189. ข้อสอบคำถามเดียว

 

คอลัมน์ How to Win


ข้อสอบคำถามเดียว

 

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศวิจัยอาเซียน

 

และผู้อำนวยการโครงการปริญญาโท-เอกด้านบริหารธุรกิจสำหรับนักธุรกิจไทย

 

Deming Business School, W.H. Taft University, Colorado, USA

www.demingbusinessschool.com

 

 

William_Howard_Taft_University_seal

31 ธันวาคม 2557


“กุญแจดอกสำคัญที่จะดึงเอาพลังจิตใต้สำนึกพลังแห่งความสำเร็จที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเรา

 

ออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการบริหารชีวิตประจำวันเพิ่มประสิทธิผลในเชิงธุรกิจ”

 

บุญเกียรติ โชควัฒนา, หนังสือ กระบวนการสู่ความสำเร็จ MOP

 

 

ผมพยายามค้นหาคำตอบว่า ท่ามกลางภัยเศรษฐกิจร้ายแรงที่ผ่านมา คนที่เอาตัวรอด พยุงกิจการ และทีมงานให้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคไปได้

         

เขาหรือเธอเอาตัวรอดจนถึงเส้นชัยได้อย่างไร?

         

คำตอบที่ได้รับเหมือนกันคือ ทุกคนเจอ “โจทย์ยาก” แต่ก็ไม่อับจนหนทาง พยายามคิดและค้น จนพบวิธีทำงานแนวใหม่ พบกลุ่มลูกค้าใหม่ พบธุรกิจใหม่ ซึ่ง

นำไปสู่ “ความสำเร็จ” ที่เป็นรูปธรรม

วิถีสู่ชัยชนะวันนี้ ขอพูดถึงเรื่อง “ข้อสอบคำถามเดียว” ซึ่งมีอยู่จริง เข้าไปอ่านเล่นๆ ที่ลิงก์นี้

http://oxfordstudent.com/2010/05/20/all-souls-one-word-exam-gone/

ASC

ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงเคยเผชิญกับการทำข้อสอบในชีวิตมาแล้วหลายครั้ง ทั้งข้อสอบแบบอัตนัย เขียนเรียงความบรรยาย ข้อสอบแบบปรนัย เลือกคำตอบ

ถูกต้องเพียงข้อเดียว

พอถึงคราวทำงาน ก็ต้องเจอข้อสอบอีกรูปแบบ นั่นคือข้อสอบที่เป็นแบบคำถาม และต้องตอบคำถามของคณะกรรมการ ทั้งการเขียนวิสัยทัศน์เสนอ การสอบ

ปากเปล่า

แต่เชื่อว่า ทุกท่านคงไม่เคยเจอข้อสอบที่มีคำถามเพียงแค่ “คำเดียว” และ “ข้อเดียว” แต่ต้องบรรยายโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

ข้อสอบนี้มีจริงที่ All Souls College, Oxford University

ตัวอย่างคำถาม “ศรัทธา” “สู้” “นิยาย” “จบ” แล้วผู้เข้าสอบก็ต้องเขียนเรียงความที่ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อความดังกล่าวให้จบภายในเวลายาวนานถึง

สามชั่วโมง

แม้จะไม่มีคำตอบที่ผิดหรือถูก แต่เรียงความก็จะสะท้อนให้เห็นถึงภูมิความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เข้าสอบที่สามารถร้อยเรียงความคิด

ประสบการณ์ และการทำงานให้เข้ากันได้อย่างเป็นระบบ

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เคยลงข่าวว่าอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดคนหนึ่งยืนยันว่า

“ในแต่ละปีวันไหนที่มีการเปิดเผยคำตอบดังกล่าว จะมีคนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้สมัครเรียนต่อแห่มารอฟังเฉลยด้านนอกตึกแน่นขนัด”

เพราะทุกคำถามคำเดียวเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสอบทุกคนได้ “งัด” เอากึ๋นและความรู้ทุกอย่างที่มีในตัวออกมาใช้ทั้งหมด เพื่อพิสูจน์ให้คณะกรรมการเห็นว่าตนมี

