152. เกร็ดความรู้การเรียนระดับปริญญาเอก

เกร็ดความรู้การเรียนระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเมืองนอกทำกันอย่างไร? ดร. อุทิส ศิริวรรณ ศาสตราจารย์ประจำ สาขาบริหารธุรกิจ และผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศวิจัยอาเซียน William Howard Taft University, Colorado, USA www.demingbusinessschool.com Research Chair Charisma University, Turks & Caicos, UK www.charismauniversity.org ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ ——————————– การเรียนระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเมืองนอก มีส่วนที่คล้ายและแตกต่างจากเมืองไทย เริ่มต้นจากกระบวนการเข้าสู่ระบบ และการเรียนรู้ ผมพบว่าหลักสูตรเมืองนอกตอบสนองไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตของนักศึกษาได้ดีกว่า โดยเฉพาะ “การเรียนรู้นอกห้องเรียนในมหาวิทยาลัย” และ “การศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย” ———————————————- การที่ผมได้มีโอกาสเดินทางบินไปสอนประเทศนั้นประเทศนี้ สมัยยังอ่อนอาวุโส ก็เริ่มต้นจากระดับปริญญาตรี จากนั้นก็ยกระดับสู่การเรียนวิชาการช้้นสูง ระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก รวมถึงได้ทำวิจัยในลักษณะความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป อเมริกาและเอเชีย และรวมถึงประสบการณ์การเป็นคณะกรรมการอ่านผลงานทั้งในรูปแบบบทความวิชาการสำหรับตีพิมพ์เผยแพร่ในแวดวง สัมมนาวิชาการระดับนานาชาติและระดับโลก (International/World Conference) รวมถึงการอ่านประเมินผลงาน ของผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการทั้งระดับ “รองศาสตราจารย์” […]

151. เหว่ยจี เหว่ยเสี่ยน จีฮุ่ย

คอลัมน์  How to Win เหว่ยจี เหว่ยเสี่ยน จีฮุ่ย วิกฤต อันตราย โอกาส ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 3 มิถุนายน 2557 ———– “เราต้องช่วยคนนับล้านให้พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ”                พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ                  ระหว่างอยู่บนความสูงของอากาศเหนือแผ่นดินสามหมื่นฟุต เครื่องบินโคลงเคลงหนักเพราะตกหลุมอากาศตั้งแต่เครื่องบินออกจากสนามบินกรุง อาบูดาบีตะวันออกกลาง จนหน้าจอภาพปรากฏเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เครื่องบินจึงค่อยๆ สงบ ชีวิตอยู่ระหว่างเส้นด้ายแห่งความเป็นและความตาย ถ้าเครื่องบินตกก็ตายได้ทันทีตายได้ทุกเมื่อ! ทุกครั้งที่เดินทางบนท้องฟ้า ผมมักนึกถึงคำ 3 คำ คำแรกอ่านว่า “เหว่ยจี” แปลตรงตัวว่า “วิกฤต” คำที่ 2 “เหว่ยเสี่ยน” แปลว่า “อันตราย” คำสุดท้าย “จีฮุ่ย” แปลว่า “โอกาส” เช่นเดียวกับปรัชญาการทำงาน ผมคิดถึงคำที่ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยคิดคล้ายกัน ชีวิตเกิดมาทำไม? ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร? […]

