ตำราที่แต่ง/แปล/รวบรวม/เรียบเรียง

ผลงานตำราทีตีพิมพ์เผยแพร่มีหลายแนว

๑. สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

๒. สาขาบริหารธุรกิจ การตลาด การจัดการ ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี/โท/เอก)

๓. สาขาการฝึกอบรม ระดับประกาศนียบัตร

ตำราที่ตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ “การธำรงรักษาพุทธวจนะด้วยภาษาบาลี”

ผลผลิต: ได้ตำราช่วยเรียนภาษาบาลีระดับ ประโยค ๑-๒ ป.ธ. ๓ ช่วยให้การเรียนภาษาบาลีจาก “ยาก” กลายเป็น “ง่าย” ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือพระภิกษุสามเณรวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เหนือ-อีสาน-กลาง-ใต้ ต่างได้ “ประโยชน์” จากการแปลภาษาบาลีที่ยากแสนยาก กลายเป็น “สะดวก รวดเร็ว” แต่ “ไม่ง่าย”

ภาษาบาลี คือ “ภาษาเทพ” “ภาษาคนชั้นสูง” “ภาษาของคนมีบุญ มีวาสนา” ใครบุญไม่ถึง วาสนาไม่ถึง ก็เรียนไม่ได้

ผลลัพธ์: มีผู้สอบภาษาบาลีระดับต่างๆ ได้จำนวน “หลายหมื่นรูป” ในรอบ 20 ปีเศษที่ผ่านมา เพราะใช้ตำราชุดนี้

ผลกระทบ: ทางด้านเศรษฐกิจ ช่วยยกระดับ ยกสถานะ คนชั้นรากหญ้า ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึง “ความทัดเทียม” และ “ความเสมอภาค” ด้านการศึกษา ทำให้ได้มีวุฒิ เมื่อมีวุฒิ ก็ได้ยกสถานะ ยกระดับ สู่การเรียนสถาบันการศึกษาระดับ “อุดมศึกษา” เป็นบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ทัดเทียมสาขาวิชาอื่นๆ

ทางด้านสังคม: ช่วยให้พระสงฆ์สามเณรทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเข้าถึง “สื่อ” การศึกษาภาษาบาลีที่ทันสมัย ทัดเทียมกับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง ทำให้มีเวลาปฏิบัติงานและปฏิบัติธรรม
งานชิ้นนี้ ยังสร้างงาน สร้างคน สร้างรายได้ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีอาชีพการงาน มีความมั่นคง ในลักษณะ “กลุ่มเล็กๆ”
ถ้าสังคมไทย ช่วยกันทำงาน “โครงการเล็กๆ” ทีละโครงการ และทำให้แล้วเสร็จในแต่ละแห่ง ก็จะสร้างโอกาส และความเจริญแก่ประเทศในสาขาวิชาชีพที่ตนถนัด และได้ทำในสิ่งที่ตน “รัก”

Achievement; งานแปลชิ้นนี้ สร้างบุคคลที่มีชื่อเสียงประดับไว้ในวงการหลายท่าน เช่น พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์ที่มีชือเสียงเปรียญธรรม ๗ ประโยค ก็ใช้ตำราชุดนี้ พระสงฆ์อื่นๆ ที่เป็นพระราชาคณะหลายรูป ก็ได้ใช้ตำราชุดนี้ สำนักเรียนภาษาบาลีที่ดังๆ เช่น สำนักเรียนวัดตากฟ้า นครสวรรค์ สำนักเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ สำนักเรียนวัดไร่ขิง สำนักเรียนวัดพระพุทธบาท สระบุรี สำนักเรียนวัดพระนอนจักรสีห์ ฯลฯ  ผู้เรียนล้วนรู้จัก และใช้ตำราชุดนี้เพื่อช่วยให้สอบพระปริยัติธรรมในแต่ละชั้นปีผ่านพ้นไปได้

