191. F6s Model การจัดการนวัตกรรมธุรกิจ SMEs

 

บทความวิชาการ  

F6s Model

การจัดการนวัตกรรมเพื่อการขยายตัวของธุรกิจ SMEs

 

ดาวน์โหลดบทความนี้ในรูปแบบไฟล์ PDF ได้โดยใช้เมาท์คลิกตรงคำว่า F6sModel ข้างล่างแล้วดาวน์โหลดไฟล์ฉบับเต็มในรูปแบบ PDF

 

F6sModel in PDF Flie

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

     ดร. อุทิส ศิริวรรณ*

      ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
     ———————–

 

*ศาสตราจารย์ประจำ  และผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจ
Deming Business School, W.H. Taft University, Colorado, USA

นายกสมาคม บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ฐาน  Research & Market จำกัด

 

 

เอกสารประกอบคำสอน

ประมวลรายวิชา การจัดการนวัตกรรมและการขยายตัวของธุรกิจ

คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ภาควิชา                                                        การจัดการ SMEs

 

ภาคเรียน / ปีการศึกษา                               ภาคปลาย / 2557

 

รหัสและชื่อวิชา                                          665612 การจัดการนวัตกรรมและการขยายตัวของธุรกิจ

Management SMEs Innovation and Growth

 

จำนวนหน่วยกิต                                          3 (3-0-6)

 

สถานภาพของรายวิชา                               วิชาแกน

 

เวลาเรียน                                                      วันเสาร์ และ อาทิตย์เวลา 9.00 – 16.00 น.

 

ผู้สอน                                                            ศาสตราจารย์ ดร.อุทิส ศิริวรรณ

ผู้ช่วยสอน                                                   ว่าที่ร้อยตรี ดร. ธนภณ นิธิเชาวกุล

 คำอธิบายรายวิชา

         แนวทางในการจัดการด้านนวัตกรรมของกิจการ การสร้างนวัตกรรมด้านการบริหาร

จัดการนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่าง และความสามารถในการแข่งขันของกิจการ  และการจัดการสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้าน

นวัตกรรม รวมถึงการศึกษาแนวทางในการจัดการธุรกิจให้เติบโตอย่างเป็นมืออาชีพ โดยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาแนวคิดด้านนวัตกรรม และการจัดการนวัตกรรม (Innovation) สำหรับ SMEs
  2. เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และตราสินค้าสำหรับ SMEs
  3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรมและการขยายตัวของ SMEs
  4. เพื่อประยุกต์แนวคิดด้านนวัตกรรมในการจัดการธุรกิจ SMEs

 

วิธีการเรียนการสอน

  1. การบรรยาย
  2. กรณีศึกษา

 

 

เป้าหมายการนำเสนอบทความวิชาการนี้ เพื่อให้กิจการ SMEs ประเภทต่างๆ ในประเทศไทยสามารถนำความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการธุรกิจโดยใช้แนวคิด F6s Model ไปปรับใช้เพื่อให้กิจการมีแนวคิดและวิสัยทัศน์ทันสมัยสามารถปรับตัวอยู่รอดได้ในเวทีการค้าระดับชาติ ระดับอาเซียน รวมถึงระดับภูมิภาค และเพื่อจุดประกายและปลุกกระแสให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงภาคธุรกิจได้นำเสนอ “กรณีศึกษาธุรกิจ SMEs” ในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ SMEs เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ธุรกิจ SMEs ที่นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับอาเซียน
ก่อนจะข้ามไปยังประเด็นอื่นๆ มารู้จักและเข้าใจ “ความหมาย” “การกำหนดลักษณะ” “ลักษณะ” และ “ประเภท” ของธุรกิจ SMEs ที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย
แผนภาพที่ ๑ ธุรกิจ SMEs
ที่มา : www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf

แผนภาพที่ ๒ ลักษณะธุรกิจ SMEs
ที่มา : www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf

แผนภาพที่ ๓ รูปแบบธุรกิจ SMEs
ที่มา : www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf

 

แผนภาพที่ ๔ รูปแบบธุรกิจ SMEs (ต่อ)
ที่มา : www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf

 

วันนี้ กิจการ SMEs ไทยและทั่วโลก ต่างหวาดหวั่น พรั่นพรึง กริ่งเกรง เกรงกลัวต่อ “กิจการยักษ์ใหญ่” ทั้งในประเทศตนเองและต่างประเทศ

          กิจการ SMEs ไทย รายแล้วรายเล่าที่ล้มหายตายจาก เพราะปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขันที่รุนแรง

ผมเองผ่านประสบการณ์ทำงานมาแล้วทั้งกับ SMEs และกิจการขนาดใหญ่นานกว่า ๒ ทศวรรษ

ประเด็นที่ผมพบความแตกต่างระหว่างกิจการ SMEs กับกิจการขนาดใหญ่คือ “เงิน” และ “ขนาด”
กิจการเล็กๆ มักจะท้อแท้ และตั้งคำถามที่ไม่ต้องการค้นหาคำตอบว่า
“จนเงิน จนความคิด”

กิจการเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ “จนเงิน แต่ไม่จนความคิด”
กิจการขนาดใหญ่เองก็ใช่ว่าจะ “รวย” แล้วไม่มีปัญหา ผมพบว่ากิจการขนาดใหญ่ “รวยเงิน แต่ขาดคนคิด ขาดความคิด และขาดทีมช่วยคิด”
ขอนำเสนอจากภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ และจากภาคปฏิบัติสู่ภาคทฤษฎี โดยเน้น “ประสบการณ์” ที่ทำให้เกิด “การเรียนรู้” ที่นำไปสู่ “แรงบันดาลใจ” เพื่อสร้าง “ความสำเร็จ”
แผนภาพที่ ๕ แผนที่แห่ง “ความสำเร็จ” ระหว่าง “ทฤษฎี” กับ “ปฏิบัติ”
ที่มา: www.bankinfosecurity.com/new-threats-new-firewall-a-5561
จากที่ผมได้คลุกคลีตีโมง ได้ร่วมงาน ร่วมคิด ร่วมทำกับกิจการต่างๆ จะพบว่า ทุกองค์กรธุรกิจมีส่วนคล้ายกันและส่วนที่แตกต่าง หรือไม่เหมือนกัน

สำหรับกิจการ SMEs จะพลิกเอาชนะกิจการขนาดใหญ่ได้ ต้อง “คิด” “วิเคราะห์” “เปรียบเทียบ”  ค้นหา “โอกาส” ที่แฝงและซ่อนเร้นอยู่ใน “ธุรกิจ” ขนาดใหญ่ จากนั้นให้นำ “โอกาส” ที่ค้นพบมา “แปรสภาพ” และ “แปรรูป” ให้กลายเป็นสิ่งที่ผมขอเรียกว่า“วิสัยทัศน์”

จากวิสัยทัศน์ที่เรียกว่า “ความคิด” ก็ “ขยายผล” ความคิด ออกสู่ “วิถี” และ “วิธี” การปฏิบัติ และการดำเนินงาน โดยเริ่มจากการร่าง “เค้าโครงความคิด”  วาด “แผนที่ความคิด” หรือที่เรียกว่า Mind Map สู่ “พันธกิจ” ที่เรียกว่า “เข็มทิศ” นำ “ตนเอง” และ “องค์กร” ไปสู่ “เป้าหมาย” ที่วางไว้และกำหนด แบ่งเป็น “เป้าหมายระยะสั้น-เป้าหมายระยะกลาง-เป้าหมายระยะยาว”