150. เส้นสาย เครือข่าย พวกพ้อง คอนเน็คชัน

คอลัมน์  How to Win เส้นสาย เครือข่าย พวกพ้อง คอนเน็คชัน ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 11 มิถุนายน 2557 ———– “คนที่ไม่มีเพื่อนก็ไม่อาจจะก้าวไกลได้”                วิกรม กรมดิษฐ์                  ตลอดการเดินทางย่ำไปใน 5 ทวีป เอเชีย-ตะวันออกกลาง-ยุโรป-อเมริกาเหนือ-อเมริกากลาง ผมคิดถึงคำ 4 คำ นั่นคือ เส้นสาย เครือข่าย พวกพ้อง และคอนเน็คชัน คุณวิกรม กรมดิษฐ์ เคยพูดไว้ว่า “นกไม่มีขนบินขึ้นสู่ท้องฟ้าไม่ได้ฉันใด คนที่ไม่มีเพื่อนก็ไม่อาจจะก้าวไกลได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้นผมจึงให้ความสำคัญต่อการรู้จักคบหาผู้คนเสมอมา ยิ่งการทำธุรกิจ ยิ่งต้องอาศัยเพื่อนฝูง คนรู้จัก และเครือข่ายช่วยส่งเสริมสนับสนุน แต่ผมก็จะเลือกคบเพื่อนที่เป็นคนดีมีน้ำใจเป็นนักกีฬาเท่านั้น” ยิ่งการทำงานในแวดวงนานาชาติ  การมีเพื่อนมาก จะช่วยทำให้คล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ง่ายดายยิ่งขึ้น เขาช่วยเรา เราช่วยเขา ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมแรง […]

149. วิธีเฮงแบบเจ้าสัวธนินท์

วิธีเฮงแบบเจ้าสัวธนินท์ 11 มิถุนายน 2557 เพื่อนๆ นักขายครับ วันนี้ถ้าถามคนไทยทั้งประเทศว่า ใครที่เป็นเจ้าสัว จะพบคำตอบว่า ชื่อของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ จะติดอันดับต้นๆ ทุกครั้ง ปรัชญาการเขียนคอลัมน์ฮาวทูเฮง ผมจะออกค้นหาหนทางสู่ความเฮงเริ่มต้นที่ “ฮาร์ดแวร์” คือความเฮง สำหรับแรมและรอมแห่งความเฮงผมมองว่าประกอบด้วยทฤษฎี-ปฏิบัติ-ประสบการณ์-คุณวุฒิ –คุณภาพ-คุณธรรม-ความสำเร็จ-คนต้นแบบ-องค์กรต้นแบบ รวมเป็น 9 ฐานข้อมูลสำคัญที่ผมขอเรียกว่า How to เฮง ส่วนซอฟตแวร์ที่ประมวลผล 9 ฐานข้อมูลผมเลือกใช้โปรแกรมประมวลผลความเฮง ที่ประกอบด้วย กาย-สมอง-ความคิด-ความรู้สึก-อารมณ์-จินตนาการ-ความฝัน-วิสัยทัศน์ รวม 8 อายตนะ ผมค้นพบความจริงว่า คนที่จะเฮง คือคนที่กล้าที่จะไม่ “กลัว” ไม่ว่าจะกลัวทำผิด กลัวล้มเหลว กลัวไม่มีงานทำ คนดวงดีดวงเฮงคือคนที่มีอารมณ์-ความรู้สึก-ความฝัน-วิสัยทัศน์แตกต่างและโดด เด่น! นี่เป็นอีกโลก ที่แตกต่างจากระบบมหาวิทยาลัยที่ผมคุ้นเคยทั้งชีวิต ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับคนเรียนเก่ง แต่ขลาดและกลัว กลัวที่จะรวยเร็ว กลัวที่จะสำเร็จง่ายๆ ฟลุกๆ ! มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกสอนให้ผู้เรียนกลัวทำผิด กลัวล้มเหลว กลัวไม่มีงานทำ! ยกตัวอย่าง การสอนแบบเน้นกรณีศึกษาแบบฮาร์วาร์ดที่เคยได้รับนิยมสูงสมัยหนึ่งสมัยนี้ถูก […]

