๒๕๐. สมถะและวิปัสสนาตามนัยแห่งเปฏโกปเทสปกรณ์

๒๕๐. สมถะและวิปัสสนาตามนัยแห่งเปฏโกปเทสปกรณ์

 

อุทิส ศิริวรรณ
เขียน

๘ เมษายน ๒๕๖๔

 

 

ผมสนใจค้นคว้า “พระไตรปิฎก” และคัมภีร์บริวารต่างๆ
เพื่อประกอบการวิจัยพุทธศาสนาชั้นสูง

พบประเด็นน่าสนใจคือคำอธิบาย

คำว่า “สมถะ” กับคำว่า “วิปัสสนา”

สมถะ คือ ภาวะที่จิตตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยดี
ตั้งลง ดำรงอยู่ ปรากฏอยู่ ตั้งอยู่ใกล้เคียง
จิตมีสมาธิ จิตแน่วแน่ จิตไม่กระสับกระส่าย
จิตไม่เดือดร้อน จิตสงบระงับ จิตมีฉันทะเกิดมีในใจ
จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว นี้เรียกรวมว่า “สมถะ”

 

ส่วน “วิปัสสนา”  คือการค้นคว้าวิจัย
การค้นคว้ารอบด้าน การพิจารณา การใคร่ครวญ
การยึด การถือ การถือควมั่น การพิจารณาด้วยจิต
การไตร่ตรอง การใคร่ครวญ ความรู้ ความรู้แจ้ง
ความมีปัญญาดังจักษุ ความรอบรู้ ความฉลาด
ความมีปัญญา ความมีปัญญาสว่าง ความมีปัญญาแจ้งชัด
ความมีปัญญารุ่งโรจน์ ความมีปัญญาสว่างไสว
ความมีปัญญาแหล่มคมดุจดังพระขรรค์
ความมีปัญญาเฉียบแหลมดังหอกซัด
ความมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมวิจัย
ความมีองค์แห่งมรรคคือสัมมาทิฏฐิ
ในขันธ์ ธาตุ อายตนะ นามรูป ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปปนันธรรมที่เกิดขึ้น
ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ในกุศลและอกุศล
ในธรรมมีโทษและไม่มีโทษ
ในธรรมดำและธรรมขาว
ในธรรมควรเสพหรือไม่ควรเสพ
นี้จัดเป็นวิปัสสนา  ….

ด้วยเหตุนี้ ธรรมชาตินั่น ท่านจึงเรียกว่าวิปัสสนา
อีกนัยหนึ่ง วิปัสสนานั่น มีหลายประการ
เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั่น จึงเรียกว่าวิปัสสนา

เป็นความจริงว่าวิปัสสนา ๒ นัยนี้
ท่านเรียกว่า “ธัมมวิปัสสนา”

 

หมายความว่าพระนักปฏิบัติ ย่อมเห็นด้วยวิปัสสนา ๒ นัยนี้
คืองามและไม่งาม ดำและขาว ควรเสพและไม่ควรเสพ
กรรมและผลของกรรม ความผูกพันและความหลุดพ้น
การสั่งสมและไม่สั่งสม  ความเป็นไปและการหวนกลับ
ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจึงเรียกว่า “สิปัสสนา”

 

อีกนัยหนึ่ง เพราะเนื้อความว่า “ปัสสนา” มีอุปสัคค์คือ “วิ”
นำหน้า ดังนั้น ในทางไวยากรณ์ จึงเรียกว่า “วิปัสสนา”
นี้ก็จัดเป็นวิปัสสนา

 

ในบรรดาบทเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายมีโรค ๒ ชนิดคือ
อวิขขา ความไม่รู้แจ้งเห็นจริง และตัณหาความอยากในภพ
เพื่อกำจัดโรคประจำตัวร้ายแรง ๒ ชนิด
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมอบยา ๒ ขนานให้กล่าวคือ
สมถะ และวิปัสสนา

 

ผู้กินยา ๒ ขนานนี้แล้ว ย่อมกระทำให้แจ้ง
ซึ่งสภาวะไม่มีโรคร้ายแรง ๒ ชนิดข้างต้นนี้
คือการหลุดพ้นทางใจอันคลายความกำหนัด
และความหลุดพ้นทางปัญญาอันคลายอวิชชาความไม่รู้แจ้งเห็นจริง
ในสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด

 

ในข้อนั้น โรคคือตัณหา มีสมถะเป็นยารักษาเยียวยา
เจโตวิมุตติ การหลุดพ้นทางใจ เรียกว่าไร้โรคา
เพราะทำให้หมดราคะ ส่วนโรคคืออวิชชา มีวิปัสสนาเป็นยา
ปัญญาวิมุตติ การหลุดพ้นทางปัญญา เรียกว่าไร้โรคา
เพราะทำให้หมดอวิชชาได้

 

เป็นความจริงอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ ๒ อย่างนี้ว่า ธัมมะ ๒ ข้อ ควรกำหนดรู้
นั่นคือ นามและรูป

อธัมมะ ๒ ข้อควรละ นั่นคือ อวิชชา และตัณหาความอยากในภพ

ธัมมะ ๒ อย่างควรฝึกให้เกิดมีมากมายนั่นคือ
สมถะ และวิปัสสนา

 

ธัมมะ ๒ อย่าง ควรทำให้แจ้ง
นั่นคือ วิชชา และวิมุตติ

 

อ้างอิง 

เปฏโกปเทสปกรณ์ (บาลี-ไทย)
ฉบับภูมิพโลภิกขุ
พิมพ์ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๘

หน้า ๒๘๒-๒๘๕

 

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
ให้ธัมมะเป็นทาน ย่อมชนะ ทุกสรรพทาน 

 

 

 

 


 

หลักปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์

โดยพิจารณากำหนดนับลมหายใจ
แยกเป็น ๒ ระดับ คือระดับสมถะ
กับระดับวิปัสสนา

ล้วนน่าสนใจ นำมาฝึกปฏิบัติกัน

 

 

 

Comments

comments