204. ภาพกิจกรรม International Conference: Beijing Conference 2015

ประมวลภาพกิจกรรมเกี่ยวกับการวิจัยระดับนานาชาติที่ได้รับเกียรติให้ไปเป็นประธานมอบรางวัลนักวิจัยผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น 5 ท่าน จาก 5 ประเทศ
เป็นงานที่ “นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอเมริกา” แต่่ “เชื้อชาติและสัญชาติไทย” ได้รับเกียรติจากเวทีวิจัยระดับโลก ในฐานะนักวิจัยผู้มีผลงานตีพิมพ์ใน
วารสารระดับนานาชาติต่อเนื่อง ให้เป็นผู้มอบรางวัล และได้รับเชิญให้พูดให้กำลังใจแก่นักวิจัยทั่วโลก

 

ผมเลือกที่จะนำเสนอ MF4s Model  ไว้ว่างๆ จะแปล “สุนทรพจน์” ให้ฟังกัน ตอนนี้ เชิญอ่านบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษไปพลางๆ ก่อน

ประสบการณ์ไปนำเสนอผลงานวิจัยทั้งที่ทำด้วยตนเอง ชักชวนทีมช่วยกันทำ ตั้งแต่สมัยเป็นนักวิจัยใหม่ๆ เมื่อสิบกว่าปีก่อน สั่งสมประสบการณ์วิจัยเรื่อยมา
จนถึงวันที่ได้รับเกียรติให้เป็นประธานผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับเกียรติเชิญให้เป็นผู้มอบรางวัลแด่นักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก มีแง่คิดเล็กๆ น้อยๆ ที่อยากฝากถึงนักวิจัยชาวไทยทุกท่านดังนี้

๑. ภาษาอังกฤษ เป็นข้อบังคับหลัก โดยเฉพาะภาษาเขียนที่ต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ ผู้ที่คิดจะทำผลงานวิชาการระดับ ผศ, รศ, ศ ไม่ว่าจะในหรือต่างประเทศ
ต้องวางแผน วางระบบ และบริหารจัดการโครงการวิจัยให้อยู่ “เหนือ” เกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ

๒. ภาษาอังกฤษ ในแง่ภาษาพูด ไม่ต้องตกอกตกใจ หรือวิตกกังวลประเด็นนี้มาก สังเกตดูได้จากเวทียูเอ็น หรือสหประชาชาติ เป็นกรณีศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า “ภาษา” ไม่ใช่อุปสรรค
อีกต่อไป ผมได้มีโอกาสไปร่วมประชุมทั้งวิชาการและภาคธุรกิจที่เป็นอินเตอร์ พบว่า ขอให้ “สื่อสาร” ได้ พูดช้าๆ ชัดๆ คนฟังพอเข้าใจได้ สื่อสารได้ ก็เพียงพอ อย่าไปวิตกกังวล
กับคำขู่ของ “นักวิชาการ” และ “เพื่อนๆ” ที่มี “ปมด้อย” และ “อัตตาสูง” กลับไปสู่ข้อที่ ๑ “ผลการวิจัย” ต้องนำเสนอประเด็นที่ “ใหม่” และ “แตกต่าง” โดดเด่น ด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับนานาชาติ

โลกยุคใหม่ คนทั่วโลก ไม่มีมาล้อเลียนกันเองเหมือนคนไทย ที่ชอบล้อเลียนจนกลายเป็นว่าประหม่า ไม่กล้าพูดอังกฤษกัน  ขอย้ำว่า “อย่ากังวล” ใครอวดอ้างว่าตนเองพูดอังกฤษดี พูดอังกฤษเก่ง
ก็จงชื่นชม แต่อย่าเก็บมาท้อแท้ ท้อถอย หมดกำลังใจว่าเราพูดชัดเปรี๊ยะเหมือนเขาหรือเธอไม่ได้ เน้นข้อ ๑ ให้ดีที่สุด มีกรณีศึกษาที่ผมเห็นมาแล้วคือ เวลาเรียนระดับปริญญาเอกในอเมริกา
ผู้ที่มาจากญี่ปุ่น รัสเซีย อินเดีย และจีน ภาษาจะแค่พอสื่อสารได้ แต่คนเหล่านี้ สุดท้าย ได้รับการเสนอให้ทำงานในอเมริกา ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ และได้รับค่าตอบแทนระดับเดียวกับฝรั่งที่
Blue Eye High Nose ดังนั้น สำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง เมื่ออายุล่วงเลย ๑๒ ปีมาแล้ว อย่าเสียใจ เพราะการสื่อสารยุคใหม่ เราสามารถสื่อ “สาร” ถึง “ผู้รับ” ได้ หลายรูปแบบ
ดูญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษา ใช้การ์ตูน ใช้ภาพวาด ใช้จินตนาการ คนทั่วโลกก็เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อ  ถ้าใครเป็นคนช่างสังเกต จะพบว่า เดี๋ยวนี้ทั่วโลก นิยมนำเสนองานแบบ Poster พิมพ์ลงบนแผ่นไวนีล
แล้วให้คนอ่านกันเอาเอง เพราะคนอีกค่อนโลกที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่  ถ้าเราปรับทัศนคติเรื่องภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่ 2 ได้ ก็จะลงมือทำวิจัยได้อย่างมีความสุขเหมือนนักวิจัย
ตะวันออกกลาง นักวิจัยชาวอินเดีย นักวิจัยชาวจีน นักวิจัยชาวเกาหลี นักวิจัยชาวญี่ปุ่น นักวิจัยชาวเยอรมัน นักวิจัยชาวฝรั่งเศส  นักวิจัยจากแอฟริกา, อเมริกาใต้, ยุโรปตะวันออก ซึ่งคนเหล่านี้
ก็ทำผลงานวิจัยได้ดี จนได้รับการตอบรับจากคณะกรรมการให้นำเสนอในเวทีวิจัยระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ถ้าค่อยๆ อ่าน Speech ที่ผมนำเสนอ จะพบว่า ผมเน้น Less for More คือ Faster Model ไม่เยิ่นเย้อ วกวน แต่เน้นประเด็นที่กระชับ รวบรัด ใช้ภาษาทันสมัย อ่านแล้วเข้าใจง่าย รู้เรื่องทันที ใช้ภาษาอังกฤษ
แบบอเมริกันที่ไม่ต้องแปลอังกฤษเป็นอังกฤษ ซึ่งกว่าจะเขียนอังกฤษให้อ่านเข้าใจง่าย ก็ต้องใช้เวลาและประสบการณ์นานนับเป็นสิบๆ ปี ซึ่งไม่มีอะไรเกินความพยายามของคนที่รักจะเอาดีด้านวิชาการ
โดยเฉพาะด้านการวิจัยระดับนานาชาติ

ว่าแต่ว่า ก่อนจะก้าวเข้าสู่การเป็นนักวิจัยระดับนานาชาติ ก็พยายามเป็นนักวิจัยระดับชาติให้มีคุณภาพเป็นเลิศ  ฝากเป็นแง่คิดไว้ว่า Do the Best จงตั้งใจทำผลงานที่ดีที่สุดแล้วผลลัพธ์ก็จะออกมาในระดับดีเยี่ยม

 

ขอให้กำลังใจนักวิจัยทุกๆ ท่าน  มีคำถามเพิ่มเติม  ติดต่อได้ที่อีเมล์  druthit@druthit.com  ยินดีให้คำปรึกษาครับ

๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
HEF2015_Speech

HEF01 (Medium) HEF02 (Medium) HEF03 (Medium) HEF04 (Medium) HEF05 (Medium) HEF07 (Medium) HEF08 (Medium) HEF09 (Medium) HEF10 (Medium) HEF11 (Medium) HEF14 (Medium) HEF15 (Medium) HEF16 (Medium) HEF17 (Medium) HEF18 (Medium) HEF19 (Medium) HEF20 (Medium) HEF21 (Medium) HEF22 (Medium) HEF23 (Medium) HEF24 (Medium) HEF25 (Medium) HEF26 (Medium) HEF27 (Medium) HEF28 (Medium) HEF29 (Medium) HEF30

 

Comments

comments