แง่คิดจากนักการเมืองมืออาชีพ

แง่คิดจากนักการเมืองมืออาชีพ

ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

                                                                                                                                                      ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่าที่มาคุยเรื่องการเมือง

“เรื่องการเมืองผมถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน อยู่ที่ว่าใครพร้อมมากพร้อมน้อย

ที่ผมอยู่ ๖ ปี ถือว่าทำหน้าที่พอควร ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็คิดว่าพอแล้ว

การเข้าไปการเมือง เช่น อาจารย์ทะนง เข้าไปแล้วประเทศดีขึ้นไหม ทำได้ดีขึ้นไหม? ถ้าเข้าไปแล้ว ทำอะไรไม่ได้ ได้เห็นในสิ่งที่ไม่อยากเห็นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเข้าไป แต่ถ้าเข้าไปแล้วลูกหลานได้ประโยชน์ ก็เป็นอีกเรื่อง”

“ฟังแล้วไม่ชัดเจน ว่าเล่นหรือไม่เล่น?”

“คำถามที่ ๒ ชีวิตของอาจารย์ ตอนเป็นอาจารย์สอนหนังสือกลับมารับใช้ชาติ ๖ ปีที่ไปบริหารกระทรวงต่างๆ ชอบชีวิตแบบไหน?”

ไม่เหมือนกัน สมัยเป็นอาจารย์ เป็นชีวิตเต็มไปด้วยความฝัน ได้ไปเรียนการตลาด วิชาเกลียดที่สุดคือการตลาด ก็ได้แต่คิดว่าควรเรียนต่อไหม? เป็นศิษย์ดร. ทะนง ฝันอยากทำวิจัย ก็ไม่ได้ทำ แต่มีความสุขมากเพราะมีลูกศิษย์ลูกหามาก พยายามสอนเต็มที่ หน้าที่ครูอาจารย์ลูกศิษย์จบแล้วไม่มีงานก็ช่วย ทำงานก็ช่วย อยากเรียนว่าอาชีพดีที่สุดคือ “อาจารย์” สังคมให้ความเคารพ นับถือ แต่ชีวิตการงานคือ “หน้าที่” เริ่มเป็น “เลขา” อ.ทนง โดยดวงชะตาก็ไปเรื่อยจนเข้าไป “เต็มตัว” ทำงานตามหน้าที่ ก็เป็นสุขอย่างหนึ่ง สุขกับการทำงาน ทำงาน ๗ โมงเช้าทำงาน ค่ำก็กลับ พยายามทำงานให้มากที่สุด “มากคนมากวาสนา ยิ่งรู้จักคนมากเท่าไร คนเหล่านั้นก็ยิ่งเข้ามาช่วยเกื้อกูลให้เกิดประโยชน์ มาช่วยทำงานให้” ทำงานกับ อ. ทะนง อ.โอฬาร ให้ความรู้อะไรเยอะ ทำงานสนุก มีแต่เพื่อน ทำงานสนุก ได้ผล ทุกข์ก็ไม่มี การเมืองคือการเมือง เราเป็นอาจารย์เปลี่ยนเป็นการเมือง หลายสิ่งหลายอย่างเราไม่สามารถทำแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ได้ บางช่วงก็เจ็บปวด อาจารย์ไม่ลองบ้างล่ะ?”

“๖ ปีดูอาจารย์แก่ไปเยอะ ถ้าเลือกได้จริงๆ อยากจะว่าราชการกระทรวงไหน?”

“ถ้าเลือกได้ ผมอยากเป็น รมว. กระทรวงมหาดไทย”

“จริงหรือเปล่า?”