เป้าหมายที่วางไว้ ก็แบ่งเป็น “เป้าหมายทางการเงิน” กับ “เป้าหมายมิใช่การเงิน” โดยให้คิด “สินค้า” และ”บริการ” จำแนกออกเป็น “โครงการ” “กิจกรรม” “แผนงาน”

สรุปให้เห็นชัดเจนว่า “โครงการ” “กิจกรรม” และ “แผนงาน” ต่างๆ ดังกล่าว จะ “สำเร็จ” หรือ “ล้มเหลว” ด้วย “กลยุทธ์” “เทคนิค” “วิธีการ” “ระบบ” “ขั้นตอน” “กระบวนการ” “หลักการ” อะไรบ้าง

ให้ค้นหา “โอกาส” ที่มาโดย “บังเอิญ” หรือ “ไม่บังเอิญ” จากการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ด้วยการใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์ จุดแข็ง-จุดอ่อน ในตัวเอง และกิจการว่ามี “กี่เรื่อง” “กี่ข้อ” “กี่ด้าน” โดยลงลึกในรายละเอียดของการบริหาร “เวลา” “เงิน” “พลังงาน” ว่า “คุ้มค่า” หรือ “ไร้ค่า”

จากนั้นให้ “วิจัย” เชิงลึก โดยวิจัย “สืบค้น” ฐานข้อมูลทั้งด้าน “การขายและการตลาด” “การเงินและการบัญชี” “การผลิตและการบริการ” “การบริหารทรัพยากรมนุษย์” และ “การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” รวมถึง “การจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์” เพื่อส่งมอบ “สินค้า” หรือ “บริการ” สู่ลูกค้าในตลาดระดับประเทศและระดับนานาชาติ
เมื่อวิเคราะห์และประเมิน “ตนเอง” และ “องค์กร” ก็จะค้นพบ “จุดแข็ง” และ “จุดอ่อน” ที่ตนเองและองค์กรมี จากนั้นให้เริ่มทำการค้นหา “โอกาส” และ “อุปสรรค” ด้วยการวิเคราะห์ “โอกาส” และ “อุปสรรค” โดยการวิจัยเชิงลึกถึง “ปัจจัย” ที่นำไปสู่ความสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจอันเกิดจาก

  • ปัจจัยด้านการเมือง เราต้องตรวจสอบเชิงลึกว่า ทิศทางการเมืองในประเทศจะเป็นเช่นไร รัฐบาลจะเป็นรูปแบบประชาธิปไตย เผด็จการ หรือกึ่งเผด็จการ ใครจะเป็นผู้บริหาร และทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรา ต้องวิเคราะห์เจาะลึกว่า องค์การภาครัฐ องค์การภาคเอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล หรือ อบจ. มามีส่วนเกี่ยวพันเกี่ยวข้องให้คุณให้โทษกับธุรกิจของเรามากน้อยแค่ไหนเพียงไรหรือไม่?
  • ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เราต้องวิเคราะห์เชิงลึกว่า การเปลี่ยนแปลงดัชนีสำคัญของตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ดัชนีตลาดเงิน ดัชนีตลาดทุน ดัชนีหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ พันธบัตร สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบ้าน สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ดัชนีผู้บริโภค ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ภาวะเงินฝืด ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ตัวเลขการจ้างงาน ตัวเลขการว่างงาน ตัวเลขการขอเปิดบริษัทใหม่ๆ  ตัวเลขการขอปิดบริษัท ตัวเลขรายได้ผู้เสียภาษีประจำปี ตัวเลขที่รัฐจัดเก็บรายได้  ตัวเลขรายได้และรายจ่ายรวมถึงหนี้สินของรัฐบาล เอกชนขนาดใหญ่ รวมถึงหนี้สินภาคครัวเรือน ตัวเลขการใช้เงินของประชาชนในประเทศและต่างประเทศ ต้องดูองค์รวมเชื่อมโยงทั้งเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาคอาเซียน ระดับทวีป ระดับนานาทวีปและข้ามทวีป เพราะการเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโลกในประเทศหนึ่งประเทศใดและภูมิภาคหนึ่งภูมิภาคใด จะเชื่อมโยงไปถึงอีกประเทศหนึ่ง ในอีกซีกโลกหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลของมหาอำนาจอย่าง จีน สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นสิ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้ ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะ “โอกาส” และ “วิกฤต” จะเกิดจากการมองเห็น “ช่อง” และ “โอกาส” ในการทำ “กำไร” และเก็ง “กำไร”
  • ปัจจัยด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เป็น “กระแส” ที่ต้องเฝ้าจับตามอง เช่น สังคมเปิด สังคมปิด สังคมลักปิดลักเปิด สังคมดารา สังคมแฟชัน สังคมเห่อกระแสดี-เด่น-ดัง สังคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สังคมจิตอาสาบริการสังคม สังคมผู้สูงอายุ สังคมของกลุ่มวัยรุ่น  ต้องวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของคนรุ่น GenX, GenY, GenZ ต้องทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ตลอดรวมไปถึงไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิต ค่านิยมของผู้คนในสังคมทั้งด้านการใช้ไอที การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และรูปแบบการใช้ชีวิตในแบบใหม่ เช่น วัฒนธรรมกาแฟ  วัฒนธรรมท่องเที่ยว  วัฒนธรรมอาหาร  วัฒนธรรมเฟซบุ้ก วัฒนธรรมไลน์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมที่เกิดจากสื่อสมัยใหม่ที่เรียกว่า “โซเซียลมีเดีย” และ “สื่อสมัยใหม่” ต่างๆ ก็เป็นประเด็นที่ต้องจับตา และวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อเฟ้นหา ค้นหา “โอกาส”
  • ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ประเด็นที่ SMEs ต้องวิเคราะห์คือ “เทคโนโลยี” เพราะเป็น “โอกาสทอง” ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  ตามปกติ กฎของมัวร์ (Moore’s law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น
    แผนภาพที่ ๖ Moore’s Law
    ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Moore%27s_law#mediaviewer/File:Transistor_Count_and_Moore%27s_Law_-_2011.svg
    ______________________________________________________________________
    ๑ ชื่อของกฎถูกตั้งตามชื่อของ อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 โดยได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกรอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 จนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก “อย่างน้อยสิบปี” การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของแผนที่จะเป็นเป้าหมายของของการวิจัย และพัฒนา

ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายและมากมาย เป็นไปตามกฎของมัวร์อย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น ความเร็วประมวลผล ความจุของแรม เซ็นเซอร์ หรือแม้แต่จำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนอย่างคร่าว ๆ

การพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎของมัวร์ได้อธิบายแรงการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี : ปัจจัยความสำเร็จที่มีนัยสำคัญต่อกิจการ SMEs

บทความนี้ มุ่งนำเสนอผลการวิเคราะห์ “ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี” เพราะมองว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับกิจการ SMEs ด้วยเหตุผลสนับสนุนคือกิจการ SMEs ยังอยู่ในลักษณะ “จนเงิน” แต่ไม่จน “ความคิด” ดังนั้น การเป็นกิจการที่ขับเคลื่อนด้วย “เทคโนโลยี” จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ

ตามกฎของมัวร์ ผู้ประกอบการจะต้องนำข้อมูลสำคัญของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกมาวิเคราะห์เพื่อนำผลไป “ต่อยอด” พัฒนา “ผลิตภัณฑ์” และ “บริการ” ด้วย “นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี” ที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วของตลาดผู้บริโภคในระดับ “ท้องถิ่น” ระดับ “ภูมิภาค” จนถึงระดับ “โลก”

เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโลกในวันนี้ ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

สมัยนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ อาทิ  เทคโนโลยีชะลอความแก่ (Anti-aging Technology) และเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology) เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับเภสัชกรรมแบบต้นตำรับ การผลิตยาสำหรับสัตว์ การผลิตยาจากสมุนไพร และการผลิตเครื่องสำอาง ที่น่าสนใจสำหรับ SMEs ไทย

การจะเป็นกิจการ SMEs ที่ประสบความสำเร็จในโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จะพึ่งพาเพียงแค่การเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว หรือส้มตำ หรือทำนาทำไร่เป็นเกษตรกรโดยมุ่งหวังเพียงแค่ขายข้าวและสินค้าเกษตรให้ได้ราคา ดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เมื่อวิเคราะห์จาก ROI (Return on Investment) หรือผลตอบแทนจากการลงทุน

เพราะการจะคงไว้ซึ่งกิจการให้ “อยู่รอด” และ “ยั่งยืน” ยังคงเป็นโจทย์ยาก และมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เห็นแล้วว่า กิจการที่ไม่ปรับเปลี่ยน “หลักคิด-หลักพูด-หลักทำ” ก็ยากจะสำเร็จได้ในระยะยาว

การเป็นกิจการ SMEs จุดแข็งคือ “เล็ก” “คล่องตัว” “สะดวก” “รวดเร็ว” “คนน้อย” ทำงานเพียงแค่ ๑-๒ คนก็เริ่มกิจการได้

ธุรกิจ SMEs ต้องให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีสามารถทำให้กิจการ SMEs สามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยดีตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการติดต่อสื่อสาร แทนที่จะใช้แฟกซ์ก็ใช้อีเมล์ แทนที่จะเช่าสถานที่ก็เปิดเว็บไซต์ หรือไปใช้เว็บไซต์ฟรี หรืออาจใช้สื่อโซเชียลมีเดียเช่นเฟซบุ้ก ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าและบริการในเบื้องต้น แทนที่จะเสียเงินโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นป้าย ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายจัดทำป้าย ค่าภาษี ค่าเช่าสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าจิปาถะ ก็ลดต้นทุนด้วย “โทรศัพท์มือถือ” “โทรศัพท์สมาร์ทโฟน”  ด้วยโปรแกรมทันสมัยเช่น ใช้ยูทูบ โฆษณาสินค้าต่างๆ ที่เคลื่อนไหวด้วยภาพและเสียงที่เคลื่อนไหว ใช้เฟซบุ๊กสำหรับข้อความสั้นๆ และภาพนิ่ง ใช้อีเมล์สำหรับการประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสบอกต่อ

เราจะพบว่าหลายคน หลายกิจการ เริ่มต้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารแล้วได้ผล เห็นผลเร็วทันตา ยกตัวอย่างเช่น “จ๊ะ คันหู” ใช้เว็บยูทูบเผยแพร่ผลงานในระยะแรกเพราะไม่มีเงินทุนจะโปรโมตโฆษณาตัวเองและบริการ ซึ่งก็มีผลทำให้เกิด “กระแส” และสำเร็จอย่างถล่มทลายด้วยลีลาท่าเต้นอันเป็นเอกลักษณ์ หรืออย่างไซ เจ้าของท่าเต้น “กังนัมสไตล์” ก็ใช้ยูทูบโฆษณาท่าเต้นควบม้า จนมีแฟนคลับเปิดแสดงคอนเสิร์ตได้ในหลายสิบประเทศ

อีกตัวอย่างคือบริการจองตั๋วเครื่องบิน จองตั๋วโดยสาร จองที่พัก โรงแรม ของธุรกิจ SMEs เล็กๆ ก็ทำงานได้ผล ยกตัวอย่างเช่นในแวดวงธุรกิจทัวร์และท่องเที่ยว วันนี้นิยมใช้เว็บไซต์รับจองตั๋วและที่พัก ซึ่งก็มีผู้สนใจจองที่พักและเดินทางทำรายได้ปีละจำนวนไม่น้อย

หลายคนใช้เว็บไซต์ ขายสินค้าทั้งมือสองเช่น รถยนต์ บ้าน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ อัญมณี เครื่องประดับ ประมูลพระเครื่อง เครื่องราง วัตถุมงคล ของขลัง และสามารถทำยอดขายได้ทะลุหลักล้านบาท มีจำนวนมากมายมหาศาลเช่นกัน

บางคนก็เป็น “โบรกเกอร์” ขายประกันภัยทุกชนิด ทุกประเภทจากหลากหลายบริษัท ครอบคลุมทุกความต้องการของตลาดผู้บริโภค สามารถสร้างเงิน สร้างรายได้มากมายมหาศาลยิ่งกว่าที่เคยขายประกันในรูปแบบเดิมเพราะต้องผูกติดอยู่กับบริษัทประกันเพียงแค่รายเดียว

บางคนเป็นผู้ประกอบการ SMEs แบบตัวคนเดียว ไม่ต้องทำงานกับใคร นั่งวิเคราะห์วิจัยตัวเลขต่างๆ ทางเศรษฐกิจ รับฟังข่าวสารความเป็นไปบ้านเมืองทั้งในและต่างประเทศ ใช้ความรู้ข้อมูลตัวเลขเรื่องหุ้นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนราคาทองคำก็สามารถใช้โทรศัพท์สั่งซื้อขายหุ้น เก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ซื้อขายทอง เป็นรายได้เสริมที่มากกว่ารายได้ประจำก็มี เพราะบางครั้ง บางช่วง ราคาทองคำขึ้นลงในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์เหวี่ยงตัวแรง ซึ่งการเหวี่ยงตัวแต่ละครั้ง ทำให้ผู้ที่เข้าออกถูกจังหวะ โอกาส และเวลา สามารถทำเงินในเดือนเดียวได้มากมายมหาศาลยิ่งกว่าผู้ที่ทำงานกินเงินเดือนเป็นสิบปี!

