29. เบื้องหลังค่าแรงวันละ 300 บาท

คอลัมน์    How to Win                                                        

เบื้องหลังค่าแรงวันละ 300 บาท

   ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Research Director  MBA & DBA Program, Deming Business School, W.H. Taft University

www.demingbusinessschool.com

หนังสือพิมพ์เชียงใหม่ธุรกิจ

วันพุธที่  11 กรกฎาคม 2555

 

คาดว่าเพียงไม่กี่คนจะทราบว่าเพราะสาเหตุใด รัฐบาลจึงปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และค่าแรงขั้นต่ำต้องเป็น 300 บาทขึ้นไป

                ปัญหานี้ เกิดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจข้อมูลหนี้ข้าราชการ และพบตัวเลขน่าตกใจว่าวันนี้ข้าราชการทั้งประเทศเป็นหนี้รวมกันสูงถึงกว่า 9 แสนล้านบาท!!!

“ข้าราชการ” เป็นกลไกที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างมาก โดยมีภาระหน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล การที่ข้าราชการจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีศักยภาพ มีคุณธรรม ข้าราชการก็ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ

แต่จากการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ข้าราชการก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ซึ่งผลจากการสำรวจรายได้/ค่าใช้จ่าย/หนี้สินเฉลี่ยของครัวเรือน/ร้อยละของ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้/ร้อยละของข้าราชการพลเรือนที่เป็นหนี้ในช่วงปี 2547-2553 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2553 มูลค่าหนี้สินของข้าราชการที่มีหนี้ เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 492,253 บาทในปี 2547 เพิ่มเป็น 872,388 บาทในปี 2553

มากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 56.4 ของข้าราชการมีหนี้สินจากการกู้เงินเพื่อมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ร้อยละ 15.2 นำมาซื้อหรือซ่อมแซมยานพาหนะ ร้อยละ 13.3 เพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค ร้อยละ5.8 นำมาลงทุนในธุรกิจของครอบครัว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นกู้มาเพื่อการศึกษา

ปัญหาหนี้สินของข้าราชการไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ด้วย ผลสำรวจพบว่าครัวเรือนข้าราชการมีแนวโน้มความสามารถในการชำระหนี้ถดถอยลง คือ จากที่มีหนี้สินมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16.8 เท่า ในปี 2547 ปริมาณหนี้สินปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 20 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ในปี 2553

เมื่อเปรียบเทียบรายได้ และค่าใช้จ่ายของข้าราชการในแต่ละตำแหน่ง จะเห็นได้ว่า ครอบครัวข้าราชการระดับปฏิบัติงานเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่มีรายได้ไม่ เพียงพอต่อการดำรงชีพมากที่สุด คือมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงถึงร้อยละ 91.5

จากปัญหาดังกล่าวทำให้รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงจัดให้มีนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างให้แก่แรงงานเป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นี่คือเบื้องหลังค่าแรงวันละ 300 บาท วันนี้ SMEs ต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกจ้างด้วยการจ่าย ค่าแรงขั้นต่ำวันละ  500 บาท ไม่ว่าจะสมัครใจหรือถอดใจ ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 500 บาท จะกลายเป็นค่าแรงขั้นต่ำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ อย่างแน่นอน!!!

Comments

comments