94. lecture1กลยุทธ์+แผนธุรกิจSMEs

Lecture 1

Prof.Dr. Uthit Siriwan
กลยุทธ์+แผนธุรกิจ SMEs
บรรยายระดับปริญญาโท
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สำหรับธุรกิจ SMEs
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บางแสน ชลบุรี เวลา 08.00-18.00 น. ห้อง M 905
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556

————————————

 

 

 

 

หัวข้อ

“กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตลอดจนรูปแบบการลงทุนแบบร่วมทุน

และระดมทุนมาจัดทำและพัฒนา

เป็นแผนธุรกิจและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

และสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจหรือกิจการ”

สรุปเนื้อหาบรรยาย ช่วงเช้า

 

การเรียน SMEs มุ่งเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการ “ความสำเร็จ”

แต่ก่อนจะสำเร็จ ต้องเผชิญกับสภาวะ “เจ๊ง เจ็บ จน”

ตามสถิติที่มีการเก็บตัวเลข พบว่า SMEs ทั่วไป จะเผชิญกับสภาวะ

“เจ๊ง เจ็บ จน” เมื่อตอนอายุประมาณ 40 ปี ดังภาษิตฝรั่งว่า

Life begins at 40 วิถิของ SMEs เหมือน “นกอินทรี” ที่ต้องเผชิญสภาวะ

“จงอยปาก” หลุด ” “ขนร่วง” และ “เล็บหลุด” เมื่ออายุย่างเข้า 40

นกอินทรี มีทางเลือก 2 ทาง

โดยทางเลือกแรก “ยืนป่วย รอวันตาย”

ทาง เลือกที่ 2 “ต่อสู้” ก็จะดิ้นรน บินชนหน้าผาให้จงอยปากแตก เอาเล็บฝนหน้าผาให้เล็บหลุด และจะทรมานอีก 6 เดือน หลังจากนั้นก็จะอายุยืน
ยาวไปจนถึง 80 ปีเป็นอย่างน้อย

วิชานี้ เน้น “กลยุทธ์” ที่หลากหลาย บูรณาการเข้ากับ “แผนธุรกิจ” SMEs
การเริ่มต้น “กลยุทธ์” ที่ดี ต้องเริ่มจาก
1) Target ต้องมี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจน โดยมีหลักคิด หลักทำงานที่ถูกต้อง
เพราะเมื่อเริ่มต้น “ถูก” ก็จะนำไปสู่ “ความสำเร็จ”
2) OS Model กรอบแนวคิด Others + Self
Others’ Man + Self Man
Others’ Money + Self Money
Others’ Mind + Self Mind
ต้องใช้ “คานงัด” ใช้กฎ 80/20 ทำงาน เพื่อย่นระยะทาง “ความสำเร็จ”
ได้มีการยก “กลยุทธ์ของ ไบรอัน เทรซี่” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 นักคิด นักทำ
ที่ประสบความสำเร็จ ในระดับเดียวกับ “นโปเลียน ฮิล” และ “แอนโธนี
รอบบินส์” โดยเล่าถึงชีวิตของไบรอัน ที่เดินทาง 5 ทวีป 80 ประเทศ
8 ปี แล้วพบว่า “ล้มเหลว” เพราะไม่ได้ “เรียน” หนังสือ หลังจากน้ันเขาก็
ปรับเปลี่ยนชีวิต ใช้ “คานงัด” ใช้กำลังคนอื่น ใช้เงินคนอื่นทำงาน ได้กำลัง
ใจจากคนอื่น จนประสบความสำเร็จ กลายเป็น “คนดัง” ระดับโลก

ได้บรรยายสรุปว่า SMEs จะต้องใช้กลยุทธ์ 2 อย่างคือ Target & OS Model
และให้แง่คิดโดยยกตัวอย่างกรณีศึกษา “เจ้เกียว” เชิดชัยทัวร์ โคราช
และ “สยามแก๊ส” ของ “เสี่ยเล้ง” เป็นกรณีศึกษาเรื่องที่ต้องตระหนัก
และสมควรทำความเข้าใจเพื่อมิให้ “เจ๊ง เจ็บ จน” โดยเฉพาะ “กฎหมาย”
ธุรกิจ อาญา แพ่ง ลิขสิทธิ์ สคบ.