หลายคนที่ผมเจอในห้องค้าบริษัทตลาดหลักทรัพย์ ทุกวันนี้ก็ยังยึดอาชีพ “นักลงทุน” เป็นอาชีพ เพราะสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่ต้องแม่นยำในข้อมูล ฉับไว ทันใจ ไม่ผิดพลาด

นี่คือตัวอย่างของ SMEs ที่ใช้ IT เพื่อการสื่อสาร และใช้ได้ผล ต้นทุนต่ำ ลงทุนน้อย ประหยัด สะดวก รวดเร็ว
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ SMEs เพราะใช้ทุนน้อย ต้นทุนต่ำ คือ เทคโนโลยีดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น โดยผู้ประกอบการอาจเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในเทคโนโลยีชนิดหนึ่งชนิดใดในกระบวนการของเทคโนโลยีทั้งหมด ตั้งแต่การเป็นผู้จัดหาแหล่งผลิตหรือวัตถุดิบ การเป็นผู้ดำเนินการผลิต  การบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการรวมถึงการบรรจุภัณฑ์และการกระจายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค การขายส่ง การปลีก การขายทางตรง และการขายแบบธุรกิจเครือข่าย รวมถึงการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การสร้างฐานลูกค้าผู้บริโภคในมือ
ซึ่ง “ผู้ประกอบการ” สามารถเลือก พิจารณาและตัดสินใจได้เองว่า จะ “คิด” “กำหนดทิศทาง” และ จะมี “เป้าหมาย” ที่ได้ “เงิน” และ “ผลงาน” ที่ขั้นตอนใด หรือที่ระดับใดใน “การจัดการห่วงโซ่อุปทาน” ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีระดับต่างๆ
แผนภาพที่ ๗ นวัตกรรมธุรกิจและการขยายตัวของกิจการ SMEs สู่กิจการระดับโลก
ที่มา: http://organizations.missouristate.edu/assets/lscma/Who_Hires_2.jpg

 

 

 

เจาะ “จุดแข็ง” นำเสนอ “สินค้า” หรือ “บริการ” ผ่าน “โอกาสทอง” ที่มีอยู่ “น้อยนิด”

กรณีศึกษาการจัดการธุรกิจ SMEs  ด้วยนวัตกรรมธุรกิจสมัยใหม่

ในแวดวงยุทธจักรอาหารฟาสต์ฟู้ด, โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ของภูมิภาคเอเชีย คงไม่มีใครไม่รู้จัก “มร.วิลเลี่ยม อี. ไฮเนคกี้” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทในเครือไมเนอร์ กรุ๊ป วัย 63 ปี ซึ่งสร้างตำนานความมั่งคั่งจากถังพลาสติกและม็อบถูพื้นราคาถูก กระทั่งกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีชั้นแนวหน้าของภูมิภาค ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้เป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 23 ของเมืองไทย ด้วยสินทรัพย์ในครอบครองมากกว่า 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ตำนานการสร้างเนื้อสร้างตัวของ “วิลเลี่ยม ไฮเนคกี้” นักธุรกิจต่างชาติที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเมืองไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นนักการตลาดวิสัยทัศน์เฉียบคมที่สุดคนหนึ่งของเอเชีย ช่าง คล้ายคลึงกับการสร้างตัวของเจ้าสัวในยุคเสื่อผืนหมอนใบ เพียงแต่เป็นเวอร์ชั่นอเมริกันแท้ๆ!! ย้อนกลับไปเมื่อปี 1963 หนุ่มน้อยชาวเวอร์จิเนียรูปร่างสูงใหญ่ วัย 14 ปี ได้ติดตามบิดาและมารดาเดินทางมาเมืองไทย โดยคุณพ่อของเขาเป็นอดีตนาวิกโยธินอเมริกัน ซึ่งผันตัวมาเป็นนักเขียนประจำสำนักข่าวสารอเมริกัน สังกัดสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา และถูก ส่งตัวมาปฏิบัติหน้าที่ในภูมิ-ภาคเอเชีย ช่วงสงครามเวียดนาม

Minor Group เป็นกรณีศึกษาของผู้ประกอบการ SMEs ที่น่าสนใจ เพราะเป็น “คนไทย” เชื้อสาย “อเมริกา” ตั้งรกรากอยู่เมืองไทยมายาวนาน
เริ่มต้นตังแต่ปี 2520 จากการทําธุรกิจเทรดดิ้ง ขายอุตสาหกรรม หลังจากนั้น นายวิลเลียม อี. ไฮเนคกี ผู้ก่อตั้งและประธานของเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป ได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจฟาสต์ฟูดในปี  2551 เริ มจากเชนร้านไอศครีมชื่อ ศาลาโฟร์โมสต์ Mister Donut และ Pizza Hut พร้อมกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการส่งออก และธุรกิจโรงแรม

แต่มาโด่งดังและประสบความสําเร็จสูงสุดจากการเปิดตัวแฟรนไชส์  ร้านพิซซ่า ฮัท แห่งแรกที่พัทยา เมื่อประมาณ 25-26 ปีก่อน จากนั้นมากิจการได้เติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถขยายเครือข่ายสาขาได้มากกว่า 100 แห่ง

The Pizza Company ได้กลายเป็นแบรนด์ไทยของกลุ่มไมเนอร์ที่สามารถเป็นผู้นําตลาด

ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้ไมเนอร์กรุ๊ปยังเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ฟาสต์ฟูดแบรนด์ดังอีกหลายแบรนด์ เช่น Dairy Queen, Sizzler, Swenzen, Burker King  ซึ่งเมื่อนับจํานวนร้านอาหารหรือช่องทางการขายในกลุ่มธุรกิจฟาสต์ฟูดทุกแบรนด์รวมกันแล้วมีมากกว่า 700 แห่ง

 

ความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจนี้ เริ่มจากการเป็น “ผู้ประกอบการเล็กๆ” และค่อยเติบใหญ่ขึ้นตามลำดับจนถึง “ระดับกลาง” และถึงทุกวันนี้เติบโตจนกลายเป็น “กิจการขนาดใหญ่” ขยายกิจการต่อเนื่องใน ๒ จุดแข็ง ที่ตนเองมีกล่าวคือการเป็นผู้ “รู้ลึก” “รู้จริง” “รู้กว้าง” “รู้ไกล” ใน ๒ ธุรกิจหลักกล่าวคือ

  • ธุรกิจอาหาร ซึ่งรวมถึงธุรกิจบริการ
  • ธุรกิจโรงแรม ซึ่งรวมถึงรีสอร์ตและความบันเทิงแบบครบวงจร

ตาม “โอกาส” ที่มีมา ทั้งสายสัมพันธ์ที่ดีกับ “สถาบันกษัตริย์” คอนเนคชันที่ดีจาก “สถานทูตสหรัฐอเมริกา” และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีทั้ง “เครือข่ายโรงแรม” จากสหรัฐอเมริกา และยุโรป รวมถึง “สายป่าน” ทางการเงินที่สนับสนุน ทั้งจากธนาคารในประเทศและต่างประเทศรวมถึง “การระดมทุน” ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ไมเนอร์กรุ๊ป เป็นกรณีศึกษาน่าสนใจ เพราะเติบใหญ่ได้ด้วย “วิสัยทัศน์” คือเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่ความเป็นเลิศด้าน “อาหาร” และบริการที่พักรวมถึงสันทนาการพักผ่อนหย่อนใจ

ด้วยความเข้าใจ “อายตนะ ๖”  ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มลอง กายสัมผัส และใจเบาสบายสมองปลอดโปร่ง จึงเกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม
ภาพรวมของกิจการ และภาพแห่งความสำเร็จของธุรกิจในเครือไมเนอร์กรุ๊ป สรุปได้จากสารจากประธานกรรมการคือ นายวิลเลียม ไฮเน็ค ที่มีถึงผู้ถือหุ้นในเดือนมีนาคม ๒๕๕๗
รายละเอียดโดยย่อมีดังนี้

