198. Dare-to-Do : MF4s Model for International Researchers

บทความวิชาการ “Dare-to-Do: MF4s Model for International Researchers”

DrUthit_Photo (Small)

มี ๒ ภาษาทั้งไทยและอังกฤษ

สำหรับ “ภาษาไทย” กด BeijingSpeech2015_Thai

For English Version, simply click BeijingSpeech2015

Speech for Higher Education Forum

August 12, 2015

Beijing, China

Dare-to-Do : MF4s Model for International Researchers

 

Prof. Dr. Uthit Siriwan

Director of Ph.D. Program in Business Administration

Charisma University, Turks and Caicos, UK

 

The Higher Education forum (HEF) vision is to coordinate both arts and science researchers in international environment. “Dare-to-Do” is a key point I want to share with international research friends. Funny and unanswered debate here is all of you understand IQ management: understanding yourself, I think, and I am. As a result, most international researchers face the same problems: understanding myself, others don’t understand me. If you use the EQ management concept: understanding others and doing research with more happiness. Then, you will find new values “more” than you expect in research activities.

It is my proposed new research idea called “Dare-to-Do”. This model is based on the four MFs factors: More fun, More Friends, More flexible, and More Fund. Details are as follows;

Firstly, More fun. The whole research project makes many researchers feel hard and difficult, but startup ‘research topic’ makes them feel more harder and more difficult. Therefore,  you should read the various and previous studies with “fun”. You should feel like you play game or watch a nice movie. Don’t do it with “stress” or under “pressure” feeling.

Secondly, More friends. Don’t think alone, try using new social media likes WeChat, Line, Skype , YouTube, Google, and Facebook to get “more friends”. In international perspective, “know Who” is more important than “Know How”. “More friends” word means less time to do more research topic or project. Trust me! more heads are better than one head.

Thirdly, More flexible. Research methodology consists of both qualitative and quantitative method. Don’t waste your time, money, and energy with impossible research method. Change research style from “Impossible” to “I’m possible” concept. In population and sampling size, you can apply this tool to solve the unexpected problems.

Finally, More fund. New researchers face similar problems: funding. If you are new and startup researcher. Your status is “nobody”. Try to be “somebody” as fastest way in your research field. I strongly suggest that you should form “research structure” which looks “professional team and strong research teamwork”. At the starting point,  for instance, you should organize senior researcher as head of your research project, research team, and keep contact various universities or private organizations to support your research funding since changing from “nobody” to be “somebody” is the most effective way to get funding for your research. Of course, frequently going to international conference will connect you to international researchers and you will learn by yourself  “how to get research fund”.

To be successful researcher, it is not easy task, it takes continuing time from five to ten years or even may be your whole life to reach your target goal. However, when you feel upset or very tired, keep in mind only two important words:  “be patient” and “never give up”.  Startup from little project and slowly year to year basis will help you make strong experience and background in your research area, thereafter, you will get the top position in research title as you wish.

I hope this model will be ‘click & quick” research idea for your shorter way to success as international researchers. Thank you for joining us! Hope you joint other HEF conferences in various countries with more fun, more friends, more flexible, and more fund.

I hope to see you again.

 

 

สุนทรพจน์สำหรับการประชุมวิชาการระดับการอุดมศึกษา
(ฉบับแปลไทย)

แสดง ณ มหานครปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘

“กล้า-ที่จะ-ทำ: ต้นแบบ MF4 สำหรับนักวิจัยนานาชาติ”

ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ

Charisma University, Turks and Caicos, UK


วิสัยทัศน์ของการประชุมวิชาการระดับอุดมศึกษาคือเพื่อร่วมมือกันทำวิจัยระหว่างนักวิจัยสาขาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในบริบทการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ หัวข้อ “กล้า-ที่จะ-ทำ” เป็นประเด็นสำคัญที่ผมขอเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ คณาจารย์นักวิจัยจากนานาชาติ ข้อถกเถียงที่สนุกสนานและยังไม่ค้นพบคำตอบในเวทีวิจัยนี้คือทุกท่านต่างเข้าใจการจัดการความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (IQ) กล่าวคือ ความเข้าใจตนเอง, ฉันคิด, ดังนั้น ฉันจึงมี ฉันจึงเป็น ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการใช้เชาวน์ปัญญาชี้วัดความสำเร็จของนักวิจัยคือ นักวิจัยส่วนมากในระดับนานาชาติประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ รู้เฉพาะเรื่องที่ตนเองวิจัยเท่านั้น และมักจะคิดว่าคนอื่นๆ ไม่เข้าใจสิ่งที่ตนเองต้องการสื่อออกไป ถ้าท่านใช้แนวคิดการจัดการความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) วัดความสำเร็จของนักวิจัยอันได้แก่ ความเข้าใจคนอื่นๆ และลงมือทำวิจัยเน้นให้มีความสุข “มากกว่า” ความเครียด ถ้าทำได้เช่นนั้น ท่านจะค้นพบค่านิยมการทำงานใหม่ๆ “มากกว่า” ที่ท่านคาดหวังจะได้รับจากกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยของท่าน