148. ดิสนีย์เวิลด์ นวัตกรรม ฝันที่กลายเป็นจริง

คอลัมน์  How to Win ดิสนีย์เวิลด์ นวัตกรรม ฝันที่กลายเป็นจริง ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 13 พฤษภาคม 2557 อัพเดต ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ———– “บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยจำนวนมากพบกับความผิดหวังในตลาดแรงงาน และตัดสินใจไม่ร่วมเดินไปในเส้นทางการเป็นลูกจ้างบริษัท ถูกมองว่าเป็นพวกบ้าบิ่น เอาแต่ใจ ใจร้อน แต่เป็นกลุ่มคนที่ช่วยกันจุดประกายให้เราได้มีสินค้าใหม่ บริการใหม่ วิธีการใหม่ และไอเดียใหม่มากมายนับไม่ถ้วนในทุกมุมโลก”                 Wall Street Journal                   ขณะผู้อ่านกำลังอ่านต้นฉบับ ผมยังเดินทางอยู่ในหมู่เกาะเทิร์กและเคคอส ประเทศอังกฤษ ประเทศบาฮามัส และกำลังท่องไปในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ทุกประเทศที่ผมท่องเที่ยวไปล้วนเผชิญความเสี่ยง ทั้งจาก “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ”  “ภัยธรรมชาติ” และ “การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” เหมือนที่เมืองไทยเรากำลังเผชิญเห็นและเป็นอยู่ในเวลานี้ กลยุทธ์เอาชนะ “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ” ผมขอสรุปจากที่ “ตาดู” “หูฟัง” เห็นเป็นข้อๆ ดังนี้ กลยุทธ์ข้อแรก […]

147. ชนะด้วยบุญ

คอลัมน์  How to Win ชนะด้วยบุญ ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 7 พฤษภาคม 2557 ———– “บุญจะได้มากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินทอง”                 ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์                   ขณะท่านผู้อ่านได้อ่านต้นฉบับ ผมน่าจะอยู่แถวตะวันออกกลาง กลางพายุทะเลทรายร้อนระอุ คนที่เดินทางค่อนโลกสมัยก่อน มีชื่อเสียง 2-3 คน คนแรกๆ เลยคือเจิ้งเหอ สมุทรยาตราที่โด่งดังของราชสำนักจีน อีกคนคือมาร์โคโปโล และอีกคนคือโคลัมบัส การเดินทางของแม่ทัพนายกองที่นำโดยเจิ้งเหอ ภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจีน ทำให้หวนคิดถึงคำว่า “บุญ” ช่วงเทศกาลวิสาขบูชาปีนี้ นึกถึงเรื่องราวตำนานในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวิถีแห่งชัยชนะด้วยการทำบุญ เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก เดิมก่อนศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ผมเข้าใจเอาเองว่า จะทำบุญให้ได้บุญมากขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือจะต้องมีเงินทองจำนวนมาก เช่นเดียวกับที่เคยคิดไว้สมัยเด็กๆ สมัยที่ยังขาดแคลนโอกาสว่าการที่คนผู้หนึ่งจะมีบุญมีวาสนาได้เป็นใหญ่เป็นโต จะต้องมีเงินมีทองจำนวนมากๆเท่านั้น ! เพิ่งมารู้ภายหลังเมื่อตอนอายุจะเข้าเลข  5 ว่า ที่เคยคิดและเชื่อว่าทำบุญให้ได้บุญมาก ต้องทำด้วยเงินทองจำนวนมาก ที่เคยคิดว่าคนจะได้เป็นใหญ่เป็นโต จะต้องมีเงินทองเป็นอันมาก สรุปจากที่รู้ภายหลัง […]

146. ผวาแดง

คอลัมน์  How to Win ผวาแดง! ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 30 เมษายน 2557 ———– “เคี่ยวเข็ญคนให้เก่งขึ้น”                สตีฟ จ็อบส์                  เดือนพฤษภาคม เป็นเดือนที่ผมมีภารกิจเดินทางท่องไปในตะวันออกกลางสหรัฐอเมริกา และคาริบเบียนค่อนข้างยาวนาน กว่าค่อนชีวิตที่อยู่ เรียน และทำงานในอเมริกา ทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวของเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดในช่วงต้นปี 2490 ห้วงเวลานั้น นายโจเซฟ แมคคาร์ธีย์ สว. พรรครีพับลิกัน ออกมาเอาจริงเอาจังกับนโยบาย “ผวาแดง” หรือที่เรียกว่า Red Scare เขาอ้างว่ารัฐบาลของรูสเวลท์ และทรูแมนเป็น “แดง” ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์มายาวนานกว่า 20 ปี เขาเที่ยวเดินสายให้สัมภาษณ์ที่นั่นที่นี่ว่ามีคอมมิวนิสต์ 205 คน แฝงตัวทำงานในกระทรวงต่างประเทศ สร้างกระแสให้ฝ่ายชาตินิยมเกลียดชังตื่นตระหนกโกรธแค้นกลุ่มแดง นายแม็ค โด่งดังข้ามคืนด้วยเรื่องราวที่กุและแต่งขึ้นมาเช่นนี้! ความจริงมาปรากฏภายหลังว่า วาทกรรมของนายแม็ค ไม่มีหลักฐาน ไม่มีแก่นสาร แต่ชาวอเมริกันกำลังแตกตื่นหวาดผวาแดง […]

