192. สายการบินโลว์คอสต์ นครโฮจิมินห์ การศึกษา

อ่านบทความในรูปแบบ PDF  คลิกที่ลิงก์นี้

02_2558_HowtoWin_Web

 

คอลัมน์  How to Win


สายการบินโลว์คอสต์ นครโฮจิมินห์ การศึกษา

 

ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ

11 มกราคม 2558

เผยแพร่ซ้ำ  ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘


“ไม่ใช่เราฉลาดล้ำ วางเกมเก่ง หรือทำได้ตามแผน แต่เพราะทีมงานเชื่อเราจึงมีพลังของคนที่คอยสนับสนุน”

แอนน์ มัลคาฮี, CEO XEROX

          ปีใหม่ 2558 นี้ ผมได้ทดลองนั่งสายการบินต้นทุนต่ำแห่งหนึ่งจากดอนเมืองถึงนครโฮจิมินห์ด้วยเวลาแสนสั้นเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงเศษ ค่าตั๋วโดยสารไปกลับเพียงแค่สามพันบาทเศษถูกกว่าไปเชียงใหม่

 

ISB (Small)
โครงการปริญญาโท MBA หลักสูตรนานาชาติ University of Economics Ho Chi Minh City ร่วมกับ University of Western Sydney, Australia ภายใต้สถาบันชื่อ International School of Business : ISB

http://www.isb.edu.vn/default.aspx

http://uws.edu.vn/

ได้เชิญผมไปบรรยายหัวข้อ “การจัดการเชิงกลยุทธ์ไทย-เวียดนาม”

UWS (Small)

ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าครั้งหนึ่งผมเคยมีประสบการณ์บริหารโครงการปริญญาโทและเอกรับใช้มหาวิทยาลัยเคอร์ติน และมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยี ณ นครซิดนีย์ เป็นต้น

ผิดกับห้วงเวลานี้ คนทั่วไปรับรู้ว่าผมเป็นผู้บริหารระดับสูงโครงการปริญญาโทและเอกของมหาวิทยาลัยในอเมริการวมถึงอังกฤษอยู่ด้วย และรับรู้กันว่าทำงานรับใช้ชาติด้วยวิชาการระดับนานาชาติ
ประสบการณ์จัดการศึกษาและวิจัยระดับอุดมศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก วันหนึ่งรวบรวมเสร็จคงพิมพ์เป็นหนังสือเล่มใหญ่ได้เลยทีเดียว
ผมพยายามหาจุดร่วมระหว่างความแตกต่างของสายการบินต้นทุนต่ำ กับนครโฮจิมินห์ซึ่งมีรถมอเตอร์ไซค์ชวนปวดหัวมากที่สุดในโลกเชื่อมโยงให้ได้กับการศึกษาระดับนานาชาติ
มีเพียงแค่ 3 เรื่องที่ไปพบเห็นมาแล้วอยากเล่า…

“การศึกษา” เป็นเรื่องแรก ที่น่าสนใจ วันนี้เมืองไทยจะไปได้เร็วหรือช้าแค่ไหน จะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ การศึกษาจะเป็นตัวชับเคลื่อนและผลักดัน
วันนี้ จะศึกษาหลักสูตรใดๆ ก็แล้วแต่ ต้องยอมรับว่าเรียนไปเพื่ออยู่กับคนและทำงานรับใช้คน
“คน” ทั้งโลกในห้วงเวลานี้กำลังปรับและเปลี่ยนวิธีคิด วิธีสื่อสาร และวิธีทำงาน
สมัยหนึ่ง “อุโมงค์กู่จี” แห่งไซ่ง่อน หรือนครโฮจิมินห์มีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็น “เมืองใต้พิภพ” เวียดนามสร้างวีรกรรมรบเอาชนะมหาอำนาจอย่างอเมริกาได้สำเร็จ
แต่คนเวียดนามก็เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับ “ชนะ” แบบเดิมๆ กลับเปิดประเทศรับรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ เชิญอาจารย์ระดับ ดร.ทั่วทุกมุมโลกให้เดินทางไปสอน ไปทำวิจัย

รวมถึงเปิดโอกาสให้คนมีความรู้ความสามารถคนเก่งภาคธุรกิจให้ไปค้าขายได้อย่างเสรี
ดังนั้น การศึกษาสมัยใหม่ ต้อง “สอน” ตนเองให้รู้จักประเทศตัวเอง และประเทศเพื่อนบ้านให้มากๆ เพราะวันนี้แม้โลกจะหมุนไปไกลแสนไกลแค่ไหนแล้วก็จริง แต่ยิ่งหมุนห่างไกล กลับพบว่ายิ่งเล็กลงๆ เรื่อยๆ
อนาคต คนจะเดินทางไปทำงานประเทศต่างๆ เป็นว่าเล่น ด้วยสายการบินต้นทุนต่ำ และรถไฟความเร็วสูง นี่คือวิสัยทัศน์ที่ผมมองเห็นจุดยืนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในอนาคตอันใกล้
“สังคมพหุวัฒนธรรม” เป็นเรื่องที่ 2 ที่น่าสนใจ อีกไม่นาน “คน” จะทำงานกับคนต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างภาษากันมากขึ้น เดิมหายากที่คนพุทธจะคุยกับชาวคริสต์ อิสลาม หรือศาสนาอื่นๆ แต่เดี๋ยวนี้ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่เปิดกว้าง จะทำให้คนวัฒนธรรมเดียวกลายเป็นคนหลายวัฒนธรรมโดยไม่รู้ตัว

“ความคุ้นเคยกับคนในพื้นที่” เป็นอีกข้อได้เปรียบของคนที่รู้ภาษา รู้ท้องถิ่นที่ตนเองได้สัมผัสคุ้นเคย เดี๋ยวนี้ไกด์ไทยมีแฟนเวียดนาม ไกด์จีนมีแฟนคนไทย ไม่นับคนที่มีแฟนต่างศาสนา มีให้เห็นมากมาย เพราะความคุ้นเคยจะนำไปสู่การสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ และมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมที่ทันสมัยได้ตลอดเวลา
ที่กล่าวมาข้างต้น ฝากไว้ให้นำไปคิด สำหรับบุคคล และองค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชน จะได้นำไปเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกลยุทธ์อาเซียนปี 2558 ครับ

 

 

Comments

comments