วันนี้ผมขอนำเสนอแนวคิดการวิจัยสมัยใหม่ที่เรียกว่า “Dare-to-Do” แปลว่า “กล้า-ที่จะ-ทำ”  กรอบแนวคิดการวิจัยนี้มีพื้นฐานจากปัจจัยสำคัญ ๔ ข้อ กล่าวคือ ๑. กล้าที่จะทำวิจัยให้สนุกมากกว่าเดิม ๒. กล้าที่จะทำวิจัยแล้วได้เพื่อนมากกว่าเดิม ๓. กล้าที่จะทำวิจัยให้ยืดหยุ่นมากกว่าเดิม และ ๔. กล้าที่จะทำวิจัยแล้วได้รับทุนวิจัยมากกว่าเดิม รายละเอียดในแต่ละปัจจัยมีดังนี้

ปัจจัยแรก “กล้าที่จะทำวิจัยให้สนุกมากกว่าเดิม”
ว่ากันว่าโครงการวิจัยทั้งเล่มทำให้นักวิจัยหลายคนรู้สึกหนักอกหนักใจและยากเย็นแสนเข็ญ แต่การเริ่มต้นค้นหา “หัวข้อที่จะทำวิจัย” ทำให้นักวิจัยหลายคนบ่นกันพึมพัมด้วยความรู้สึกว่าหนักยิ่งกว่าและยากยิ่งกว่า การเป็นนักวิจัยที่ดี จะต้องอ่านผลงานวิจัยที่คนอื่นๆ ทำไว้และหลากหลายด้วยความรู้สึก “สนุกมากที่ได้อ่าน” ท่านจะต้องรู้สึกคล้ายกับว่ากำลังเล่นเกมส์หรือดูหนังที่สนุกสนาน อย่าทำวิจัยด้วยกรอบแนวคิดแบบเดิมๆ นั่นคือ “เครียด” หรือตกอยู่ใต้ “แรงกดดัน”

ปัจจัยที่ ๒ “กล้าที่จะทำวิจัยแล้วได้เพื่อนมากกว่าเดิม”
อย่าคิดคนเดียว พยายามใช้สื่อสังคมที่ทันสมัย ยกตัวอย่างเช่น วีแช็ต ไลน์ สไกป์ ยูทูบ กูเกิล และเฟซบุก เพื่อค้นหา “เพื่อน” กลุ่มใหม่ให้มากกว่าเพื่อนเก่าๆ ที่มี จากมุมมอง “นานาชาติ” จะพบว่า แนวคิด “Know Who: รู้จักใคร” สำคัญมากกว่าแนวคิด “Know how: รู้จักวิธีการ”  คำว่า “มีเพื่อนมากกว่า” แปลอีกนัยได้ว่าใช้เวลาน้อยลงที่จะเลือกหัวข้อหรือประเด็นโครงการที่จะทำวิจัย เชื่อผมเถิดว่า “หลายหัว” ช่วยกันคิดช่วยกันทำวิจัยย่อมดีกว่า “หัวเดียว”

ปัจจัยที่ ๓ “กล้าที่จะทำวิจัยให้ยืดหยุ่นมากกว่าเดิม”
ระเบียบวิธีวิจัยระดับนานาชาติมีเพียงแค่ ๒ วิธีนั่นก็คือวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ อย่าเสียเวลา เสียเงิน เสียโอกาสกับวิธีวิจัยที่ “เป็นไปไม่ได้” จงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการวิจัยจากแนวคิดที่ “เป็นไปไม่ได้” สู่แนวคิด “ต้องทำให้จงได้” อย่างเช่นในการกำหนดประชากรและขนาดกลุ่มตัวอย่าง ท่านสามารถใช้เครื่องมือนี้เพื่อแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิดว่าจะทำได้

