42. แง่คิดจากตลาดร้อยปีบางหลวง รศ. ๑๒๒

แง่คิดจากตลาดร้อยปีบางหลวง รศ. ๑๒๒
ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

บทความนี้ขอเป็น “นวัตกรรมบทความ” เล่าด้วยภาพ

ภาพที่ ๑ เปิดฉากด้วยทางเข้าตลาดบางหลวง รศ. ๑๒๒
การเดินทาง อยุ่รอยต่อ บางเลน(นครปฐม)-สองพี่น้อง(สุพรรณบุรี)
เหลือ ๑๖ ก.ม. ถึงวัดไผ่โรงวัว จากกรุงเทพฯ วิ่งเส้นบางบัวทอง-สุพรรณฯ.
ถึงสี่แยกนพวงศ์ เลี้ยวซ้ายไปบางเลน ประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเศษ
ก่อนเข้าตัวอำเภอบางเลน ๑ ก.ม. ให้เลี้ยวขวา ตามป้ายบอกทางตลาดร้อยปีบางหลวง ไปตามทางประมาณ ๑๕ ก.ม.

ภาพที่ ๒ บางร้านขายเจ ให้แง่คิดดีมาก


ภาพที่ ๓ สภาพบ้านเรือนสมัยก่อน


ภาพที่ ๔ ขนาดวันอาทิตย์ยังเงียบเหงา นี่คือสภาพที่เป็นจริงของชนบทไทยภาคกลาง


ภาพที่ ๕ ตลาดแลดูเงียบๆ คล้ายตลาดเก่าศรีประจันต์ สุพรรณบุรี


ภาพที่ ๖ สภาพรุ่งเรืองในอดีตสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ “โรงฝิ่น”


ภาพที่ ๗ บอกเล่าความรุ่งเรืองในอดีตก่อนโรยลา

ภาพที่ ๘ หนังทุกเรื่องต้องมี “นางเอก”


ภาพที่ ๙ สารพัดสินค้าจะขาย แต่ต้องเตรียมการไว้เผื่อ “น้ำท่วม” ด้วยจะขนของหนีไม่ทัน


ภาพที่ ๑๐ บางบ้านก็ปิดหนีน้ำท่วมไปอยู่กรุงฯแล้ว แต่ก็ยังดูแลรักษาอยู่ ยังไม่หนีไปแล้วไปลับซะเลยทีเดียว


ภาพที่ ๑๑ อยู่ต่างจังหวัด ยังมีเวลาโทรศัพท์ ไม่ต้องติดแอร์ อากาศสบายๆ


ภาพที่ ๑๒ ก๋วยเตี๋ยวเป็ดยามบ่าย คนเริ่มซาแล้ว

ภาพที่ ๑๓ ส่วนข้าวเกรียบปากหม้อ ต้องใจเย็นนิดนึง อย่าใจร้อนถ้าจะกินปากหม้ออร่อยต้องใจเย็นๆ


ภาพที่ ๑๔ ตลาดโบราณ ส่วนมากมี “ขนมไทย” แบบโบราณ

ภาพที่ ๑๕ สูตรสำเร็จ “ก๋วยเตี๋ยวหมู” เล็กยำ แห้งชาม ร้านนี้ “อร่อย” อย่าลืมแวะชิม

ภาพที่ ๑๖ มีดนตรีสดให้ฟังด้วยแฮะ เข้ากับบรรยากาศ ชอบเพลงแนวไหน ได้ทั้งนั้น “ฟรี”

ภาพที่ ๑๗ บ้านเก่า เล่าเรื่องราวสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ เสด็จเยือนบางเลน
ครั้งกระนั้นบ้านหลังนี้ในสมัยนั้น คงไม่ “ผุพัง” เช่นนี้

ภาพที่ ๑๘ แตกต่างจากบ้านที่มีคนพักอาศัย ได้รับการดูแลอย่างดี

ภาพที่ ๑๙ ก๋วยเตี๋ยวอร่อย ปรุงทีละชาม ใจเย็นๆ ให้เวลาแม่ค้าปรุงให้สุดฝีมือ

ภาพที่ ๒๐ ก๋วยเตี๋ยวอร่อย ช้าแค่ไหนก็รอได้ เริ่มต้นที่ 30 บาท ราคามาตรฐาน เดี๋ยวนี้หมูแพง เห็นใจแม่ค้าเขาเหอะ

ภาพที่ ๒๑ กำลังเรียนป. ๒ มาช่วยอาขายของ แวว “เถ้าแก่น้อย” ฉายตั้งแต่เล็ก ช่วยกันทำมาหากิน เจ๋ง!!!