 

 

 

 

ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2556

 

เรียน ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย

ผมมีความยินดีที่จะรายงานว่าปี 2556 เป็นอีกหนึ่งปีที่โดดเด่นของบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) ทั้งในด้านผลประกอบการทางการเงินและความสําเร็จอื่นๆ อีกทั้งเป็นก้าวสําคัญในการพัฒนาธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ 5 ปี ในปี 2556 บริษัทสร้างผลกําไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่งถึง 4,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากปีก่อน นับเป็นความสําเร็จครั้งสําคัญท่ามกลางการชะลอตัวของทั้งเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการประท้วงในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดการจองห้องพักโรงแรมอย่างมีนัยสําคัญ อย่างไรก็ดีผมเชื่อว่าการที่บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และภาวะตลาดได้อย่างรวดเร็ว มาจากการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะสั้น พร้อมทั้งรักษาแผนงานในระยะยาว ควบคู่ไปกับการใช้กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ได้มีการพัฒนาอย่างรอบคอบและนําไปปรับใช้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

 

หัวข้อของรายงานประจําปีในปีนี้ คือ Driving to Unlock the Potential “การผลักดันเพื่อแสดงศักยภาพ” ซึ่งเป็นข้อความที่ฝังรากอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรของไมเนอร์และเป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลังความสําเร็จของบริษัทจนถึงทุกวันนี้ บริษัทจะไม่สามารถสร้างผลการดําเนินงานที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องได้ หากปราศจากความทุ่มเทและความมุ่งมั่นของพนักงาน ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของบริษัท โดยความต้องการที่จะพัฒนาความสามารถอย่างเต็มศักยภาพของพวกเขาเหล่านั้น ไม่เพียงแต่นํามาซึ่งความเป็นเลิศของตนเองเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมความสําเร็จของบริษัทอีกด้วย ดังนั้น พนักงานกว่า 45,000 คน ใน 26 ประเทศ ต่างมีส่วนช่วยทําให้บริษัทประสบความสําเร็จ และสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น

 

ปี 2556 เป็นปีที่โดดเด่นของบริษัท ธุรกิจร้านอาหารได้ให้บริการไอศกรีมจํานวนกว่า 6,000 ตัน และพิซซ่าจํานวนกว่า 13 ล้านถาดเป็นจํานวนกว่า 60 ล้านครั้ง ให้แก่ลูกค้าที่พึงพอใจ ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารมีผลกําไรเติบโตสูงถึงร้อยละ 27 ในปี 2556 จากการเติบโตที่แข็งแกร่งของธุรกิจร้านอาหารที่มีอยู่เดิมของบริษัท โดยเฉพาะจากการขยายสาขาตามแผนที่วางไว้ ประกอบกับการเข้าซื้อกิจการ Beijing Riverside & Courtyard (“ริเวอร์ไซด์”) ในประเทศจีน นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจโรงแรมได้ก้าวถึงจุดสําคัญ กล่าวคือมีโรงแรมในเครือถึงแห่งที่ 100 ในปี 2556 และยังคงเติบโตต่อไป อีกทั้งบริษัทได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเติบโตของจํานวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยด้วยห้องพักและสิ่งอํานวยความสะดวก พร้อมการบริการที่เป็นเลิศ ส่งผลให้ผลประกอบการของโรงแรมดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ และด้วยผลการดําเนินงานที่โดดเด่นของธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม ซึ่งรวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และอนันตรา เวเคชั่น คลับ เป็นผลให้กําไรสุทธิของธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 26 และหากไม่มีปัจจัยทางการเมือง ผลประกอบการของธุรกิจโรงแรมจะเติบโตในอัตราที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก

 

บริษัทมีพัฒนาการที่สําคัญในปี 2556 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทมีความภูมิใจที่จะรายงานความสําเร็จดังต่อไปนี้ ซึ่งแต่ละพัฒนาการมีบทบาทสําคัญในการสร้างผลประกอบการในปี 2556 และจะช่วยพัฒนาผลการดําเนินงานในปีต่อๆ ไป

 

ธุรกิจร้านอาหารมีการขยายฐานธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีจํานวนร้านอาหารกว่า 1,500 สาขาจากยอดขายของร้านอาหารที่มีอยู่เดิม ประกอบกับการควบรวมผลการดําเนินงานของริเวอร์ไซด์ ในประเทศจีนส่งผลให้รายได้รวมจากธุรกิจร้านอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 นอกจากนี้ บริษัทได้ใช้ประโยชน์จากความสามารถของบริษัทในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Operational Excellence) และการบริหารกับริเวอร์ไซด์ ในขณะที่ได้ประโยชน์จากความชํานาญในพื้นที่ท้องถิ่นของริเวอร์ไซด์ในการประกอบธุรกิจร้านอาหารของบริษัทในประเทศจีนเช่นกัน

บริษัทได้เปิดตัว Penang Street ซึ่งเป็นร้านอาหารแบบนั่งทาน (Casual Dining) คอนเซปต์ใหม่ ภายใต้แบรนด์ไทยเอ็กซ์เพรสในประเทศสิงคโปร์ หลังจากที่ประสบความสําเร็จในการเปิดตัว Poulet ซึ่งเป็นร้านสไตล์ฝรั่งเศสแนวร่วมสมัยที่ให้บริการอาหารฝรั่งเศสดั้งเดิมในราคาที่คุ้มค่า

หลังจากประสบความสําเร็จในการเปิดตัวร้านสเวนเซ่นส์ในประเทศมัลดีฟส์ในปี 2555 บริษัทได้เปิดตัวอีก 3 แบรนด์ ได้แก่ เบอร์เกอร์ คิง, เดอะ คอฟฟี่ คลับ และไทยเอ็กซ์เพรส ในท่าอากาศยานนานาชาติมัลดีฟส์

ในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) บริษัทได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท Al Nasser Holdings ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจค้าปลีก เพื่อที่จะขยายแบรนด์ร้านอาหารของบริษัทไปยังภูมิภาคที่กําลังเติบโตนี้

ในปี 2556 บริษัทเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัท Breadtalk ในประเทศสิงคโปร์เป็นร้อยละ 11 ทั้งนี้ Breadtalk เป็นผู้ประกอบธุรกิจเบเกอร์รี่ ร้านอาหารและศูนย์อาหารในทวีปเอเชียและตะวันออกกลาง บริษัทหวังว่าความสัมพันธ์กับ Breadtalk จะช่วยส่งเสริมกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทให้มีโอกาสเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารประเภทใหม่ มีโอกาสในการขยายช่องทางใหม่ในการกระจายสินค้า และสนับสนุนกันและกันในตลาดที่ทั้งสองบริษัทมีการทําธุรกิจอยู่

