วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด

รวมงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ ระดับปริญญาโท/เอก ที่อาจารย์อุทิส ศิริวรรณ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาควบคุมการทำวิทยานิพนธ์/ภาคนิพนธ์/สารนิพนธ์ ฉบับเต็ม ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิก และดาวน์โหลดได้ วันละ ๖ ฉบับ ที่เว็บไซต์

http://tdc.thailis.or.th

รวมรายชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์
ที่อาจารย์อุทิส ศิริวรรณ เป็นที่ปรึกษา
คลิกดาวน์โหลดรายชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ที่นี่

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑

อาจารย์ที่ปรึกษา   ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title กระบวนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า
Title Alternative Location Decision Process of Small Business in Electrical Appliance Firm
Creator Name: สมใจ คิดรุ่งเรือง
Subject keyword: เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ; การตัดสินใจ ; ธุรกิจขนาดย่อม ; การจัดการธุรกิจ
LCSH ธุรกิจขนาดย่อม — เครื่องใช้ไฟฟ้า
Description Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมประเภทเครื่องใช้ ไฟฟ้า และวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมประเภท เครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้หลักการศึกษาจำแนกข้อมูลตามลักษณะการประกอบการ ด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative study) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการหรือผู้จัดการธุรกิจขนาดย่อมประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำการผลิต ให้บริการ รับซ่อม/ปรับปรุง/ดัดแปลง/ให้เช่า และจำหน่ายส่ง/ปลีก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีพื้นที่ตั้งในเขตจังหวัดนครปฐม และขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมธุรกิจการค้าจังหวัดนครปฐม กระทรวงพาณิชย์จำนวน ๒๕ กิจการ โดยมีธุรกิจการผลิต ๕ กิจการ ธุรกิจให้บริการ ๑๐ กิจการ และธุรกิจการค้าปลีก ๑๐ กิจการ กระบวนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งมี ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การพิจารณาลักษณะสภาพปัญหา ด้านทำเลที่ตั้ง ๒) การกำหนดวิธีเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาด้านทำเลที่ตั้ง ๓) การค้นหาพื้นที่ทำเลที่ตั้ง ๔) การตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง ผลการศึกษาพบว่าการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งแยกตามประเภทธุรกิจ พบว่าธุรกิจการผลิต การพิจารณาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่พิจารณาการค้นหาพื้นที่ตั้ง ที่คำนึงถึง ด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน ระบบสาธารณูปโภค ความใกล้ลูกค้า หรือศูนย์บริการขนส่ง การคมนาคมสะดวก ระบบสาธารณูปโภค และพิจารณาความสามารถในการตั้งโรงงานตาม ในเขตพื้นที่ตาม พ.ร.บ การผังเมือง ๓ ใน ๕ กิจการ พบว่าตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งในเขตพื้นที่ชุมชนอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน ธุรกิจให้บริการพิจารณาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่พิจารณาการค้นหา พื้นที่ตั้งที่คำนึงถึงการเลือกที่ตั้งใกล้แหล่งชุมชน และเส้นทางสัญจรหลักของจังหวัด การคมนาคมสะดวก มีสถานที่จอดรถสำหรับลูกค้า และอยู่ไม่ไกลจากร้านค้าจำหน่ายที่เปิดเพื่อรองรับการบริการหลังการขาย ๔ ใน ๑๐ กิจการ พบว่าตัดสินใจเลือกทำเล ที่ตั้งในบริเวณถนนราชวิถี อำเภอเมืองนครปฐม สำหรับธุรกิจการค้าพิจารณาสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา พิจารณา การค้นหาพื้นที่ตั้ง คำนึงถึงการเลือกที่ตั้งใกล้แหล่งชุมชน เส้นทางสัญจรหลักของจังหวัด การคมนาคมสะดวก มีสถานที่จอดรถสำหรับลูกค้า และสามารถมองเห็นป้ายและการตกแต่งหน้าร้านที่ชัดเจน ๕ ใน ๑๐ กิจการ พบว่า ตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งในบริเวณถนนราชวิถี อำเภอเมืองนครปฐม

The two purposes of this study were to study and analysis location decision process of small business in Electrical Appliance firm. This study report was a qualitative study. The samples were five manufacturers, ten service businesses and ten traders, who have located in Nakornprathom Province and registered for operating about electrical appliance with Commerce of Nakornprathom Province or Ministry of Commerce.

There are four steps of location decision process were ๑) Reviewing the problems of organizes, ๒) Definition the solutions of them, ๓) Finding the suitable locations, ๔) Deciding the location. The location decision process study of manufacturers were considering inbound process, labour factors, transportation, infrastructure and be permit to incentive industrial zone. Three from five organizes have decided the Aomyai community in Amphur SamParn. The location decision process study of service businesses were considering to be locate in the center of community and the main transportation line, parking lot for the customers, closed the trader-partners. Four from ten organizes have decided on Rajvithee Street in Amphur Muang Nakornprathom. The location decision process study of traders were considering to be locate in the center of community and the main transportation lines, parking lot for the customers and clearing visual the notice and display of the stores. Five from ten organizes have decided on Ratvithee Street and Phetkasem High-way in Amphur Muang Nakornprathom.

Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2548-08-09
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-930-5
Source CallNumber: วพ HD62.7 ส237 ก5 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาจังหวัดนครปฐม
Title Alternative A Study of the Customer Satisfaction towards a Service of the Branch of Big C Supercenter in Nakhonpathom Province
Creator Name: สร้อยรุจี อินทศร
Subject keyword: ห้างสรรพสินค้า — บริการลูกค้า ; ความพึงพอใจ ; การให้บริการ ; ศูนย์การค้า — การให้บริการ
LCSH ความพึงพอใจของลูกค้า ; การขาย
Description Abstract: การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาจังหวัดนครปฐม และเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาจังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าที่ใช้บริการห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ในส่วนของการวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการด้านสินค้า และบริการ ราคา สถานที่บริการ และการส่งเสริมแนะนำบริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาจังหวัดนครปฐ ม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สำหรับการเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test วิเคราะห์ตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ F-test สำหรับตัวแปรอิสระที่มีตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ลูกค้าที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.8 มีอายุ 20 – 34 ปี ร้อยละ 62.5 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 52.5 ทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 48.5 มีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 31.0 ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสินค้าและบริการ ราคา สถานที่บริการ อยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจด้านการส่งเสริมแนะนำบริการอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับลูกค้าที่มีเพศแตกต่างกันมีความพึงพอใจการให้บริการด้านสินค้าและ บริการ สถานที่บริการ และการส่งเสริมแนะนำบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ลูกค้าที่มีอายุและรายได้แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านสินค้า และบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ลูกค้าที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกัน ด้านสินค้าและบริการ ราคา สถ านที่บริการ และการส่งเสริมแนะนำบริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนลูกค้าที่มีอาชีพแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่แตกต่างกัน

Purpose of this study was to find out the Customer Satisfaction towards a Service at the Branch of Big C Supercenter in Nakhonpathom Province and compare it with personal data. Research instruments used was questionnaire. The samples consisted of 400 customers. Statistics employed here was mean, standard deviation, t-test and F-test respecticely. The results had been found that 76.8% were female, 62.5% were age between 20 – 34 years, 52.5% were bachelor degree holders, 48.5% were private officers and 31.0% had income less than 10,000 baht. Besides, customers were extremely satisfied through product, price, place and promotion. However, customer satisfaction toward service promotion was in average. Additionally, for hypothesis testing of customer satisfaction toward product and service, a significant difference at .05 level was found among customers who had different sex, age and income respectively. Specifically, a significant difference at .05 level in different customer satisfaction toward different product and service, price, place and promotion was found among customers whose difference in education. Finally, no significant difference was found among customers whose difference in occupation.

Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2548-08-09
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5438 ส346 ศ6 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร
Title Alternative A Study of the Computer Distribution Channel at Pantip PlazaDepartment Store in Bangkok
Creator Name: ทรงยศ ใจวงษ์
Subject keyword: คอมพิวเตอร์ — การจัดจำหน่าย ; คอมพิวเตอร์
LCSH การขาย — คอมพิวเตอร์ ; คอมพิวเตอร์ — เครื่องมือและอุปกรณ์
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง ศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์และเพื่อ วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดของผู้จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้า พันธุ์ทิพย์พลาซ่า โดยผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสังเกต (Observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Document Analysis) วิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ช่องทางการจัดหน่ายสินค้าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้ง หมด 7 ช่องทาง อันประกอบด้วย ช่องทางที่ได้รับความนิยมหรือมียอดจำหน่วยสูงสุดเรียงตามลำดับได้แก่ ช่องทางการจัดจำหน่ายหน้าร้าน, รองลงมาเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายโดยขยายสาขาไปยังห้างสรรพสินค้าที่จำหน่าย สินค้าเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล, และช่องทางการจัดจำหน่ายขายส่งสินค้าให้กับห้างสรรพสินค้าที่จัดจำหน่าย สินค้าเทคโนโลยี ส่วนที่ได้รับความนิยมน้อยหรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยมี 4 ช่องทางคือ ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางโทรศัพท์ ช่องทางการจัดจำหน่ายโดยใช้พนักงานขายตรงซึ่งเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่ นิยมน้อยที่สุด ส่วนกลยุทธ์ทางการตลาด ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดทางด้านราคามาเป็นปัจจัยหลักในธุรกิจการ จัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าของตนโดยการขายตัดราคาขายสินค้าและการขาย ส่งสินค้าในจำนวนมากๆ เพื่อให้ได้ปริมาณในการสั่งซื้อซึ่งจะส่งผลต่อการที่ผู้ประกอบการจะได้ใช้ ปริมาณของการสั่งซื้อจากลูกค้าที่มากไปต่อรองกับผู้ผลิตเพื่อให้ได้ต้น ทุนราคาที่ต่ำลง เพื่อจะได้แข่งขันอยู่ในตลาดและได้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นด้วย ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์เป็นศูนย์รวมของสินค้าเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย ซึ่งอยู่ในใจของลูกค้าเพราะเป็นศูนย์การค้า “One Stop Shopping Center” ที่สามารถตอบสนองความต้องการสินค้าเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้า ได้มากที่สุด การส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์นิยมใช้วิธีการขายปลีก และขายส่งเพื่อกระจายสินค้าอย่างรวดเร็ว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสินค้าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ สำคัญในการทำธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยการขยายสาขาการจัดจำหน่ายไปยังห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้าเทคโนโลยี ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