ภาพที่ ๒๒ ร้านตัดผมติดแอร์ก็มีนะ ทันสมัยจังฮิ

ภาพที่ ๒๓ บ๊ะจ่างแบบบ้านๆ  ไข่เค็มกินกับแกงส้มหรือข้าวต้มก็อร่อยดี อุดหนุนกันเหอะ เงินจะได้สะพัด

ภาพที่ ๒๔ ตามไปชม “วิกโรงหนัง” เมเจอร์ ในสมัยก่อน อิอิ

ภาพที่ ๒๕ ร้านนี้มีกุมารทองด้านหลังลืมสังเกต ถ่ายหลายครั้งก็ “ขาวจั๊วะ” แบบเนี๊ยะ แก้ไม่หาย

ภาพที่ ๒๖ พอบอกกล่าวเล่าสิบ เทคเดียวก็ผ่านฉลุยแบบนี้แหละ ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่

ภาพที่ ๒๗ ร้านนี้กิจการ SMEs ในชุมชนจริงๆ ผลิตแทบไม่ทัน ขออภัย ไม่มีเวลาคุย ส่งยิ้มอย่างเดียว

ภาพที่ ๒๘ สดจากสวน แค่ ๑๕ บาท เท่านั้นเอง

ภาพที่ ๒๙ กุมารทองให้โชค ให้ลาภ ไม่ใกล้ ไม่ไกล แค่ฝั่งตรงข้าม

ภาพที่ ๓๐ กิจการซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ และประดับยนต์รถมอเตอร์ไซค์ ดูจะเวิร์กสุดๆ

ภาพที่ ๓๑ อีกอาชีพที่เวิร์กมากคือ “สร้อยพระ” “รับเลี่ยมพระ” ต่างจังหวัดนิยมกันมาก ศรัทธาบิซซิเนส โอเคครับ

ภาพที่ ๓๒ สีนั้น สีนี้ สินค้าขายตรง เจ้านั้นเจ้านี้ ก็เลยพลอยทำให้ธุรกิจ “เคเบิ้ล” เวิร์กตามไปด้วย

ภาพที่ ๓๓ หม้อหุงข้าว พัดลม วิทยุ ต่างจังหวัดยัง “นิยม” ขายดิบขายดี

ภาพที่ ๓๔ ที่ทึ่งก็คือ “ขายตรง”โฆษณาแบบนี้ มีให้เห็นทั่วไปในตจว.

ภาพที่ ๓๕ ไอเดีย “จับฉ่าย” ขายสะเปะสะปะ ยังใช้ได้ผลในบ้านเรา ผมเรียกว่า “มั่ว” บางคนบอกว่า “ดับเบิลมั่ว” คนชอบครับ

ภาพที่ ๓๖ มือถือ ซิมการ์ด สมาร์ทโฟน ท้องไร่ ท้องนาแถวนี้ ก็อยากติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเช่นกัน

ภาพที่ ๓๗ หลักกิโลเมตรบอกว่า บางหลวง ห่างสองพี่น้อง ๑๖ ก.ม. ห่างสุพรรณฯ ๔๔ ก.ม.

