222. เล่าเรื่อง “พระบาลีศึกษา” “อสฺสุสุตฺตํ”

 

๒๓ เมษายน ๒๕๖๒

เล่าเรื่อง “พระบาลีศึกษา”

“อสฺสุสุตฺตํ”

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

——

 

ผมพยายาม “คิดค้น”

คือ “ค้นคว้า” “ตรวจสอบ”

“ตรวจทาน” “ชำระ”

และ “เปรียบเทียบ” “เทียบเคียง”

พระบาลี ระดับต่างๆ

ทั้งแบบสากลนิยมคือ

“พระบาลีอักษรโรมัน”

เชื่อมโยงกับ

“พระบาลีอักษรไทย”

พระไตรปิฎกฉบับหลวง

“พระบาลีแปลเป็นไทย”

พระไตรปิฎกฉบับหลวง

พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ

 

สอบทานกับ

“อรรถกถาฉบับบาลีอักษรโรมัน”

“อรรถกถาฉบับบาลีอักษรไทย”

“อรรถกถาฉบับบาลีแปลเป็นไทย”

 

เฉพาะ “อัสสสูตร”

พระไตรปิฎกฉบับหลวง

เป็นเล่มที่ ๑๖

แต่ถ้าเป็นหลักธัมมะหมวด

“พระสุตตันตปิฎก”

ก็เป็นเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๒๑๓-๒๑๔

 

เป็น “ตัวอย่าง”

วิจัย “พระไตรปิฎก” ชั้นสูง

 

แต่ที่แน่ๆ
ผมเห็นด้วยว่า
ป.ธ. ๙ จะเป็น ดร.
ต้องเรียน
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
สถิติเพื่อการวิจัยชั้นสูง

การรวบรวมข้อมูลเป็นระบบจากฐานข้อมูลต่างๆ

ภาษาอังกฤษ

ภาษาทิเบต

ภาษาจีน

ภาษาญี่ปุ่น

ภาษาพม่า

ภาษาขอม

ภาษาสิงหล

ภาษาฝรั่งเศส

ภาษาเยอรมัน

ภาษาฮินดี

ภาษาปรากฤต

ฯลฯ

 

แล้วแต่จะ “เจาะลึก” เปรียบเทียบในด้านใด

 

อย่าง “อัสสุสูตร” ถือเป็นส่วนหนึ่ง

ของโครงการวิจัยใหญ่ของผม

ประเด็น

กิเลสวัฏฏะ-กรรมวัฏฏะ-วิปากวัฏฏะ

ซึ่งทำให้ “มนุษย์” วนเวียนกับ

“สังสารวัฏ”

และนำไปสู่ “การวิจัยเชิงลึก”

ประเด็นข้อธัมมะเรื่อง

สังสารวัฏ

ขันธ์

ธาตุ

อายตนะ

อวิชชา

อภิสังขาร

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อริยมรรค ๘

ภพ ๓

กำเนิด ๔

คติ ๕

วิญญาณฐิติ ๗

สัตตาวาสภูมิ ๙

ภวตัณหา

ภวทิฏฐิ

สัสสตทิฏฐิ

ภัยในสังสารวัฏ

ภัยในโลกนี้

ภัยในโลกหน้า

ภัยในนรก

มนุสสภูมิ

ดิรัจฉานภูมิ

เปตภูมิ

นิรยภูมิ

เทวภูมิ

พรหมภูมิ

โลก

จักรวาล

ควอนตัม

ระบบสุริยจักรวาล

ระบบสมอง

ระบบปราสาท

ระบบเซลส์

ระบบโครโมโซม

พลังงานต่างๆ

 

——-

 

ข้อค้นพบจากการวิจัย

๑. ยังขาดข้อมูลส่วนเพิ่มจาก

พระไตรปิฎกฉบับบาลี

อักษรจีน ซึ่งทางรัฐบาลจีน

ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๙ ล่าสุดเวลานี้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

รับสั่งให้เก็บรักษาไว้ที่ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

พระราชวังดุสิต

 

ผมเองคงไม่มี “บุญ” ไม่มี “วาสนา”

จะไปหยิบยืมมาศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้ และเทียบเคียง

 

ถึงมีปัญญาหามาเทียบเคียงได้

ก็ต้องหา “ผู้รู้” บาลีจีน แปลออกมาให้เรียนรู้

 

นี่คือ “งานของกองบาลีสนามหลวง”

ที่ถ้าหากจะยกระดับ ป.ธ. ๙ เป็น ดร.