This study was to study of the Computer Distribution Channel at Pantip Plaza. Purpose of study was to study of the computer distribution channel and marketing strategy of enterprises in Pantip Plaza. Qualitative research with observation, In-dept interview, Document Analysis and Descriptive Analysis were used here. It was found that a computer distribution channel was divided into seven channels. In the order by three top of sales to followed with shop front distribution, add branch of technology department store around Bangkok and nearly distribution, IT department wholesale distribution. The four lower of sales included with Internet networking distribution, printing distribution, telephone distribution and directed sales distribution that was lowest of channels. All enterprises used a cause of priced strategy in computer distribution to consumer’s response. They were cut-off sales and mass product sales to order with many goods from supplier’s negotiation for low cost and made market share higher. The Pantip Plaza was IT central that had many goods for consumer’s response. Because it called “One Stop Shopping center” and it caned response most of consumers. The promotion used by retail and wholesales for quick goods distribution of IT upgrade. The important in IT distribution selected the add branch of technology department store around Bangkok and nearly distribution.

Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2548-08-09
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-935-6
Source CallNumber: วพ HF5439.T42 ท143 ศ6 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title แรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบการอู่ต่อรถโดยสารในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
Title Alternative A Study of Motivation toward Employees Work The Bus Body Builder in Banpong District Ratchaburi Province.
Creator Name: เจนนิศา กราบเครือ
Subject keyword: การทำงาน — จิตวิทยา ; อู่ต่อรถโดยสาร — ลูกจ้าง ; ลูกจ้าง ; ผู้ประกอบการ
LCSH แรงจูงใจ ; ความพอใจในการทำงาน ; ลูกจ้าง — การทำงาน
Description Abstract:การศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการทำงานของ ลูกจ้างในสถานประกอบการอู่ต่อรถโดยสาร ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบการอู่ ต่อรถโดยสารในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้าง จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกจ้างในสถานประกอบการอู่ต่อรถโดยสารในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 222 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ลักษณะส่วนบุคคล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ในส่วนของการวิเคราะห์แรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้าง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การเปรียบเทียบ แรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้าง โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลเพื่อทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test วิเคราะห์ตัวแปรอิสระ ที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ F-test สำหรับตัวแปรอิสระที่มีตั้งแต่ 3 กลุ่ม ขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ลูกจ้างที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 197 คน คิดเป็นร้อยละ 88.7 อายุระหว่าง 31–40 ปี จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 45.9 มีระดับการศึกษา ป.4-ป.6 จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 69.4 ประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 45.0 และผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้ 4,000–8,000 บาท จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 ลูกจ้าง มีแรงจูงใจในการทำงานทั้ง 6 ด้าน ในระดับมาก กล่าวคือ สภาพการทำงานมีค่าเฉลี่ย 4.18 สัมพันธภาพกับนายจ้างมีค่าเฉลี่ย 4.04 ค่าจ้างมีค่าเฉลี่ย 3.97 การควบคุมบังคับบัญชามีค่าเฉลี่ย 3.89 นโยบายและการบริหารมีค่าเฉลี่ย 3.80 สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานมีค่าเฉลี่ย 3.33 ตามลำดับ

Purpose of this study was to study motivation of employees of The Bus Body Builder in Banpong District Ratchaburi Province and personal characteristics. Research instruments used was questionnaire. The samples consisted of 222 employees of The Bus Body Builder in Banpong District Ratchaburi Province. Statistical methods employed in the analysis were the mean and standard deviation. In testing the hypotheses, A t-test with two independent variable groups and an F-test with more than three independent variable groups were used. The results of the investigation revealed that most samples (88.7) were male; 68.8 percent of them aged between 31–40 ; 45.9 percent completed grade 4-6 level. The respondents received between 4,000–8,000 baht monthly salary; Most of them expressed their motivation as high ; 4.18 points for working conditions ; 4.04 for relationship with supervisor ; 3.97 for salary ; 3.89 for supervision ; 3.80 for company policy and administration ; 3.33 for relationship with peers and welfare benefits.

Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address:กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2548-08-09
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5549.5.M63 จ715 ร8 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานในส่วนงานสำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2
Title Alternative The Study of the Influenced Factor on Job Satisfaction Case Study of Telephone Administrative Office Sector of Central Region Telephone Service 1.2
Creator Name: วรวิทย์ ลาภนิมิตรชัย
Subject keyword: พนักงาน ; โทรศัพท์
LCSH สำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 ; ความพึงพอใจในการทำงาน
Description Abstract:การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอ ใจของพนักงานในส่วนงานสำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในส่วนงาน สำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานในส่วนงานสำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 จำนวน 99 คน และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นำเสนอแบบสอบถามเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานใน ส่วนงานสำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบความตรงตามเนื้อหา และได้แก้ไขปรับปรุงข้อคำถามตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฉิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถ ดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่าพนักงานในส่วนงานสำนักงานบริการโทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุไม่เกิน 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.6 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 58.6 ส่วนใหญ่อายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 77.8 และมีรายได้ 10,000 – 20,000 คิดเป็นร้อยละ 44.4 นอกจากนี้พบว่าพนักงานเหล่านี้มีระดับความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานในส่วนงานสำนักงานบริการ โทรศัพท์ภาคกลางที่ 1.2 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรับผิดชอบในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และสภาพการทำงาน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย 0.677 หมายความว่า ความรับผิดชอบในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และสภาพการทำงานสามารถอธิบายความผันแปรของความพึงพอใจได้ร้อยละ 67.7 The objective of this research was to study the background data of the company’s employees, the levels of the employee’s job satisfaction, and also its influenced factors. Then, the quantitative analysis of these factors has been employed in order to test the hypothesis and conduct the ending results. The sample consisted of 99 employees. In the process of questionnaire developing, the questionnaire has been examined and revised by the professional outsiders before distributing. The collected data was carefully analyzed by the quantitative methods of percentage, arithmetic mean, standard deviation and multiple regression by utilizing the SPSS program. The findings were that among the personnel 57.6% were male only at the age not over 40 years 58.6 accomplished their under Bachelor degree, and also had been working in the TOT over 10 years, Moreover, 44.4% had got monthly paid about ฿10,000 – ฿20,000 and the results revealed their influenced factors as high level, that the influenced factors of this study were the responsibility, inter personal relations with peer, advancement and working conditions was found at 0.05 level, with the coefficient of correlation of 0.677 in which its means these three influenced factors can be interpreted in term of job satisfaction with 67.7%
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2548-08-15
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-579-2
Source CallNumber: วพ HF5549.5.M63 ว281 ก6 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๖

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ศึกษาแรงจูงใจของประชาชนที่เข้ามารับการฝึกอบรม ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 4
Title Alternative A Study of Motivation of People Whose Training at Institute for Skill Development Region 4
Creator Name: ณัฐนิช ตันอำนวย
Subject keyword: แรงจูงใจ ; การฝึกอบรม ; สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน – การฝึกอบรม ;
LCSH การตัดสินใจ ; การพัฒนาผู้นำและองค์การ
Description Abstract:การศึกษาเรื่องแรงจูงใจของประชาชนที่เข้า มารับการฝึกอบรม ณ สถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงานภาค 4 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจของประชาชนที่เข้ามารับการฝึกอบรม ณ สถาบันพัฒนา ฝีมือแรงงานภาค 4 และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของประชาชนที่เข้ามารับการฝึกอบรม ณ สถาบันพัฒนา ฝีมือแรงงาน ภาค 4 จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนที่เข้ามารับการฝึกอบรม ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 4 จำนวน 371 คน และผลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), t-test และF-test ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย และหญิงในอัตราส่วนที่พอ ๆ กัน โดยคิดเป็นร้อยละ 50.1 และเพศชายคิดเป็นร้อยละ 49.9 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 49.3 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อายุระหว่าง 36-55 ปี และต่ำกว่า 26 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.4 และ 24.3 ตามลำดับ มีการศึกษาระดับ อนุปริญญา, ปวช., ปวส คิดเป็นร้อยละ 63.9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 20.5 และ15.6 ตามลำดับ มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน คิดเป็นร้อยละ 29.9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ, นักเรียน/นักศึกษา, อาชีพอิสระ/ค้าขาย/รับจ้าง, ผู้ประกอบการ/นายจ้าง คิดเป็น ร้อยละ 25.9, 20.2, 12.1 และ11.9 ตามลำดับ ประชาชนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีแรงจูงใจทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระด ับมาก กล่าวคือ ด้านต้องการความสำเร็จ ค่าเฉลี่ย 4.47 ด้านการพัฒนาตนเอง ค่าเฉลี่ย 4.38 ด้านต้องการผูกสัมพันธ์ และสร้างเครือข่าย ค่าเฉลี่ย 4.11 ด้านโอกาสก้าวหน้าในงาน ค่าเฉลี่ย 3.97 และด้าน ค่าตอบแทน ค่าเฉลี่ย 3.88 ตามลำดับ และจากการเปรียบเทียบแรงจูงใจโดยจำแนกตามลักษณะ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจที่เข้ามารับการฝึกอบรมในแต่ละด้านไม่ แตก-ต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุแตกต่างกันมีแรงจูงใจที่เข้ามารับการฝึกอบรมในด้านต้อง การผูกสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้นสำหรับด้านการพัฒนาตนเอง ด้านโอกาส ก้าวหน้าในงาน ด้านค่าตอบแทน และด้านต้องการความสำเร็จมีแรงจูงใจไม่แตกต่างกัน Purpose of this study was to study the motivation of people whose training at Institute for Skill Development Region 4 and compare their motivation with personal characteristic. The instrument was questionnaire. The sample was 371 persons whose training at Institute for Skill Development Region 4. The data were analyzed through means, standard deviation, t-test and F-test. It was found that the sample group of male and female was in the same ratio in the percentage of 50.1 and male in percentage of 49.9, aged between 26-35 years in percentage of 49.3 of all sample group. The second was the age between 36-55 years and lower 26 years in percentage of 26.4 and 24.3 respectively. There were the education levels such as Diploma, Certificate in Vocational Education, Certificate in High Vocational Education in percentage of 63.9 of all sample group. The second was the sample group for Bachelor Degree and High School Education in percentage of 20.5 and 15.6 respectively and the occupation was the company staff in the percentage of 29.9 of all sample group. The second was government officers, state enterprise officers, students, freelances, traders, employees, dealers, employers in the percentage of 25.9, 20.2, 12.1 and 11.9 respectively. It was found that respondants’ motivation was high in five aspects as followed : the need for achievement mean 4.47 ; self-development mean 4.38 ; relative need and network creation mean 4.11 ; advance in job opportunity mean 3.97 and reward mean 3.88 respectively. For hypothesis testing, no significant difference was found in different sex, education and occupation. The significant difference at the 0.05 level was found in different relative need and network creation. Finally, no difference was found in self-development, advance in job opportunity, sarary and the need for achievement.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2548-08-16
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-540-7
Source CallNumber: วพ HD30.29 ณ331 ศ6 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๗