“จริง”

“ถ้าให้ผมเลือก ผมเคยขอท่านนายกฯ และอดีตนายกฯ (พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร) ว่าผมขอเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงนั้น ถ้าทำดีๆ จะพัฒนาเศรษฐกิจสังคมประเทศได้ชะงัด การบริหารประเทศไทย ต้องบริหารแบบ “กระจาย” แบบคลัสเตอร์ แบ่งเป็นกลุ่ม มีแผนยุทธศาสตร์ แต่ละกลุ่ม ผู้ว่าฯ อบจ. ไม่ใช่เดินตามนักการเมือง อบต. อบจ. ต้องทำงานประสานงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรม หอการค้า ทั้งปกครอง เศรษฐกิจ ลองหลับตานึกภาพดู  ใช้แต่ละค. รีฟอร์มเศรษฐกิจ เกษตร ท่องเที่ยว พัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนกลางแค่ นโยบายกว้างๆ  นี่คือเหตุผลที่ จีน อเมริกา เจริญ เมืองไทย กว่าจะถึงผู้ว่าฯ อายุเกือบ ๖๐ เป็นได้แค่ไม่กี่เดือนถูกย้ายแล้ว แล้วจะพัฒนาได้อย่างไร? ผมเพิ่งไปดำน้ำที่กระบี่

เชื่อไหมครับว่า เราอุตส่าห์บินไปดำน้ำมัลดีฟ ออสเตรเลีย กระบี่ ยังสวยกว่า แต่บริหารไม่ดี ก็จะไม่เหลือ เช่น สุสานหอย การบริหารดีๆ คือการกระจายสู่แต่ละ “คลัสเตอร์” จีนมีลุ่มแม่น้ำแยงซี ยุทธวิธีแต่ละลุ่ม แตกต่างกัน มีผู้บริหาร แตกต่างกัน ประเทศถึงเจริญ แต่ไทยเราทุกอย่างอยู่ส่วนกลาง ทำไมคลัสเตอร์อันดามัน ต้องดีไซน์ ไม่ได้เอง ทำไมต้องให้ ททท. ดีไซน์ ทำไมภาคเหนือต้องรอบีโอไอภาคเหนือ?ไม่มีบีโอไอภาคเหนือ ต้องรอบีโอไอ? ทำไมแต่ละภาคไม่สามารถโรดโชว์ตัวเอง งบแต่ละปีทำไมไปกระจุกอยู่มหาดไทย ไม่กระจายออกไปตามคลัสเตอร์ จ.ใหญ่ต้องช่วยจ. เล็ก งบอยู่เฉพาะจังหวัดใหญ่ เชียงใหม่เจริญ แม่ฮ่องสอน ไม่เจริญ ถ้านายกฯ ยอม ๒-๓ ปี ผมจะพัฒนาให้เจริญ จะเปลี่ยนวัฒนธรรม ทัศนคติ ผมจะทำให้มีกลยุทธ์ มีการปฏิบัติด้วยตัวมันเอง  ผมเคยบอกท่านนายกฯ ผมอยากดูกระทรวงนี้อยากเปี่ยนวัฒนธรรม ทัศนคติ ขอแค่ ๑๐ จว. ที่ผมสามารถแต่งตั้งผู้ว่าฯ บริหารแบบเอกชนให้ประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติด้วยตัวมันเอง ส่วนกลางเป็นแค่ไกด์ไลน์ซัพพอร์ต คุณประเสริฐเก่งใช่ไหม? มาเลย ทำไมทำไม่ได้ ? ผมก็ไม่เข้าใจทำไมถึงทำไม่ได้? ถ้าจะกลับเข้าการเมืองใหม่ สิ่งเหล่านี้ถ้าทำไม่ได้ ถ้าไปถึงทำอะไรไม่ได้ อยู่บ้านเลี้ยงลูกดีกว่า ลูกกำลังโต”

“นึกว่าเลี้ยง ลูกแม่ยาย”

“พันธสัญญาใหม่เพื่อประเทศไทย หมายถึงอะไร?”