ก็ต้องวิจัย “เปรียบเทียบ” พระไตรปิฎกศึกษา

ในส่วนนี้

 

ยังไม่นับ

พระไตรปิฎกไทโช
พระไตรปิฎกสิงหล
พระไตรปิฎกฉัฏฐสังคีติ
พะไตรปิฎกเกาหลี
พระไตรปิฎกญี่ปุ่น
พระไตรปิฎกจีน
พระไตรปิฎกเวียดนาม
พระไตรปิฎกเขมร
ฯลฯ

 

๒. เวลานี้ “พุทธศาสนิกชน” ที่ประกาศตัวนับถือ

“พุทธศาสนา” ส่วนมากไม่รู้ว่า “พระบาลี”

คือ “พระไตรปิฎก” ซึ่งรวบรวมคำสอนหลัก ๒ ส่วน

ที่เรียกว่า “พระธรรม” กับ “พระวินัย” เรียกรวมว่า

“พระธรรมวินัย”

 

ปัญหาคือ ชาวพุทธ รู้เพียงแค่ “พระธรรมวินัย”

เป็น “สถาบัน” เป็น “บ้าน” เป็น “กุฏิ”

แต่น้อยรายนัก จะรู้ว่า “พระไตรปิฎก” คือ “บ้าน”

หรือ “กุฏิ” ตรงส่วนไหนของบ้านมี “อะไรดีๆ”

และไม่รู้ว่า “อะไรเป็นอะไร” ในบ้านหรือกุฏิ

 

จริงหรือไม่?

 

ถ้าจะให้ดี “ชาวพุทธที่มีคุณวุฒิและคุณภาพ”

ก็ต้องช่วยกันนำเสนอ “คุณค่า” ของ “พระไตรปิฎก”

กล่าวคือ “พระธรรมวินัย” ให้ได้ว่า

“หลักธัมมะ” ส่วนไหนของพระสูตรและพระอภิธรรม

สามารถนำไปใช้ “ประโยชน์” ได้

ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ตลอดทั้งสังคม

 

เหมือนอย่างเวลานี้ คนนอกวงการ เช่น บิล เกตส์

บารัค โอบามา เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เป็นต้น

เห็นคุณค่าของ “สมาธิ” ทำนองเดียวกันกับ “แจ็คหม่า”

มหาเศรษฐีชาวจีน และ “ลีกาชิง” มหาเศรษฐีของไต้หวัน

เล็งเห็นประโยชน์ของ “สมาธิ” ซึ่งเป็น “คุณค่า” และ “ของดี” ในพระไตรปิฎก ก็นำมาเปิดเผย บอกเล่า กล่าว สร้างให้เห็นเป็นรูปธรรม

 

พูดให้เห็นภาพ

“วัดฉือซานซื่อ”

https://www.m2fnews.com/news/worldnews/11034

ก็เป็น “วัดในฝัน”

ของอภิมหาเศรษฐี

เจ้าสัวใหญ่ฮ่องกง

ซึ่งเคยผ่านวิถี “เจ๊งเจ็บจน”

มาแล้วในอดีต

 

แต่เก็บงำ “ความพ่ายแพ้” ไว้เป็นบทเรียน

ยึดหลัก never give up ไม่ยอมแพ้ ไม่ย่อท้อ

 

สุดท้าย พลิกกลับมาสร้างฐานะจนมั่งคั่งร่ำรวย

และเหลือเงินทองจำนวนมาก มาสร้างวัดในฝัน

ให้คนรุ่นหลังดูกัน ทางเกาะใหม่ ตอนใต้ของฮ่องกง

 

นี่คือ “ปัญหาข้อที่ ๒”

ซึ่ง “แวดวง วงการ สายพระปริยัติธรรมแผนกบาลี”

ต้องคิดเยอะๆ คิดละเอียด คิดกันให้มากๆ

ว่าจะนำเสนอ “คุณค่า” คือ “พระไตรปิฎก”

สู่สังคมทั่วไปภายนอก อย่างไร?

