” ก็จะเป็นประมาณว่าแบบนี้

ถ้าว่าอย่างนี้ “คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเครือ 7-11 ก็เข้าข่ายเช่นกัน
ทำความดีกับคนเรื่อง “การศึกษา” ไว้มาก สร้างงาน สร้างคน สร้างรายได้ให้แก่คนและสังคมเป็นอันมาก
คนอย่างคุณก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์  เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาว่านี่คือ “กษัตริย์” องค์ใด กลับชาติมาเกิด
ถึงสร้างเมือง ขยายเมือง 7-11 ได้เกือบหมื่นนครแล้ว !!!
เขียนเรื่องนี้ไว้ให้วิเคราะห์กันเล่นๆ สนุก อ่านเพลินก็ได้ อ่านเอาเรื่องก็ยังได้

วกกลับมา “เพื่อนยามยากของเจ้าตาก” กันต่อ

ถ้าใครไปเที่ยวจันทบุรี และได้มีโอกาสแวะเที่ยว “ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ในตัวเมือง จะพบรูปหล่อทหารหาญทั้ง ๔ ยืนรายเรียง

ทั้ง ๔ ท่าน ล้วนเป็นขุนศึกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๔ หน่อ

คนที่หนึ่งคือ พระเชียงเงิน ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจดังนี้

ชื่อ “พระเชียงเงิน” ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีว่า มิได้หนีมาพร้อมกับพระเจ้าตากสิน แต่เสด็จมาพบในภายหลัง และได้ “ให้พลายแหวนกับพังหมอนทรง”

แสดงว่า พระเชียงเงิน น่าจะมีบริวารอยู่พอสมควร ถึงกับมีช้างที่จะถวายได้ อีกทั้งบรรดาศักดิ์ที่เป็น “พระ” ก็สูงกว่าบริวารทั้งหมดที่ออกชื่อไว้ในพระราชพงศาวดาร เข้าใจว่าเชียงเงินจะเป็นชุมชนหรือเมืองเล็กๆ
แถบเมืองตาก-ระแหง

เพราะแถบนั้นปรากฏชื่อเมือง “เชียงทอง” อยู่ด้วย (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, พระนคร, โอเดียนสโตร์, 2505, หน้า 362)

ถ้าเช่นนั้นก็พอเดาได้ว่า พระเชียงเงิน ก็คงเป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นเมืองตาก-ระแหงมาก่อน และด้วยเหตุนี้ เมื่อได้พบพระเจ้าตากสินจึงได้เข้าสวามิภักดิ์ด้วยแต่ต้น

ต่อมาพระเชียงเงิน ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าตากสินให้รับตำแหน่งของขุนนางส่วนกลางในระหว่างทางเดินทัพออก จากกรุงศรีอยุธยาไปเมืองระยอง
ซึ่งตอนนี้พระเจ้าตากสินได้ประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรอยุธยาหลังจากหนีออกจากอยุธยาแล้ว

พระราชพงศาวดารกล่าวไว้ในคราวที่ทรงต่อสู้เหล่าร้ายที่เมืองระยอง พระเชียงเงินได้รับตำแหน่งที่ “ท้ายน้ำ” ไปแล้ว พระราชพงศาวดารเรียกว่า “พระเชียงเงินท้ายน้ำ”

ครั้นเมื่อปราบเมืองเหนือได้เรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเชียงเงินท้ายน้ำผู้นี้รั้งเมืองสุโขทัย

จึงปรากฏชื่อว่าเป็น “พระยาสุโขทัย” จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อก่อน พ.ศ. 2320

พระเชียงเงินท้ายน้ำ หรือพระยาสุโขทัยนั้น เป็นเจ้าเมืองคนหนึ่งที่พระเจ้าตากสินโปรดให้มาเฝ้าเพื่อทรงสั่งสอน “วิชาการ” ต่อสู้ข้าศึก เพระฉะนั้น พระยาสุโขทัยผู้นี้
จึงเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูงจากพระเจ้าตากสินผู้หนึ่ง
(จากหนังสือ “การเมืองไทย สมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี” โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์)

