113. ผู้ได้รับเสมาฯทองคำ2556

ผู้ได้รับเสมาธรรมจักรทองคำ ประจำปี 2556
จากกระทรวงวัฒนธรรม

แง่คิด “ธรรมะเพื่อการจัดการ”

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
Deming Business School,
W.H. Taft University, Colorado, USA

๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
———————–

ก่อนอื่น ขอแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล “เสาเสมาธรรมจักรทองคำ”
จากพระหัตถ์ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี” ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ในนาม “กระทรวงวัฒนธรรม”

ปีนี้ พระและฆราวาสที่ผมรู้จักหลายท่าน ได้รับ “พระราชทานรางวัล” เสาเสมาธรรมจักร
เป็นเครื่องหมาย “บำเพ็ญคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา”

รางวัลนี้ เชิดชูเกียรติคนที่ “เสียสละ” อุทิศตน บำเพ็ญกุศล เพื่อสังคมเพื่อประเทศชาติ และเพื่อส่วนรวม
มายาวนาน

รางวัลนี้ เน้น “ความดี” จะได้รับรางวัลหรือไม่ “ธรรมะจัดสรร” หรือ “บุญจัดสรร” เท่านั้น
เพื่อนผมที่ดูแลหน่วยงานนี้ ณ กรมการศาสนา บอกว่า ทุกๆ ปี สิ่งที่เจอประจำคือ คุณหญิงคุณนาย เจ้าใหญ่นายโต นายพล ส.ส. ส.ว. รัฐมนตรี ศิษย์สมเด็จฯองค์นี้ ศิษย์ท่านเจ้าคุณองค์นั้น เพื่อนท่านอธิบดีฯ เพื่อนท่านรัฐมนตรี
เพื่อนท่านหน้าห้องรัฐมนตรี ฯลฯ อวดเบ่ง เอาตำแหน่งเข้าข่ม เอาเส้นพันเส้น วิ่งกันอุตลุด

แต่สุดท้ายที่อ้างว่า “เส้นแข็ง” หลุดหมด เพราะ “ล็อบบี้” กรรมการไม่สำเร็จ เพราะกรรมการมาจากหลากหลายวงการ และ “พิถิพิถัน” ในการคัดเลือกมาก เกณฑ์มาตรฐาน “เข้มงวด” และ “สูงมาก” นี่คือตัวอย่าง “รางวัล” ที่น่าภาคภูมิใจ เพราะปีหนึ่งจัดครั้งหนึ่ง และจังหวัดหนึ่ง จะได้รับประมาณแค่ ๒ คนเท่านั้นได้มากหน่อยก็จังหวัดใหญ่ๆ และยังต้องเจียดโควต้า จัดรางวัลให้ต่างชาติอีก

มาดูว่าใครเป็นใครกันบ้าง เอาเฉพาะที่ “คุ้นเคย”

ท่านแรกคือ พระสุธีธรรมานุวัตร หรือท่านเจ้าคุณ ดร. เทียบ ป.ธ. ๙, Ph.D. จากมหาวิทยาลัยปูนา อินเดีย
ปัจจุบันท่านจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
วันนี้ท่านเป็นใหญ่เป็นโต เป็นถึง “คณบดี” คณะพุทธศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ท่านที่ 2 คือ พระราชวรมุนี หรือ ท่านเจ้าคุณ ดร. พล อาภากโร ป.ธ. ๙, Ph.D. จากมหาวิทยาลัยเดลี อินเดีย
ปัจจุบันท่านจำพรรษา ณ วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู กรุงเทพฯ
วันนี้ท่านก็เป็นใหญ่เป็นโต ทราบมาว่าเป็นถึง “คณบดี” บัณฑิตวิทยาลัย แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ก็พอจะได้ “ฝาก” ลูกศิษย์ลูกหาไปเรียน “ปรัชญา” หรือ “พระพุทธศาสนา” กันได้บ้าง

อีกท่านคือ “พระมหาเรวัตร อาวุธปญฺโญ” วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ