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการบริการรับชำระเงินของสำนักงานบริการโทรศัพท์ในเขตจังหวัดราชบุรี
Title Alternative Customers’ Satisfaction toward Payment Service of the Telephone Service Office in Rajchaburi Province
Creator Name:ปิยะดวงใจ สุวรรงาม
Subject keyword: บริการลูกค้า ; พนักงานการเงิน
LCSH สำนักงานบริการโทรศัพท์ — การบริการ ; โทรศัพท์ — ราชบุรี — การบริการลูกค้า
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการบริการรับชำระเงิน ของสำนักงานบริการ โทรศัพท์ในเขตจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการบริการรับชำระเงิน และเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการรับชำระเงินของสำนัก งานบริการโทรศัพท์ในเขตจังหวัดราชบุรี จำแนกตาม เพศ ระดับอายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ใน 3 ด้านคือ ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านระบบการให้บริการ และด้านพนักงาน โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการชำระเงินค่า บริการโทรศัพท์ ของสำนักงานบริการโทรศัพท์ในเขตจังหวัดราชบุรี ที่เข้าสู่ระบบ ISO 9002:1994 จำนวน 367 ราย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติต่าง ๆ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ผลการศึกษาพบว่า 1. ร้อยละ 58.60 ของลูกค้าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.60 มีอายุ 21-40 ปี ร้อยละ 42.80 มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และร้อยละ 67.00 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี 2. ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อการบริการรับชำระเงิน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงตามลำดับ คือ ด้านพนักงาน ด้านระบบการให้บริการ และด้านสถานที่ให้บริการ 3. จากการเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าจำแนกตาม เพศ ระดับอายุ อาชีพ และระดับการศึกษาพบว่า ลูกค้าที่มีระดับอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริการรับชำระเงินในด้าน ระบบการบริการ ด้านพนักงาน และโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนลูกค้าที่มีอาชีพ ต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริการรับชำระเงินในด้านระบบการให้บริการ และโดยรวม แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับลูกค้าที่มีความแตกต่างของเพศและระดับการศึกษา มีความพึงพอใจต่อการบริการรับชำระเงิน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน The purpose of the study on Customers’ Satisfaction toward Payment Service of the Telephone Service office in Rajchaburi Province was to study and comparatively Customers’ satisfaction toward payment in 3 aspects : service places, service system and officers. The data were collected by the questionnaire. The Sample used was 367 customers gaining the service of the telephone payment service at the telephone service office in Rajchaburi province where ISO 9002 : 1994 was used. The data were analyzed through frequencies, percentages, means, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA variance and pair comparison. The results of the study revealed as follows : 1. Most of the customers who answer questionnaires were female, which 58.6 percentage of them were 21-40 years old, 58.60 did their own business, 42.80 percentage and 67 percentage obtained the educational level lower than bachelor’ degree. 2. Customers’ satisfaction toward the payment service in general and in particular was at high level, The aspects with high averages were the officer aspect, the service system aspect and the service places respectively. 3. The satisfaction of the customers with different age toward the payment service in general, service system and officer aspect was significantly different at .05 level. The satisfaction with payment service of the customers with different occupations in general and in the service system was significantly different at .05 level. No different in the satisfaction of the customers was found in the categories of gender and education level.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name:อุทิส ศิริวรร
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created:2549-04-27
Modified:2549-06-01
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN:974-361-514-8
Source CallNumber:วพ HE9440.55 ป621 ค6 2545
Language thai
Thesis DegreeName:บริหารธุรกิจมหาบัฑิต
Level:ปริญญามหาบัฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๘

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
Title Alternative Job Satisfaction of Teachers at Ratchaburi Technical College
Creator Name: กอบกุล พิไลพันธ์พฤกษ์
Subject keyword: ข้าราชการครู — ความพอใจในการทำงาน ; การทำงาน — วิจัย
LCSH การทำงาน — วิทยานิพนธ์ ; อาจารย์ — ความพอใจในการทำงาน ; ความพอใจในการทำงาน — วิจัย ; ครู — ความพอใจในการทำงาน ; ข้าราชการครู — ความพอใจในการทำงาน
Description Abstract:การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี มี วัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีที่ปฏิบัติการสอน ในปีการศึกษา 2545 จำนวน 166 คน จากนั้นนำมาประมวลผลและวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.2 เป็นชาย ร้อยละ 50.0 มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี ร้อยละ 74.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 34.3 มีอายุงานในวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี 21–30 ปี ร้อยละ 55.4 อัตราเงินเดือน 15,001–22,000 บาท สำหรับความพึงพอใจในการทำงานอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก จากการจำแนกแต่ละด้านพบว่า อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีมีความพึงพอใจในงานในระดับมาก 2 ด้าน คือ ความมั่นคงในงาน และสภาพการทำงาน ตามลำดับ มีความพึงพอใจในการทำงานในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ นโยบายการบริหารงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตามลำดับ เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีจำแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคลพบว่า สถานภาพที่แตกต่างกัน ทั้งเพศชายและหญิง กลุ่มอายุ กลุ่มระดับการศึกษา กลุ่มอายุงาน และกลุ่มเงินเดือน มีความพึงพอใจในการทำงานไม่แตกต่างกัน และอยู่ในระดับมาก The objective of this survey research was to study the job satisfaction of teachers at Ratchaburi Technical College and to compare the teachers’ job satisfaction individually. Questionnaires were used to collect the data, where as the population was 166 teachers working at Ratchaburi Technical College. Statistics employed here was Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation. The findings were that 54.2 percentage of teachers were male, only 50.0 percent were at the age of 36 – 45. In addition, 74.7 percentage accomplished their bachelor degree, 34.3 percentage also had been working in the Ratchaburi Technical College around 21 – 30 years. Moreover, 55.4 percentage had got monthly paid about ฿ 15,001 – ฿ 22,000. As a result of job satisfaction in overall aspect, teachers totally revealed their satisfaction at high level particularly, in job security and working condition. However, they consequently graded at fair level in remuneration, administration policy and personal interaction. The study also found that all teachers no matter with differences in sex, age, degree of education, the job duration or even monthly payment had got comparatively no differences in job satisfaction at high level.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2549-04-27
Modified: 2549-06-01
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-515-6
Source CallNumber: วพ HF5549.5.J63 ก358 ค2 2545
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๙

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title แรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่ออุตตมะ จังหวัดกาญจนบุรี
Title Alternative A Motivation of Collection of Small Buddha Image Amulets of Luang Pho Uttama in Kanchanaburi Province
Creator Name: อภิรักษ์ จุฬาศินนท์
Subject keyword: พระเครื่อง ; หลวงพ่ออุตตมะ — ตำนาน — กาญจนบุรี
ThaSH หลวงพ่ออุตตมะ — ตำนาน — กาญจนบุรี ; พระเครื่อง
Description Abstract:การศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคล ของหลวงพ่ออุตตมะ จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุ-ประสงค์ 2 ประการ คือ การศึกษาแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่ออุตตมะ จังหวัดกาญจนบุรี และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่ออุตตมะ จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลการศึกษาใช้วิธีเชิงสำรวจ โดยอาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสอบถามกลุ่มที่เคยบูชาวัตถุมงคลหลวง พ่ออุตตมะ จำนวน 200 คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ , ค่าความถี่ , ค่าเฉลี่ย ( ) , ค่าเบี่ยงเบน-มาตรฐาน (S.D.) , t-test และ F-test. ผลการศึกษาพบว่า โดยส่วนใหญ่คนที่บูชาวัตถุมงคล ร้อยละ 36.0 เป็นคนที่อยู่ในช่วงอายุ 31 – 40 ร้อยละ 67.0 เป็นเพศชาย ร้อยละ 30.5 มีอาชีพ ข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ, ร้อยละ 43.5 มีรายได้อยู่ในช่วงสูงกว่า 16,000 บาท ร้อยละ 43.0 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และเมื่อพิจารณาแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคล 5 ด้าน ทั้งด้านความศรัทธาในหลวงพ่ออุตตมะ ด้านความต้องการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้านความสนใจในพุทธศิลป์ ด้านความคาดหวังในธุรกิจ และด้านความศรัทธาในพระพุทธศาสนา พบว่ามีแรงจูงใจในด้านต่าง ๆ สูงทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 โดยแรงจูงใจในด้านความศรัทธาในหลวงพ่ออุตตมะ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคลหลวงพ่ออุตตมะ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลพบว่า ผู้ที่มีเพศ อายุ และอาชีพ แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคลไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีการศึกษาและรายได้แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการบูชาวัตถุมงคลแตกต่างกันมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 The purpose of this study was to study a motivation of collection of small buddha image amulets of Luang Pho Uttama, Kanchanaburi province and compare it with demographic data. This study report was a survey study. The sample was 200 persons who used to collect of small buddha image amulets of Luang Pho Uttama. The data will be analysis to solve , S.D. , t-test , F-test. It was found that the responses 67.0 percentage were male, 36.0 percentage were 31 – 40 years old, 43.0 percentage had bachelor graduate, 30.5 percentage were officials and public-privatized and 43.5 percentage had salary 16,000 Baht per month. Motivation consisted of (1) the piety in Luang Pho Uttama, (2) the spiritual stability need, (3) the interest on Buddhist’s art, (4) the expectation in business and (5) the piety in Buddism. The results revealed that the motivation of collection of small buddha image amulets was high level at 3.83 and the piety in Luang Pho Uttama was the highest level at 4.23 respectively. For hypothesis testing, it was fond that different sex, age and occupation were not different while different education and income were significantly different at 0.05 level.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2549-05-03
Modified: 2549-06-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-710-8
Source CallNumber: วพ BQ5125 อ261 ร8 25460.
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๐

