๒๓๔. ธัมมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา

บทความที่ ๒๓๔ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ธัมมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา” อุทิส ศิริวรรณ เขียน —— ครั้งปฐมโพธิกาล ห้วงเวลาที่ตรัสรู้ครั้งแรก พระบรมครู ประทับนั่ง ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเปล่งอุทาน  ภายหลังพระอานนท์สงสัยทูลถาม จึงตรัสเทสนาหลักธัมมะ คาถานี้ว่า “อเนกชาติสํสารํ” เป็นต้น ความย่อว่าพระศาสดานั้น ประทับ ณ โคนต้นโพธิ์ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ตกดิน ได้ทรงมีชัยชนะ เหนือ “พระยามารและกองพลมาร” ทรงทำลาย ความมืดซึ่งปกปิด “ร่าง” ที่เคยอาศัยในชาติก่อนๆ ในปฐมยาม ทรงชำระตาทิพย์ในมัชฌิมยามจนใสสะอาด ทรงอาศัยความกรุณาในเหล่าสัตว์ทรงทำให้ญาณ หยั่งลงใน “ปัจจยาการ” (ปฏิจจสมุปบาท เพราะสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้) ทรงพิจารณาญาณนั้นด้วยอำนาจ การคิดแบบอนุโลมและปฏิโลม ในปัจฉิมยาม ได้ตรัสรู้เฉพาะด้วยพระองค์เองซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ พร้อมด้วยเหตุมหัศจรรย์ทั้งหลาย ในเวลารุ่งอรุณ เมื่อจะทรงเปล่งอุทานซึ่งพระพุทธเจ้าหลายแสนองค์ ไม่เคยละทิ้ง จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า “ตัวเรา ออกแสวงหานายช่างสร้างบ้าน เมื่อยังไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏหลายภพชาติ การเกิดแล้วเกิดอีก […]

227. สามเณร สมณะที่ถูกลืม

๒๒๗. กรณีศึกษาสามเณรในประวัติศาสตร์ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก ทวิปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ Charisma University, Providenciales, TC and Apollos University, Great Falls, Montana, USA เรียบเรียง สามเณร แปลตรงตัวว่า “เหล่ากอแห่งสมณะ” ถือเป็น “บรรพชิต” กล่าวคือ “นักบวช”  ในพุทธศาสนา นิกายเถรวาท  ซึ่งพบเห็นตามวัดวาอารามทั่วประเทศ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงสมัยปัจจุบัน ได้มีการสืบต่อสถานภาพ “สามเณร” ไม่ขาดสาย สามเณรรูปแรกในสมัยพุทธกาลคือ “สามเณรราหุล” ซึ่งเป็น “โอรสองค์เดียว” ของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งกาลต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในประเทศศรีลังกา คราวที่พุทธศาสนาประสบวิกฤต  ถูกทำลายจนไม่มีพระภิกษุหลงเหลืออยู่บนเกาะดังกล่าว แม้แต่รูปเดียว สามเณรได้มีบทบาทสำคัญในการธำรงรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้คงอยู่เอาไว้ได้ และแม้จะเป็นเด็ก เยาว์วัย สถานภาพในฐานะ […]

226. แนวคิดพระโพธิสัตว์

  “แนวคิดพระโพธิสัตว์” คอลัมน์ Get Idia 5.0 ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก ทวิปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ Charisma University, Providenciales, TC and Apollos University, Great Falls, Montana, USA หนังสือพิมพ์ “เส้นทางนักขาย” รายปักษ์ ฉบับวันที่ ๑-๑๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒    ทุกวันนี้ “ฝรั่ง” หันกลับมาสนใจ “แนวคิด” แบบตะวันออก ทฤษฎีผู้นำทางตะวันออกหลายทฤษฎี ได้ถูกเรียนรู้และนำไปใช้เป็นอันมาก   แนวคิด “พระโพธิสัตว์” ผมว่าเป็นแนวคิดทันสมัย และน่าสนใจ แม้โลกในยุคโลกาภิวัตน์ จะย่นและย่อลงในลักษณะ “โลกไร้พรมแดน” กอปรกับกระแส “เทคโนโลยีทันสมัย” ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวความสำเร็จและความล้มเหลวของผู้นำในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก วันนี้ ผมขอนำเสนอแนวคิด […]

225. ขุนนางดี ขุนนางเลว ตอน ๒

๒.๕.๒๕๖๒ ขุนนางดี ขุนนางเลว ตอน ๒ ตอนจบ  อุทิส ศิริวรรณ เขียน ที่มาจาก คัมภีร์ฉางต่วนจิง  ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดคัมภีร์รัฐประศาสนศาสตร์ การเมือง การปกครอง การบริหารราชการแผ่นดินแบบจีน ผู้แต่งได้แบ่ง “ประเภท” ของ “ขุนนางดี” เอาไว้ ๖ ประเภท ๑. ขุนนางราชครู ๒. ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ ๓. ขุนนางจงรักภักดี  ๔. ขุนนางชาญฉลาด ๕. ขุนนางสุจริต ๖. ขุนนางซื่อตรง ส่วน “ขุนนางเลว” คัมภีร์ “ฉางต่วนจิง” ก็จัดแบ่งเอาไว้เป็น ๖ ประเภทเช่นกัน ๑. ขุนนางกะล่อน ๒. ขุนนางสอพลอ ๓. ขุนนางเพ็ดทูล ๔. ขุนนางโฉดชาติ ๕. ขุนนางปล้นชาติ ๖. ขุนนางล้างชาติ ยุคนี้ เป็นยุคที่ […]

1 2 3 4