ในส่วนของฆราวาสนั้น ที่พอจะ “รู้จัก” บ้าง แต่ไม่ถึงกับ “สนิท” นั่นคือ “นางเยาวเรศ ชินวัตร” แม่ของคุณซัน “รัตนพล วงศ์นภาจันทร์” ประธานบมจ. PAE (Thailand) เครือข่าย “กระทรวงคมนาคม” เจ้านาย “คุณเกษม”
และ “คุณฐนิตนันท์” เครือข่ายสาย “ธรรมะจัดสรร”
อยากได้อะไร ก็บอกผ่าน “คุณนันท์” บ้าง “คุณเกษม” บ้าง “คุณซัน” บ้าง ถึงบ้าง ไม่ถึงบ้าง สำเร็จบ้าง
ล้มเหลวบ้าง ก็อย่าไปคิดอะไรมาก ไม่ได้สนิทส่วนตัว

วันนี้เห็นคุณเยาวเรศ ไปทำบุญ ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อ “สมเด็จพระพุทธชินวงศ์” แห่งวัดพิชยญาติการามแล้วก็โมทนาสาธุ “มองโลกให้มองต่ำ มองทางธรรมให้มองสูง”
อย่ามายุ่งกับ “การเมือง” ให้เปลืองตัวเลย ขนาดคนในตระกูลผมคือ “อาจารย์ดุสิต ศิริวรรณ”
ท่านก็ยัง “ละทิ้ง” ทางโลก ไปเอาดีด้าน “ศาลเจ้า” บั้นปลายไปใช้ชีวิตเงียบๆ กับ “ศาลเจ้า” ที่บ้านหมี่ ลพบุรี
ทั้งที่เป็นเพื่อน “สมัคร สุนทรเวช” แท้ๆ

ก็เป็น “แง่คิด” ว่า ถ้าไม่จำเป็น “อย่ายุ่ง” การเมือง แต่ก็อย่า “ถอยห่าง” การเมือง เพราะ “การเมือง”
พร้อมจะเล่นงานท่านได้ทุกเมื่อ

อีกคนคือ “แม่วิภา ชัยศิลปีชีวะ” จากนครชัยศรี นครปฐม แม่ของ “ก้อย” ภรรยาของ “ดร. ประภาส
ศิริภาพ” ลูกศิษย์ Intennational American University, LA, USA และ “แอน” ลูกศิษย์ MBA
มรภ. สวนดุสิต ศูนย์นครปฐม

แม่วิภาเอง ก็ต้อง “ปลื้ม” กับ “ลูกก้อย” และ “ลูกปุ้ม” ให้มาก เพราะอดตาหลับ ขับตานอน ใช้ “พลัง”
ทุกอย่าง ขับเคลื่อนให้แม่ถึง “ฝั่งฝัน” ทำนองเดียวกัน ก็ต้อง “กตัญญู” และ “กตเวที” รู้จักไป “ขอบคุณ” ไป
“คารวะ” ท่าน ขอบคุณ ซาบซึ้งต่อท่านเจ้าคุณวัดเทพากร

โดยเฉพาะผู้ที่ “ผลักดัน” เต็มฤทธิ์ คือท่านเจ้าคุณ “พระราชปริยัติเวที” นับไปนับมา เป็นเพื่อนผมอีก
วันนี้ท่านเป็นใหญ่เป็นโต เป็นรองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย
แม่วิภา มีวันนี้ได้เพราะ ๒ ท่านเจ้าคุณสนับสนุนแท้ๆ ฉะนั้น “อย่าลืม” หาโอกาส หาเวลาไปแสดง
“กตเวทิตาจิต” ท่านทั้ง ๒ จะได้ “ปลื้มใจ” และเป็น “ผลดี” ในการสนับสนุนท่านอื่นๆ ในปีต่อๆไป

แต่ก็อย่าลืม “ดร. แม่” กับ “ดร. ปรา” เพราะถ้าไม่ได้รับการ “ผลักดัน” และ “ส่งเสริม” จริงจัง ก็ยากจะสำเร็จ

ส่วน “นิรนาม” อื่นๆ ที่เป็น Invisible Hand ก็ “ซาบซึ้ง” และ “ขอบคุณ” ในใจตลอดไป ไม่ต้องคิดอะไรมาก
ไม่ต้องมาหา ไม่ต้องจัดอะไรมาให้  ช่วยแล้วช่วยเลย จบแล้วจบเลย ไม่ต้องคิดอะไรกันมาก
เอา “รางวัล” ไปสงเคราะห์ชุมชนช่วยเหลือคนให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป
“นิรนาม” ก็บอกแล้วว่า “ไม่สำคัญ” คนเรามีคน “นิรนาม” ที่ “ไม่สำคัญ” อยู่รอบตัวมาก ยึดหลัก “ใครทำดีไว้
ก็ให้จดจำ ใครทำไม่ดีไว้ ก็ให้ลืม”