“ผมได้คำๆ นี้มาจากตอนที่ผมอ่านสุนทรพจน์ รูสเวล ประธานาธิบดีอเมริกา สนใจว่าตอนเขาฟื้นเศรษฐกิจ เขาทำอย่างไร? นึกว่า New Deal คิดว่าตอนอเมริกาหลุดพ้นภาวะเศรษฐกิจ ตอนนั้นอเมริกาย่ำแย่มาก เอฟดีอาร์เรียกว่า พันธสัญญาร่วมกันระหว่างคนอเมริกัน จะมีแผนอะไร คิดทำอะไร? เพื่อดึงประเทศให้หลุดพ้นจากภาวะถดถอย ผมก็อ่านจากอันนั้นแล้วก็มาคิดถึงเมืองไทย บอกตรงๆ ว่าเมืองไทยน่าเป็นห่วง ไม่ใช่ห่วงเฉพาะเหตุการณ์เฉพาะหน้า วิกฤตที่เจอยังไงๆ เมืองไทยก็ต้องผ่านพ้น เพียงแต่ว่าคงไม่เร็วและไม่มีปาฏิหาริย์อย่างเก่ง หรืออย่างน้อยๆ ก็ ๒ ปี เบอร์นาเก้เพิ่งพูดออกมาว่าเริ่มเห็นแสงสว่างปลายปี ปลายปีสหรัฐฯอาจพ้น สมมติเขาเดาถูก ประสบการณ์ผมเคยอยู่ ตราบใดเคลียทรัพย์สินไม่ได้ ผลักดันงบไม่ได้ อย่างเร็วสุดเศรษฐกิจอเมริกาจะฟื้น ก็ราวปี 54 (ล่าสุด 2555 เศรษฐกิจอเมริกาก็ยังไม่ฟื้น) อานิสงส์ก็จะมาสู่ส่งออกเมืองไทย ถ้าดูรูปแบบนี้ อยู่ๆ ไทยจะฟื้นตัวเร็ว เป็นไปไม่ได้ จะค่อยๆ ฟื้น แต่ดูจากเวลา ๒ ปีเป็นอย่างน้อย ภารกิจเฉพาะหน้าที่ต้องเผชิญคือว่า จะประคองอย่างไรให้พ้น ๒ ปีไป โดยไม่ให้เกิดภาวะสังคมซึ่งลำบาก ไม่ให้แรงโน้มทรุด จนกระทั่งเติบโตยาก เป็นภารกิจรัฐบาลที่ท้าทาย ต้องให้เวลารัฐบาลทำงานไป หลายครั้งที่เราแนะนำจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ๓ ประเด็นใหญ่

1. ถึงคราววิกฤต คุณจะไม่ได้สินเชื่อ คุณอภิศักดิ์ กล้าปล่อยสินเชื่อ ถ้ารัฐไม่เข้าไปทำให้แบงเกอร์ตัดสินใจ ให้ไปแล้วเป็นหนี้เสียดีไม่ดีติดคุก สภาพคล่องเป็นปัญหาสำคัญ

2.เรื่องส่งออก การแก้ปัญหาคือรออเมริกาฟื้น ปล่อยให้ฟื้น ค่าเงินทำให้สู้กับเกาหลีหรือต่างประเทศยาก ค่าเงินไม่ควรพูดในที่สาธารณะ ไม่แก้ส่งออก การตกงานจะมีมาก ต้องดิวเชิงรุก อย่าปล่อยให้เขาตกงาน ปิดกิจการ ถ้าตกงาน เมืองไทยย้อนกลับไป ๒๐-๓๐ ปี ไม่เคยตกงานมากขนาดนี้ ใครเคยมีประสบการณ์ดิวกับคนตกงาน ต้องมีความรอบคอบในการดูแลผู้ตกงาน ถ้าดูแลไม่ดี จะลำบาก จะโยงไปสู่การเมือง

3. ให้ใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ และฟื้นภาพลักษณ์ไทยในสายตานักลงทุนโลก