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พอร์ด คิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โรงงานบ้านโป่ง
Title Alternative Motivational Drivers of Employees at the Ban Pong Factory : Pork Kings International Company Limited.
Creator Name: ไกรวัลย์ เจตนานุศาสน์
Subject keyword: ความพอใจในการทำงาน ; ลูกจ้าง — การทำงาน
ThaSH แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ; บริษัท พอร์ค คิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด — ลูกจ้าง ; ความพอใจในการทำงาน ; ลูกจ้าง — การทำงาน
Description Abstract:การศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัท พอร์ด คิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โรงงานบ้านโป่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท พอร์ด คิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดโรงงานบ้านโป่ง และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถาม สอบถามพนักงาน บริษัท พอร์ด คิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โรงงานบ้างโป่ง จำนวน 109 คน และผลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยหา ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Devjation), t-tes, F-test ผลการศึกษาพบว่า พนักงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 61.5 เป็นเพศหญิง ร้อยละ68.8 มีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี หรือต่ำกว่า ร้อยละ 63.3 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 49.5 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปวช.ร้อยละ 56.9 มีประสบการณ์ทำงานในบริษัท พอร์ด คิงส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ไม่เกิน 1 ปี และร้อยละ 82.6 ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีเงินเดือนอยู่ในช่วงระหว่าง 4,000 – 8,000 บาท พนักงานมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้ง 5 ด้าน ในระดับมาก ประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นโยบายการบริหาร สภาพการทำงาน ความมั่นคงในงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของพนักงานโดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันทุกด้าน ยกเว้นพนักงานที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ส่วนพนักงานที่มีอัตราเงินเดือนที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านความมั่นคงในงานรวมถึงด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการแตกต่างกัน อย่ามีนัยสำคัญที่ 0.05 This study of motivational drivers of employees at the Ban Pong factory, Pork Kings International Company Limited has two objectives as follows: to determine employees’ five motivational drivers consisted of interpersonal relationships, management policies, work condition, job security, for work compensation and welfare benefits and compare them as categorized by demographic data. Research instrument was used by questionnaire. The sample consisted of 109 employees. Statistical methods employed here were the Mean, Standard Deviation, t-test and F-test. The results revealed that most of the samples (61.5 percent) were female; 68.8 percent of them aged between 20-30 or lower; 63.3 percent were single; 49.5 percent had education lower than the vocational level; 56.9 percent had less-than-one-year work experience with the company and monthly salary 82.6 percent of the respondents had between 4,000-8,000 Baht. Most of them expressed their five motivational drivers as high level. No significant differences in their motivation was found in the categories of gender, age, educational level and marital status. However, Significant difference at 0.05 level was found among employees whose difference in work experience. Finally, for employees whose difference in salary, the significant difference among job security and work compensation and welfare benefits was found at 0.05 level. “
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2549-05-03
Modified: 2549-06-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-458-3
Source CallNumber: วพ HF5549.5.M63 ก979 ร8 2545
Language thai
Thesis DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๑

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม
Title Alternative A Study of Strategic Management in Broiler Operation in Nakhonpathom Province
Creator Name: อำนาจ ตั้งเหรียญทอง
Subject keyword: โรงฆ่าสัตว์ — ไก่ — นครปฐม ; การจัดการธุรกิจ
ThaSH โรงฆ่าสัตว์ — ไก่ — นครปฐม
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ และ 2) วิเคราะห์การดำเนินธุรกิจโรงฆ่า และชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงฆ่าและชำแหละเนื้อไก่ จำนวน 11 โรงงาน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติต่างๆ คือ การแจกแจงความถี่ และ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ SWOT ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพของสินค้าอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 7 โรงงาน และอยู่ในระดับสูงอยู่ 4 โรงงาน ซึ่งโรงงานได้นำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้บันทึกข้อมูลและลงบัญชีรายรับ รายจ่ายมีเพียง 1 โรงงานเท่านั้น ส่วนด้านบุคลากรพบว่าอยู่ในช่วงระหว่าง 1-20 คนมีจำนวน 2 โรงงาน จำนวน 21-40 คนมีจำนวน 9 โรงงาน ทั้งนี้โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการผลิตมีจำนวน 3 โรงงานใช้แรงงานคนจำนวน 8 โรงงานสำหรับด้านสวัสดิการการจัดประกันสังคมการให้โบนัสมีเพียง 2 โรงงานเท่านั้น ในด้านการบริการส่งสินค้าทุกโรงงานให้ความสำคัญร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้านการตลาดพบว่าทุกโรงงานในจังหวัดนครปฐมขายส่งมายังตลาดกรุงเทพฯ และยังพบอีกว่ามีจำนวน 5 โรงงานที่จำหน่ายทั้งขายปลีก–ขายส่ง ส่วนเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม พบว่าใช้เงินทุนส่วนตัวจำนวน 9 โรงงาน อีก 2 โรงงานได้ใช้ระบบผ่านธนาคาร ด้านราคาสินค้ายังรักษาราคาที่เป็นมาตรฐานของตนเองไว้ มีเพียง 1 โรงงานเท่านั้นที่มี การลดราคาตามสภาวะการณ์ ในด้านวัตถุดิบที่มีวัตถุดิบเป็นของตนเองมีจำนวน 3 โรงงานส่วนอีก 8 โรงงานซื้อวัตถุดิบจากโรงงานอื่นๆ ส่วนสถานที่ตั้งธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐมตั้งอยู่ใน เทศบาลจำนวน 6 โรงงาน การวิเคราะห์ SWOT ผลการศึกษาพบว่าธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม คือ จุดแข็ง (Strength) ธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลาหลายปี ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากลูกค้างเป็นอย่างดี มีฐานะทางการเงินค่อนข้างมั่นคงแม้จะมีบางส่วนจะต้องกู้จากสถาบันการเงินภาย นอกบ้างแต่ก็ถือเป็นส่วนน้อย และไม่มีผลกระทบต่อฐานะทาง การเงิน จึงทำส่งผลให้บุคลากรมีความอบอุ่นในการทำงาน รักในหน่วยงานและองค์กรของตนเอง สินค้าที่ผลิตออกไปสู่ ผู้บริโภคจะอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับจุดอ่อน (Weakness) ของธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม โดยส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการวางแผนงาน วางนโยบาย และเป้าหมายไว้ล่วงหน้า จึงก่อให้เกิดปัญหาทางด้านวัตถุดิบในการผลิต ส่วนโอกาส (Opportunity) ของธุรกิจประเภทดังกล่าว ส่วนใหญ่สถานที่ประกอบตั้งอยู่ในเขตชุมชน การติดต่อการคมนาคมสะดวก รวดเร็ว ในการขนถ่ายสินค้าไปยังผู้บริโภค อีกประการหนึ่งพนักงานบัญชี และการเงินส่วนใหญ่จะเป็นระบบการบริหารงานแบบครอบครัว จึงทำให้ไม่มีปัญหาทางด้านการเงินและข้อจำกัด (Threat) ของธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ที่มีผลกระทบและเห็นได้ชัดเจนคือ เทศกาลกินเจ จะมีผู้บริโภคลดน้อยลง ประการสุดท้ายได้แก่ โรคของไก่ซึ่งเกิดขึ้นในบางช่วงเวลาส่งผลให้ยอดการจำหน่ายลดลงไปเช่นเดียว กัน The study of strategic management in the broiler operation in the Nakhonpathom province has the objective in study the strategic management and to analyse the broiler operation in the Nakhonpathom province. Under of the sampling of 11 factories, the study found that 7 of 11 factories has the operation quality in the middle level while others are in the high quality level, and there is only 1 of them has brought the computer technology to manage the data collection and the accounting system. In regarding to the number of employee, the study found that 2 from 11 factories have the employee of around 1-20 persons, while the rest has employees of around 21-40 persons. Only 3 of these factory has major work done by machine, while the rest has major work done by labour. From 11 sampling, there are only 2 factories has pay bonus for their employee, but everyone of them has pay 100% interest to their logistic. For the marketing point of view, every factories has wholesale to the Bangkok market, while 5 of them sale in both wholesale and retail. From this study found that in regarding to the funding of the broiler business in Nakhonpathom province, 9 of 11 factories has their own investment while the rest has funding from the bank. 10 factories has the policy in maintaining the pricing, while 1 of them has its pricing fluctuated on the market situation. There’re only 3 factories have their own raw material, while 8 of them has to order from other sources. This study report shows that 6 factories are located in the municipality. The SWOT analysis has been used in this study, the study found that the strength of this business was the long time operation, that gained trust and believe form their customers. As well as their financial situation, eventhought there are some factories has funding from the bank, but this is not effected to their financial situation. These reason cau sed trust to their employee, these also build loyalty in their organization. The weakness of the broiler operation in Nakhonpathom province is that most of the factory has no experience in working process, planning and targeting, which caused the raw material’s control problem. The opportunity is that most of these factory located in the area of transportation, which they can manage fast delivery to the consumer. The other is that, most of these factories has a family financial management that cause no problem in financial situation. The threat of this business is the vegetarian festival when people do not consume meat, as well as some decease in chicken that caused the drop of their selling.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2549-05-03
Modified: 2549-06-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-361-667-5
Source CallNumber: วพ HD9435 อ686 ศ6 2546
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๒