บริษัทประกาศการลงทุนในแบรนด์โรงแรมบูติกหรูระดับบน เปอร์ อควัม รีทรีต รีสอร์ท เรสซิเดนซ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มแบรนด์ในกลุ่มของไมเนอร์ โฮเทล กรุ๊ปที่มีการขยายแบรนด์ครอบคลุมทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกา แบรนด์เปอร์อควัม เป็นตัวแทนของความหรูและอภิสิทธิ์แห่งความแตกต่างซึ่งเป็นจุดเด่นที่บริษัทตั้งใจจะพัฒนาต่อไป และนอกจากการได้สิทธิในการบริหารโรงแรม 3 แห่งในมัลดีฟส์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แล้วนั้น บริษัทได้เข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 50 ในโรงแรมนิยามา รีสอร์ทระดับบนในมัลดีฟส์ซึ่งเป็นหนึ่งในสามโรงแรมที่เปอร์ อควัมรับบริหารอยู่แล้วด้วย

บริษัทได้ขยายโรงแรมภายใต้แบรนด์อนันตราและอวานี โดยการลงทุนทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ เพื่อที่จะขยายฐานรายได้และกําไร และสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในประเทศเวียดนาม บริษัทได้เข้าซื้อรีสอร์ทระดับบน 2 แห่งซึ่งในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นอนันตรา ฮอยอัน และ อวานี กวีเญิน ในประเทศศรีลังกาบริษัทได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อสร้างโรงแรมอนันตราบนชายหาดใกล้ตัวเมืองทานกอลล์ซึ่งในอีก 2 ปี อนันตราที่เมืองทานกอลล์นี้จะเป็นโรงแรมแห่งที่เจ็ดของบริษัทในประเทศศรีลังกา นอกจากนี้ บริษัทขยายแบรนด์อนันตราโดยการลงทุนในโรงแรมที่ตั้งอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวที่กําลังเป็นที่รู้จัก ซึ่งช่วยสร้างความหลากหลายให้แก่กลุ่มโรงแรมในเครือไปพร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่น โรงแรมในประเทศโมซัมบิกและเสียมราฐในประเทศกัมพูชา ซึ่งทั้งสองโรงแรมต่างได้รับการเปลี่ยนแบรนด์เป็นอนันตรา ไม่เพียงเท่านี้แบรนด์เอเลวาน่า คอลเลคชั่น ซึ่งเป็นแบรนด์ภายใต้การร่วมทุนของบริษัท ได้เปิดตัวโรงแรมประเภท Bush Campแห่งแรก ชื่อแซนด์ ริเวอร์ มาไซ มาร่า แคมป์ ในประเทศเคนยาอีกด้วย

ในปี 2556 โอ๊คส์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทในประเทศออสเตรเลียเปิดให้บริการอาคารภายใต้สิทธิในการเข้าบริหารห้องชุด (Management Letting Rights) เพิ่มอีก 5 แห่ง นอกจากนี้ การก่อสร้าง โอ๊คส์ แกรนด์โฮเทล โรงแรมขนาด 144 ห้อง ในเมืองแกลตสตัน ประเทศออสเตรเลีย แล้วเสร็จก่อนกําหนด ด้วยมูลค่าการลงทุนตามที่วางงบประมาณไว้ และได้เปิดให้บริการในปลายเดือนธันวาคมอีกทั้ง บริษัทยังคงมีกลยุทธ์ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์โอ๊คส์นอกประเทศออสเตรเลีย โดยได้เปิดตัว โอ๊คส์ลิวา เอ็คเซคคิวทีฟ สวีท ภายใต้สัญญารับจ้างบริหารโรงแรมในอาบูดาบี หลังจากที่ได้เปิดตัวโอ๊คส์ สาทร ในกรุงเทพเมื่อปีที่ผ่านมา

จํานวนห้องพักของโรงแรมภายใต้สัญญารับจ้างบริหารเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 62 ในปี 2556 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และด้วยชื่อเสียงของแบรนด์และความชํานาญในการบริหารโรงแรม ส่งผลให้บริษัทได้รับสิทธิในการรับจ้างบริหารโรงแรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทําให้แขกที่มาพักได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ยังคงได้รับความสะดวกสบายที่คุ้นเคยและหรูหราตามความคาดหวัง บริษัทได้เปิดโรงแรมอนันตรา สิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นโรงแรมภายใต้สัญญารับจ้างบริหารแห่งที่สองของบริษัทในประเทศจีน โรงแรมอนันตรา ดูไบเดอะปาล์ม ซึ่งเป็นโรงแรมภายใต้แบรนด์อนันตราแห่งแรกในดูไบ และโรงแรมอนันตรา เซอร์ บานี ยาส ไอส์แลนด์ อัล ยามม์และโรงแรมอนันตรา เซอร์ บานี ยาส ไอส์แลนด์ อัล ซาเฮลซึ่งเป็นโรงแรมอนันตราแห่งที่สี่และห้าในอาบูดาบี สําหรับประเทศไทย บริษัทได้สิทธิในการรับจ้างบริหารโรงแรมแห่งหนึ่งในเชียงใหม่และอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งโรงแรมในเชียงใหม่นั้นได้เปลี่ยนแบรนด์เป็นอนันตราแล้ว ส่วนโรงแรมในกรุงเทพฯ นั้นกําลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงครั้งใหญ่ทั้งห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางก่อนจะมีการเปลี่ยนแบรนด์เป็นอวานี ในปี 2557

ในปี 2556 บริษัทประสบความสําเร็จในการขายห้องพักที่เหลือส่วนใหญ่ในโครงการเซ็นต์ รีจิส เรสซิเดนซ์ และอีกหนึ่งยูนิตของโครงการ ดิ เอสเตท สมุย อีกทั้งการก่อสร้างของเดอะ เรสซิเดนซ์ โดย อนันตรา ภูเก็ตเป็นไปตามแผนและจะเสร็จสิ้นในปี 2557 นอกจากนี้ การก่อสร้างที่พักในโครงการอนันตรา เวเคชั่น คลับ จํานวน 100 ยูนิตได้เสร็จสมบูรณ์เพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายของสมาชิกคลับต่อไป

สุดท้ายนี้ ผลการดําเนินงานของธุรกิจจัดจําหน่ายสินค้าและรับจ้างผลิตสินค้าดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเพราะผลการดําเนินงานที่แข็งแกร่งของธุรกิจแฟชั่น และการกลับมาดําเนินงานอย่างเต็มกําลังการผลิตของโรงงานนวศรี ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยที่รุนแรงในช่วงปลายปี 2554 จึงเปิดดําเนินงานได้เพียงบางส่วนในปี 2555

เมื่อมองออกไปในอนาคต จะเห็นสัญญาณของเศรษฐกิจโลกที่กําลังฟื้นตัว ซึ่งจะเป็นผลดีกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและร้านอาหาร ดังนั้น ผมเชื่อมั่นว่าปี 2557 จะเป็นอีกปีแห่งความมุ่งมั่นที่จะเติบโตเพื่อผลประกอบการของบริษัทต่อไป นอกจากนี้ ในแผนกลยุทธ์ 5 ปี บริษัทจะเติบโตโดยการมุ่งผลักดันกลุ่มแบรนด์ที่บริษัทเป็นเจ้าของเองพร้อมกับการสนับสนุนจากแบรนด์ระดับสากลอื่นๆ ในกลุ่มของบริษัท อีกทั้งมุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับสินทรัพย์และใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิผล และขยายธุรกิจสู่ระดับนานาชาติผ่านกลยุทธ์การลงทุนและเข้าซื้อกิจการ นอกจากนี้ เราจะพัฒนาความสามารถระดับองค์กรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเป้าหมายในการเติบโต รักษามาตรฐานของการกํากับดูแลกิจการที่สูง และมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เหนือสิ่งอื่นใด เรามุ่งมั่นจะลงทุนเพื่อพัฒนาปัจจัยแห่งความสําเร็จทั้งสี่ประการ ได้แก่ บุคลากร ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