รัฐบาลจีนฉลาด รู้จักเจรจาต่อรองกับประเทศที่ซัพพลายวัตถุดิบ เจรจากับอเมริกา อาเซียน ทำให้วาระการทำงานของหูจิ่นเถาประสบความสำเร็จอย่างราบเรียบ จีนเข้ามามีบทบาทสูงมาก ไม่เฉพาะจีน บราซิล อินเดีย กำลังเกิดขึ้น โจทก์เหล่านี้เกิด การเมืองแนวใหม่ขึ้นมา

ไทยต้องคิด เพราะเรากับอเมริกาตอนนี้ เราตกจอเรดาร์ เขาสนใจสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นตัวแทนเล่นเกม เรากับยุโรปก็ไม่มีสนิทชิดชอบเป็นพิเศษ แต่เรามีกับจีน กับอาเซียน เราเคยเป็น ๑ ของอาเซียน ตอนนี้เป็นคนป่วยของอาเซียน ถ้าเราโชว์สัมพันธ์กับจีนให้ชาวโลกดูไม่ได้ ซึ่งใครก็อิจฉา ตกลงกันเลยว่าจะมีท่องเที่ยวเท่าไร การค้าเท่าไร ตอนนี้เราเงียบไปหมด น่าเสียดาย ในจีน ภูมิภาคตอนใต้ PPRD เจาะ 11 เมืองผู้ว่าฯ ใช้ไทยเป็นฐาน

เรากับจีนเป็นหุ้นส่วน ยังมีสัมพันธ์ “สายเลือด” เราจะดิวกับจีนอย่างไร? ญี่ปุ่นลงทุนเมืองไทยนานแล้ว เราจะปล่อยญี่ปุ่นเห็น “เวียดนาม” ดีกว่า “ไทย” อย่างไร ? เรากับตะวันออกกลางจะ “ดิว” กันอย่างไร?” สิ่งเหล่านี้ เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกnew theo politics เราจะดึงอเมริกลับมาอย่างไร เราจะสมดุลอย่างไร? ถ้าไม่มีตัวนี้น่ากลัว ในwto ถ้าเราไม่ลิงก์กับประเทศใหญ่ เช่น เหล็ก สิ่งทอ ถ้าเราไม่มีลิงก์ อินโด บราซิลใหญ่มาก จีน กับอเมริกาห่างเราเมื่อไร เราจะหลุดกรีนรูม สิ่งเหล่านี้ต้องคิด

ประการที่ ๒ อยากให้อ่านบทความ foreign affairs  ชื่อ  state capitalism ใน 10 ปีโลกไปสู่การค้าเสรี ขณะที่อีกด้านหนึ่งของโลก 13 บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ เป็นของ “รัฐบาล” ทั้งสิ้น เช่น จีน คูเวต คุมเงินลงทุนในโลก 1 ใน 8 ในอีกซีกหนึ่งของโลก “รัฐ” มีบทบาทสูงมากในองค์กรใหญ่ๆ พอเกิดวิกฤตแบบนี้เข้า รัฐบาลต้องเข้าไปถือหุ้น อเมริกา ยุโรป จีน อินเดีย มาหมด

ฉะนั้น รูปแบบโครงสร้างการตัดสินใจเชิงธุรกิจเริ่มเปลี่ยน เดิมแบบ “ธุรกิจ๑๐๐เปอร์เซ็น” กลายเป็น “political burocrat” การตัดสินใจเป็นเรื่อง “การเมือง” เช่น การลงทุนของซิติก เดินไปหา “หวังจุ้น” แต่ถ้ารู้ “อูอี๋” คุมหวังจุ้น จะได้เงินทันที

จากวันนี้เป็นต้นไป โครงสร้างเป็นอย่างนี้ไปแล้ว การดีไซน์ ดีลกับทางการกับทางการ การดูเน็ตเวิร์ก สำคัญ ถ้าทางการตามเอกชนไม่ทัน ไม่สามารถชี้นำ เอกชนไทยจะเหนื่อยมาก นี้เป็นความจริงที่กำลังเกิดขึ้น