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของสมาชิกและลูกค้า บริษัท อีเน็ตโกลบ จำกัด
Title Alternative The Factors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Thai Herbal Products : A Case Study on Enetglobe Co.,Ltd
Creator Name: นัทปภา โชติวรรณชูสกุล
Subject keyword: สมุนไพร — การเลือกซื้อ ; ลูกค้า
ThaSH สมุนไพร — การเลือกซื้อ ; ลูกค้า
Description Abstract:การศึกษาเรื่องปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สมุนไพรไทยของสมาชิก และลูกค้า บริษัท อีเน็ตโกลบ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ของสมาชิกและลูกค้าบริษัท อีเน็ตโกลบ จำกัดและเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สมุนไพรไทยของสมาชิก และลูกค้าจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างมาจากสมาชิก และลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในช่วง เดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม พ.ศ.2547 จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test , F-test และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟผลการศึกษาพบว่า 1. สมาชิกและลูกค้าของบริษัท อีเน็ตโกลบ จำกัดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 52 อายุ 20 -29 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.8 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 56.5อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง / พนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 64 มีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 19,999 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.8 2. ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของสมาชิก และลูกค้าด้านผลิตภัณฑ์มีน้ำหนัก การสินใจอยู่ในระดับมากเป็นอันดับ 1 ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของสมาชิก และลูกค้าด้านราคามีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมากเป็นอันดับ 2 ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของสมาชิก และลูกค้าด้านสถานที่จัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาดมีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า สมาชิก และลูกค้าที่มีเพศต่างกันปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยไม่แตก ต่างกัน สมาชิกและลูกค้าที่มีอายุต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้านคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด สมาชิกและลูกค้าที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในขณะที่ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อทางด้านผลิตภัณฑ์,ด้านราคา, ด้านสถานที่จัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน สมาชิกและลูกค้าที่มีอาชีพต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้านคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ ด้านการส่งเสริมการตลาด สมาชิกและลูกค้าที่มีรายได้ต่างกันปัจจัยในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่จัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะ ที่ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อทางด้านราคา ไม่แตกต่างกัน The Study Report Title: The Factors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Thai Herbal Products : A Case Study on Enetglobe Co.,Ltd. The objective of the study is to compare the factors of the decision making by the members of Enetglobe Co.,Ltd to purchase thai herbal products distributed by the company, and those by the non-member. The procedure of this project is to survey 400 consumers. From the collecting data, there are 4 factors: products, prices, distributed place and product promotions. The statical analysis used in the study is facilitated by SPSS software. It was found that most customers are females, age between 20-29 years. The majority has at least bachelor degree with monthly income between 10,000 – 19,999 baht and most of them are employees. The main reasons that they purchase the herbal goods are the quality and variety of the products with reasonable prices. They also believe in the product name and brand are satisfied with the company’s policies, such that the consumer can exchange or return the product if they are not satisfied with them.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2549-05-25
Modified: 2549-06-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-180-310-9
Source CallNumber: วพ RM666.H33 น411 ป6 2547
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๓

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์ของนักสะสมแสตมป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The Buying Behaviors of Stamp Collectors in Bangkok Metropolitan Area
Creator Name: ทัศน์สุวรรณ บุญศิริสุขะพงษ์
Subject keyword: นักสะสมแสตมป์ ; ของที่ระลึก ; แสตมป์ — ไทย — กรุงเทพมหานคร
ThaSH แสตมป์ — ไทย — กรุงเทพมหานคร ; ตราไปรษณีย์ ; ไปรษณียากร ; นักสะสมแสตมป์
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์ของนักสะสมแสตมป์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจและเปรียบเทียบพฤติกรรมในการ ตัดสินใจซื้อแสตมป์ของนักสะสมแสตมป์ ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากสมาชิกที่เข้ามาซื้อแสตมป์ตามสาขาต่าง ๆ ของ International House of Stamp Co.,Ltd. ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า สาขาบางนา สาขาพระราม 3 และ Siam Discoverry ในช่วงตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2547 จำนวน 316 คน สถิติใช้ในการศึกษา คือ สถิติร้อยละ ในการประมวลผลข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุ 30 ปีขึ้นไป อาชีพพนักงานบริษัท มี การศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้ 15,001 บาทขึ้นไป 2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์โดยรวมพบว่า ส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มสะสมแสตมป์ด้วยตนเอง ดังนั้นในการตัดสินใจซื้อแสตมป์แต่ละครั้งจะพิจารณาแสตมป์จาก รูปทรง รูปภาพ สีสันของแสตมป์ ในด้านราคาจะพิจารณาจากความเหมาะสมกับคุณภาพของแสตมป์ ในด้านสถานที่จะพิจารณาจากบูธที่มีพนักงานขายแนะนำสินค้า ในด้านการส่งเสริมการขายจะพิจารณาจากการให้ข้อมูล ข่าวสารด้านแสตมป์ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อแสตมป์แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านการเลือกสะสมและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์ที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการสะสม ด้านความนิยมในการสะสม ด้านปัจจัย (4Ps) ที่มีผลต่อการเลือกสะสม ส่วนอายุที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านการเลือกสะสม ด้านความนิยมในการสะสม และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการสะสม ด้านปัจจัย (4Ps) ที่มีผลต่อการเลือกสะสม ส่วนอาชีพและการศึกษาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์แตกต่างกันทุกด้าน ส่วนรายได้ที่แตกต่างกัน มี พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านการเลือก สะสม ด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการสะสม ด้านปัจจัย (4Ps) ที่มีผลต่อการเลือกสะสม และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อแสตมป์ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความนิยมในการสะสม The study of “The Buying Behaviors of Stamp Collectors in Bangkok Metropolitan Area” had purposed to study and compare the buying behaviors of stamp collectors in Bangkok Metropolitan area. This study use questionnaires as data collecting tools. The sample group were radomed from 316 members who came to buy stamps from the branches of International House of Stamp Co.,Ltd. in Central Department Store, Pinklao, Bangna, Rama 3 and Siam Discovery Branch from January to June, 2004. Statistics analysis was percentage in data assembling. The study result revealed that 1. Major group of samples who answered the questionnaires were ladies, age more than 30 years old, Bachelors’ degree holders, average monthly income more than 15,001 baht. 2. In overview, the samples who answered the questionnaires had their buying stamp behaviors revealed that they had just start to collect stamps by themself, so in each time they made decision to buy stamps from picture, figure and colors of stamps. In price aspect, they considered by the stamps’ quality. In status aspect, they considreed from a booth which had a merchandiser. In marketing support, they considered from stamps’ information giving. 3. The hypothesis testing results found that the samples who answered the questionnaires who had different gender had totally different behaviors in decision making to buy stamps in selective collection aspect, but had totally indifferent behaviors in decision making to buy stamps in the knowledge and usefulness from collection aspect, popular collection aspect, 4P factors which toward the selective collection aspect. The different age had totally different behaviors in decision making to buy stamps in selective collection aspect and popular collection aspect but had totally indifferent behaviors in decision making to buy stamps in the knowledge and usefulness from collection aspect, , 4P factors which toward the selective collection aspect. The different occupation and education had totally different behaviors in decision making to buy stamps in all aspects. But the different income had totally different behaviors in decision making to buy stamps in selective collection aspect, knowledge and usefulness from collection aspect, 4P factors which toward the selective collection aspect. But had totally indifferent behaviors in decision making to buy stamps in the popular collection aspect. at 0.05 significantly statistic level. But the consumers who had different gender, age and educational level had totally indifferent in decision making factors for the computer notebooks purchase at 0.05 significantly statistic level. monthly income and occupation had
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2549-05-25
Modified: 2549-06-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-180-611-6
Source CallNumber: วพ HE6185.92 ท361 พ3 2547
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญามหาบัณฑิต
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๔

