๒๔๖. บทความวิชาการพระไตรปิฎกศึกษา ตอน ๑ “คัมภีร์พุทธวงศ์และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี”

๔.๑๐.๒๕๖๒ บทความวิชาการ พระไตรปิฎกศึกษา ตอน ๑ “คัมภีร์พุทธวงศ์และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี” อุทิส ศิริวรรณ เขียน   สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง —— เมื่อ “อายุ” ล่วงเลยมาถึงวันเวลาอันเหมาะสม ผมก็มีเวลา “เรียนรู้” ปริยัติคือพระไตรปิฎก ที่สนใจและอยากศึกษา ทว่า “ชีวิต” และ “โชคชะตา” ที่ขับเคลื่อนด้วย “ความไม่มั่นคง” และ “ความไม่แน่นอน” ทำให้ผมต้องหันไปทำการอื่นๆ เพื่อสร้างตัว สร้างฐานะ สร้างรายได้ จนมั่นคงระดับหนึ่ง จึงมีเวลาศึกษา “ปริยัติ” คือ “พระไตรปิฎก” —— ผมอาจมีอุปนิสัย เหมือนนักอักษรศาสตร์ทั่วไป คือเวลาอ่าน “ตำราหลัก” หนังสือหนัก หนา และเนื้อหาลุ่มลึก เข้าใจยาก อย่าง “พระไตรปิฎก” ผมจะชอบอ่านที่เป็น “ตัวเล่ม” ไม่ชอบอ่าน “อีบุ๊ก” […]

๒๓๙. ความสำเร็จไม่มีลางบอกเหตุ ความล้มเหลวไม่มีนิมิตหมาย

๑๑.๙.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ความสำเร็จไม่มีลางบอกเหตุ ความล้มเหลวไม่มีนิมิตหมาย” อุทิส ศิริวรรณ เขียน  ——- เรื่องราวที่จะยกมาเป็น “กรณีศึกษา” คนสู้ชีวิตต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของ “ปาโบล เอสโกบาร์” มหาเศรษฐีเจ้าของฉายา “ราชาโคเคน” ที่ติดอันดับ ๗ มหาเศรษฐีของโลกติดๆ กันถึง ๗ ปี ตั้งแต่ปี ๑๙๘๗-๑๙๙๓ ขณะอายุน้อยมากเพียงแค่ ๓๘-๔๔ ปี ในไทย เราอาจไม่คุ้นเคย คุ้นหูชื่อของชายคนนี้ แต่ที่นิวยอร์ก ชื่อเสียงของเขาโด่งดังมาก คนในวงการธุรกิจรู้จักเขาดี จากสินค้าชื่อดังของเขา ซึ่งยังคงขายดิบขายดีกระทั่งถึงบัดนี้ นั่นคือ “โคเคน” ซึ่งเหนือชั้นกว่า “กัญชา” —– ทุกวันนี้ ผมครุ่นคิดว่า “ทุกความสำเร็จ มีลางบอกเหตุชัดเจนหรือไม่” คำตอบคือ “ไม่มี” ทุกวันนี้คนเรามี “ช่วงแห่งชีวิต” คล้ายคลึงกัน เรียนหนังสือ ทำงาน แต่งงาน หรือไม่แต่งงาน มีครอบครัว […]

๒๓๖. ทำดีเอาหน้า สร้างภาพเอาเงิน

๑๖.๘.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ทำดีเอาหน้า สร้างภาพเอาเงิน” อุทิส ศิริวรรณ เขียน ——–   คนที่ใจบุญสุนทาน จิตใจจะคิดเพียงว่า “ให้” ดังนั้น คนที่ใจบุญสุนทาน พอทำบุญทำทานระยะหนึ่ง จะประสบพบพานกลุ่มคนที่เป็นปุถุชน ทั้งประเภท “เอาหน้า” และ “เอาเงิน” เป็นเช่นนี้ แต่ไหนแต่ไรมา  นับพันนับหมื่นปี ผู้รู้จึงสอนให้คนที่ชอบทำบุญทำทาน “วิจัย คัดเลือก เลือกเฟ้นแล้ว จึงทำทาน” สอนให้เกิด “หิริ ความละอาย” และ “โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป” อย่าทำตัวเป็นคนปราศจากหิริโอตตัปปะ อย่าทำตัวเป็น “คนกล้าเพียงดังกา” คือ “คล้ายกับอีกา” ไปไหนมาไหน ก็พูดพล่าม “ของกู ของกู” เดินตามหาแต่ “เงิน”  เปล่งเสียงร้องระงมรอบสารทิศว่า “เงินอยู่ไหน เงินอยู่ไหน” การทำบุญทำทานอันประกอบด้วยปัญญา คือการระลึกรับรู้ถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของผู้ให้ ของผู้รับ […]