145. วิถีแห่งโตโยต้า

คอลัมน์  How to Win วิถีแห่งโตโยต้า ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ 21 เมษายน 2557 ———– “มีเหตุผลอยู่ว่า ‘คิดอย่างไรให้รวย’ ไม่ใช่ ‘ทำงานหนักให้รวย’ หรือ ‘หาเงินให้รวย’…”                Kiyosaki, Rich Dad’s Cashflow Quadrant                  วงการวิจัยธุรกิจระหว่างประเทศ เมื่อศึกษาเจาะลึกหัวข้อ “คุณภาพ” ชื่อเสียงของกลุ่มโตโยต้า จะติดอันดับที่นักศึกษาทั่วโลกสนใจนำมาพูดถึงและวิเคราะห์เสมอ เคล็ดลับการค้าในยามวิกฤตคือการค้นหาสินค้าและบริการที่ทำแล้วเกิดความมั่งคั่งร่ำรวยและประสบความสำเร็จ ว่ากันว่ากิจการ SMEs เล็กๆ ที่ต้องการเติบใหญ่ขยายกิจการใหญ่โต จำเป็นต้อง “คิดอย่างยิว” “ขยันอย่างจีน” “มีระเบียบวินัยอย่างญี่ปุ่น” และ “รวดเร็วอย่างเกาหลีใต้” ผู้บริหารระดับสูงของรถโตโยต้า 30 คนจากทั่วโลก เคยประชุมระดมมันสมองวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้โตโยต้าทั่วโลกประสบความสำเร็จ จนผงาดมาติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก และเป็น 1 ใน […]

144. สไลด์คำบรรยาย Buddhism Innovation

เนื้อหา “บทความ” ที่เล่าด้วยภาพนี้ น่าสนใจ สามารถนำไปปรับใช้ได้ กับทุกๆ องค์การที่ต้องการ “พัฒนา” กิจการด้วยหลักนวัตกรรมซึ่งใช้ผสมผสานกับการจัดการสมัยใหม่   เชิญคลิกอ่านได้จากสไลด์นี้ ซึ่งจะบรรยายภาพละไม่เกิน ๑๐ วินาที

143. บรรยาย “Buddhism Innovation”

เมื่อเทศกาลวันมาฆบูชาที่ผ่านมา  ได้รับเชิญจากองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก หรือ ยพสล. ในฐานะ “อนุกรรมาธิการส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา” ในคณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา ให้ไปบรรยายให้ชาวพุทธจาก ๔๐ กว่าประเทศทั่วโลกรับฟังในหัวข้อ Buddhism Innovation แปลเป็นไทยว่า  “นวัตกรรมชาวพุทธ”   ดีใจที่ได้ทำบุญใหญ่ทางปัญญาแบบนี้ และยินดีเป็นอย่างยิ่งขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีโอกาสเปิดอ่านเชิญรับบุญกันถ้วนทั่วครับ ยินดีรับเชิญไปบรรยายงานวิชาการสำหรับสถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา วัด สมาคม และมูลนิธิต่างๆ ตามหัวข้อและความถนัดที่มี ติดต่อเชิญบรรยายได้ที่ Contact Us ยินดีรับงานการกุศลทุกงานครับ ผมเองรู้สึกเป็นเกียรติและดีใจที่ได้เป็นตัวแทนชาวไทยกว่า ๖๐ ล้านคนทำงานเพื่อสถาบันพุทธศาสนา หากสถาบันการศึกษาอื่นใดต้องการให้ไป บรรยายเช่นนี้ ก็ยินดีที่จะไปพูดคุย ไปเล่าประสบการณ์ วิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้ฟังนะครับ   บทความนี้เล่าด้วยภาพ โดยภาพจะเคลื่อนไหวทุก ๓ วินาที

1 7 8 9 10 11 24