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Title Alternative Job Satisfaction of Personnel in Division of Emergency Unit , Ramathibodi Hospital
Creator Name: กาญจนา ศรพรหม
Subject keyword: ความพึงพอใจ ; โรงพยาบาล — การบริการ ; ความพึงพอใจในการทำงาน
ThaSH ความพึงพอใจ ; โรงพยาบาล — การบริการ
Description Abstract: การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุก เฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้า หน้าที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มประชากรจำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม และผลที่ได้นำมาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (m ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s ) ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.93 อายุระหว่าง 26 ถึง 30 ปี ร้อยละ 36.99 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.01 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 45.21 ตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล ร้อยละ 45.21 มีระยะเวลาในการทำงานระหว่าง 5 ถึง 10 ปี ร้อยละ 31.51 มีรายได้ 10,001 ถึง 15,000 บาท ร้อยละ 31.51 2. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอันดับแรกคือ ด้านนโยบายและผู้บริหาร รองลงมาคือ ด้านสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อม ส่วนด้านผลตอบแทนเป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ ไม่แตกต่างกันทุกด้าน The Purpose. This research attempted to study Job Satisfaction of the Medical Science Emergency Unit Officer, Faculty of Medicine , Ramathibodi Hospital and relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the Officer of the Medical Science Emergency Unit , Faculty of Medicine , Ramathibodi Hospital. The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 73. Convenience sampling of probability design was used as the method of selecting the sample. The collected data is analyzed by SPSS version 12 for Windows for the Frequency, Percentage, Mean, S.D. Findings. The study shows that ; 1. The majority of the respondent were female (84.93 %), respondents has an average age between 26-30 years old (36.99 %), 63.01 % were single, 45.21 % of respondents were graduated bachelor degree , 45.21 % respondents were in the position of assistant nurse, 31.51 % of respondents were in the service between 5-10 years, 31.51 % of respondents has average monthly income 10,001 – 15,000 baht respectively. 2. The overall Job Satisfaction of Personnel in Division of Emergency Unit , Ramathibodi Hospital were at the highest level in all aspects. Especially in aspect of the policy and administrator, work condition and environment, and welfare and salary. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were no significant differences in job Satisfaction of the Medical Science Emergency Unit Officer, Faculty of Medicine , Ramathibodi Hospital in all aspects.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: ที่ปรึกษา
Date Created: 2550-05-18
Modified: 2551-02-05
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ RA967.75 ก425 ค2 2548
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจ
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการปรับตัวของพนักงานหลังการปรับเปลี่ยนองค์กร : ศึกษาเฉพาะกรณี ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด(มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
Title Alternative Employees\’ Adaptation After the Repositioning: Case Study of DBS Thaidhanu Bank (PCL) and Thai Military Bank (PCL)
Creator Name: ธีระพันธ์ ทวีแก้ว
Subject keyword: พฤติกรรมมนุษย์ ; พฤติกรรมองค์กร — การบริหารจัดการ ; ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน ; ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
ThaSH ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) ; ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) ; พนักงาน การปรับตัว
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการปรับตัวของพนักงานหลังการปรับเปลี่ยนองค์กร ศึกษาเฉพาะกรณีธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด(มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวของพนักงานหลังปรับเปลี่ยนองค์กร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด(มหาชน) และ พนักงานธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) เฉพาะสำนักงานใหญ่จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .810 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 59 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 50 วุฒิการศึกษา มีการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 71.7 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน หรืออายุงาน มากกว่า 10 ปี ร้อยละ 42.4 และอัตราเงินเดือน อยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท ต่อเดือน เป็นร้อยละ 46.6 2. พฤติกรรมการปรับตัวของพนักงานหลังการปรับเปลี่ยนองค์กร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าพนักงานให้การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนองค์กร เป็นอันดับแรก รองลงมาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน และให้การยอมรับเป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พนักงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการปรับตัวหลังปรับเปลี่ยนองค์กรไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอัตราเงินเดือน พบว่ามีพฤติกรรมปรับตัวหลังปรับเปลี่ยนองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The Purpose. This research attempted to study and compare an Employees\’ Adaptation After the Repositioning: Case Study of DBS Thaidhanu Bank (PCL) and Thai Military Bank (PCL) and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the DBS Thaidhanu Bank (PCL) and Thai Military Bank (PCL)\’s Officers at the Head Quarter Offices. The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 290. Convenience sampling of probability design of .810 was used as the method of selecting the -sample. The collected data is analyzed by SPSS for Windows for the Percentage, Mean, S.D. t-test, F-test and Scheffe\’ Method. Findings. The study shows that; 1. The majority of the respondents were female (59.0%), age between 31-40 years (50.0%). They generally have a bachelor degree graduated (71.7%), 42.4 % of the respondents had work experience more than 10 years, 46.6% of the respondents had monthly salary less than 10,001- 20,000 baht respectively. 2. The overall adaptation behavior after the repositioning of the banks were at the moderate level. However, the analysis in each aspects found that the first aspect was the repositioning support, job satisfaction, and recognition. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were no significant differences in adaptation behavior of the respondents in term of gender, age, education,experience. but there were significant difference at .05 in adaptation behavior satisfaction of the respondents in term of monthly income.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: ที่ปรึกษา
Date Created: 10 – 8 – 2007
Modified: 2551-02-05
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ HF5549.5 ธ668 พ3 2547
Language thai
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๖

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The Marketing Communication Factors of The Decision Made By the Consumers to Purchase Beer in Bangkok
Creator Name: สุวิทย์ ยอดจรัส
Subject keyword: การสื่อสารการตลาด
ThaSH การสื่อสารการตลาด
Description Abstract:การ ศึกษาเรื่องปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเปรียบเทียบการสื่อสารการตลาดในการตัดสิน ใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 เป็นเครื่องมือ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.3 และเพศชาย ร้อยละ 46.8 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี โดยส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 29.8 อาชีพเป็นพนักงานเอกชน และมีรายได้สุทธิของครอบครัวอยู่ในช่วง 10,000 – 20,000 บาท 2. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพ มหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อเบียร์ของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร ด้านการขายรายบุคคลมีน้ำหนักการตัดสินใจมากเป็นอันดับ 1 ด้านการส่งเสริมการขายมีน้ำหนักการตัดสินใจมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาได้แก่ด้านการโฆษณาและด้านการประชาสัมพันธ์ มีน้ำหนักการตัดสินใจในระดับปานกลาง และด้านการตลาดทางตรงเป็นลำดับสุดท้ายมีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ระดับน้อย 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคที่คุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ของครอบครัวแตกต่างกันใช้ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจ ซื้อเบียร์ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน The Study Report Title: The Marketing Communications Factors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Beer in Bangkok The objective of the study is to compare the factors of the decision making by consumer. The procedure of this project to survey 400 consumers. Frem the collecting data, there are 5 factors: Advertising, Public Relation, Sale Promotion, Personal Selling, and Direct Marketing. The statical analysis used in the study in facilitated by SPSS software. 1. Most of sampling people is female which is 53.3% male 46.8% It was found consumer has age 31-40 years old,29.8% . The majority has at least bachelor degree, % most of them are employee, % and with monthly income less above 10,000 – 20,000 baht. 2. The Factors of Marketing Communication for the Decision that they purchase the Beer in overall picture is affected the middle. The most factors that affected people’s is personal selling. The second is sale promotion and advertising, public relations, direct marketing accordingly. 3. The result of hypothesis indicated the people who have different gender have the same factor of marketing communication for the decision to Purchase Beer in Bangkok. For the people who have sex, age, high education, occupation and income the factor of marketing communication for the decision to Purchase Beer in Bangkok have significant different of statistic at level .05
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-06-26
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.122 ส881 ป6 2549
Language thai
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๗

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า
Title Alternative ไม่มี
Creator Name: ดุจดาว อักษร
Subject keyword: สื่อสิ่งพิมพ์ ; พฤติกรรมผู้บริโภค
ThaSH พฤติกรรมการเลือกซื้อ ; สินค้า — การเลือกซื้อ ; พฤติกรรมผู้บริโภค
Description Abstract: การศึกษาเรื่องอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ บริโภคในห้างสรรพสินค้า วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการตัดสิน ใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของประชากร ระเบียบวิธีศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการสำรวจอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 222 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t ค่า F และเปรียบเทียบรายคู่เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟในกรณีที่การวิเคราะห์ค่า F พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 50.45 อายุ 20 – 30 ปี จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 43.69 การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 74.77 อาชีพพนักงานบริษัท จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 54.95 รายได้ 10,001 – 20,000 บาท จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 65.77 2. อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในห้างสรรพ สินค้า พบ ว่า ในภาพรวม มีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอันดับแรก คือ ด้านราคา ผู้บริโภคมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 คือ ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ผู้บริโภคมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก และอันดับสุดท้าย คือ ด้านส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ในภาพรวม ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและ รายได้ ต่างกัน มีอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในห้างสรรพ สินค้า ไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-06-26
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5492.23 ด669 อ6 2550
Language thai
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๘

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของพนักงานในนิคมอุตสาหรรม 304
Title Alternative Furniture Buying Decision Factors of an Employee in the 304 Industrial Zone.
Creator Name: สมภพ พันธุ์เสือ
Subject keyword: เฟอร์นิเจอร์ — การเลือกซื้อ ; การซื้อสินค้า — การตัดสินใจ
ThaSH เฟอร์นิเจอร์ — การเลือกซื้อ ; การซื้อสินค้า — การตัดสินใจ
Description Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ ของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม 304 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของประชากร โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในนิคมอุตสาหกรรม 304 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test , F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิงจำนวน มีอายุ 20 ถึง 30 ปี มีการศึกษามัธยมตอนปลาย มีอาชีพพนักงานบริษัท และมีรายได้ต่อเดือน 6,001 ถึง 10,000 บาท ปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม 304 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของพนักงานในนิคม อุตสาหกรรม 304 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่าผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษา และ รายได้ แตกต่างกัน ใช้ปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ และ อาชีพแตกต่างกัน ใช้ปัจจัยการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม่แตกต่างกัน The Purpose. This research attempted to study and compare the Furniture Buying Decision Factors of an Employees in the 304 Industrial Zone and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be an employees who work in the 304 industrial Zone. The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 400. The collected data is analyzed by SPSS version 11 for Windows for the Percentage, Mean, S.D. Hest, F-test and Cheffe’method. Findings. The study shows that; 1. The majority of the respondent were female I have an average age between 20-30 years , education level is high school ,occupation is an private organization’s employee, have monthly income 6,001-10,000 respectively. 2. The overall furniture buying decision factors of the respondents were at the high level. Especially in the aspect of channel of distribution, follows by pricing, products and market promotion. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant difference at .05 in furniture buying decision factors in term of education and monthly income . But there were no-significant difference of the respondents in term of age. gender, occupation.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-14
Issued: 2551-03-07
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-181-196-9
Source CallNumber: วพ HF5415.3 ส271 ป6 2547
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๑๙