คือ “คนทั่วโลก” จะใช้ “คุณประโยชน์”
จาก “หลักธัมมะคำสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ”
ได้อย่างไร?

นี่คือโจทย์วิจัย ที่ต้องช่วยกันขบคิดตีโจทย์ยากให้แตก

 

๓. ต้องช่วยกันสร้างค่านิยมคนรุ่นใหม่ว่า

“ชาวพุทธแท้” คือคนที่อย่างน้อยต้อง

อธิบายได้ว่า “พระไตรปิฎก” คืออะไร?

 

เวลานี้ ขนาดพระเณรเอง

ที่เรียนพระบาลี เรียนคัมภีร์ต่างๆ

ส่วนมาก ยังไม่รู้เลยว่า

คัมภีร์ที่ใช้ อย่าง “ธรรมบท” “มงคลทีปนี”

“สมันตปาสาทิกา” “วิสุทธิมรรค”

“อภิธัมมัตถวิภาวินี”

คัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้

เกี่ยวพัน เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก

ในส่วนใดบ้าง จาก ๓ ส่วน

พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม

และอยู่ตรงไหน ตอนใด หน้าใดของพระไตรปิฎก

 

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ. ปยุตฺโต

แต่งหนังสือดีๆ ไว้เล่มเล็กๆ น่าอ่าน

“รู้จักบ้านของตัว” “เที่ยวทั่วพระไตรปิฎก”

หน้า ๓-๔ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

ท่านเมตตา “เล่า” ความจริงว่า

“อย่างพระเณรที่เรียนประโยค ๓ ใช้อรรถกถาธรรมบทนั้น

ธรรมบทอยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก หลายองค์ไม่รู้หรอก

พอไปเรียนประโยค ๔ มังคลัตถทีปนี อาจารย์ว่าอย่างไร

ก็แปลไปตามนั้น ไม่รู้ว่ามังคลัตถทีปนีที่อธิบายมงคล ๓๘

ประการนั้น มงคล ๓๘ ประการ เป็นอะไร อยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก…ต่อไปเรียนสูงขึ้นอีก ถึงประโยค ๖ ประโยค ๗

ได้เรียนสมันตปาสาทิกา ให้แปล ก็แปลได้ ให้สอบ ก็สอบได้

แต่ไม่รู้อีกนั่นแหละว่าอันนี้เขาเรียกว่าเป็นอรรถกถา

ไม่รู้ว่าอธิบายพระไตรปิฎกตรงไหน ข้อความในพระไตรปิฎก

ที่ถูกอธิบายนั้นว่าอยางไร ไม่รู้เรื่องเลย ไม่รู้ทั้งนั้น

ไปจนถึงวิสุทธิมัคค์ กระทั่งอภิธัมมัตถวิภาวินี ก็ไม่รู้ว่า

ต้นแหล่ง ต้นตอ ที่มาที่ไป ในพระไตรปิฎก

อยู่ตรงไหน เรียนรู้เฉพาะคัมภีร์นั้น แค่แปลได้เท่านั้นเอง

 

เพราะฉะนั้น จึงเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งใหญ่

พระเณรเรียนบาลี แค่เรียนภาษาบาลี

เรียนจบไปแล้ว ก็ล่องลอย เลื่อนลอย

ตัวแท้ตัวจริงของทั้งหมดนั้นคือพระไตรปิฎก

ไปกันไม่ถึง

 

พระเณรที่บวชกันมานี้ พอเข้าสู่พระธรรมวินัย ถ้าเอาจริงเอาจัง หากว่าอยู่นานๆ เมื่อเรียนสูงขึ้นไป เช่นถึงประโยค ๖

พอพูดถึงพระไตรปิฎกนี่ ควรต้องรู้หมดแล้ว ตลอดไปถึงคัมภีร์เกี่ยวข้องที่ใช้อธิบาย มองปราดไปก็เห็นเลยว่า

อะไรอยู่ตรงไหน คัมภีร์นั้นว่าด้วยเรื่องอะไร

เราค้นเรื่องอะไร จะดูที่ไหน…”

 

——-

 

ด้วยความเคารพ ขอ “เสริม” บางประเด็น

เสนอเจ้าประคุณสมเด็จที่เคารพสั้นๆ ว่า

 