ขณะนี้ถ้าเราดูที่เมืองไทย เอาแค่รัฐตามไม่ทันเอกชน ช่วยเอกชนได้ก็ดีมากแล้วที่ผ่านมา ๓-๔ ปี ถามเอกชนดู เวลาส่งออก เจอปัญหาอย่างไร กุ้งเจออย่างไร ถูกกีดกันอย่างไร? แต่จากนี้ไป รัฐมีอำนาจดิวมาก ในตะวันออกกลาง คุมน้ำมันเต็มไปหมด ถ้ายังมีพลังงานทดแทนไม่ดี ต้องสร้างเครือข่ายเชิงสัมพันธ์กับ “ต่างชาติ”

 

ประเด็น Geo-Politics

ประเด็น 2 State-Capitalism รัฐกับเอกชน ต้องใกล้ชิดกันมากขึ้น สภาอุตฯ หอการค้า ต้องประสานงานการเมืองกับภาคเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ตัวอย่างที่ ๓ พอเกิดวิกฤตเกิด new growth model เดิม ลงทุน ท่องเที่ยว ส่งออก เป็นตัวผลักดัน

ตอนนี้ จีนเริ่มแล้ว ย้ายเข้าสู่ “ท้องถิ่น” เอา “ในประเทศ” ขับเคลื่อน เป็นไปไม่ได้ที่โลกฟื้นแล้วต้องรอส่งออก ตอนนี้เริ่ม “พัฒนาภายใน” ให้มีตลาดรองรับระหว่าง “นอก” กับ “ใน” ถ้าจะให้ตลาดในไทยแข็งแรงพอ อำนาจซื้อไม่พอ ต้อง “ปฏิรูป” เศรษฐกิจในประเทศจริงๆ ภาคการเกษตร ผมกล้าพูดว่าแก้ไขได้ เปลี่ยนแปลงได้ ชาวนาญี่ปุ่น บ้านหลังเบ้อเริ่ม ชาวนาไทยทำไมทำแบบเขาไม่ได้ เพราะกระทรวงบ้านเราเป็น functional approach การแก้ปัญหาเกษตร ไม่แก้ตามหน้าที่ เริ่มตั้งแต่ผลิต ตลาด มันเชื่อมกับกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาชนบท การกระจายอำนาจสู่การพัฒนาตอนต้น ต้องบูรณาการจริงๆ ขับเคลื่อนจริงๆ กระทรวงเกษตรเป็นแบบนี้ ทุกปีเงาะเททิ้ง มันเททิ้ง ขณะเดียวกัน ธกส. ปล่อยสินเชื่อเกษตรตลอดเวลา ผมชื่นชมธกส. โอท็อป ใครเข้าใจลึกซึ้งแค่ไหน ? นั่นแหละคือการพัฒนารายได้ร่วมรายได้หลัก ธกส. เป็นองค์กรแรกๆ ที่โปรโมทแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง เมื่อไรเกษตรถูก “ปฏิรูป” แต่ถ้าต่างคนต่างทำ ไม่มีทาง โครงสร้างเศรษฐกิจก็ต้องรีฟอร์ม

 

เมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ไม่มีคนคิดเรื่อง “เศรษฐกิจ” ฉะนั้น คำว่า new deal มีโอกาสเกิดในไทยเป็น Thailand New Deal มี Commitment การเมืองต้องมี Political View ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่น ต้องมี ที่ผ่านมาภาพลักษณ์เราเสียหาย ต้องฟื้น สิ่งสำคัญคือ กฎหมาย Law& Order สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ “คุณภาพ” ระบบนอมินี ก็ให้ถือว่ามีช่วงหนึ่ง ต่อมาไม่ควรจะมี ถ้ามีแต่นอมินี จะโอมเพี้ยงได้กี่ครั้ง? ฝรั่ง ญี่ปุ่น จีน ดู คุณภาพผู้นำ ต้องเอาจริง เอาจัง

 