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
Title Alternative Job Satisfaction of the Officer of Government Lottery Office
Creator Name: ชนิญญา แจ่มจันทร์
Subject keyword: พนักงาน — ความพึงพอใจในการปฏิบัติ ; สลากกินแบ่งรัฐบาล
ThaSH สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล — ความพึงพอใจในการปฏิบัติ ; สลากกินแบ่งรัฐบาล ;
; พนักงาน — ความพึงพอใจในการปฏิบัติ
Description Abstract: การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานสลาก กินแบ่งรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยรูปแบบการศึกษา คือ การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสำรวจสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8358 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่เพิ่มเติมด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า &nbs p; 1. พนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 25.23 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 38.29 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 61.71 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 42.79 และมีอัตราเงินเดือน 5,000 – 10,000 บาท ร้อยละ 40.99 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยอันดับที่ 1 ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านเงินเดือน และสวัสดิการ ตามลำดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา และด้านอัตราเงินเดือนมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ที่เหลือพบว่าไม่แตกต่างกันทุกๆ ด้าน The Purpose. This research attempted to study and compare the Job Satisfaction of the Officer of Government Lottery Office and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the officer of the Government Lottery Office. The survey questionnaire were used for collecting the data from a sample of 222. Convenience sampling of probability design of .8358 was used as the method of selecting the sample. The collected data was analyzed by SPSS version 12 for Windows for the Frequency, Percentage, Mean, S.D. t-test, F-test and Sheffe’ method. Findings. The study shows that ; 1. The majority of the respondent were female (25.23%), with an average age between 31-40 years old (38.29 %), 61.71 % were respondents with bachelor degree, has been in the office more than 10 years (42.79%) ,average monthly income 5,000-10,000 baht (40.99%) respectively. 2. The overall Job Satisfaction of the Officer of Government Lottery Office were at high level in all aspects. Especially in aspect of the job responsibility, working environment , interrelationship with colleagues, and welfare and salary. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant difference at .05 in job satisfaction of the respondents in term of age, education and monthly income, but other personal factors doesn’t affected.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-14
Issued: 2551-03-12
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ HG6242.55 ช154 ค2 2548
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๐

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริการของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Title Alternative Students’ Satisfaction towards the Services of The Office of The Registrar, Huachiew Chalermprakiet University
Creator Name: กชกร ศูรศรีพันธเพียร
Subject keyword: นักศึกษา — ความพึงพอใจ — การบริการ ; สำนักทะเบียนและประมวลผล — การบริการ
ThaSH นักศึกษา — ความพึงพอใจ — การบริการ ; สำนักทะเบียนและประมวลผล — การบริการ
Description Abstract: การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริการของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริการของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาโดยใช้วิธีการศึกษา เชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาที่ใช้บริการสำนักทะเบียนและ ประมวลผล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78 มีอายุระหว่าง 21-25 ปี ร้อยละ 52.1 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 34.1 มาจากคณะบริหารธุรกิจ ร้อยละ 27.8 และมีการติดต่อขอใช้บริการ 1-3 ครั้ง ในภาคการศึกษา ร้อยละ 65.9 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริการของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยด้านบริการวิชาการเป็นอันดับแรก รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี และด้านผู้ให้บริการตามลำดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านชั้นปี แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริการของสำนักทะเบียนและประมวลผลแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ที่เหลือ พบว่า มีความพึงพอใจต่อการบริการไม่แตกต่างกันทุก ๆ ด้าน Students’ satisfaction towards the services of the Office of the Registrar, Huachiew Chalermprakiet University is a survey research aiming to study the satisfaction levels of the students and compare their satisfaction based on type of personal attributes. The subjects were 378 HCU undergraduate students who dealt with the Office of the Registrar. The instrument comprised of a questionnaire which its reliability is equivalent to 0.95. The collected data were analyzed one way ANOVA, t-test, and F-test, using SPSS/PC+ program. The findings revealed that: 1. Most of the subjects were 295 female students, aged between 21 and 25, fourth – year students, and from the Business Administration Faculty. The frequency of contract was 1 – 3 times. 2. They were moderately satisfied with the overall services of the Office of the Registrar, Huachiew Chalermprakiet University. The services with which the students satisfied were Academic services, Location, Technology, and Staff. 3. On the hypothesis test, the students’ satisfaction towards the services of the Office of the Registrar, Huachiew Chalermprakiet University was no significant difference when divided by sex, age, education, faculties and time.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-14
Issued: 2551-03-12
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ LB2391.T5 ก112 ค2 2548
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๑

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท แสงอินเตอร์ลามิเนท จำกัด
Title Alternative Occupational Safety and Health’s Seanginterlaminate Co.,Ltd.
Creator Name: สุวารีย์ อินทร์แก้ว
Subject keyword: ความปลอดภัยในการทำงาน ; อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
ThaSH การทำงาน — มาตรการความปลอดภัย ; ความปลอดภัยในการทำงาน ; อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
Description Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน และเปรียบเทียบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท แสงอินเตอร์-ลามิเนท จำกัด จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มประชากรที่เป็นพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทแสงอินเตอร์ลามิเนทจำกัด จำนวน 110 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าความเชื่อมั่น = .8672 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test และการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1.) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.45 มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ร้อยละ 52.73 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 58.18 ปฏิบัติงาน อยู่ในแผนกลามิเนท ร้อยละ 23.64 มีประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่า 1-5 ปี ร้อยละ 58.18 2.) พนักงานมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อันดับ 1 ได้แก่ ความบกพร่องของลักษณะงาน อันดับ 2 ได้แก่ ความบกพร่องของสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน อันดับ 3 ได้แก่ ความบกพร่องของระบบบริหาร และอันดับสุดท้าย คือ ความบกพร่องของพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน 3.) จากการเปรียบเทียบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ แตกต่างกัน มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับพนักงานที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและแผนกงาน แตกต่างกัน มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน The purposes of this research were to study and to compare the occupational safety and health of Seanginterlaminate Company classified by individual characteristics. The method of the study was carried through a surveying technique. The sample consisted of 110 employees who were of product line. The questionnaire with 0.8672 reliability was used for data collection. Data were analyzed by using for data collection. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and Scheffe’ matched pair comparison. The findings revealed that 1.) The majority of the sample were male at 65.45%, age between 20-40 years at 52.73%, had secondary education at 58.18%, worked in laminate section at 23.64% and more 1-5 years of service at 58.18% 2.) The employees had been occupational safety at middle level, when considered individual aspect showed the job nature’s defect came first, second working environment defect followed by management system defect and working behavior defect came last. 3.) When compared perception of safety management classified by individual characteristic of the workers showed those with different gender and age were significantly different at the .05 level in perception of safety management. While there were no different in education level, year of service and section.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-14
Issued: 2551-03-13
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ T55 ส876 ค2 2548
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๒

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
Title Alternative Premium Coffee Consumption Behavior of Customer in District of Dusit , Bangkok Metropolis
Creator Name: ณุพร บุณสนอง
Subject keyword: กาแฟ — พฤติกรรมผู้บริโภค
ThaSH กาแฟ — พฤติกรรมผู้บริโภค
Description Abstract: การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมของผู้บริโภค ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 25-35 ปี สำเร็จการศึกษาระดับขั้นปริญญาตรี มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยมีรายได้ 10,001-15,000 บาท 2. พฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รู้จักและนิยมบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมยี่ห้อบ้านใร่กาแฟ โดยชื่นชอบกาแฟประเภทคาปูชิโน และเป็นผู้ตัดสินใจบริโภคด้วยตนเองโดยมีจุดประสงค์ในการบริโภคเพื่อแก้อาการ ง่วง และนิยมบริโภคจากร้านบริการที่ตั้งในห้างสรรพสินค้า โดยมีปริมาณการบริโภคสัปดาห์ละครั้งปริมาณค่าใช้จ่ายในการบริโภค 60-79 บาท/แก้ว สื่อโฆษณาที่ผู้บริโภคพบเห็นและรายการส่งเสริมการขาย ได้แก่ สื่อทางนิตยสาร และชื่นชอบรายการส่งเสริมการขายด้วยวิธีการลดราคา รวมทั้งการตัดสินใจบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมมักคำนึงถึงรสชาดเป็นอันดับหนึ่ง 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคกาแฟพรีเมี่ยมในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ รายได้ และอาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน พบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคกาแฟพรีเมี่ยมไม่แตกต่างกัน The Purpose. This study was to investigated the Premium Coffee Consumption Behavior of Customer in District of Dusit , Bangkok Metropolis and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the customers of the company. The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 400. The collected data is analyzed by SPSS for Windows for the Percentage, Mean, and Schi-Square. Findings. The study shows that; 1. The majority of the customers were female, age between 25-35 years. The respondents were government services and state enterprises. They generally graduated in bachelor degree and monthly income between 10,001-15,000. 2. The buying behavior of the respondents mostly on the Ban-Rai Coffee brand with cappuccino taste, they were made buying decision themselves for the purpose of refreshment. Department stores were the convenient place to buy with. the average budget of 60-79 baht / cup. The most familiar advertising media were magazine and the most favorite sales promotion was discount package and major factor influence buying decision was the taste. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant differences at .05 in the Premium Coffee Consumption Behavior of Customer in District of Dusit I Bangkok Metropolis in all factors excepted gender and education.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-03-13
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source วพ SB269 ณ999 พ3 2548
Language thai
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๓

