43. Credit Bureau

Credit Bureau บทความบริการวิชาการสังคมด้าน “การบริหารธุรกิจ” ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ ปัญหาหนักอก SMEs และบุคคลทั่วไปวันนี้คือ  ประวัติเสีย เกี่ยวกับ “เครดิตบูโร” Credit Bureau คือหน่วยงานกลาง ที่เก็บข้อมูลของผู้ขอสินเชื่อ ในเมืองไทย การจะขอสินเชื่อ ถ้าเกิดเช็คประวัติแล้ว ขึ้นบัญชีดำ ติดแบล็กลิสต์แล้ว ก็ไม่ต่างจากคน “ติดคุก” ประวัติเสีย จะล้างประวัติออก ก็ “ไม่หมด” พลอยให้หมดหนทาง “หากิน” ที่น่ากลัวคือ  ธนาคาร และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขอ การปล่อย และการอนุมัติ “สินเชื่อ” ต่างใช้ข้อมูลกลางเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการตัดสินใจว่า จะปล่อย “กู้” หรือไม่? คำแนะนำสำหรับผู้ที่ติดเครดิตบูโร 1) เปิดเผยรายรับ (คงเหลือ) ที่แท้จริงของเรากับธนาคารที่เราติดหนี้ ต้องเอา “ความจริง” ไปพูดกับทางธนาคาร   2) […]

42. แง่คิดจากตลาดร้อยปีบางหลวง รศ. ๑๒๒

แง่คิดจากตลาดร้อยปีบางหลวง รศ. ๑๒๒ ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ บทความนี้ขอเป็น “นวัตกรรมบทความ” เล่าด้วยภาพ ภาพที่ ๑ เปิดฉากด้วยทางเข้าตลาดบางหลวง รศ. ๑๒๒ การเดินทาง อยุ่รอยต่อ บางเลน(นครปฐม)-สองพี่น้อง(สุพรรณบุรี) เหลือ ๑๖ ก.ม. ถึงวัดไผ่โรงวัว จากกรุงเทพฯ วิ่งเส้นบางบัวทอง-สุพรรณฯ. ถึงสี่แยกนพวงศ์ เลี้ยวซ้ายไปบางเลน ประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเศษ ก่อนเข้าตัวอำเภอบางเลน ๑ ก.ม. ให้เลี้ยวขวา ตามป้ายบอกทางตลาดร้อยปีบางหลวง ไปตามทางประมาณ ๑๕ ก.ม. ภาพที่ ๒ บางร้านขายเจ ให้แง่คิดดีมาก ภาพที่ ๓ สภาพบ้านเรือนสมัยก่อน ภาพที่ ๔ ขนาดวันอาทิตย์ยังเงียบเหงา นี่คือสภาพที่เป็นจริงของชนบทไทยภาคกลาง ภาพที่ ๕ ตลาดแลดูเงียบๆ คล้ายตลาดเก่าศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ภาพที่ ๖ […]

41. แง่คิดจากวัดไร่แตงทอง

แง่คิดจากวัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ ก่อนอื่น ต้องแวะไหว้ “พระอุปคุตเถระ” คนพม่าและภาคเหนือเชื่อว่า ได้กราบได้ไหว้พระอุปคุตแล้วจัก “กินบ่เสี้ยง” คือมีกินไม่หมดไม่สิ้น ในช่วงวันหยุดเทศกาล “วันแม่” ผมได้มีโอกาสไปเที่ยว  ทำบุญ ไหว้พระ และดูท้องถิ่น ชนบท เสร็จแล้วยังได้ไหว้ “พระมาลัยเถระ” ซึ่งเชื่อกันว่าล่วงรู้ความลับ “นรก” และ “สวรรค์” อยากไปเยือน “ตลาดร้อยปีบางหลวง รศ. ๑๑๒” มานาน  ได้ไปสมใจในคราวนี้เอง เช่นเดียวกัน  ได้เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทองมาหลายเหรียญ อยากไปวัดท่าน ไปนมัสการ ไปไหว้ ไปขอพร  ก็ได้ไปสมใจในคราวนี้ วัดไร่แตงทอง ไปได้หลายเส้นทาง จากเมืองกาญจน์ ก็มาได้ เข้าทางท่ามะกา หรือลูกแก่ จากทางนครปฐม ก็มาบางเลน ผ่านกำแพงแสน แวะเข้าตรงเส้นทาง […]