“จินตนาการ” สำคัญยิ่งกว่าความรู้

ผู้เข้าสอบรายหนึ่ง เคยได้รับคำถามคือ “ความกลมเกลียว” เขาเล่าภายหลังว่า “สถานการณ์ตอนนั้นเป็นเหมือนพ่อครัวที่กำลังควานหาวัตถุดิบจากทุกซอก

ทุกมุมในตู้เย็นเพื่อหาส่วนผสมที่ไม่น่าจะทำเป็นซุปได้ แต่ก็ทำเป็นซุปได้หนึ่งถ้วย”

เรื่องราวเกี่ยวกับ “คำถามคำเดียว” ช่วยเตือนใจได้เป็นอย่างดีว่า

ไม่ว่าเราจะเผชิญเรื่องเล็กๆ อย่างเช่นการทำซุป การถูกอิจฉาริษยา ใส่ความ เรื่องใหญ่ๆ ใกล้ตัวเช่นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล หรือเรื่องราวที่สังคมรอบด้าน

เผชิญด้วยเช่น ภัยพิบัติจากน้ำท่วม หรือภัยเศรษฐกิจ

คิด คิด คิด หาคำตอบคือสิ่งที่เราต้องฝึกทักษะนี้ทุกวัน เพื่อฝึกใจให้เข้มแข็งในคราวเผชิญวิกฤต

ย้อนกลับมาบ้านเมืองเรา วันนี้สังคมให้ค่านิยม “นักคิด” ราคาถูก ฟรีด้วยซ้ำ

คนที่คิดเก่งส่วนใหญ่ทำงาน “ฟรี” แตกต่างจากคนที่ประจบสอพลอเก่งแล้วรวยเอาๆ

วิถีสู่ชัยชนะ ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้จากการตั้ง “คำถามคำเดียว”

อยากชนะ ต้องกระตุ้นตนเองด้วยการตั้ง “คำถาม” มองสินค้าและบริการที่เห็น มองคนรอบตัวให้เป็น “โอกาส” เพื่อพัฒนา “ไหวพริบ” แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ให้เก่ง ให้เร็ว ให้จบเบ็ดเสร็จเป็นเรื่องเป็นราว

คนที่ฝึกตอบ “คำถามคำเดียว” ประจำ จะมองเห็นโอกาสในทุกๆ วิกฤต จะมองเห็นว่าเรามีศักยภาพที่จะทำได้ ไม่ใช่คิดแคบๆ เพียงว่า เราทำไม่ได้ เราเป็นไป

ไม่ได้ (I’m Possible NOT Impossible)

ปัญหาคือสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วไทยเวลานี้ ไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนนอกสถานที่ การดูงานองค์การต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การค้นคว้าด้วยตน

เองทางกูเกิ้ลและเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงไลน์และเฟซ

คนที่ทำงานไปวันๆ อยู่ไปวันๆ ที่ผมรู้จักตามองค์การภาครัฐและเอกชนพบว่าส่วนใหญ่จะติดกับดัก “ซ้ำซากจำเจ” “น่าเบื่อ” “ไม่มีอะไรใหม่” “อยู่ไปวันๆ”

“ซังกะตาย” และ “ถอยหลังเข้าคลอง”

คนที่ไม่ฝึก “คำถามคำเดียว” ชีวิตก็เหมือนคนที่อ่อนล้าท้อแท้ยอมจำนนให้กับความล้มเหลวในท้ายที่สุด แม้ชีวิตมิได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ก็เป็นชีวิตที่

ไร้จินตนาการ อยู่ก็เหมือนตายทั้งเป็น

ไม่อยากตายทั้งเป็น ก็ต้องลุกขึ้นมา “ตั้งคำถามเดียว—ค้นคว้าหลายแนวทาง—ค้นหาจนพบคำตอบเดียวที่ดีที่สุด—แล้วรีบลงมือทำทันทีทันใดทันใจ” นี่คือวิถี

สู่ชัยชนะ ที่นำมาฝาก ในปี 2558 ครับ

 

         

 

Comments

comments