๒๓๒. ข้ออรรถ ข้อธรรม “ปรสิต ขี้ขโมย และขอทาน”

 

บทความที่ ๒๓๒

๑๗.๕.๒๕๖๒
ข้ออรรถ ข้อธรรม
“ปรสิต ขี้ขโมย และขอทาน”
อุทิส ศิริวรรณ
เขียน
——-

ผมพูดเสมอๆ ว่า
“แพ้เป็นโจร ชนะเป็นเจ้า”
จะเอาชนะคนอาสัตย์อาธรรม์ได้ทุกวันนี้
นอกจากมือจะต้องไม่มีแผลแล้ว
ยังต้องมี “ความคิดความอ่าน”
ที่รู้เท่าทัน “กลุ่มคนที่มีปืน” “กลุ่มคนที่มีอำนาจ”
ซึ่งนวนิยายเรื่อง Atlas Shrugged เรียกกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์
“ชนะเป็นเจ้า” แยกออกเป็น ๓ กลุ่ม
กลุ่มแรก คือ ปรสิต
กลุ่ม ๒ คือ ขี้ขโมย
กลุ่ม ๓ คือ ขอทาน

แนวคิด คน ๓ กลุ่มนี้ น่าสนใจ เพราะกำลังแพร่หลายในประเทศที่เผด็จการ
มีอำนาจ

ยุคนี้เป็นยุคที่
ตัวกู พวกกู ถูก
ตัวมึง พวกมึง ผิด
นี่คือ “สัจธรรม” ที่บัณฑิตและสาธุชน
พึงทราบ รอบคอบ และอย่าประมาท

ทุกวงการ น่าสะพรึงกลัว ยิ่งนัก

ตัวกู พวกกู ชั่วแสนชั่วแค่ไหน ก็ถูกทุกข้อ
ตัวมึง พวกมึง ดีแสนดีแค่ไหน ก็ผิดไปหมด

สุดท้าย ไม่ติดคุก ก็ไม่มีแผ่นดินจะอยู่

ร้อนระอุ ทุกหย่อมหญ้า

ผมได้แค่ “สื่อสาร”
ความเจ็บแค้นของ “ราษฎร” “พสกนิกร”

ที่เป็นเดือดเป็นแค้น เจ็บช้ำน้ำใจ
แทนครูบาอาจารย์ พวกพ้อง พี่น้องที่
เดือดร้อนจาก “ปืนจี้” และเอา “กฎหมาย”
บังคับ ลงโทษ เล่นงาน คนกลุ่มที่ไม่ใช่ “พวกกู”

——–

ปรสิต  ในประเทศเผด็จการ เวลานี้
วางตัวดี มาดดี ผู้ดี พูดจาดูดี มีสกุล

ได้ใช้ “ทฤษฎีสมคบคิด” ร่วมกันคิดอ่าน

ร่วมกับกลุ่ม “คนมีสี” และกลุ่ม “คนจน” “คนว่างงาน” คนไม่มีงาน”
“คนตกงาน” “คนแก่” ที่พอยังมีไฟ บางกลุ่ม
ผ่าน “ระบบราชการ” ที่มี “ช่องโหว่” และ “จุดอ่อน”
รวมถึง “สภาวะรัฐล้มเหลว” เนื่องจาก “พรรคการเมืองต่างๆ”
แตกสามัคคี มัวแต่กระหายอำนาจ แก่งแย่ง แย่งชิงอำนาจ ไม่มีใครยอมใคร
เลยเกิดสภาวะ” ตาอินตานาทะเลาะกัน” แล้ว “ตาอยู่” เอาปืนจี้
เอารถเข็น เข็นคนแก่ ประคองมาประชุมกันตาม “ทฤษฎีสมคบคิด” ออกกฎหมาย
ยึดครอง “อำนาจ” ยาวนาน ๒๐ ปี เป็นอย่างน้อย

กอปรกับ “ชนในชาติ” อ่อนน้อม อ่อนโยน อ่อนแอและยอมให้ “คนมีปืน” และ “คนมีอำนาจ”
ร่วมกัน “ปล้น” เอา “ผลประโยชน์ชาติ” ไปเป็นของตนแบบ
“ด้านได้ อายอด”
“เอาดีใส่ตัว เอาชั่วโยนให้คนอื่น”

พสนกนิกร และสมณชีพราหมณ์จึงเดือดร้อน ทุกหย่อมหญ้า

——–
ในโลกยุคดิจิทัล มีหนังสือเล่มหนึ่ง เขียนขึ้นสมัยกึ่งพุทธกาล
ถึงปัจจุบันก็ยังคงทันสมัย

ผมอ่านจบไปแต่เมื่อครั้งอยู่ที่นิวยอร์ก
ทุกวันนี้จากนิวยอร์กมากว่า ๒๐ ปี
เนื้อหาสาระของหนังสือนวนิยายเล่มนี้
ยังคง “ทันสมัย” และ “อัพเดต” ตลอดเวลา