สุดท้ายนี้ ผมใคร่ขอขอบคุณผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจทุกท่านจากใจสําหรับการสนับสนุนบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) มาโดยตลอด นอกจากนั้น ผมขอขอบคุณบุคลากรผู้มีความสามารถกว่า45,000 คน สําหรับความทุ่มเท ความกระตืนรือร้นและความตั้งใจในการปฏิบัติงาน และด้วยความร่วมมือของเราทุกคน เราจะสามารถก้าวสู่ความสําเร็จ พร้อมกับการพัฒนาเพื่อเป็นผู้นําในทุกๆ ตลาดที่เรามีการดําเนินงานอยู่
นายวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค

ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

มีนาคม 2557

จากกรณีศึกษาของไมเนอร์กรุ๊ป ผมขอนำเสนอ “นวัตกรรมความคิด” ที่เรียกว่า F6s Model เพื่อเป็นแนวทางและช่องทางในการค้นหาโอกาสและลงมือทำเพื่อให้สำเร็จตามธุรกิจต้นแบบคือไมเนอร์กรุ๊ป

F6s Model  มีสาระสำคัญแง่คิดเชิงนวัตกรรมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย

F1 : First  กิจการขนาดเล็กจะสำเร็จได้ ไม่แพ้กิจการขนาดใหญ่ เพราะคล่องตัว ขับเคลื่อนได้รวดเร็ว ไม่อุ้ยอ้ายเหมือนกิจการขนาดใหญ่ ที่ต้องรอขั้นตอนและกระบวนการซึ่งส่วนใหญ่ใช้รูปแบบ “นำเสนอ” ผลงาน โครงการ หรือกิจกรรม ผ่านแผนก ฝ่าย และส่วนไปยัง “หัวหน้า” ซึ่งมีตั้งแต่หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าส่วน หัวหน้าแผนก กว่าจะทะลุผ่าน “บอร์ดเล็ก” ไปจนถึง “บอร์ดใหญ่” บางทีหลายโครงการก็ “พับฐาน” ลงเสียก่อน เพราะขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาชักช้า ไม่ปราดเปรียว ว่องไว เหมือนกิจการขนาดเล็กซึ่งได้เปรียบตรงที่ “เล็ก” เหมือน “ปลาเล็ก” แต่ว่ายน้ำฝ่ากระแสได้รวดเร็ว สามารถตั้ง-เปิด-ดำเนินกิจการ-ปิด-โยก-ย้ายกิจการ ได้รวดเร็วกว่ากิจการขนาดใหญ่

กิจการขนาดเล็ก จะคิดค้น ผลิต นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ใช้นวัตกรรมก็ทำได้รวดเร็ว “จนเงินแต่ไม่จนความคิด”  เพราะสามารถคิดและทำ “นวัตกรรม” สินค้า และบริการได้หลากหลาย นี่คือจุดแข็งและความได้เปรียบการเป็นที่ ๑ ของกิจการ SMEs ที่ผมค้นพบ

F2: Focus  กิจการขนาดเล็กได้เปรียบกิจการขนาดใหญ่ เพราะถ้าวิเคราะห์ “โอกาส” จากปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และเมื่อผนวกกับจุดแข็งที่ตนเองมีด้าน การเงิน-บัญชี การขาย-การตลาด การผลิต-บริการ และห่วงโซ่อุปทานที่ตนเองมี กิจการเล็กสามารถ “แทรก” ตัวลงใน “ช่องว่าง” ระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับการค้นหาวัตถุดิบ, การผลิต, การขายและการตลาด, การบริการลูกค้า และการนำข้อมูลจากลูกค้ามาวิเคราะห์และพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าและบริการได้เร็วกว่า ดีกว่า เหนือกว่ากิจการขนาดใหญ่ อยู่ที่กิจการขนาดเล็กจะ “ปรับเลนส์” ส่องกล้องให้ “คม-ชัด-ลึก” ด้านใด ประเด็นใด เหมือนกลุ่มไมเนอร์ที่เน้น ๒ เรื่องสำคัญคือ “อาหาร” และ “การพักผ่อน”

F3: Faster กิจการขนาดเล็กได้เปรียบในเรื่องการธำรงและรักษา “คุณภาพ” คนทำกิจการเล็กๆ ส่วนใหญ่สามารถนำเสนอ “ชิ้นงาน” และ “ผลงาน” ที่มีคุณภาพดีกว่า เร็วกว่า เหนือกว่าคู่แข่งคือกิจการขนาดใหญ่ เพราะทำงานด้วย “ใจรัก” ทำเพราะ “ชอบ” ทำเพราะคิดและเชื่อว่า “ใช่” ทำเพราะ “ถูกใจ” มากกว่า “ตามใจ” ลูกค้าหรือผู้ซื้อ เน้นคุณภาพมากกว่าจะใจจดจ่อกับ “ปริมาณ” เหมือนรายใหญ่ คนเหล่านี้เชื่อว่าถ้าตนเองสร้างงานดี มีคุณภาพ เดี๋ยวเงินก็จะไหลกอง ทองก็จะไหลมาเอง ไม่ทำงานอะไรที่ชุ่ยๆ ทำแบบสุกเอาเผากิน ทำลวกๆ ทำแบบให้แล้วเสร็จ ทำแบบเช้าชามเย็นชาม ทำแบบขอไปที จะไม่มีในหัวในสมองของกิจการเล็กๆ เพราะถ้าทำเช่นนั้น ลูกค้าก็จะหายไปหมด

ส่วนใหญ่กิจการขนาดเล็กที่ผมพบเห็นและอยู่รอด พวกเขาทำงานโดยไม่ยอมให้เงินสั่งหรือบงการชีวิต เป้าหมายชีวิตไม่ได้อยู่ที่เงินอย่างเดียว แต่อยู่ที่คุณภาพคับแก้ว มาตรฐาน และเกินร้อย%

ยกตัวอย่างกิจการเล็กๆ ทำเบญจรงค์ ที่สมุทรสาคร  กิจการเซรามิกส์ที่ลำปาง กิจการเป็ดอย่างนายหนับนายโอที่ตลาดดอนหวาย สำนักงานบัญชี ร้านสังฆภัณฑ์ ร้านหนังสือเล็กๆ ในบางจังหวัด ร้านจัดดอกไม้ที่เน้นคุณภาพสวยงาม ร้านขนมกาแฟและเบเกอรี ร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ที่คนทำแค่คนเดียวในตัวจังหวัดอุทัยธานี หรือร้านก๋วยเตี๋ยวที่ช่วยกันทำแค่สองสามคนแถวย่านราชวัตร อยุธยา สิงห์บุรี สุพรรณบุรี รวมถึงร้านขายหมูทอด ไก่ทอด น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกอ่อง ที่ผมพบตามเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ และเชียงราย กิจการสำนักงานบัญชีขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดต่างๆ กิจการบริการขนส่งและโลจิสติกส์ กิจการอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงกิจการติวเตอร์ติวภาษาคณิตและอังกฤษ รวมถึงกิจการวิจัยและฝึกอบรมทั้งที่ได้รับปริญญาและไม่ได้เน้นปริญญา ซึ่งกิจการเล็กๆต่างๆ ผู้ประกอบการเหล่านี้ปรับตัวอยู่รอดได้เพราะ “คุณภาพ” เหนือ “เงิน”