40. แง่คิดจากผู้นำมืออาชีพ

แง่คิดจากผู้นำมืออาชีพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ 14 สิงหาคม 2555 สรุปความจากบทสัมภาษณ์โดยคุณสุรนันท์ เวชชาชีวะ รายการ สุรนันท์ tonight “เรื่องเล่าจากเนติบริการ” ศ. ดร. วิษณุ เครืองาม เจ้าของผลงานหนังสือชื่อดัง เล่ม 1  เล่าประสบการณ์ทำงานที่ “ทำเนียบรัฐบาล” กับนายกรัฐมนตรีแต่ละคนที่แตกต่างสไตล์ และหลากหลายรูปแบบ “โลกนี้คือละคร” เล่ม 2 ตีแผ่เบื้องหลังคนเป็นนายกรัฐมนตรี และคนเป็นรัฐมนตรี “เลาเรื่องผู้นำ” เล่ม 3 หลังฉากการเมืองของนักแสดงต่างๆ ที่ “ทำเนียบรัฐบาล” “หลังม่านการเมือง” สิ่งที่อาจารย์วิษณุต้องการสื่อ “คนเรามีส่วนดีและไม่ดี “ ส่วนสำเร็จไม่สำเร็จ” “ไม่มีคนเลวหมด หรือดีหมด” รู้จักเอาส่วนดีมาใช้ ส่วนไม่ดีไม่ต้องเห็น แง่ดีของนายกฯ คนไหนคืออะไร แง่ไม่ดีคืออะไร? ท่านพุทธทาสบอก “หาคนดีเหมือนหาหนวดเต่าเขากระต่าย” พระพยอมเทศน์สอนเสมอว่า […]

แง่คิดจากนักการเมืองมืออาชีพ

แง่คิดจากนักการเมืองมืออาชีพ ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์                                                                                                                                                       ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่าที่มาคุยเรื่องการเมือง “เรื่องการเมืองผมถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน อยู่ที่ว่าใครพร้อมมากพร้อมน้อย ที่ผมอยู่ ๖ ปี ถือว่าทำหน้าที่พอควร ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็คิดว่าพอแล้ว การเข้าไปการเมือง เช่น อาจารย์ทะนง เข้าไปแล้วประเทศดีขึ้นไหม ทำได้ดีขึ้นไหม? ถ้าเข้าไปแล้ว ทำอะไรไม่ได้ ได้เห็นในสิ่งที่ไม่อยากเห็นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเข้าไป แต่ถ้าเข้าไปแล้วลูกหลานได้ประโยชน์ ก็เป็นอีกเรื่อง” “ฟังแล้วไม่ชัดเจน ว่าเล่นหรือไม่เล่น?” “คำถามที่ ๒ ชีวิตของอาจารย์ ตอนเป็นอาจารย์สอนหนังสือกลับมารับใช้ชาติ ๖ ปีที่ไปบริหารกระทรวงต่างๆ ชอบชีวิตแบบไหน?” ไม่เหมือนกัน สมัยเป็นอาจารย์ เป็นชีวิตเต็มไปด้วยความฝัน ได้ไปเรียนการตลาด วิชาเกลียดที่สุดคือการตลาด ก็ได้แต่คิดว่าควรเรียนต่อไหม? เป็นศิษย์ดร. ทะนง ฝันอยากทำวิจัย ก็ไม่ได้ทำ แต่มีความสุขมากเพราะมีลูกศิษย์ลูกหามาก พยายามสอนเต็มที่ หน้าที่ครูอาจารย์ลูกศิษย์จบแล้วไม่มีงานก็ช่วย ทำงานก็ช่วย อยากเรียนว่าอาชีพดีที่สุดคือ […]

38. งบประมาณรัฐบาลไทยปี 2556

งบประมาณไทยปี 2556 ประเด็น ร้อนทางการเมืองในสัปดาห์หน้าคงหนีไม่พ้นการอภิปราย “ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556″ ในวาระที่ 2 และ 3 ของสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคมนี้ ก่อนจะส่งต่อให้กับวุฒิสภาอภิปรายและนำไปใช้เป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ ประมาณ 2556 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป คลิกอ่านบทความ “งบประมาณปี 2556” ฉบับ “เต็ม”  ได้ที่ลิงก์นี้ http://www.siamintelligence.com/government-budget-2556/ ผมมีข้อสังเกตสั้นๆ ว่า เราให้ความสำคัญแก่ “ศาสนา วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม” น้อยมาก จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือปีแห่ง “พุทธชยันตี” และเราเป็น “เมืองพุทธ” งบปี 2556 รัฐมีเงินอุดหนุนจำนวน “ศาสนา วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม” เพียงแค่ 20,055.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น ที่น่าตกใจส่วนใหญ๋เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการกีฬา (ซึ่งจัดกันมากี่ปี […]

37. เลี่ยงเชียงโมเดล: บุญ-แบงก์-บันเทิง

คอลัมน์    How to Win ฉบับ PDF คลิกดาวน์โหลดที่นี่ แนะนำให้อ่านฉบับPDF เพราะมีภาพและสีสันสวยงามกว่า Web Edition บทความที่ 38 เผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์เชียงใหม่ธุรกิจ และเว็บไซต์   www.druthit.com เขียนให้อ่าน เป็นวิทยาทาน  ฟรี นำไปเผยแพร่ต่อได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ (จะระบุชื่อ-สกุลไว้อ้างอิงก็ถือเป็นการให้เกียรติ จะไม่ระบุ จะละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ไม่ว่า) เลี่ยงเชียงโมเดล    ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ Research Director  MBA & DBA Program, Deming Business School, W.H. Taft University www.demingbusinessschool.com หนังสือพิมพ์เชียงใหม่ธุรกิจ วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2555   ร้าน 7-11 ที่มีแผงหนังสือ ถ้าค่อยๆ สังเกต […]