ท่านเจ้าประคุณ ในฐานะ “กรรมการมหาเถรสมาคม”

โดยตำแหน่ง รู้ เห็น ทราบ ปัญหาการเล่าเรียน

พระปริยัติธรรมแผนกบาลี เป็นอย่างดี

และ “ปราดเปรื่อง” ยิ่งนัก ในด้านการจัดการศึกษา

ย่อม “มองออก” ทะลุมิติว่า

ปัญหาที่แท้จริงของ “วงการคณะสงฆ์” คือ

ถูกชี้นำ สั่ง บังคับ ควบคุม และจัดการเบ็ดเสร็จ

โดย “มหาเถรสมาคม”

 

ถ้าหากจะเมตตา ก็ควรเข้าประชุม

“กรรมการมหาเถรสมาคม”

โดยใช้ตำแหน่งและอำนาจที่มี และเห็นแก่ “ภัยในภัยนอก”

จัดการทิศทางพระพุทธศาสนาตามที่เห็นพอสมกับอนาคต

 

แล้ว “เสนอแนะ” สมเด็จพระสังฆราช

เพราะเจ้าประคุณเวลานี้

มีตำแหน่ง มีความรู้ มีข้อมูล

คำพูดและข้อเสนอมี “น้ำหนัก” และ “น่าเชื่อถือ” มากที่สุด

 

ผมไม่อยากเห็น “การพูด” แล้ว “ไม่ทำ” อะไรเลย

ซึ่งพระเณรส่วนหนึ่ง “แอบเล่า”

แต่ไม่กล้า “นำเสนอ”

เพราะกลัว “มหาเถรสมาคมภัย”

และ “บาปกรรมทางวาจาคือวจีกรรม”

ไม่อยากถูกมองว่า่ “หัวแข็ง” “กระด้างกระเดื่อง”

“ไม่เคารพ” พระเถระชั้นผู้ใหญ่

 

แต่ผมในฐานะ “อุบาสก” ก็พูดได้ เล่าได้

และไม่มีส่วนได้เสียกับวัดวาอารามใดๆ

 

การเรียนพระบาลีทุกวันนี้

เรามีปัญหาอยู่ ๓ เรื่องหลัก

เรื่องแรกคือ “จบแล้ว” ไม่มี “งานทำ”

“มหาเถรสมาคม” ไม่สร้างงานเหมือนผู้นำวงการอื่นๆ
ไม่มี “การวางตำแหน่งงานและคนที่เหมาะสมกับงาน”
ให้มองเห็นทะลุตลอดสายงานว่าถ้าอยู่ในวงการสงฆ์
ตลอดชีวิต จะได้ตำแหน่งอะไร จะได้ทำงานด้านใดบ้าง

ทั้งที่ใช้เงิน “น้อยมาก” ในทางเศรษฐศาสตร์

และการลงทุนต่ำมาก เมื่อเทียบกับ “โรงเรียนปอเนาะ”

ถ้าเรา “สร้างงาน” ต่อยอด

พระเณรที่เรียนจบขั้นพื้นฐาน

แล้วให้ “ค้นคว้า” ชั้นสูง ตามแนวทางที่รัชกาลที่ ๕

ทรงมี “พระราชประสงค์” และ “พระราชศรัทธา”

 

ถ้าจบแล้วมีงานทำ งานให้ค้นคว้าต่อไป

มีระบบ “โบนัสสวัสดิการ” ในรูปของ “เงินเดือน”

ค่าตอบแทน “ความคิดอ่าน” ตามความเหมาะสม

ความรู้ ความสามารถ เพราะโลกนี้ ไม่มีอะไรฟรี

แรงจูงใจที่ดีที่สุดคือ “เงินสด”

วงการทรัพยากรมนุษย์ มีงานวิจัยยืนยัน “ชัดเจน”

 

ถ้าให้เล่าเรียนแล้วมีความหวัง มีงานทำ

เหมือน “ระบบข้าราชการ”

มีตำแหน่งวิชาการบรรจุแต่งตั้ง

สอนตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

เหมือนสายมหาวิทยาลัย

 

ยกตัวอย่าง มีตำแหน่งทางวิชาการ

“ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาบาลี”

“รองศาสตราจารย์ สาขาบาลี”

“ศาสตราจารย์ สาขาบาลี”

นำตำแหน่งไปใช้สมัครเป็น

ภาคีสมาชิกราชบัณฑิต

ส.ส.