ลีกวนยูเพิ่งให้สัมภาษณ์ มีคนถามว่า “ท่าน ถ้าเกิดในอนาคตข้างหน้า พรรคท่านไม่ได้นำรัฐบาล จะทำอย่างไร?” “ไม่สำคัญ ต้องหาคนที่คนเชื่อมั่น เชื่อถือ ทั้งในและต่างประเทศ เมื่อความเชื่อมั่นกลับมา ทุกอย่างก็จะดีขึ้น”

เมื่อรัฐบาลบริหาร เราก็ต้องให้เวลา ให้กำลังใจในการทำงาน

รัฐก็ต้องพยายามหาวิธีดีทีสุด บริหารให้รอบคอบที่สุด วางยุทธศาสตร์ดีที่สุด ระดมคนเก่งที่สุดมาช่วยกันบริหารให้ดีที่สุด เพื่อดีไซน์ทุกอย่างให้ดี

การเปิดเวทีสาธารณะให้ข้อมูลที่ดีแก่สังคมไทย จัดหลายๆ ครั้ง จัดภูมิภาคหลากหลาย ให้ลูกศิษย์ลูกหาเข้ามาร่วม แต่ละเรื่องมีเรื่องไม่เหมือนกัน บางเรื่องไม่เหมือนกัน เป็นการตอบแทนสังคม รายการไหนดีก็เอาไปออกวิทยุ โทรทัศน์  ขอบคุณแทนท่านคณบดี อ. ทะนง อ. มารวย อ. เอกชัย อ.สมคิด ขอบคุณศิษย์เก่า

ศิษย์เก่าใครยังไม่ชำระเงิน ช่วยชำระให้เรียบร้อยก่อนกลับด้วย (แสดงว่าทุกมหาวิทยาลัย เค็มเหนียวเขี้ยวเหมือนกัน)

“อาจารย์สมคิดนอนตอนไหน? เขาอยากรู้?”

“อันนี้ต้องโทษพ่อผม ตั้งชื่อสมคิด ผมชอบเล่นกับลูก นั่งเฉยๆ ก็หาว่าผมคิด”

“คนเขาจะหาว่าผมคิด”

อาจารย์สมคิด เป็นนักวิชาการ เป็นคนให้คำปรึกษา แต่พอไปเป็นนักการเมือง ต้องมีคุณสมบัติพิเศษเยอะ

อาจารย์กลับกับคนอื่น เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับสูงมาก อาจารย์สัมผัสทุกอย่าง

 

นักการเมืองที่ผมได้สัมผัส เขาเป็นคนมีความสามารถ แต่ละท่านมีความรู้ดีมากๆ ในท้องถิ่นของเขา เขารู้ดีเรื่องท้องถิ่น เราจบดร. นี่ยังโง่มาก ถ้าเราเอาเขามาช่วยในสิ่งที่รู้ดีมาก ๆ ก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าเอามาช่วยผิดตำแหน่ง ก็เสียประโยชน์ เช่น เขาระดมมา ๕ หมื่น เราระดมเกือบตายได้ ๑๐๐ คนไม่สามารถระดมมาทีละ ๕๐,๐๐๐ เขาสามารถสร้างบารมีได้ หน้าที่กับความสามารถ ต้องให้แมตช์กัน การจะกรองคนสู่ระบบบริหาร ระบบต้องสร้าง อเมริกามีโกเวอนเนอร์ ส.ส. สว.