คติของผมที่ใครจะเอาไปใช้ก็ได้  “ไม่ต้องคิดอะไรมาก”
หลักการคือ
“จดจำ” ความดีและน้ำใจที่ “คน” ทำไว้ให้ตลอดไป ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
“ลืม” ความไม่ดีและความเจ็บช้ำ ที่ “คน” ทำไว้ให้ตลอดไป ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
ให้เขาหรือเธอ “เสวยกรรม” ด้วยตัวเขาเอง

คนที่ “ทำผิด” ไม่ว่าจะ “คิดลบ” หรือ “พูดไม่ดี” หรือ “รู้สึกไม่ดี” หรือ “ทำไม่ดี”   กับคนที่ดีแก่ตัว
ช่วยเหลือตัวเอง ถ้าเป็น “คนดี” โดยกมลสันดาน ลึกๆ จะมีความ “ละอายใจ” จะมี  “สามัญสำนึก”
และรู้สึก “ไม่ดี” เป็นบาปติดความรู้สึกติดใจตลอดไป
ขนาด “หมา” หรือ “แมว” ยังเป็นเลย ยามที่มัน “กัด” เราด้วยความโมโห ครั้นกลับสู่สภาวะ”ปกติ”
มันยังรู้จักเลีย พันแข้งพันขา ขอโทษที่ทำให้เรา “บาดเจ็บ”

นับประสาอะไรกับ “มนุษย์”  แต่ต้องแยกออกเป็น “คนดี” กับ “คนชั่ว”

คนดี ถ้า “สำนึก” ก็จะเข้าหา “คนที่ดีต่อเรา” “ขออภัย ขอโทษ ขออโหสิ”
ทุกอย่างก็จบ  แต่ คนไม่ดี จะไม่มีวัน ไม่มีทางที่จะ “รู้สำนึก” คนไม่ดีจะนึกไม่ออกว่า
ตัวเอง “ผิด” อย่างไร ก็จะได้รับ “กงกรรม กงเกวียน” ด้วยตนเอง ไม่ช้าก็เร็ว
เหมือน ดร. บางคนที่ศาลตัดสินลงโทษจำคุก 4 เดือน ปรับ 8 พันบาท เป็น “ตราบาป”
ติดตัวตลอดชีวิตว่าเป็นคน “ปากพล่อย” เป็นคน “คิดไม่ดี” ประวัติทะเบียนราษฎร์
บันทึกจน “วันตาย”

จะทำการใดๆ ต้อง “นับหนึ่งใหม่” ได้ตลอด ใครทำอะไรไม่ดีไว้กับเรา กรวดน้ำ คว่ำขัน ไม่คบหาสมาคม
แล้วเขาหรือเธอก็จะ “เสวยกรรม” เอง โดยเราไม่ต้องทำกรรมอะไร

ขณะเดียวกันก็ “เสียใจ” กับ 2 แม่ลูกที่ไม่ได้รับ “รางวัล” ในปีนี้ ก็บอกแล้วว่า “นิรนาม” คือคนไม่สำคัญ
เมื่อ “ไม่สำคัญ” ก็ทำอะไรที่ “สำคัญ” ได้เสมอ

จะได้ “จดจำ” ไว้เช่นกันว่า บางคน “คุณอนันต์ โทษมหันต์” อย่าลบหลู่ และอย่าคิดว่า “ให้คุณ” หรือ
“ให้โทษ” คุณไม่ได้

การไม่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ 2 แม่ลูก ก็คงจะ “จดจำ” และมีเวลา “ทบทวน” ผลงานตัวเองต่อไป

พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนฯ ประจำปี 2556
บนซ้าย พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง ป.ธ. ๙) วัดระฆังโฆสิตาราม
บนขวา พระราชวิจิตรปฏิภาณ (สุนทร ป.ธ. ๕) วัดสุทัศนเทพวราราม
ล่างซ้าย พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ ป.ธ. ๙, Ph.D.) วัดพระเชตุพนฯ
ล่างขวา พระราชวรมุนี (พล ป.ธ.๙, Ph.D.) วัดสังเวชวิศยาราม

