52. รำลึก 9/11

รำลึก 9/11

11.9.2555

ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ

ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก DBA Program

W.H. Taft University, Colorado, USA

 

                วันที่ 11 เดือน 9 เป็นวันที่คนทั้งชาติสหรัฐอเมริกา หวนรำลึกถึง “มหานครนิวยอร์ก” เนื่องในวันที่ 11 เดือน 9

         เมื่อหวนคิดถึงชีวิตที่นิวยอร์ก ผมมีหลายเรื่องที่เก็บมาคิด คิดแล้วก็นำไปทำ

                จะทำสำเร็จหรือล้มเหลว นั่นเป็นอีกเรื่อง!!!

การใช้ชีวิตที่นิวยอร์กหลายปี  ทำให้ผมได้หลักคิด และหลักการทำงานจากชาวยิวหลายเรื่อง

โดยเฉพาะประเด็นของ “การรู้คุณค่าของสรรพสิ่งรอบตัว” โดยเฉพาะแนวคิด “การหาเงิน”
ด้วยการใช้ “มันสมอง” คิด คิด คิด เค้น เค้น เค้น ค้น ค้น ค้น แล้ว คว้า คว้า คว้า เอาเงินมาไว้ให้ได้
ควบคู่กับไปกับ คุณค่า คว้าเงินได้แล้ว ต้องนำเงินมาสร้างคุณค่า คุณประโยชน์ต่อประเทศชาติสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และการพระศาสนา

นิวยอร์ก  เป็นเมืองที่ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ

สิ่งที่น่าทึ่ง บนถนนสายต่างๆ ในเกาะแมนฮัตตัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจทั่วโลก

เกินกว่าร้อยละ 80  นักธุรกิจชาวยิวเป็นเจ้าของกิจการ

ธุรกิจที่ผมเห็นคนยิวเป็นเจ้าของกิจการจำนวนมาก คือ “ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ”

อีกธุรกิจคือ “ธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์”

คนเราลองเป็นเจ้าของกิจการแบบนี้ได้…รวยไม่เลิก

คนยิวที่ผมรู้จักส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ฉลาด รู้จักเอาตัวรอด  รู้คุณค่าของสิ่งที่มีอยู่รอบตัว

หลักปฏิบัติสำคัญที่สุดที่คนยิวใช้แล้วได้ผล ใช้แล้วชนะทันทีคือ  “นิสัยอดออม”

คนยิวสอนลูกหลานให้รู้ว่าเงินทองของมีค่า เป็นของหายาก

หลักคิดที่มีคุณค่าระดับเป็นเลิศซึ่งคนยิวสั่งสอนอบรมกันในครอบครัวจนเห็นผลชัดเจนคือ

         “ทุกอย่างล้วนมีราคา ในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี”

วิธีหาเงินแบบคนยิวที่น่าสนใจคือ

         “ต้องช่วยกันทำมาหากิน ไม่คิดตัดคนกลางออก พยายามกระจายประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่าย
เพื่อให้แวดวงค้าขายมั่นคงแข็งแรง”

การค้าแบบยิว เป็นเรื่องโหดร้ายสำหรับครอบครัวคนไทย เพราะต้องแบ่งปันจัดสรรผลประโยชน์ตั้งแต่ในครอบครัว

แง่คิดข้อแรกเริ่มต้นจากค่าใช้จ่ายในบ้านต้องแชร์กันออก รวมถึงค่าอาหาร และค่าบริการจากคนที่เป็นแม่ ซึ่งลูกๆ ต้องจ่ายให้แม่ด้วย

แง่คิดข้อสองพ่อแม่ต้องให้โอกาสในการหาเงินแก่ลูกๆ โดยต้องมีสินค้าหรือบริการให้ลูกๆ นำไปขายกับคนที่รู้จัก ลูกๆ สามารถตั้งราคาซื้อขายกันเอง ส่วนกำไรที่ได้ก็สามารถเก็บไว้ใช้เองตามแต่ใจ

แง่คิดข้อสามลูกๆ ชาวยิวต้องขบคิดวิธีหาเงินที่แปลกใหม่และแหวกแนวยิ่งๆ ขึ้น คนที่ค้าขายเก่ง คนที่ต่อสู้ คนที่มุ่งมั่น คนที่พยายาม คนที่อดทน คนที่กล้าลองผิดลองถูก คนที่ต้องสู้จึงจะชนะ

แง่คิดข้อสี่ เนื้อหาที่เรียนกันตามสถาบันการศึกษาในประเทศอิสราเอลก็เหมาะเจาะตรงกับความ ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีเปลืองเวลาพูดถึงปรัชญาแนวคิดที่เอาไปใช้การไม่ได้

แนวคิดที่ผมประทับใจมากคือ ต่อคำถามว่า “กรณีเกิดภัยสงครามจนต้องอพยพหลบหนีลี้ภัย จะเอาอะไรติดตัวไปด้วย?”

ปรากฏว่าคำตอบไม่ใช่เงินหรือเพชรพลอย เพราะทันทีที่ถูกแย่งชิง จะสูญสิ้นอย่างสิ้นเชิง

คำตอบที่ถูกต้องคือ “การศึกษา ขอเพียงคนยังมีชีวิตอยู่ จะไม่มีใครแย่งชิงการศึกษาเอาไปได้”

คำสอนครูบาอาจารย์ชาวยิวที่ผมประทับใจมากคือ

“หาก เธอฝันอยากจะเป็นเศรษฐีในวันหน้า ก็ต้องเรียนรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าให้ดี เพราะในอนาคตสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าจะสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้”

จากวิถีของคนยิว ผมได้แง่คิดว่า การศึกษาที่สอนหลักคิดแล้วนำไปเป็นหลักทำจนเกิดมรรคผล มีคุณค่ายิ่งกว่าการศึกษาที่เหลือเพียงแค่วุฒิปริญญาที่ไร้ค่า เป็นเพียงแค่  “กระดาษ” ที่ติดไว้ข้างฝา

                ตอนท้ายขอแนะนำหนังสือ “บุคคลบันดาลใจยิ่งใหญ่ด้วยความดี” ของคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ตอนว่าด้วยสตรีชาวยิวเชื้อสายจีน

               เนื้อหาที่ผมสรุปมาเล่าให้ฟังในวันนี้ เกิดจากการอ่านและการพบเห็นชีวิตจริงของคนยิวทั้งที่นิวยอร์ก อิสราเอล และมหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนครับ

Comments

comments