คนที่ ๒ คือ หลวงราชเสนา ซึ่ง ต่อมาก็คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท หลังจากพระยาตากสินซึ่งรวบรวมไพร่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีพม่าข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว
และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้าตากสิน สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี เมื่อ ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2311 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น
พระมหามนตรี เจ้าพระตำรวจในขวา

คนที่ ๓ คือ หลวงพิชัยอาสา ซึ่งก็คือพระยาพิชัยดาบหักนั่นแหละ พระยาพิชัยดาบหักนั้นเดิมชื่อจ้อย และชอบชกมวยก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “นายทองดี ฟันขาว”

นายทองดี ฟันขาว นั้นถือว่ามีฝีมือในการชกมวยมาก เท้าไว เตะขากรรไกรครูมวยหลายคนสลบไสลไปหลายครั้งหลายครา และได้ชกมวยต่อหน้าพระยาตากเสียด้วย

เจ้าเมืองตากจึงชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (พระเจ้าตากสิน) ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เจ้าเมืองตากเป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น “หลวงพิชัยอาสา”

เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการ
พร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา และทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ พระเจ้าตากสินได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ

เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว พระเจ้าตากสินขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์

และคนสุดท้ายก็คือ หลวงพรหมเสนา ซึ่ง ถือทหารชั้นประทวน มียศเป็นจ่าเมือง รับใช้ใกล้ชิดพระยาตากมาแต่ครั้งอยู่เมืองตาก เป็นคนที่ชอบทางด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม เก่งในเรื่องการใช้ธนู
เป็นหมอสักยันต์ให้แก่บรรดาทหาร
บางคนสันนิษฐานว่า ท่านเป็นคนเดียวกับพระยานครสวรรค์ เลื่อนขึ้นมาจากพระยาอนุรักษ์ภูธร เป็นกลุ่มข้าหลวงเดิม ได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษคนหนึ่ง จนได้รับพระราชอาญาสิทธิ์ให้ลงโทษผู้ย่อหย่อนในการศึกถึงตัดศีรษะได้ ท่านคือกลุ่มข้าหลวงเดิม ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ  เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์ว่า ถ้าพิจารณาจากบรรดาผู้มีชื่อว่าได้แหกกองทัพพม่าออกมาจากวัดพิชัยด้วยกัน ท่านน่าจะเป็น ” หลวงพรหมเสนา ” เจ้าเมืองพรหมบุรี ในเขตเมืองสิงห์บุรี จึงได้รับความวางใจให้ปกครอง เมืองนครสวรรค์ทำนองว่า ให้เป็นกองหนุนเมืองหน้าด่านด้านนอกอื่น ๆ
และในคราวศึกบางแก้วก่อนที่พระยานครสวรรค์จะไปช่วยหนุนพระยาธิเบศบดีนั้นได้ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินและพระองค์ท่านได้ทรงให้พรแก่พระยานครสวรรค์และ ทหาร ว่า

“ชะยะตุภวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ”

(ที่มา : หนังสือพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ)

