1. ชนะด้วยโมเดลไตรภาคี

ชนะด้วย Model ไตรภาคี

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
ปรับปรุงเมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗

 

สถิติจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปี 2553 ระบุว่า

คนไทยมีจำนวนประมาณเกือบ 70 ล้านคน

ในจำนวนนี้ เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวน 2 ล้านกิจการเศษ

ผมเคยเอาตัวเลขเหล่านี้มาวิเคราะห์ดูได้ข้อมูลน่าสนใจดังนี้

2 ล้านกิจการข้างต้น คิดเป็นจำนวนประมาณ 3% ของประชากรทั้งหมด

ใน 3% ข้างต้นประกอบด้วยคนอยู่ 3 กลุ่มใหญ่

กลุ่มแรก คือ ผู้ประกอบการรายใหญ่

กลุ่มสองคือ ผู้ประกอบการขนาดกลาง

กลุ่มสามคือ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก

โครงสร้างและสัดส่วนแห่งชัยชนะของผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม ผมเรียกเป็นโมเดลว่า “ไตรภาคี”

โรงงานผู้ผลิต คิดค้น วิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการคือภาคีกลุ่มที่ 1

ระบบทำงาน แผนการตลาด ระบบทีม และระบบไอทีสารสนเทศคือภาคีกลุ่มที่ 2

แม่ทีม ผู้นำองค์กร ผู้อำนวยการตลาด และเครือข่ายทีมขายคือภาคีกลุ่มที่ 3

กิจการที่ต้องการชัยชนะยั่งยืน ต้องเขียนโครงสร้างให้เป็นต้นแบบแห่งไตรภาคีให้ได้แบบนี้

บริษัท+ระบบ+ทีม

ผมได้วิเคราะห์แล้วพบข้อมูลน่าสนใจว่า

ธุรกิจที่มาแรงในปี 2554 คือธุรกิจขายตรง และพบว่ายอดขายธุรกิจขายตรง 60% นักขายได้ค่าคอมมิชชันเต็ม ส่วน 40% คือผู้ผลิตได้ค่าแรงต้นทุนการผลิต

ในขณะที่ธุรกิจส่วนใหญ่ โรงงานผลิตสินค้าได้เงิน 40% จากยอดขายทั้งหมด บริษัทที่รับสินค้าไปขายต่อได้เงิน 20% ตัวแทนขายส่งได้เงิน 20% ส่วนตัวแทนขายปลีกได้เงิน 20%

นี่คือเหตุผลที่ธุรกิจขายตรงในเมืองไทย โตวันโตคืน!!!

ประเด็นน่าสนใจคือยอดขาย 5 อันดับธุรกิจขายตรงในประเทศไทยพบว่า

อันดับ 1 แอมเวย์ปี 2553 ล่าสุดทำได้ 14,370 ล้านบาท อันดับ 2 กิฟฟารีนขายได้ 4,912 ล้านบาท อันดับ 3 เอมสตาร์ยอดขาย 4,901 ล้านบาท อันดับ 4 ซูเหลียนรวยเงียบๆ 4,400 ล้านบาท และอันดับ 5 นีโอไลฟ์ ทำเงินได้ถึง 2,700 ล้านบาท

เบ็ดเสร็จ 2 หมื่นล้านบาทเศษ คิดเป็น 60% ก็คือเงินเดินสะพัดในแวดวงตัวแทนจำหน่ายอิสระประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเศษ

ข้อมูลที่น่าสนใจคือธุรกิจเอมสตาร์ เพิ่งเริ่มต้นเพียงแค่ 5 ปี แต่เบียดรุ่นพี่ในวงการขึ้นมาเป็น Top 3

ปีเตอร์ ดรักเกอร์ บิดาแห่งการจัดการ ให้แง่คิดว่าถ้าอยากชนะ ไม่อยากล้มเหลว ให้พิจารณา 7 ข้อ

ประการแรกให้พิจารณาบริษัทที่มีฐานะการเงินมั่นคงหรือไม่? อย่าค้าขายกับบริษัทที่จน จำไว้!!!

ประการที่สองให้พิจารณาว่ามีสินค้าที่หลากหลายมีการวิจัยพัฒนาและใช้นวัตกรรมให้สินค้าทันสมัยอย่างต่อเนื่องหรือไม่?

ประการที่สามให้ตรวจสอบแผนธุรกิจ และแผนการตลาดว่าจ่ายเงินคุ้มค่าเหนื่อยหรือไม่?

ประการที่สี่ให้พยากรณ์แนวโน้มของผลิตภัณฑ์ว่าตรงกับกระแสการใช้สินค้าหรือไม่?

ประการที่ห้าให้คำนึงถึงห้วงเวลาว่าออกสินค้ามาโดนใจตลาดในเวลานั้น ณ ขณะนั้นหรือไม่?

ประการที่หกให้ประเมินสมรรถนะศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายหรือไม่?

ประการสุดท้ายให้รับฟังวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและแม่ทีมหรือไม่?

ในตอนท้ายขอบอกว่า จงเชื่อมั่นในสิ่งที่ไม่เห็น  สัมผัสสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แล้วกิจการท่านจะบรรลุในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

Comments

comments