ส.ว.

นายก อบต.

นายก อบจ.

นายกเทศมนตรี

ซึ่งเวลานี้ กำลังต้องการคนที่ “ซื่อ”

แต่ไม่ “บื้อ”

 

และมี “เงินประจำตำแหน่ง” ยกเว้น

“ผศ. พิเศษ รศ. พิเศษ ศ. พิเศษ”

แต่ได้ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” หรือ “สมณศักดิ์” ทดแทน

ก็จะเกิดมี “พระสิริมังคลาจารย์”

สายคันถธุระเป็นอันมาก

 

จะเกิดมีคนอย่าง

“ศาสตราจารย์พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ”

ราชบัณฑิต

“เสถียร โพธินันทะ”

“สุชีพ ปุญญานุภาพ”

“ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก”

เป็นต้น เป็นอันมาก

 

ใดๆ อยู่ที่ “ท่านเจ้าประคุณ” จะเล่าตรง

กับ “สมเด็จพระสังฆราช” และ “นำเสนอ”
แผนและโครงการเพื่อ

 

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ชาติ

ขอเพียง “สมเด็จพระสังฆราช” สั่งการ

ก็ “ลงมือ” ทำได้ทันที ซึ่ง “ทำได้” อยู่แล้ว
อยู่ที่จะ “คิดและทำ” หรือไม่?

 

——

 

อีกปัญหาคือ “การปรับปรุงหลักสูตร”

ถ้าเจ้าประคุณมองว่า

ธรรมบท

มังคลัตถทีปนี

สมันตปาสาทิกา

วิสุทธิมรรค

อภิธัมมัตถวิภาวินี

ยังไม่ตอบโจทย์

ไม่เชื่อมโยงกับ

พระไตรปิฎก

 

ยังไม่คู่ควรกับ การเป็น ดร.

ก็ให้ “ค้นคว้า” “ปริวรรต”

คัมภีร์อีก ๖,๐๐๐ กว่าคัมภีร์

ทำกัน ปริวรรตกัน แปลกัน

ชาตินี้ ก็อาจไม่หมด

เพราะอยู่ในอักษรสิงหล

อักษรพม่า

อักษรขอม เป็นต้น

 

ไม่นับอักษรจีน อักษรทิเบต ฯลฯ

 

เวลานี้ท่านเจ้าประคุณมีตำหน่ง

มีอำนาจ มีวาสนา มีบารมี

ถึงเวลาแล้วที่จะ “ทำทันที”

 

ถ้าเห็นแก่ “พระหนุ่มเณรน้อย”

ถ้าคิดถึง “การสร้างศาสนทายาท”

ตามที่ท่านเจ้าประคุณชอบเทศนา

แต่ยังไม่เห็นผลงานสร้าง “ศาสนทายาท”
ที่เป็น “รูปธรรม” ของท่า่นเจ้าประคุณ
และกรรมการมหาเถรสมาคมวัดต่างๆ
เหมือน “วัดโมลีโลกยาราม” “วัดจองคำ”
“วัดบัวขวัญ” “วัด

ชัดเจนนัก

 

ท่านเจ้าประคุณ

ก็ควรเสนอ “สมเด็จพระสังฆราช”

เรียก สกอ. มาคุยเรื่อง

“การวิจัยเพิ่มเติม” เพื่อให้มีองค์ความรู้ระดับ ดร.