ผมนึกถึง “ท่านเจ้าคุณพลฯ” เป็นรายแรก เพราะเราเป็น The Twin ที่เดินทางไปเรียนอินเดียร่วมกัน
บินไปเรียนปริญญาโท ไฟลต์เดียวกัน การบินไทย กรุงเทพฯ-นิวเดลี ท่านเลือกไปเรียนมหาวิทยาลัยเดลี
ส่วนผมเลือกไปเรียนมหาวิทยาลัยปัญจาบ ผมได้เรียนครบทั้ง “ปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์”
และ “ปริญญาโทด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรม” แต่ “ไม่จบ” สักใบ ส่วนท่านจบปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยเดลีโดยสวัสดิภาพ

โลกกลมๆ ไม่มีอะไรแน่นอน ต่อมาผมก็ขวนขวายดิ้นรนมาเรียนต่อจนจบที่คณะอักษรศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทอีกใบสาขาการเงินและการประกันภัยจากวิทยาลัยประกันภัยแห่งมหานคร นิวยอร์ก

ท่านเป็นเพื่อน ลำบาก ตกยากมาด้วยกัน ท่านเจ้าคุณราชวรมุนี เคยร่วมชะตากรรม
เรียนอินเดียด้วยกันในปี 2533 เคยไปเยี่ยมกันถึง “หอพัก” มหาวิทยาลัยเดลี เคย “ผัดกะเพรา”
เคย “ทอดปลา” แบ่งกันฉัน ยามยากที่ “เดลี”
เคยชิม “จาปาตี” “สับยี” แกงถั่ว แกงดาล เดินเล่นตลาดธิเบตด้วยกัน ก็แสดงว่าเป็น “เพื่อน”
นับว่าเป็น “กัลยาณมิตร” ที่เติบโตได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่เป็นโตทางศาสนา และก็ไม่เคยลืม “เพื่อน”

พิสูจน์ได้จากวันเวลาที่ผันผ่านมาถึงปีนี้ 23 ปีผ่านไปรวดเร็ว แต่ท่านก็ยังจำได้ดี เมื่อ 3-4 ปีก่อนเคยโทรศัพท์
ไปขอให้ช่วยดูแลให้ความเป็นธรรมการสอบเข้าศึกษาต่อปริญญาเอกคณะปรัชญา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ
ของคนที่เคารพนับถือกันจากสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งท่านก็จำได้ และให้ความร่วมมือด้วยดี

ป่านนี้ศิษย์ของท่าน คงใกล้จบ “ดร.” กันเต็มที

ส่วนท่านเจ้าคุณพระสุธีธรรมานุวัตร นั้น  เป็นศักดิ์ เป็นศรี เป็นสง่าแก่วงการคณะสงฆ์ ล่าสุดได้รับสมญานามว่า
ท่านเจ้าคุณโอบามา เพราะมีโอกาสต้อนรับประธานาธิบดี “โอบามา” และว่าที่ประธานาธิบดีหญิงคนแรกสหรัฐ
“คลินตัน”

ร่วมงานวิชาการ ต่างกรรม ต่างวาระ หลายครั้ง หลายเวลา
โดยเฉพาะเรื่อง “หนังสือ” ท่านเป็นปราชญ์ที่คุยกันเรื่อง “หนังสือ” “ตำรา” “ประวัติศาสตร์” “ภาษา”
“ปรัชญา” ทั้งเรื่อง “ธรรม” และเรื่อง “โลก” คุยกันได้เป็นวันๆ
เป็นศิษย์ “หลวงเตี่ย” ด้วยกัน ท่านอยู่ น. ๑๓ ส่วนผมอยู่ น. ๑๗ ส่วนหลวงเตี่ย อยู่ น. ๑๖
เป็นศิษย์ “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” ด้วยกัน แตกต่างกันคือ ท่านรับทุนหลวงพ่อฯ ไปเรียนอินเดียแล้ว “สำเร็จ”
ส่วนผมไปเรียนอินเดียแล้ว “ล้มเหลว” แต่ “ในดีมีเสีย ในเสียมีดี” พอเปลี่ยนเข็มทิศไปเรียนนิวยอร์ก
ฟลอริดา หรือลอนดอน กลับ “สำเร็จ”

ส่วนท่านมหาเรวัตร ก็เคยเรียนบาลีร่วมกันที่ “สำนักเรียนวัดทองนพคุณ” และโรงเรียนคณะสงฆ์ส่วนกลาง
วัดสามพระยา วปอ. ของคณะสงฆ์ ป.ธ. ๗-๘-๙ ชุมนุมกันที่นี่