ชัดเจนว่า “เจ้าตาก” ท่านเป็นคนดี มีวิชาอาคม มีมนต์ขลังคุ้มตัว ให้แคล้วคลาดปลอดภัย ภาษาสมัยใหม่ก็ว่า “เล่นของ”
แต่มนต์คาถาจะขลังก็ต่อเมื่อเป็นคนดีมีศีลธรรม คนที่ “ฉ้อฉล ยักยอก ฉ้อโกง โกหก หลอกลวง” ท่องแทบตายก็ “เสื่อม”
จะอัญเชิญมาหมื่นหรือแสนคาถาก็ไม่ได้ผล ฟ้องศาลกี่ศาลก็ “แพ้ยับ” พาพวกไป  “ติดคุก” เสียเงินสถานเดียว
นักประวัติศาสตร์บางคนได้สันนิษฐาน (คือยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน) ว่า หลวงพรหมเสนา เกิดวันอังคาร เดือน 6 ปีมะโรง พุทธศักราช 2279 ที่บ้านเชียงของ (ปัจจุบันคือบ้านเชียงทอง) จ.ตาก
บิดาท่านสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเชียงของ หลวงพระบาง ประเทศลาว มารดาท่านเป็นญาติใกล้ชิดกับพระเชียงเงิน (ธงชัย) ท่านได้ไปเติบโตที่ฝั่งลาว และได้กลับมาเป็นเจ้าคุ้มเชียงทอง ท่านจึงมีอีกนามหนึ่งว่า “เจ้าฟ้าเชียงทอง” และคุ้มของท่านอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ ริมแม่น้ำปิง (ปัจจุบันคือวัดเชียงทอง จ.ตาก)จากนั้นท่านได้ติดตามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาเป็นทหารเอกคู่พระทัย ร่วมกับพระเชียงเงิน (ธงชัย) , หลวงพรหมเสนา , หลวงพิชัยอาษา (จ้อย) , จมื่นราชเสน่หา , พระพิชัยราชา , ขุนอภัยภักดี เป็นต้น
ต่อมาได้มาบรรพชาอุปสมบท ที่วัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านก็ได้ศึกษาความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ จากวัดแห่งนี้ ภายหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ก็ทรงพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ให้เป็น “พระพรหมเสนา”
ท่านเป็นผู้รอบรู้หลากหลายทั้งการเจรจาติดต่อการฑูต วางแผนต่าง ๆ ทั้งหลักศาสนพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และไสยเวทย์รวมทั้งโหราศาสตร์พระเวทย์ต่างๆ แต่ท่านมีอุปนิสัยดุเจ้าระเบียบแบบแผน ไม่ยอมใคร จะยอมให้แต่เจ้านายเพียงองค์เดียว
และต่อมาเมื่อสิ้นราชวงศ์ธนบุรีแล้วท่านได้พากรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) หนีไปทางภาคอีสานเพื่อหวังจะพาพระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้รอดพ้นจากอุปัทวภัยไปขอพักอาศัยกับญาติของท่านที่ฝั่งลาว แต่เจ้าฟ้าจุ้ยทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่บ้านลานสะกา (ปัจจุบันบ้านหนองไฮน้อย ด้านหลังเขื่อนน้ำ อูน จ.สกลนคร) ท่านจึงได้ไปตั้งถิ่นฐานบ้านพักที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณบ้านจอมมณี จ.หนองคาย
ณ สถานที่นี้ท่านได้เป็นที่พึ่งให้กับบุคคลทั้งหลายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แนะนำสั่งสอนการดำเนินชีวิต และรับขึ้นครูกลุ่มลูกศิษย์ด้านพระเวทย์อาคม สุดท้ายพระพรหมเสนาได้ปลีกวิเวก และได้เดินทางไปพบพระเชียงเงินไปที่เขาธงชัย จ.เพชรบุรี แต่พระเชียงเงินได้เสียชีวิตแล้วโดยการนั่งสมาธิจนลูกนัยน์ตากลับแล้วก็สิ้น ลม ท่านจึงได้กลับมาเสียชีวิตที่ จ.หนองคาย
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเพื่อนยามยากของพระเจ้าตากแต่ละคน จนถึงวันนี้ ยังไม่เป็นที่ยุติ ต้องค้นคว้ากันเชิงลึกต่อไป
อาจมีข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มเติม ให้อัพเดต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกันเรื่อยๆ
ถ้าเจ้าตากท่านมีโอกาสพูด ก็คงตรัสว่าอ่านเรื่องนี้จบแล้วก็ขอร้อง อย่าเอาชีวิตท่านไปพัวพันกับใครเลย
ให้ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ของท่านเงียบๆ อย่างสงบและสันติเถิด

Comments

comments