36.ปมเด่น ปมด้อย

ทฤษฎีเฮง: ปมเด่น ปมด้อย ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ เชิญคลิกอ่านไฟล์ PDF โดยดาวน์โหลดที่นี่ คอลัมน์    How to Heng ต้นฉบับ 4 สิงหาคม 2555                 เพื่อนๆ นักขายครับ ตอนนี้ผมขอนำเสนอทฤษฎีเฮงว่าด้วย “ปมเด่น-ปมด้อย” คนที่ดวงจะเฮง ชะตาจะรวย ต้องกล้าคิด กล้าพูด กล้านำ กล้าทำ กล้าเสนอ  “ปมเด่น” ที่มีอยู่ในตัว ขณะเดียวกันก็เก็บ “ปมด้อย” ที่มีไว้ให้ได้ มิให้ปรากฏ ผมขอยกตัวอย่างดารานักแสดง 2 คน คือ ตุ๊กกี้ กับโก๊ะตี๋ แทบทุกคนจะคิดตรงกันว่า ทั้งคู่นี้โหงวเฮ้งไม่ดี บุคลิกแบบนี้ มาสมัครงานไม่อยากรับหรอก แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทั้งสองคนสามารถแสดง “ปมเด่น” กลบ “ปมด้อย” สุดท้ายคนไทยทั้งประเทศต่างยอมรับว่า ทั้งคู่นี้มากด้วยความสามารถ ทั้งเก่ง ทั้งเฮง […]

35.ชนะแบบครูบาศรีวิชัย

คอลัมน์    How to Win                                                         วิถีชนะแบบครูบาศรีวิชัย    ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ Research Director  MBA & DBA Program, Deming Business School, W.H. Taft University www.demingbusinessschool.com หนังสือพิมพ์เชียงใหม่ธุรกิจ วันพุธที่  1 สิงหาคม 2555   ช่วงที่เขียน อยู่ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษา ผมนึกถึงครูบาที่เป็น “ตนบุญ” อยู่ 1 รูป ท่านได้นำคณะศรัทธาลงมือสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 เวลา 10.00 น. เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วเนาวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ จนบัดนี้ เวลาผมขึ้นดอยสุเทพครั้งคราใด ถ้าขับรถขึ้นดอยเอง ก็จะขับช้าๆ พนมมือไหว้ท่าน […]

34. ข้อคิดวันแม่

ความรู้สึก ความผูกพัน ที่มีกับแม่ สื่อสารผ่านไอที เขียนโดย อุทิส ศิริวรรณ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ วันแม่ปีนี้ สำหรับผมไม่แตกต่างไปจากวันแม่เมื่อปีกลาย ยังเป็นโลกของผู้อาดูรสูญสิ้นทุกสิ่งประดุจเดิม แม่ผมเสียเมื่อปีกลาย…2554 เป็นปีแรกที่ผมรู้สึกเคว้งคว้าง อ้างว้าง ว้าเหว่ หงอยเหงา เดียวดาย เงียบ มืดแปดด้าน ก่อนสงกรานต์ปีที่แล้ว แม่ลาจากผม จนถึงบัดนี้ไม่หวนกลับ ไม่มีคำ “อำลา” เหลือไว้แต่ภาพถ่าย บันทึกไว้เป็นรอย “อาลัย” วันที่แม่ลาจาก ผมมิมีแม้โอกาสจะได้นั่งพูดคุยกับแม่ ปรับทุกข์กับแม่ บอกเล่าความสุขให้แม่ฟัง ไม่มีโอกาสที่จะได้พาแม่ไปกินข้าว ไปวัด ไปเลี้ยงพระเลี้ยงเณร เอาเงินให้แม่ใช้ เอายาให้แม่กิน ดังที่เคยทำ ด้วยติดงานที่ฮ่องกง บินกลับมาร่วมงานศพไม่ทัน  ได้ทันเห็นก็เฉพาะแต่ “ลอยอัฐิ” กองกระดูกเรียงราย เสียงโทรศัพท์ทางไกล กลางดึกตี 2 เวลาเกาะฮ่องกง ผมรู้สึกมึนงง เพราะกำลังหลับสนิท ต่อเมื่อตื่นจากฝันรุ่งอีกวัน คิดและนึกสักปานใด ก็ยังทำใจไม่ได้ ว่าแม่เราตายแล้ว…ตายจากเราไปแล้วจริงๆ บางครั้งแม้พยายามจะเลือกแล้วก็เลือกไม่ได้ […]

1 18 19 20 21 22 24