นอกจากนี้ ยังแนะนำให้อ่านหนังสือขายดี International Best Seller
คือ SWAY หรือ “เขว” ของ Ori Brafman & Rom Brafman แปลโดย พรเลิศ อิฐฐ์ ควบคู่กับหนังสือ “ปลุกความยิ่งใหญ่สไตล์ 3 กูรู”
เรียบเรียงโดยพันโทอานันท์ ชินบุตร และหนังสือ “การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร” โดย รศ. ดร. กัลยา วานิชย์บัญชา และ “การวัดผลองค์กรแบบสมดุล” (Balanced Scorecard) โดย ผศ. ดร. นภดล ร่มโพธิ์ฅ
ที่ให้ัอ่าน “หลากหลาย” เพราะจะได้ความรู้ที่เป็น “กลยุทธ์” ที่นำไปสู่
ความสำเร็จ ในการจัดทำ “แผนธุรกิจ” เพื่อมิให้ “เจ๊ง เจ็บ จน”

จากนั้นได้นำเสนอ “กลยุทธ์การคิด” สำหรับ SMEs โดยได้นำ “แง่คิด” ของไบรอัน เทรซี่ เกี่ยวกับแนวคิด “ผึ้ง”
ว่า ถ้าอยากได้ “น้ำหวาน” จากผึ้ง ก็ต้องค่อยๆ รมควัน อย่า “จู่โจม” เปรียบเหมือนกับ “SMEs” ที่อยากเฮง
อยากรวย ต้อง “ให้เกียรติ” “ให้ความเคารพนับถือ” ให้โอกาส พูดเพราะกับผู้คนรอบตัว เมื่อ “ให้เกียรติ”
คนรอบข้าง สุภาพ อ่อนน้อม ก็จะได้รับเกียรติ ได้รับยกย่อง และมีโอกาสจะลิ้มชิมรส “น้ำผึ้ง” ได้

3) การไม่เอ๊ะ ไม่อ๊ะ ไม่ลังเล ไม่สงสัย ไม่คิดลบ เพราะส่วนใหญ่ที่ SMEs ล้มเหลวในการบูรณาการ
“กลยุทธ์” กับ “แผนธุรกิจ” เพราะมัวแต่ลังเล “พูดมากกว่าทำ” สงสัยเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ในตอนนี้ได้ยกตัวอย่าง คนที่ “สำเร็จ” โดยไม่เอ๊ะ ไม่อ๊ะ ไม่ลังเล ไม่สงสัย อย่างเช่น “เถ้าแก่น้อย”
ที่ขยัน มุ่งมั่น คั่ว “เกาลัด” ขาย แล้วยังไม่หยุดความพยายาม ยังเดินหน้า “วิจัย” โดย “ค้น” และ “คว้า”
จนได้สินค้าประจำตัวคือ “สาหร่าย”

4) Modelling : การถอดต้นแบบ ได้ยกกรณีศึกษาตัวอย่าง “SMEs ญี่ปุ่น” ที่ถอดต้นแบบความสำเร็จของ
SMEs อเมริกา แล้วเจริญรอยตามจนญี่ปุ่นได้ก้าวเป็น “มหาอำนาจ” ได้ยกตัวอย่างกิจการขายตรงเช่น
AMWAY ที่เน้น “การถอดต้นแบบนักขายที่สำเร็จ” ได้ยกตัวอย่าง คุณจินตนา พรจะเด็ด นักขายตรงระดับ
“พันล้านบาท” ที่เป็นศิษย์เก่าคณะนี้ รุ่นแรก ในสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จ
และเป็น “ต้นแบบ” ให้นักขายรายอื่นๆ เจริญรอยตาม

5) Air Condition: ได้พูดถึง “เงื่อนไข” และ “สภาวะ” ที่ผู้ประกอบการ SMEs ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้
ยกตัวอย่างการใช้สถิติชั้นสูงโดยนำเสนอแนวคิด “การวิเคราะห์ตัวแปรต้น, ตัวแปรตาม, และตัวแปรที่ควบคุม”
ซึ่งนำมาปรับใช้ได้กับการบูรณาการกลยุทธ์กับธุรกิจ SMEs ได้ยกตัวอย่าง 7-11 ว่าประสบความสำเร็จ
เพราะใช้หลัก “สถิติ และการคำนวณ” ตั้งแต่นับจำนวนคน, ความหนาแน่นของประชากร, กลุ่มตลาดเป้าหมาย,
พฤติกรรมผู้บริโภค และการนำเสนอสินค้าและบริการที่สะดวกรวดเร็ว ได้ยกตัวอย่าง “คน” ต้องปรับตัวเข้ากับ
อุณหภูมิที่ “คงที่ ” และ “เหมาะสม” จึงจะไม่เจ็บป่วย เทียบได้กับอุณหภูมิ 25 องศา ร้อนเกินระดับ 40 องศา
กิจการ SMEs ก็อยู่ไม่ได้ การดำเนินกิจการ SMEs ที่ “เย็นเกิน” ช้าเกินไป ไม่ทันคู่แข่ง ปรับตัวไม่ทันก็ “เจ๊ง เจ็บ จน”
ได้ ในการสอน ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของการนำหลัก “บัญชี” “การเงิน” “การลงทุน” “ดอกเบี้ย” และ “ภาษี”
มาใช้กำหนด “กลยุทธ์” เพื่อให้ “แผนธุรกิจ” สำเร็จเป็นรูปธรรม ได้ยกตัวอย่าง พ.ท. ดร. บุญมา อิ่มวิเศษ
เจ้าของแบรนด์ Starwells ที่ทำธุรกิจสำเร็จระดับ “พันล้านบาท” เพราะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตลอดเวลา

6) Action: ได้ย้ำว่า SMEs ต้องให้ความสำคัญแก่การ “นำ” โดยการลงมือ “ทำ” จึงจะสำเร็จ โดยหลังจากถอดแบบ
คน หรือกิจการที่ “สำเร็จ” ก็ต้องเอามา “ทดสอบ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่าจะได้ “ตราประทับแห่งความสำเร็จ”
ในแบบและพิมพ์เดียวกันกับคนที่ “สำเร็จ”

ช่วงบ่ายของการบรรยายสรุประดับปริญญาโทฯ ได้นำเสนอว่า กลยุทธ์ที่สำเร็จทั่วโลก ต้องเน้นที่

1) คุณภาพ จะขายสินค้าหรือบริการได้ SMEs ต้องโฟกัส และเน้นไปที่ “คุณภาพ” เท่านั้น

2) ความแตกต่าง ต้องขายสินค้าที่แปลก แหวกแนว ไม่เหมือนใคร ได้เปิดวีดิทัศน์ที่ออกรายการเส้นทางนักขาย
ข่วง “ฮาวทูเฮง” Nation Channel สัปดาห์ที่ผ่านมาให้ชม โดยรายการดังกล่าว ได้นำเสนอแนวคิด
Good, Great, Excellence, The Best เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่แตกต่างตั้งต้นจากระดับ “ดี”
“ย่ิงใหญ่” “ดีเยี่ยม” จนถึง “ดีที่สุด” และย้ำว่า SMEs ต้องวางกลยุทธ์และเขียนแผนธุรกิจนำเสนอสินค้าและบริการ
ที่ “ดีที่สุด” เท่านั้น อย่าฆ่าตัวตายโดยนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ Average หรือ SO SO เพราะลูกค้าสมัยใหม่ฉลาด
รู้ทัน มีทางเลือกมากมาย
3) เฮง หรือ “ถูกโฉลก” SMEs จะประสบความสำเร็จ ต้องคิด และขายสินค้าที่ “เฮง” ถูกโฉลกกับตนเอง
ได้แนะนำให้แต่ละคนต้อง “เช็คดวง” ตรวจดูดวงตนเองว่า เหมาะสมจะขายสินค้าหรือบริการ “แบบใด”
ใน 3 แบบ กล่าวคือ “สินค้าแนวเกษตรกรรม” “สินค้าแนวพาณิชยกรรม” และ “สินค้าแนวอุตสาหกรรม”

ตอนท้าย ได้มอบงานให้ “นักศึกษา” ทำงานกลุ่ม และเดี่ยว โดยงานกลุ่มให้นำเสนอ “แผนธุรกิจ” ที่ตอบโจทย์
สินค้าทั้ง 3 แนว เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนงานเดี่ยว มอบให้แกะรหัส ถอดต้นแบบ คน หรือกิจการที่
“โดนใจ” ตนเอง ซึ่งบางคนก็เลือก “ตัน ภาสกรนที” บางคนเลือก “เถ้าแก่น้อย” บางคนเลือก “ประภาส ชลศรานนท์”
บางคนเลือก “ชาล็อต โทณวณิก” บางคนเลือกกิจการเช่นกระดาษ Advance Agro บางคนเลือก
“น.พ. ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ”

วันอาทิตย์ที่ 10 ก.พ. มีนัดบรรยายต่อเป็นครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่ 9.00 น. เป็นต้นไป โดยมีอาจารย์พิเศษคือ

พ.ท. ดร. บุญมา อิ่มวิเศษ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทในเครือสตาร์เวลส์ ให้เกียรติเดินทางมาบรรยายด้วยตนเอง

ในช่วงเวลา 13.00-15.00 น.