๒๓๓. เทคโนโลยีสั่นสะเทือนทุกวงการ

บทความที่ ๒๓๓ “เทคโนโลยีสั่นสะเทือนทุกวงการ Technology Disruption” —– ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ —– ผมสนใจ มอง “โลก” กว้างๆ พยายามไม่จำกัดแค่ “สยาม” ซึ่งยังคงวนเวียนอยู่กับ กลุ่มคน “ขี้ขโมย” “ขอทาน” “ปรสิต” คล้ายสมัยสงครามเย็น ยุคที่คอมมิวนิสต์และทุนนิยม ปะทะกันดุเดือดในช่วงกึ่งพุทธกาล ——- วันนี้ “ความเชื่อ” กำลังถูกเทคโนโลยี “สั่นสะเทือน” อย่างน้อย ๒ เทคโนโลยี Robot เทคโนโลยีหุ่นยนต์ AI (Artificial Intelligence) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ disrupt สั่นสะเทือน ทุกวงการ ในยุคนี้ แต่เมืองไทย ยังคงวนเวียน “แก้” และ “รื้อ” กฎหมาย ออก “กฎหมาย” เอื้อประโยชน์ พวกตน และพวกพ้อง ! ——- […]

๒๓๒. ข้ออรรถ ข้อธรรม “ปรสิต ขี้ขโมย และขอทาน”

  บทความที่ ๒๓๒ ๑๗.๕.๒๕๖๒ ข้ออรรถ ข้อธรรม “ปรสิต ขี้ขโมย และขอทาน” อุทิส ศิริวรรณ เขียน ——- ผมพูดเสมอๆ ว่า “แพ้เป็นโจร ชนะเป็นเจ้า” จะเอาชนะคนอาสัตย์อาธรรม์ได้ทุกวันนี้ นอกจากมือจะต้องไม่มีแผลแล้ว ยังต้องมี “ความคิดความอ่าน” ที่รู้เท่าทัน “กลุ่มคนที่มีปืน” “กลุ่มคนที่มีอำนาจ” ซึ่งนวนิยายเรื่อง Atlas Shrugged เรียกกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์ “ชนะเป็นเจ้า” แยกออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ปรสิต กลุ่ม ๒ คือ ขี้ขโมย กลุ่ม ๓ คือ ขอทาน แนวคิด คน ๓ กลุ่มนี้ น่าสนใจ เพราะกำลังแพร่หลายในประเทศที่เผด็จการ มีอำนาจ ยุคนี้เป็นยุคที่ ตัวกู พวกกู ถูก ตัวมึง […]

๒๓๑. คอลัมน์ ข้ออรรถ ข้อธรรม

๒๓๑. ข้ออรรถ ข้อธรรม “มหัศจรรย์ – ปาฏิหาริย์ – อานุภาพ” อุทิส ศิริวรรณ —— ผมสนใจ “ความเฮง” และค้นพบว่า “มโนกรรม” มีความสัมพันธ์กับ “มหัศจรรย์ – ปาฏิหาริย์ – อานุภาพ” —–  

230. เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น ตอน ๒๐

๒๓๐. เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น ตอน ๒๐ จิตใจญี่ปุ่น เรียนรู้แบบตะวันตก อุทิส ศิริวรรณ เขียน ๘.๕.๒๕๖๒ —– วัฒนธรรมญี่ปุ่น วิเคราะห์ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าเกิดจากการหลอมรวม ๒ คำสอนเข้าด้วยกัน กล่าวคือ “คำสอนพุทธศาสนา” กับ “คำสอนขงจื๊อ” เมื่อ “บูรณาการ” ๒ สิ่งเข้าด้วยกัน จึงมีอิทธิพล ส่งผลให้คนญี่ปุ่น มีจิตสำนึกเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมประเพณีแบบญี่ปุ่น มีแบบแผนแบบญี่ปุ่น มีนิสัยแบบญี่ปุ่น และมีมรรยาทแบบญี่ปุ่น รวมถึงมี “ความคิดอ่าน” แบบญี่ปุ่น ที่น่าสนใจศึกษาเรียนรู้ในประเด็น “สร้างคนให้มีคุณภาพ” แบบมาตรฐานของญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นเปิดประเทศเมื่อสิ้นยุคโชกุน ในสมัยเมจิ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๑๑-๒๔๕๕ การปฏิรูปในสมัยเมจิ รัฐบาลญี่ปุ่น มีแนวคิด มีเป้าหมายนำ “วัฒนธรรมตะวันตก” มาประยุกต์ใช้ ปรับการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นให้มีความทันสมัย และมีการทบทวน “วัฒนธรรมญี่ปุ่น” โดยเฉพาะ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม […]

229. เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น ตอน ๑๙

๗.๕.๒๕๖๒ เรื่องเล่าจากญีปุ่น ตอน ๑๘ เล่าเรื่องวิจัยทางการศึกษา “การจัดการ “คน” ให้มีคุณภาพแบบญี่ปุ่น” อุทิส ศิริวรรณ —— งานวิจัยเรื่อง “การสร้างคนคุณภาพแบบญี่ปุ่น” โดย ศาสตราจารย์วรินทร วูวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์ และอาจารย์ยูคิเอะ ณ นคร  สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานวิจัยดังกล่าว ก็เหมือนหนังสือดีๆ ทั่วไปที่เก็บไว้ตามหิ้ง ไม่ได้ขึ้นห้าง ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ๒๕๖๒ นี้เอง จำนวนเพียงแค่ ๕๐๐ เล่ม เห็นว่าเนื้อหางานวิจัยสอดคล้องกับประเด็นที่ผมสนใจ จึงขอสรุปให้ฟังโดยย่อ ในหน้า ๖-๗ อาจารย์วรินทร และคณะ สรุปข้อค้นพบจากการเข้าไปสังเกตใกล้ชิด ๒ ครั้ง ในปี ๒๕๓๘ และ ๒๕๔๕ โดยเข้าไปเยี่ยม “โรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น” […]

228. พระเจ้าอโสกแห่งกรุงสยาม

เป็น “ข้อเขียนที่เร็วที่สุด” เขียนในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒ เขียนเสร็จในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒ รวม ๓ วันเสร็จ ความหนา ๗๔ หน้า กระดาษ A4 งานเขียนเทิดพระเกียรติ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี    “พระเจ้าอโสกแห่งกรุงสยาม” อุทิส ศิริวรรณ เขียน     “กฤษฎาภินิหารอันจะบดบังมิได้ของรัชกาลที่ ๓” ตอน ๑ “ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ประสบการณ์อันสืบเนื่องกับรัชกาลที่ ๓” เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก หลักสูตร Ph.D. & D.B.A. in Business Administration (International Program)  Charisma University, Providenciales, […]

224. การบริหารรัฐกิจแบบจีน : ขุนนางดี ขุนนางเลว ตอน ๑

๒๕.๔.๒๕๖๒ ขุนนางดี ขุนนางเลว ตอน ๑  ที่มาจาก คัมภีร์ฉางต่วนจิง  ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดคัมภีร์รัฐประศาสนศาสตร์ การเมือง การปกครอง การบริหารราชการแผ่นดินแบบจีน ผู้แต่งได้แบ่ง “ประเภท” ของ “ขุนนางดี” เอาไว้ ๖ ประเภท ๑. ขุนนางราชครู ๒. ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ ๓. ขุนนางจงรักภักดี  ๔. ขุนนางชาญฉลาด ๕. ขุนนางสุจริต ๖. ขุนนางซื่อตรง ส่วน “ขุนนางเลว” คัมภีร์ “ฉางต่วนจิง” ก็จัดแบ่งเอาไว้เป็น ๖ ประเภทเช่นกัน ๑. ขุนนางกะล่อน ๒. ขุนนางสอพลอ ๓. ขุนนางเพ็ดทูล ๔. ขุนนางโฉดชาติ ๕. ขุนนางปล้นชาติ ๖. ขุนนางล้างชาติ ยุคนี้ เป็นยุคที่ “บ้านเมือง” ระส่ำระสายมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวจริงๆ […]

1 2 3 24