สาขาภาษาบาลี

ตำราที่แปล/เรียบเรียง และคณะสงฆ์ใช้ในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ชั้นประโยค ๑-๒

๑. ธรรมบท แปลโดยพยัญชนะ ภาค ๑ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา ปฐโม ภาโค)

๒. ธรรมบท แปลโดยพยัญชนะ ภาค ๒ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา ทุติโย ภาโค)

๓. ธรรมบท แปลโดยพยัญชนะ ภาค ๓ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา ตติโย ภาโค)

๔. ธรรมบท แปลโดยพยัญชนะ ภาค ๔ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา จตุตฺโถ ภาโค)

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยร้านเรืองปัญญา ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๙

จัดพิมพ์และเผยแพร่ทั่วประเทศโดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ฉบับปรับปรุงครั้งล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๔

จัดพิมพ์และเผยแพร่ทั่วประเทศโดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

(ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อีกหลายครั้ง ตั้งแต่ ๒๕๒๘-ปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า ๒๐ ครั้ง

 

ตำราที่แปล/เรียบเรียง และคณะสงฆ์ใข้ในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ชั้นประโยค ป.ธ. ๓

๑. ธรรมบทแปลโดยพยัญชนะ ภาค ๕ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา ปญฺจโม ภาโค)

๒. ธรรมบทแปลโดยพยัญชนะ ภาค ๖ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา ฉฏฺโฐ ภาโค)

๓. ธรรมบทแปลโดยพยัญชนะ ภาค ๗ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา สตฺตโม ภาโค)

๔. ธรรมบทแปลโดยพยัญชนะ ภาค ๘ (แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ธมฺมปทฏฺฐกถา อฏฺฐโม ภาโค)

(พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ โดยประมาณ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงต้นฉบับล่าสุด ปี ๒๕๕๕)

จัดพิมพ์เผยแพร่โดย โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง และสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงเพียรเพื่อพุทธศาสน์

ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

๕. วิชาสัมพันธ์ไทย ธรรมบทภาคที่ ๕

๖. วิชาสัมพันธ์ไทย ธรรมบทภาคที่ ๖

๗. วิชาสัมพันธ์ไทย ธรรมบทภาคที่ ๗

๘. วิชาสัมพันธ์ไทย ธรรมบทภาคที่ ๘

๙. วิชา บุรพภาค

และตำราอื่นๆ เกี่ยวกับภาษาบาลี เล่มอื่นๆ ฯลฯ อยู่ระหว่างกำลังรวบรวมผลงาน

ตำราด้านการบริหารจัดการ (อยู่ระหว่างรวบรวมผลงาน)

๑. การจัดการการตลาดฉบับเอเชีย ตำราการตลาดระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
งานแปลจากตำราการจัดการการตลาดระดับโลก โดย ศ. ดร. ฟิลิป คอตเลอร์ และคณะ

ตำราการจัดการสมัยใหม่ ของปรมาจารย์การจัดการระดับโลก Samuel Curto
แปลเรียบเรียงโดย ดร. สมศรี ศิริไหวประพันธ์ และคณะ
เล่มนี้ ศ. ดร. อุทิส ศิริวรรณ เป็น บรรณาธิการ

 

 

ตำราประกอบการเรียนด้านการจัดการ ระดับ MBA รวมแนวคิดการจัดการธุรกิจสมัยใหม่

รวบรวมแนวคิดสุดยอดนักคิดด้านการจัดการระดับโลก อาทิ ทอม ปีเตอร์ส์ คอตเลอร์ ดรักเกอร์

อีกเล่มคือ “การเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยีสมัยใหม่” เหมาะสำหรับ SMEs ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่

งานระดับโลกของ Wharlton Busines School Publishing เรียบเรียงโดย Scott Jain จาก MIT

 

เล่มล่าสุด 2554  เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ตำรา “คำสอนในพระพุทธศาสนา”

 

 

Comments

comments