มีเพื่อน มีพ้อง มีบุญ มีวาสนา ได้รู้จัก “คนดี” หลากหลายก็นับเป็น “กุศล” แก่ตัว

ส่วนคนอื่นๆ ขอ “ละ” ไว้เพราะมิได้ “คุ้นเคย” แต่ “สนิท” กับวงศาคณาญาติโดยเฉพาะ “ลูกท่าน” และ
“หลานเธอ” ฝากฝังอะไรไป ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง ก็ “สำเร็จ” ทุกรายไป

 

วันนี้ อยากเขียนถึง “หลักฆราวาสธรรม” มุมมองใหม่

มุ่ง “พัฒนาตนเอง” “ปรับปรุงตนเอง” และ “แก้ไขตนเอง” คนเราผิด ซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้
แต่ผิดได้ อย่า “เล่นเกม” เพราะไปยึกยักเล่นเกม กับคนที่ “คุณอนันต์ โทษมหันต์”
แล้วเกิดพลาดพลั้ง เสียท่า เสียที ก็จะ “เสียหาย” และ “เจ๊ง เจ็บ จน” เกินกว่าที่ตนเองจะ “ลองของ”
“อวดเก่ง” หรือ “ลองดี”

คนเราอยาก “ได้ดี” เมื่อใครช่วยเราให้ได้ดิบได้ดีแล้ว อย่า “ลืมตัว” ต่อให้เป็นถึงประธานบริษัท
ต่อให้นามสกุลใหญ่โตแค่ไหน เมื่อ “ลืมตัว” สุดท้ายก็ “ตีบตัน” และ “ตกต่่ำ”

หลักคิดไม่ให้ “ลืมตัว” คือ หลักฆราวาสธรรม 4
หลักฆราวาสธรรม 4

1. ขันติ ยึดหลัก “อดทน” ทนต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนที่ “พูดไม่จริง” “ทำไม่จริง”
ไม่รักษาคำพูด ทนต่อ “สภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน” ทนต่อ “บรรยากาศการทำงาน” ที่น่าเบื่อ
ทนต่อ “สังคม” ที่เต็มไปด้วยคนใช้ “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” มีแต่ “นักวิจารณ์” มากกว่า “นักวิจัย”
2. สัจจะ ยึดหลัก “ความจริง” ถือ “คำพูด” สำคัญกว่า “ตัวหนังสือ” คำไหน คำนั้น ไม่ว่าจะพูดอะไร
ทำอะไรกับใคร ก็ต้องทำให้ได้ตามที่พูด รับทั้ง “ผิด” และ “ชอบ” ไม่ตระบัดสัตย์ ไม่เสียคำพูด
ไม่ทำให้ครูบาอาจารย์ เพื่อน คนเคารพนับถือ และลูกศิษย์ลูกหาเห็นว่าเป็นคนไม่รักษา “สัตย์”
ยอม “เสียชีพ” ดีกว่า “เสียเกียรติ” และ “เสียสัตย์”
3. ทมะ ฝึกตน พัฒนาตน ปรับปรุงตน แก้ไขตนเอง ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
ใดๆ ที่ “ผิดพลาด” ต้องกล้าที่จะ “ขอโทษ” น้อมรับ “ผิด” และแสวงหา “ความชอบธรรม” ถูกต้อง
และเป็นธรรม สิ่งที่ตนเอง “บกพร่อง” ทั้งความคิด คำพูด และการกระทำ ก็ “ฝึก” ให้ดียิ่งขึ้น
ฝึกหัดเป็น “นักคิด” และ “นักปฏิบัติ” ยกระดับขึ้นสูงกว่าการเป็นแค่ “นักวิจารณ์”
4. จาคะ ฝึกนิสัยที่จะ “ให้” อย่าเอาตัวอย่างคนเห็นแก่ตัว มุ่งแต่ประโยชน์ตัวเป็นหลักมาเป็น “ต้นแบบ”
ใครทำอะไรให้แล้ว ให้ “นึก” “รำลึก” ถึง “บุญคุณ” และ “ความดี” ของคนนั้นๆ ให้มาก คบใครอย่าคิด
“เอาเปรียบ” หรือ “หลอกใช้” คนทำงานฟรี ยึดหลัก Equal Work Equal Pay อย่าหลอกครูบาอาจารย์
ลูกศิษย์ ลูกค้า และหุ้นส่วน ยอม “ขาดทุน” ดีกว่า เสีย “สัจจะ” กับคนรอบตัว

Comments

comments