ยกตัวอย่าง “การค้นคว้าคัมภีร์ชั้นสูงเพิ่มเติม”

 

จะต้องเรียนหลักสูตร เรียนอะไรเพิ่มเติม

จะบินไปฝึกอบรมระยะสั้น หรือดูงานการพระพุทธศาสนานานาชาติ

ดูหลักสูตรปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

สถาบันบาลีพุทธโฆสะ มหาจุฬาฯ

หรือเทียบกับหลักสูตรปริญญาเอกสาขาภาษาบาลี

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยแถบญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยในอินเดีย ศรีลังกา และพม่า

เป็นต้น เป็นแนวทางได้

เชิญ รมต. กระทรวงศึกษาธิการมาคุย

เชิญ ก.พ. กำหนด “ตำแหน่งงาน”

คุยกับ ผอ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ว่าต่อไป ผอ. สำนักพุทธฯ ทั่วไทย

ต้องจบเฉพาะทาง

เหมือนหมอ เหมือนวิศวกร

 

เราก็จะมี “งาน” รองรับ “นักวิชาการ”

“นักวิจัย” สายพระบาลี สายพุทธศาสนา

เป็นอันมาก

 

และ “ต่อยอด” คุยกับมหาวิทยาลัยทั่วโลก

ซึ่งต้องการ “ผู้รู้” ไปสอน

พุทธศาสนาเถรวาท และ “วิปัสสนา”

“สมาธิ” ระดับต่างๆ

 

งาน “พระธรรมทูต” ทั่วโลก

ต่อไปกำหนดว่า

ผู้จะเป็น “พระธรรมทูต” ได้

ต้องจบ “บาลี” ชั้นใดบ้าง

 

“การพิจารณาสมณศักดิ์”

ต้องได้อย่างต่ำกี่ประโยค ขึ้นไป

 

ถ้าเรียนแล้วมีงานทำ

ไม่เคว้งคว้าง

ใช้ประโยชน์ได้

 

และสร้างงานให้ “นิสิต-นักศึกษา” ด้วย

 

ผมว่าพระเณร และคนรุ่นใหม่

จะแห่เรียน “บาลี” ตรึม

 

๓. อีกปัญหาที่เรื้อรังมานาน

คือ “การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา”

 

ทุกวันนี้ “ความยาก” เหมือน “เขาวงกต”

วงการบาลีคือ “มาตรฐาน” การสอบผ่าน

แต่ละประโยค

 

ระบบ “ให้ ๓” “ให้ ๒” “ให้ ๑”

ควรปรับปรุงให้พอสมกับ “ยุคดิจิทัล” หรือไม่?

 

ผู้เรียนที่เป็น “ฆราวาส”

ควร “ยืดหยุ่น” เพราะ “เวลาน้อยกว่า”

 

เป็นเรื่องที่สมควร “ทบทวน” และ “พิจารณา”

 

ถ้ายังคิดอ่านแบบเก่าๆ เดิมๆ เดิมๆ เก่าๆ ว่า

“คุณภาพ” และ “มาตรฐาน”

คือ “ท่องจำได้แม่นยำ ๑๐๐%”

 

ไม่ทำ “ตลาดเชิงรุก”

 

ไม่ดึงเอา “คนรุ่นใหม่”

 

มาบวชเรียนบ้าง

มาเรียน “พระบาลี” แบบฆราวาสบ้าง

 

เหมือน “อิสลาม” ทำ “การตลาดเชิงรุก”

ส่งเสริมให้เล่าเรียน “มหาคัมภีร์อัลกุรอาน”

จำนวน ๑,๗๙๒ หน้า แจกฟรีทั่วโลก

แปลทุกภาษาหลัก

เรียนรู้อ่านเอาเองได้ทางออนไลน์

ต่างศาสนา อย่างผม ก็เข้าถึง เรียนรู้ได้

 

ผม “อยากเห็น”

เจ้าประคุณ คุยกับ “สมเด็จพระสังฆราช”

ประเด็นนี้ขอรับ

 

ไม่ใช่ปล่อยให้ “พระเณร” เท่านั้น

ที่เรียน “พระบาลี” แล้ว

เคว้งคว้าง พอสอบตก ก็หมดอนาคต

ดับวูบ แล้วพุทธศาสนาก็สูญเสีย

คนที่มีไฟแรง พระหนุ่มเณรน้อยที่มีอุดมการณ์

รายแล้วรายเล่า ออกสู่สังคมภายนอก

 

ลงลิงก์ “มหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน”

https://islamhouse.com/th/books/405/

เข้าไปอ่านกันได้ “ฟรี”

กษัตริย์แหงราชวงศ์ซาอุดิอาระเบีย

เป็นองค์อุปถัมภ์ ให้เผยแพร่ฉบับออนไลน์

——-

 

Comments

comments