สรุปเนื้อหาการบรรยาย 10 ก.พ. 2555

มีการขยายความทฤษฎี SWAY หรือทฤษฎี “เขว”  ว่า ปรากฏการณ์ที่กัปตันเครื่องบินสายการบิน KLM พาผู้โดยสารจำนวน 583 คนไปตายหมู่ เป็นตัวอย่างของการตกอยู่ใต้ “แรงผลักดัน” ทางจิตวิทยาที่ “กดดัน” ตัวตนหรือ “อัตตา” ของคนที่
ได้รับยกย่อง ได้รับเกียรติให้เป็นคน “พิเศษ”  เป็น “ผู้นำ” ในกิจการ หรือองค์การ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันต้อง
ตัดสินใจ “เลือก” ทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ซึ่งมีผลกระทบ “ดี” หรือ “เสียหาย” ต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง

มีการยกตัวอย่างทฤษฎี SWAY เปรียบเทียบในเมืองไทย ตัวอย่างเช่นกรณีของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
เป็นตัวอย่างของทฤษฎี SWAY ซึ่งเมื่อมีแนวโน้มทางพฤติกรรมเอียงไปทาง “เชื่อมั่น” ตนเองในระดับ “เกินพอดี”
ก็เข้าข่าย Overheat เครื่องร้อนเกิน จึงเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2549 และเมื่อประชาชน
แยกเป็นสี แยกเป็นกลุ่ม เป็นก๊ก เป็นเหล่า ประเทศชาติก็ “สูญเสีย” ทั้งเงิน เวลา และโอกาสในการขับเคลื่อนประเทศ
ให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งคล้ายกับ “กัปตัน” สายการบิน KLM ไม่ยอมเสียเงิน ไม่ยอมเสียเวลา จึงนำพาผู้โดยสาร
ใปสู่ “หายนะ” เสียเงิน เสียเวลา เสียโอกาส
อีกกรณีหนึ่งคือ “มหาอุทกภัยปี 2554”  ซึ่งการตัดสินใจของคน “ไม่กี่คน” ทำความเสียหายให้นิคมอุตสาหกรรม
เรือกสวน ไร่นา ตลอดจนบ้านเรือน ทรัพย์สิน และที่อยู่อาศัยของผู้คนนับ “หลายล้านคน” ซึ่งจะไม่เกิดกรณีดังกล่าว
ถ้าผู้นำ “ตัดสินใจ” โดยไม่ “ไขว้” หรือ “เขว” แต่เพราะ “เขว” และ “เบี่ยงเบน” ออกจากค่าเฉลี่ย  และเกณฑ์มาตรฐาน
เราจึงได้เห็นประเทศชาติเผชิญ “มหาภัยพิบัติ” อีกครั้งหลังจากไม่ได้เผชิญในรอบกว่า 1 ร้อยปี

ตอนหนึ่งของการบรรยาย ได้พูดถึงแนวคิด “ภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ”  โดยได้นำเสนอข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ รวมถึง สภาความมั่นคงแห่งชาติ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้จัดให้มีวิจัย และการเรียนการสอนหลักสูตร “ความมั่นคงของประเทศ” ได้เล่าเรียนกันถึง “ภัยคุกคามต่างๆ” แต่น่าเสียดายว่า ภาคการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ “ภัยคุกคาม” ก็เลยไม่มีแนวทาง และวิธี “ป้องกัน” มิให้ “สูญเสีย” อันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่รุมเร้ารอบตัว ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยปัจจัยภายในประเทศได้แก่ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ส่วนปัจจัยภายนอกได้แก่ การแพร่ระบาดโรคต่างๆ สายพันธุ์ใหม่ การอพยพของชนกลุ่มน้อยเช่นแรงงานข้ามชาติ หรือชาวโรฮิงญา ภัยพิบัติธรรมชาติ ทั้งจาก ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ ไฟป่า แผ่นดินไหว เทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ ที่นำภัยคุกคามใหม่ๆ มาให้ อาทิ การโจรกรรมข้อมูลทางการเงิน สินเชื่อ ซึ่งจะทำให้เกิดภัยพิบัติทางเศรษฐกิจตามมาอีกเป็นอันมาก

นักธุรกิจ SMEs จึงต้อง “ลอกเลียน” และ “เรียนรู้” ความสำเร็จและล้มเหลวต่างๆ โดยการวิเคราะห์ “จุดแข็ง” “จุดอ่อน”
“โอกาส” และ “อุปสรรค” ที่เรียกว่าเทคนิค SWOT และจะต้องวิเคราะห์และวางแผนป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ
ให้ครบถ้วน และมอง “กลยุทธ์” รวมถึงการวางแผน “กลยุทธ์” ให้รอบด้าน เพื่อป้องกันความเสี่ยง ทั้ง กลยุทธ์การเงินการบัญชี กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การผลิต กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงกลยุทธ์การจัดการ การบริหารคน และวิสัยทัศน์ในการนำองค์การ SMEs เพื่อให้เกิดผลิตภาพต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

 
คำบรรยายยังมีต่อเนื่อง โปรดอดใจรอติดตามอ่าน

Comments

comments