ภาพที่ ๓๘ ปางก่อน ทุ่งนี้เคยมีอดีต ยินเสียงเรไรร้องหวีด อดีตวันวานเรืองรอง

ภาพที่ ๓๙ ไม่มีคำบรรยาย อ่านเอาเอง

ภาพที่ ๔๐ สินค้า ของใช้ในบ้านเรือนในอดีต

 

ภาพที่ ๔๑ ป่าคอนกรีตวกวน หลายคนหลงทางคืนบ้าน เสียงเพลงลูกทุ่งไม่หวาน ทำงานในเมืองกรุงจนลืมบางหลวง

ภาพที่ ๔๒ ของสมัยเก่า หลากหลายไม่แพ้สมัยนี้

ภาพที่ ๔๓ ว่ากันว่า ซิมดีแทค ชื่อ Happy ก็เกิดจากตอนนั่งถ่ายใน “ส้วม” นี่แหละ

ภาพที่ ๔๔ เป็นธรรมดา ป้ายเก่าใครเล่าอยากมอง

ภาพที่ ๔๕ พาหนะที่เคยได้รับความนิยมสูงสุด ก่อน “มอเตอร์ไซค์” จะมาแย่งซีน

ภาพที่ ๔๖ ก่อนจะเป็น IPAD Samsung Galaxy Tab หรือ Notebook การสื่อสารใช้ “พิมพ์ดีด” ฟ ห ก ด เอก า ส ว

ภาพที่ ๔๗ โรงเจบางหลวง  ในวันที่ยังไม่ถึงเทศกาล ก็แลดูเงียบเหงาแบบนี้แหละ

ภาพที่ ๔๘ ไปไหนมาไหนก็แล้วแต่ ได้กราบไหว้ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” สิ่งที่ได้ติดตัวกลับมาทุกครั้งคือ “สบายอก สบายใจ”

ภาพที่ ๔๙ ในยามที่ท้อแท้ นึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่ว้าวุ่น กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วหนักจะกลายเป็นเบาในท้ายที่สุด

ภาพที่ ๕๐ อย่าถามว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ประทานพรอะไรให้แก่เรา
แต่จงถามตัวเราเองว่า “เราดีพอหรือยัง” “เราเป็นคนจริงจัง มุ่งมั่น พยายาม ทุ่มเท มากน้อยแค่ไหน”

ภาพที่ ๕๑ ใต้หล้า All under Heaven ทุกคนอยู่ใต้ฟ้า จะเฮง จะรวย จะซวย จะเจ๊ง อยู่ที่ “ตน” ลิขิต และ “ฟ้า” ประทาน
จะดีจะชั่ว อยู่ที่ตัวทำ
จะสูงหรือต่ำ อยู่ที่ทำตัว
เกิดใด ๆ ขึ้นในชีวิตแล้ว ท่องไว้ดังๆ ว่า
เราไม่ผิด เราไม่ได้เป็น คนไม่เห็น ฟ้าดินก็เห็น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองคนดี ปกป้องคนดีให้แคล้วคลาดปลอดภัยเสมอ !!!
สำเร็จใดๆ ในชีวิตแล้ว ก็อย่าทรนงตัว อย่าสามหาว อย่ายะโส อย่าโอหัง
อย่าโอ้อวด อย่ายกตนข่มท่าน อย่าคุยโว อย่าโอ้อวด อย่าลืมตัว
อย่ากร่าง อย่าทำตัวให้คนหมั่นไส้
ยิ่งสำเร็จ ยิ่งต้องทำตัวให้ลีบ ให้เล็ก
จงรอบคอบ และใช้ชีวิตอยู่อย่างคนไม่ประมาท
ยังไม่เจ๊ง อยู่อย่างคนเจ๊ง จะไม่มีวันเจ๊ง
ยังไม่จน อยู่อย่างคนจน จะไม่มีวันจน
แต่อย่าละทิ้ง การบุญ การกุศล

ภาพที่ ๕๒ ละครเวที ละครชีวิต เมื่อมีเริ่มต้น ก็มีวันลาจาก

ภาพที่ ๕๓ ไม่จากเป็นวันนี้ ก็จากตายวันหน้า
ทำวันนี้ ให้ดีที่สุด แล้วฟ้าดิน จะประทานพรที่ดี ชีวิตดีตลอดไป

ภาพที่ ๕๔ ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า

ภาพที่ ๕๕ เมื่อลูกผู้ชาย มีความฝัน และความหวัง ที่ยังไปไม่ถึง
ก็ต้องออกเดินทางตามฝัน แสวงหาสิ่งที่มุ่งหวัง…ต่อไป

ใจสู้หรือเปล่า…ไหวไหมบอกมา

โอกาสของผู้กล้า…ศรัทธา ไม่ยอมแพ้

๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕

Comments

comments