รวมถึงกิจการเครือข่ายขายตรงของคนไทย อย่างเช่น ดีเน็ทเวิร์ค ก็ประสบความสำเร็จเพราะเจ้าของและผู้ก่อตั้งร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมทำ ไม่เถียง ไม่ทะเลาะ ไม่เก่งกว่า ดีกว่า เหนือกว่าหุ้นส่วน เมื่อคนเราร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมคิด ร่วมทำ น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เน้น “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” ทำโดยใช้ “สมอง”คิด และ “ใจ” สู้ยืนหยัดเรื่อง “คุณภาพ” กิจการก็ขยายใหญ่เติบโตรุดหน้ารุ่งเรืองได้เป็นผลสำเร็จ

F4: Forward  กิจการเล็กๆ สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ชนะกิจการขนาดยักษ์ได้ ด้วยการ “ก้าวไปข้างหน้าคู่แข่งอย่างน้อยหนึ่งก้าวเสมอ”
นี่คือความจริง และเรื่องจริงที่ผมพบเห็นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจขนาดเล็ก ก็เหมือนปลาตัวเล็กๆ ที่ว่ายน้ำ ต้องแหวกว่ายตื่นตัวตลอดเวลา ต้องว่ายหาแหล่งน้ำใหม่ อาหารใหม่ ที่อุดมสมบูรณ์กว่าถิ่นเดิมที่ตนเองเคยอยู่ เพื่อความอยู่รอด และปลอดภัย

ผมยกตัวอย่างกิจการเล็กๆ ที่บ้านแหลมเพชรบุรีรอยต่อกับย่านคลองโคนเมืองสมุทรสงคราม มีกิจการร้านอาหารเล็กๆ ชื่อ “เรือแลเล” ที่อ่าวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เจ้าของเล่าให้ผมฟังว่าเดิมเป็นชาวเมืองกาญจนบุรีอยู่ไกลถึงสังขละบุรี เป็นศิษย์หลวงพ่ออุตตมะ เกจิชื่อดังที่ชาวไทยและรามัญมอญนับถือ ได้เล็งเห็นความยากลำบากในการใช้ชีวิตอยู่ที่สังขละบุรี ก็อพยพมาทำงานเป็นลูกจ้างร้านแดรีควีนย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ต่อมาได้ภรรยาชาวบางตะบูน ได้เดินทางมาดูทำเลซึ่งเล็งเห็นแล้วว่าถ้า “ถนนเลียบชายทะเล” สมุทรสงคราม-หาดเจ้าสำราญ-ชะอำ-เพชรบุรี แล้วเสร็จ ถ้า “ใคร” ได้มาทำมาหากินที่นี่ “ก่อน” คนอื่นย่อมได้เปรียบ ก็เลยตัดสินใจวางแผนไปหาซื้อเรือโบราณสเปนจากพระราม ๓ ลากมาเป็นเดือนเอามาลอยเรือไว้ที่อ่าวบางตะบูนและได้ขอเช่าที่วัดลอยเรือทำอาหารทะเลรสชาติแบบพื้นเมืองขาย อาศัยประสบการณ์ที่ทำร้านแดรี่ควีนมาก่อน ก็สามารถก่อร่างตั้งตัวได้เป็นผลสำเร็จ แม้กิจการจะไม่ใหญ่ ไม่มีคนติดมากเหมือนร้านแดงแม่กลอง แต่ก็อยู่ได้ด้วยกิจการครอบครัวเล็กๆ ใช้คนทำงานเพียงไม่กี่คน

F5: Fresh แปลตรงตัวว่า “สด” “ใหม่” “ตื่นเต้น”  “เร้าใจ” กิจการขนาดเล็กต้องมีชีวิตชีวา รู้สึกปราดเปรียว ว่องไว ตื่นตัวตลอด ต้องออกค้นหา “โอกาส” ด้วย “จุดแข็ง” ที่ตนเองมีเสมอ บนเงื่อนไขคือต้อง “เปิดตัว” “เปิดใจ” “เปิดความคิด” “เปิดตา” “เปิดหู” เสาะแสวงหา “นวัตกรรมความคิด” “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์” “นวัตกรรมบริการ” “นวัตกรรมกระบวนการ” เพื่อนำเสนอ “สินค้า” และ “บริการ” ที่มีคุณภาพ “ดีเลิศ” “ยอดเยี่ยม” “ดีที่สุด

การอัพเดตตนเองให้สดและใหม่ทันสมัยอยู่เสมอ ทำได้โดยการเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมทักษะและการพัฒนาตน ยุคนี้เราสามารถรับชมรายการดีๆ มีสาระผ่านยูทูบ อ่านบทความดีๆ ผ่านเว็บไซต์ที่นำเสนอสาระความรู้และจุดประกายการเรียนรู้ การสร้างแรงบันดาลใจด้วยการพูดคุยกับบุคคลต้นแบบที่ตนเองศรัทธา ยอมรับ อาทิ เถ้าแก่น้อย วิกรม กรมดิษฐ์  บุญเกียรติ โชควัฒนา ตัน ภาสกรนที รวมถึงการศึกษาดูงานต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจผ่านกิจการ SMEs ที่มีชื่อเสียง ยกตัวอย่างเช่น ซาลาเปาวราภรณ์  ร้านกาแฟอเมซอน รวมถึงกิจการระดับนานาชาติ อาทิ ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ กิจการขนมและของหวานญี่ปุ่น กิจการร้านอาหารนานาชาติ รวมถึงกิจการภาคบริการ ได้แก่ สายการบินต้นทุนต่ำ และธุรกิจเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

F6: Flexible แปลตรงตัวว่า “ยืดหยุ่น” และ “ปรับตัว” ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น กิจการในเครือซีพี  ซึ่งในยุคเริ่มต้นเน้นสินค้าเพื่อการเกษตรล้วนๆ  ภายหลังจากเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เข้ามาบริหารกิจการเต็มตัว ก็มีการขยายกิจการสู่ธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีชื่อเสียงมากคือ True ธุรกิจค้าส่งคือ MAKRO ธุรกิจสะดวกซื้อที่ประสบความสำเร็จเป็นอันมากในเมืองไทยได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ 7-11  นอกจากนี้ยังเน้นอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร มีทั้งสัตว์เนื้อ สัตว์ปีก อาหารทะเล อาหารสัตว์ รวมถึงสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงคือข้าว และอาหารสำเร็จรูปนานาชนิด การปรับตัวของยักษ์ใหญ่อย่างซีพี ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับกิจการ SMEs  ที่ต้องการขยายกิจการสู่อนาคตที่ดีกว่าในวันหน้า

“จนเงิน  แต่ไม่จนความคิด” คือบทสรุปของการจัดการนวัตกรรมธุรกิจ SMEs

 

 

 

 

Comments

comments