174. กลยุทธ์ 3 Ss (ตอน 3)

IMG_6970 (Small)

คอลัมน์  How to Win

กลยุทธ์ 3Ss: Scale Scope Speed (ตอน 3)

ศาสตราจารย์  ดร. อุทิส  ศิริวรรณ
ประธานบริหารโครงการปริญญาเอก
Ph.D. Program
Charisma University, Turks & Caicos, UK
www.charismauniversity.org
University of Atlanta, Georgia, USA
www.uofa.edu

23 กันยายน 2557

“ถ้าการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกเร็วกว่าสภาพภายในองค์กรเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงสภาวะตกต่ำ”
แจ็ก เวลช์, ซีอีโอ GE

 

เคยมีคนตั้งคำถามว่า ระหว่างแข่งกันด้วย “ขนาด” “กลุ่ม” และ “ความเร็ว”
ตัวแปรใดที่นำไปสู่ “ชัยชนะ” ?

คำตอบคือ ให้ดูจาก “ผลลัพธ์” ที่เกิดขึ้นกับองค์การต่างๆ รอบตัว
วันนี้ อีเมล์มาแทนที่ไปรษณีย์ทั่วไป ขณะที่ล่าสุด ไลน์โปรแกรม ทำหน้าที่แทนอีเมล์
อนาคต อีเมล์อาจไม่มีอีกต่อไป เพราะส่งไลน์ ใช้วีแชต สะดวกรวดเร็วกว่า

มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ยังจัดการเรียนการสอนแบบเก่าๆ เดิมๆ ต่อไปอาจพ่ายแพ้ต่อการศึกษาสมัยใหม่ ที่กำลังพัฒนาโดยกูเกิ้ล

โกดัก และโนเกีย คือกรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นถึง “ความเร็ว” ชนะ “ขนาด”  และ “การรวมกลุ่ม”
ใครจะไปคาดคิดว่า วันนี้ โกดัก  สูญเสียตลาดการถ่ายรูปให้แก่สมาร์ทโฟน และกล้องดิจิตอลยี่ห้อต่างๆ

สำหรับคนที่ต้องการประสบความสำเร็จ  วันนี้  โอกาส และความเป็นไปได้ ยังเปิดกว้าง สำหรับคนที่ “เร็ว”

วิธีชนะด้วยความรวดเร็วในยุคสมัยใหม่ สามารถทำได้ดังนี้

วิธีที่ 1 ทำเร็วก่อนคู่แข่งรายอื่นๆ 1ก้าว
แซม วอลตัน เป็นคนที่น่าสนใจ เขานำ “วอลล์มาร์ต” ขึ้นเป็นกิจการอันดับ 1 ของโลก ด้วยกลยุทธ์คิดและทำก่อนคู่แข่ง  1 ก้าว

คนที่กำลังไขว่คว้าหาความสำเร็จ อย่ามัวแต่คิดช้า ด่าไว ต้องคิดเร็ว ทำเร็ว และรีบลงมือทำก่อนคนอื่นๆ ทำงาน สร้างผลงานให้เสร็จเร็วก่อนคู่แข่ง

วิธีที่ 2 ยึดส่วนแบ่งการตลาดให้ได้เป็นอันดับ 1 ในระดับนานาชาติ
ซัมซุง และแอปเปิล เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ กลยุทธ์ของซัมซุงคือ ต้องเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ในตลาด

เช่นเดียวกันกับแอปเปิล ผลักดันไอพอด ไอแพด จนถึงล่าสุดคือไอโฟน ก็ด้วยการใช้เทคโนโลยีล้ำยุค ก้าวไปไกลก่อนคู่แข่งรายอื่นๆ จะคิดและทำตามได้ทัน

เป็นบทเรียนว่า “ส่วนแบ่งตลาด” เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ “ความเร็ว” ในการช่วงชิงพื้นที่การค้า

วิธีที่ 3 I’m Possible not the Impossible กล้าคิดว่าเรามีได้ เราเป็นได้ เราทำได้ อย่าคิดท้อแท้ว่า เขาทำได้ เราทำไม่ได้ เขามีได้ เรามีไม่ได้ เขาเป็นได้ แต่เราเป็นไม่ได้
กิจการเล็กๆ แต่ผู้ประกอบการกล้าคิดใหญ่ กระทั่งกิจการใหญ่โตขยายสาขาแฟรนไชส์ไปทั่วประเทศรวดเร็วอย่างร้านสะดวกซื้อ 7-11 จนคู่แข่งไล่กวดไม่ทัน เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเรียนรู้
วิธีสุดท้าย “คิดแล้วทำ”  คำโบราณว่า “ทำใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ” สะท้อนว่าถ้าคิดสินค้าหรือบริการใดๆ แล้วเชื่อมั่นว่าขายได้ ติดตลาดแน่ๆ ขอเพียงแค่มีความมั่นใจ ต้องพกความมั่นใจมาเต็มร้อย ก็จะสำเร็จ

ตอนที่กูเกิ้ลยังเป็นกิจการเล็กๆ ยอดขายปีละประมาณ 7 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้บริหารระดับสูงของยาฮูสนใจขอซื้อในราคาสูงลิบลิ่วถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ผู้ก่อตั้งกูเกิ้ลไม่ยอมขาย ขอปรับราคาเป็น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สุดท้ายการเจรจาล้มเหลว ผู้บริหารกูเกิ้ลคว้าน้ำเหลวกลับออฟฟิศ

แต่ไม่กี่ปีหลังจากนั้น มูลค่ากูเกิ้ลประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ !
ถ้ายาฮูเลือก “คิดแล้วทำ” ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ชั้นนำราคา 3 แสนเหรียญมาไว้ในมือด้วยราคาเพียงแค่ 3พันล้านเหรียญสหรัฐ ทุกวันนี้ทางยาฮูยังเสียดายและเสียใจไม่หายที่คิดแล้วไม่ทำ
ทั้ง 4 กลยุทธ์ข้างต้น ล้วนเป็นแง่คิดที่นำมาปรับใช้ได้สำหรับผู้ที่สนใจวิถีแห่งชัยชนะทุกท่าน

Comments

comments