197. สู่ชัยชนะด้วย Social Media

7/7/2558

 

S__2195580 (Mobile)

S__2195581 (Mobile)

 


สู่ชัยชนะด้วยโซเชียลมีเดีย

CharismaU_Logo

ดร. อุทิส  ศิริวรรณ
ศาสตราจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ
โครงการปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  Charisma University

www.charismauniversity.org

e:mail: druthit@druthit.com

SocialMedia_Photo

“มีบริษัท2ประเภท กลุ่มแรกพยายามขายแพงกลุ่มหลังเน้นขายสินค้าถูก ผมเน้นขายถูก”

JeffBezos
เจฟ เบซอส CEO www.amazon.com

เกือบ 20 ปีที่ผมคลุกคลีกับโครงการระดับต่างๆ ตั้งแต่ 1ล้านบาทจนถึงหลักหมื่นล้านบาท ทั้งการบริหารโครงการและการเป็นที่ปรึกษาโครงการของกิจการรัฐและเอกชน มีประเด็นที่อยากนำมาบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์ให้ฟัง โดยเฉพาะโมเดล “รวดเร็ว” หรือ “ชักช้า”


          ผมเป็นคนแรกๆ ที่นำเสนอโมเดล 4 ท ไว้เมื่อปี 2554 ถึงทุกวันนี้กว่า 5 ปีแล้วก็ยังคงทันสมัยซึ่งโมเดลดังกล่าวสรุปสั้นๆ ว่า คนหรือองค์กรจะสำเร็จได้ ต้องมี 4 ปัจจัยกล่าวคือ ทีม-ทุน-ทำเล-เทคโนโลยี

ฝากไว้เป็นแง่คิดว่าการจะชนะด้วยโมเดลที่เร็วกว่า คนทำโครงการจะต้องมีครบทั้งทีมที่เร็ว-ทุนที่สนับสนุนเพียงพอรวดเร็ว-ทำเลที่ไปมาสะดวก-รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยรวดเร็ว และ “กึ๋น” หรือไอเดียที่เจ๋ง
หลายคนกลัวคำว่า “รวดเร็ว” เพราะตนเอง “ไม่เร็วพอ” และ “ใจไม่กล้าพอ” ที่จะลงสนามประลองความเร็วในสภาพการแข่งขันที่รวดเร็วและรุนแรง ทั้งที่แท้ที่จริงหลายโครงการเสียเวลาตรงคิดช้าแต่ทำได้เร็ว

5 ปีให้หลัง ผมค้นพบ “สถิติ” อันแปลกใหม่ น่าพิศวง ชวนให้อึ้ง ทึ่ง และรู้สึกอัศจรรย์
เอาจากที่ตาเห็นก่อน ประสบการณ์เดินห้างหรูต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ หรือสยามพารากอน เดี๋ยวนี้นอกจากที่จอดรถคนพิการแล้ว ยังมีที่จอดรถสำหรับซูเปอร์คาร์

และรถหรูแพงระยับคันละหลายสิบล้านบาท ส่วนใหญ่ เจ้าของคือเด็กหนุ่มสาว อายุไม่มาก

คฤหาสน์หรูราคาสี่ห้าสิบล้านบาท ยุคสมัยกาลเวลาเปลี่ยนผ่านรวดเร็ว กลายเป็นว่า กำลังซื้อกลับเป็นคนหนุ่มสาวอายุยี่สิบถึงสามสิบเศษๆ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ได้รับราชการแม้แต่คนเดียว!

มองไกลไปถึงเวทีการค้าระดับอาเซียน ผมใช้สถิติตัวเลข “รวดเร็ว” หรือ “ชักช้า” ไว้ตรวจสอบ และก็ยิ่งค้นพบความมหัศจรรย์ว่า เดี๋ยวนี้ คนในระดับอาเซียน ระดับภูมิภาค และระดับอาเซียน

เฉพาะคนที่สำเร็จเร็วกว่า เดี๋ยวนี้ เป็นคนหนุ่มสาว และคนรุ่นใหม่ทั้งนั้น !