ปัจจัยสุดท้าย “กล้าที่จะทำวิจัยแล้วได้รับทุนวิจัยมากกว่าเดิม”
นักวิจัยที่เป็น “มือใหม่” หลายคนพบปัญหาคล้ายคลึงกันนั่นก็คือ “แหล่งทุนสนับสนุนการทำวิจัย”
ถ้าท่านเป็น “มือใหม่” และยังเป็นเพียงแค่นักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น   ท่านมีสถานภาพเป็น “นิรนาม” จงพยายามที่จะเป็น “คนดัง” ให้เร็วที่สุดทุกวิถีทางในสาขาวิจัยที่ท่านถนัด คำแนะนำที่ต้องรีบทำคือท่านจะต้องสร้าง “โครงสร้างการวิจัย” ซึ่งพิจารณาแล้ว “มีทีมวิจัยระดับมืออาชีพและทำงานเป็นทีมวิจัยที่เข้มแข็ง” ผมขอยกตัวอย่างการเริ่มต้นทำวิจัย ท่านจะต้องจัดองค์กรให้มีหัวหน้าโครงการวิจัย มีทีมงานวิจัย และพยายามติดต่อมหาวิทยาลัยและองค์การภาคเอกชนที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนทุนวิจัยของท่านเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจาก “นิรนาม” เพื่อเป็น “คนดัง” เป็นวิถีทางที่มีประสิทธิผลมากที่สุดที่จะทำให้ท่านได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย และแน่นอนว่าการหมั่นเดินทางออกนอกประเทศไปเสนอผลงานวิจัยในเวทีวิจัยระดับนานาชาติของท่านจะเชื่อมโยงให้ท่านได้ติดต่อพบปะกับเพื่อนๆ นักวิจัยจากประเทศต่างๆ และท่านจะได้เรียนรู้ด้วยตนเองว่า “การที่จะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยท่านต้องทำอย่างไร?”

การที่จะเป็นนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จมิใช่เรื่องง่าย อาจใช้ระยะเวลาจาก ๕ ปี จนถึง ๑๐ ปีเศษ หรืออาจทั้งชีวิตของท่านเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ท่านตั้งใจเอาไว้ อย่างไรก็ดี เมื่อท่านรู้สึกผิดหวังหรือท้อแท้ ให้ท่องคำ ๒ คำที่สำคัญไว้เสมอ นั่นคือ คำว่า “จงอดทน” กับอีกคำคือ “อย่ายอมแพ้” การเริ่มต้นทำวิจัยจากโครงการวิจัยชิ้นเล็กๆ และค่อยๆ สะสมผลงานทีละเล็กทีละน้อยค่อยเป็นค่อยไปทีละปีๆ จะช่วยให้ท่านทำวิจัยได้ด้วยประสบการณ์และมีผลงานวิจัยที่เข้มแข็งในสาขาการวิจัยที่ท่านถนัด หลังจากนั้น ผมเชื่อว่าท่านก็จะได้รับตำแหน่งทางวิชาการระดับ “สูงสุด” โดยมีตำแหน่งนักวิจัยตามที่ท่านใฝ่ฝัน

ผมหวังว่า ต้นแบบ Dare-to-Do นี้จะเป็นแนวคิดการวิจัยที่ช่วยให้ท่าน “คลิกและควิก” เข้าใจภาพรวมการทำวิจัยและลงมือทำวิจัยได้ทันที ทันใด ทันใจ เพื่อย่นระยะทางสู่ความสำเร็จในฐานะนักวิจัยระดับนานาชาติได้สั้นลง ผมขอขอบคุณทุกท่านหลายร้อยคนจาก ๓๐ กว่าประเทศที่ได้มาชุมนุมกันในวันนี้ และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้มาร่วมนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติกับเวทีวิจัยนานาชาตินาม HEF ที่จัดขึ้นในหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกไกลอีกครั้งด้วยความรู้สึกกล้าที่จะทำวิจัยให้สนุกมากกว่าเดิม กล้าที่จะทำวิจัยแล้วได้เพื่อนมากกว่าเดิม กล้าที่จะทำวิจัยให้ยืดหยุ่นมากกว่าเดิม และกล้าที่จะทำวิจัยแล้วได้รับทุนวิจัยมากกว่าเดิม

ผมหวังว่า เราน่าที่จะได้พบเจอกันอีกครั้ง!  

 

Comments

comments