ไทยเน้นอาวุโส เมืองจีนมี ๒ สาย สายพรรคกับสายบริหาร เลขาฯ พรรค เบอร์ ๑ ผู้ว่าฯ เบอร์ ๒ ทั้งหมดคือตัวเลือก จะถูกฝึกไปทุกจังหวัดจนแข็งแกร่งจึงขึ้นสู่ระดับบริหารภายในประเทศ กว่าจะขึ้นมาได้ เห็นอะไรมาเยอะ ผ่านอะไรมาเยอะ ของเราคนเก่งไปอยู่ในระบบเอกชน ระบบราชการ จะเอาเลือดใหม่เข้ามาทีหนึ่ง หามายาก แต่ถ้านักการเมือง เขารู้ว่าถนัดอย่างนี้ หน้าที่นักการเมืองไปออกกฎหมาย ไม่ใช่ไปเป็นรัฐมนตรี การเมืองต้องมีระบบ คุณประเสริฐนั่งอยู่นี่ ถ้าบอร์ดมีแต่นักการเมือง จะเหนื่อย แต่ถ้านักการเมืองเข้าใจ ก็จะไม่เหนื่อย ผมยังเชื่อว่าเอาคนหนุ่มๆ อย่างคุณสุรนันท์ แบล็กแคนยอน เอ็มเค เล่นยึดหลัก “เจียะป้าบ่อสื่อ” แล้วเมืองไทยจะไปไหน?

การเมืองไทยเป็นระบบ “ไม่มีอะไรจะทำ”

เราเคยเป็นเบอร์ ๑ สิงคโปร์บอกเต้นระบำไปเลย เราแทงโก้คู่ ถ้าไม่ทำอะไรซีเรียส วันหนึ่งเราอาจเป็นตัวอย่าง “ล้มเหลว” อย่างไร “กิ้งกือหกคะเมน” อย่าให้เกิดอย่างนั้น จะเข้าไปพรรคไหนก็ไปเถิด การเมืองคือหน้าที่

“เรียนถามอาจารย์ว่าคนทั้งประเทศรู้จักอาจารย์ทางการเมืองดี จุดอ่อนอาจารย์คืออะไร?”

“ผมไม่ได้คิดเข้าการเมืองใหม่ ผมคิดว่าเป็น “โอกาส” ของคนรุ่นใหม่ เราน่าจะเป็นที่ปรึกษาอยู่ข้างหลัง ถ้าจะให้บอกน้องๆ จะเข้าการเมือง คือต้อง “อดทน” หวังร้อยจะไม่ได้ร้อย ทำไปเต็มที่ ได้แค่ไหนเอาแค่ไหน ต้องอดทนกับคำวิพากษ์วิจารณ์ ต้องหนักแน่น คนเป็นอาจารย์ไม่ค่อยหนักแน่น ไม่มีใครด่า อยู่การเมืองจำเป็นต้องด่า ออกมาแล้ว ไม่มีอะไร เป็นเรื่องปกติ เข้าไปในนั้นเป็นการไปทำหน้าที่ของคนไทย ควรเข้า เข้าไปแล้วเจ็บตัวก็ถือว่า เจ็บตัวเพื่อชาติ”

“ประเทศไทยตอนนี้ อาจารย์ห่วงอะไรที่สุด จนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เปรียบเทียบให้เห็นว่าห่วงมากๆ ตอนนี้เรารู้สึกกินได้ นอนหลับ”

“ผมว่าทุกคนก็ห่วงเหมือนกัน คือต้องมีความสามัคคี คิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก ชอบคำว่า Asian Value ค่านิยมความเป็นเอเชีย สำคัญคือ คิดอะไรคิดถึงบ้านเมืองก่อน แล้วถึงมาคิดถึงเรื่องส่วนตัว คนไทยส่วนใหญ่มองที่ประเทศ สักพักก็เข้าที่เข้าทาง อยู่ที่แกรนด์แคนยอน มองแล้วตัวเราเล็กนิดเดียว ชีวิตมันสั้น อยากให้ลูกหลานมีสุขต้องคิดร่วมกัน ถกร่วมกัน คนเก่งเรามีเยอะ ต้องช่วยกัน ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น ก็น่าห่วงอนาคตประเทศจะเป็นอย่างไร?”

 

ถอดความจาก “บทสัมภาษณ์” ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ Thailand Lecture 1 จัดโดย NIDA Business School 8-10 พฤษภาคม 2552

Comments

comments