 

Facebook_Popular

สื่อออนไลน์ และโลกออนไลน์ ที่เห็นและสัมผัสไม่ได้ ห้ามพลาด! เป็นประเด็นที่ฝากไว้ให้คิด และพิจารณา สำหรับคนที่กำลังมองหา เสาะแสวงหา และค้นหาความสำเร็จที่รวดเร็วกว่าปกติ

อาลีบาบา เฟซบุ๊ก อะเมซอน ยูทูบ กูเกิ้ล คือกรณีตัวอย่างกิจการที่สำเร็จด้วยโมเดล “เร็วกว่า”

สายการบินต้นทุนต่ำอย่างแอร์เอเชีย  ไลอ้อนแอร์ วันนี้ทุ่มทุนทำระบบจองออนไลน์ครบวงจร!

เรื่องราวของคนรุ่นใหม่ที่สำเร็จรวดเร็ว อย่างเถ้าแก่น้อย หรือต๊อบ “อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์” ก็เป็นกรณีศึกษาของคนที่สำเร็จแบบ “รวดเร็ว” มิใช่ “ชักช้า” เพราะกระแสบอกต่อในโลกออนไลน์

V_Vajiramedhi

กรณีท่าน ว. วชิรเมธี ปราชญ์เมธีลือชื่อในวงการสงฆ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงเชื่องช้าที่สุด  แต่ท่าน ว. ท่านยังสำเร็จได้ขณะอายุน้อยๆ ชีวิตท่าน ว. ก็เป็นอีกตัวอย่างของโมเดล “เร็วกว่า” เพราะโซเชียลมีเดียเช่นกัน!
การที่ “พระมหา” หนุ่มๆ รูปหนึ่ง ที่อายุน้อย มั่นคงในศีลาจารวัตร แนวปฏิบัติ “วิถีพระ” สามารถเผยแพร่ “พระธรรม” คำสอนของพระบรมศาสดา โดยมี “สมาชิก” 5 ล้้านคนเศษ มากยิ่งกว่า “นายกรัฐมนตรี”
ที่ว่าได้รับความนิยมสูงสุดแล้ว  2 คน   แสดงว่า “Social Media”  สร้างกระแส “ไม่ธรรมดา” ได้ เพราะส่งผลให้เกิด “นวัตกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ” ที่เป็นมูลค่าและคุณค่าตามมาอีกมากมาย

เรื่องราวเด็กสาวรุ่นใหม่ อย่างหญิงลี ศรีจุมพล รวมถึงเรื่องราวสู้ชีวิตของเธอ เพลง “ขอใจเธอแลกเบอร์โทร” โด่งดัง และมียอดคลิก 157 ล้านคลิกผ่านยูทูบ เธอสำเร็จได้เร็วกว่าเพราะออนไลน์เทคโนโลยี!
แน่นอนว่า  ชื่อเสียง  เงินทอง  ความมั่นคง และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ย่อมหลั่งไหลมาสู่ตัวเธอและคนรอบข้างให้สุขสบาย  ใดๆ ทั้งหลายทั้งปวง เกิดขึ้นได้เพราะฤทธิ์คือเทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย

“กลยุทธ์ออนไลน์”  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับกิจการ SMEs ที่เริ่มต้นธุรกิจแบบ “จนเงิน แต่ไม่จนความคิด”  เพราะเป็นเวทีเผยแพร่ไอเดียและความคิดสู่ลูกค้าทั่วโลก  ใครคิดเป็น คิดเก่ง คิดแต่งต่าง ก็
ยังมีช่องทางรวยได้ไม่ยาก

YingLee

          บทสรุปที่อยากเล่าวันนี้คือ ทุกอย่างอยู่ที่ “ความคิด” ความแตกต่างระหว่าง Impossible กับ I’m Possible คือการรู้จักใส่ “คอมม่า” และ “เว้นวรรค” เป็น สำคัญที่สุด

ต้องใช้โซเชียลมีเดียกระตุ้นยอดขาย!
       

         ย้ำว่าไม่ใช่คนเราจะต้องรวดเร็วทุกเรื่อง ชีวิตจริงก็ต้องเร็วบ้างช้าบ้าง แต่ตอนทำ “ประตูชัย” ต้องตัดสินใจยิง “รวดเร็ว” จึงจะทำแต้มได้ ดังนั้นต้อง “คิดเป็นแล้วรีบทำงานให้เสร็จรวดเร็ว” ครับ             

 


 

 

 

 

Comments

comments