——–

ไอน์ แรนด์ นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์
ผู้เขียน “Atlas Shrugged” เกิดที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย
ในปี ๒๔๔๘
เธอได้เคยเห็นเหตุการณ์ปฏิวัติรัสเซีย ขณะเป็นวัยรุ่น
พรรคบอลเซวิกส์ ได้ยึดเอาทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่พ่อเธอสร้างเอาไว้ไปจนหมดสิ้น

ต่อมาในปี  ๒๔๖๙ เธอลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่นิวยอร์ก
การที่เธอได้เห็นทั้งระบบคอมมิวนิสต์และระบบทุนนิยม
ทำให้เธอมี “มุมมอง ๒ มิติ”
เธอได้วิจารณ์นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตก
และนักเศรษฐศาสตร์ยึดติด “ทฤษฎีฟองสบู่” ว่า
“พวกเขามีอิสรภาพที่จะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับความเป็นจริง…
แต่พวกเขายากจะก้าวข้าม “เหวลึก” ที่ตนปฏิเสธเรื่อยมาว่าไม่มีจริง…”

ไอน์ แรนด์ เปรียบเทียบ “ข้าราชการ” และ “ทหาร” ที่ยึดเอา
ทรัพย์สินที่คนอื่นหามาได้ด้วยการใช้อำนาจรัฐบังคับโดยนัยคือ

“เอาปืนจี้” กดหัวให้คนยอม ไม่กล้าต่อสู้ เพราะกลัวติดคุกและกลัวตาย
และข้าราชการตลอดถึงคนมีสีเหล่านี้ใช้อำนาจโดยอ้าง “กฎหมาย”
ยึดเอาทรัพย์สินที่ประชาชนหามาได้ยากเย็นแสนเข็ญแทบเป็นแทบตาย
ด้วย “ปืน”  และออก “กฎหมาย” ที่เอื้อต่อการ “ยึดทรัพย์” ประชาชน

ไอน์ แรนด์ เรียกข้าราชการและคนมีสีเหล่านี้ว่า “ขี้ขโมย”

และยังได้เปรียบเทียบ เรียก “กลุ่มคน” ที่รวมตัวกันในนาม

“คนยากคนจน” “คนไม่มีที่ทางทำกิน” “คนไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง” ว่า
“ขอทาน” โดยแรนด์บรรยายว่า “ขอทาน” ไม่มีความสามารถในการผลิต
จึงเรียกร้องเอา “ความมั่งคั่ง” ของผู้ผลิตมาเป็นของกลุ่มและพวกพ้องตนเอง
พวกเขาไม่พอใจความสามารถและศักยภาพของผู้ผลิต และคอยพร่ำพูดเรื่อง

“สิทธิทางศีลธรรมของพลเมือง” พร้อมๆ กับการฉวยโอกาสจากรัฐบาลโดย
“ถูกต้องตามกฎหมาย”  และแรนด์ยังมองว่ามีคนอีกจำพวก กลายร่างเป็น “ปรสิต” วางท่า วางตัวเป็น “คนดีเด่นดังด้านศีลธรรม” และ “คนดีเด่นดังด้านสติปัญญา”

คนเหล่านี้จะร่วมมือกับ “ขี้ขโมย” และ “ขอทาน” เสนอให้รัฐที่มีอำนาจปกครองจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง เพื่อเอามาเลี้ยงคนจนในรูปแบบของเงินสวัสดิการ เสนอให้จัดตั้งสหภาพแรงงาน และเสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการที่ผูกขาดทั้งหมด เรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่าย งบประมาณภาครัฐ เพื่อประโยชน์ตกถึงแก่ “ปรสิต” “ขี้ขโมย” และ “ขอทาน” เสนอการวางแผนภาครัฐ กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และจัดการสรรแบ่งปันประโยชน์ ให้ตกแก่ “ขี้ขโมย” และ “ขอทาน”

ไอน์ แรนต์ เผยแพร่หนังสือ Atlas Shrugged ในช่วง “กึ่งพุทธกาล” ตรงกับปี ๒๕๐๐ หรือเมื่อ ๖๒ ปีก่อน
หนังสือเล่มนี้ถูกโจมตีอย่างหนักตั้งแต่ช่วงแรกที่วางขาย ทว่าถึงปัจจุบันได้กลายเป็นหนังสือคลาสสิก
ผู้คนพูดถึงหนังสือเล่มนี้ว่า “เป็นหนังสือที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์ไบเบิล”

รายละเอียดหนังสือโดยสังเขป

http://www.asianefficiency.com/books/atlas-shrugged-by-ayn-rand/

 

 

Comments

comments