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยมิชชัน
Title Alternative Factors Affecting The Nursing Students Decision of Studying in Nursing Profession, Mission College
Creator Name: สมพร อุตสาหรัมย์
Subject keyword: พยาบาล — การตัดสินใจ ; โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ ; การศึกษาวิชาชีพ
ThaSH พยาบาล — การตัดสินใจ ; โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ
Description Abstract:การศึกษาเรื่องปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษา วิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยมิชชัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาชีพ การพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยมิชชัน การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยแจกแบบสอบถามกับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยมิชชัน จำนวน 189 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวัดค่าความเชื่อมั่น 0.9079 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิหลังของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เมื่อจบมัธยมปลายหรือเทียบเท่า ด้านเกรดเฉลี่ยสะสมพบว่า ส่วนใหญ่ได้เกรดเฉลี่ยสะสม 2.51-3.00 คิดเป็นร้อยละ 44.97 ประเภทของโรงเรียนเดิมพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 91.01 ภูมิลำเนาเดิม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนภาคอีสาน คิดเป็นร้อยละ 52.38 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาวิชาชีพการพยาบาลพบว่า ส่วนใหญ่เป็นบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 83.07 ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 50.79 อาชีพผู้ปกครองพบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 43.39 รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนพบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 34.39 2) นักศึกษามีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อวิชาชีพ การพยาบาล ในภาพรวมของปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก โดยในรายด้านปัจจัยด้านหลักสูตรการเรียนเป็นอันดับหนึ่ง (ค่าเฉลี่ย 4.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47) รองลงมาได้แก่ ด้านชื่อเสียงและคุณภาพของวิทยาลัย (ค่าเฉลี่ย 3.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และด้านทำเลที่ตั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51) โดยค่าใช้จ่ายเป็นอันดับสุดท้าย (ค่าเฉลี่ย 3.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60) 3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อวิชาชีพการพยาบาล ของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้าเรียนต่างกัน ประเภทโรงเรียนเดิมต่างกัน ภูมิลำเนาเดิมต่างกัน บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาต่างกัน ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่างกัน ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกัน รายได้รวมของครอบครัวต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาชีพการพยาบาลไม่แตกต่างกัน The purpose of the study for factors affecting the nursing students decision of studying in nursing profession, Mission College was to study and compare the factors affecting the nursing students decision of studying in nursing profession, Mission College. In this case study, the planner used questionnaire as a tool to study. Data were collected from 189 nursing students at Mission College. The use of inquiry form to be the tool to measure the believe 0.9079. The static that was used for data analysis were percent, average, standard deviation, t-test and F-test The study result found that, 1) Mot of the students background used as samples studying with the GPA between 2.51-3.00 is 44.97 percent, graduated from the government school 91.01 percent, the students grew up from the eastern part 52.38 percent, the parents had the influence on the students’ decisions in extending the study in nursing profession 83.07, the students’ parents graduated from primary school 50.79 percent, the students’ parents occupation are agriculture 43.39 percent and the total incomes of their family per month between 5,000-10,000 baht 34.39 percent. 2) The students’ opinion concerning their decision in extending the study in nursing profession in 4 broaden aspects, has been seen as high. The curriculum of study is considered as their first choice (average 4.07, standard deviation 0.47), the popularity and quality of college are second choice (average 3.89, standard deviation 0.50), location of college is third choice (average 3.82, standard deviation 0.51) while the expense is fourth respectively(average 3.30, standard deviation 0.60). 3) Analysis of students with different background in accumulated scores before attending the college, type of former school, the place they grew up, the persons influenced in extending thy study, the parents qualification, occupation of parents, the total income of their family have no significant influence on decision making in extending their study in nursing profession.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-03-13
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ RT81.5 ส265 ป6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๔

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้าในอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงต่อการบริการรับชำระเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพัทลุง
Title Alternative Customer Satisfaction toward the Payment Service of Provincial Electricity Authority of Thailand at office branch Maung district, Phatthalung province
Creator Name: คำแหง เหมะรักษ์
Subject keyword: การชำระเงิน — การบริการ ; ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
ThaSH การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พัทลุง — การบริการ ; ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ;
; การชำระเงิน — การบริการ
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้าในอำเภอเมือง ต่อการบริการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้า และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้าต่อการบริการรับชำเงิน ค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพัทลุง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีเชิงปริมาณ รูปแบบการศึกษาคือการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ใช้ไฟฟ้าในอำเภอเมือง จำนวน 316 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีความเชื่อมั่น 0.915 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.90 ส่วนใหญ่มีอายุ 25 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.00 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 33.50 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 33.20 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.40 และค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 500 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.60 2. ความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้าต่อการบริการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค จังหวัดพัทลุง ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก โดยด้านที่มีความพอใจมากที่สุดคือด้านพนักงาน ด้านสถานที่ ด้านการตอบสนองต่อผู้ใช้ไฟ และอันดับสุดท้ายคือด้านบริการทั่วไป 3. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและค่าไฟฟ้าต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อบริการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพัทลุง ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีอาชีพแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบริการรับชำระเงินค่า ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพัทลุง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This research was conducted with the purpose of studying customer satisfaction toward the Payment Service of Provincial Electricity Authority of Thailand at office branch Maung district, Phatthalung province and compare customer satisfaction by personal characteristics. The data were processed as quantitative method by collected from 316 questionnaires completed by customers with probability at 0.915. The statistic tools used to analysis the data were Percentage, Mean, Standard deviation, Independent t-Test, f-Test and Sheffe’ method. SPSS for window was the statistical program for data process. From the research, it was found that 1. The majority of sample group are male (51.90%), age between 25 – 35 years old (37.00%), Bachelor degree or equality (33.50%), Government officer/ the officer of Thailand Affair organization (33.20%), monthly income less than 10,000 Baht (29.40%), and monthly electricity receipt are less than 500 Baht (44.60%). 2. The overall customer satisfaction toward the Payment Service of Provincial Electricity Authority of Thailand at office branch Maung district, Phatthalung province is good. The customers satisfy most for officers, second is place, the third is the officers reaction and the last is general service. 3. There are no-significant differences in overall Payment Service satisfaction of Provincial Electricity Authority of Thailand at office branch Maung district, Phatthalung province in term of gender, education level, monthly income and monthly electric payment receipt. But there is significant difference in overall Payment Service satisfaction in the term of Occupation.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-05-26
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ QC501 ค388 ค2 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title คุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันฝึกอบรมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
Title Alternative Quality to Work of Cooperative Officer for having Participated form Cooperative Training Institute in Cooperative League of Thailand
Creator Name: อุมารัตน์ คำภักดี
Subject keyword: สันนิบาตสหกรณ์ — ไทย
ThaSH สันนิบาตสหกรณ์ — ไทย
Description Abstract: การศึกษาเรื่อง คุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันฝึกอบรม สหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบคุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์หลังจากผ่านการฝึกอบรม จากสถาบันฝึกอบรมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามความคิดเห็นของผู้จัดการสหกรณ์ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ F – test ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.31 อายุระหว่าง 40 – 49 ปี ร้อยละ 46.69 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 56.20 ประสบการณ์การปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 54.13 2. คุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์สหกรณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันฝึก อบรมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามความคิดเห็นของผู้จัดการสหกรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกๆ ด้าน อันดับแรกคือด้านประสิทธิภาพการให้บริการ รองลงมาคือ ด้านทักษะการทำงาน และด้านการใช้ทรัพยากร/วัสดุอุปกรณ์ เป็นอันดับที่ 2 และ 3 ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยี เป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้จัดการสหกรณ์ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลทั้งด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการปฏิบัติ งานของพนักงานสหกรณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันฝึกอบรมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ไม่แตกต่างกันทุกด้าน The Purposes of this research Quality to Work of Cooperative Officer for having Participated form Cooperative Training Institute in Cooperative League of Thailand, were the objective to study and to compare working quality of cooperative office worker after passed the training program form Cooperative Training Institute in Cooperative League of Thailand, for opinion of Cooperative’s Manager with divided from the qualities of a personal. In this study using survey research to keep the data from the group of sample amount 242 samples. The material that using in this study is questionnaire and the statistic that use to analysis are mean, percentage, standard deviation (S.D.), t – test and F – test. The result revealed that : 1. The qualities of a person who reply the questionnaire is the man majority 53.31 percent, age between 40 – 49 years old 46.69 percent, education level is bachelor’s degree 56.20 percent and working experience more than 10 years 54.13 percent. 2. Quality to work of cooperative office worker after passed the training program form Cooperative Training Institute In Cooperative League of Thailand from opinion the managers’ cooperative totally in the high level. When consider in each part find that there are in the high level in every part. First is the service effectiveness, second is working skill, third is using resources and material, and finally is using technology. 3. The hypothesis test’s result find that: The cooperative manager has character different in sex, age, education level and working experience opinions to working quality of the office worker after passed the training program from the training program form Cooperative Training Institute In Cooperative League of Thailand not different every side.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-14
Issued: 2551-05-28
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ HD3271 อ846 ค7 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๖

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร
Title Alternative Decision making factors for Condominiums purchase in Thonglor Road Bangkok
Creator Name: อภิญญา เสมเสริมบุญ
Subject keyword: อาคารชุด — การตัดสินใจ ; คอนโดมิเนียม ; ที่อยู่อาศัย ; อสังหาริมทรัพย์
ThaSH อาคารชุด — การตัดสินใจ ; คอนโดมิเนียม
Description Abstract: การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อ คอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่ซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนตุลาคม 2548 จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9278 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t – test , F – test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ (Scheffe’s Method) ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 130 คน มีอายุ 25 – 30 ปี จำนวน 78 คน มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 130 คน มีรายได้ 10,000 – 20,000 บาท จำนวน 114 คน 2) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร ผู้บริโภคมีปัจจัยการตัดสินใจเลือกคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร ซื้อทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ส่วนปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ เป็นอันดับสุดท้าย 3) การทดสอบสมมติฐาน ผู้บริโภคที่มีเพศ, อายุ แตกต่างกันมีปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีการศึกษา, อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียม ในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน This study is purposed to study the decision making factors for Condominiums purchase in Thonglor Road Bangkok and compare the decision making factors for Condominiums purchase of the samples group in many aspects toward the marketing strategy. This study use descriptive research method to collect data from 222 samples which classified information about status of the samples group and information about the decision making factors which toward 4 factors such as products, price, place and marketing support by data analysis with frequency of distribution, percentage and standard deviation which were compiled by SPSS program. The result revealed that 1. Data status of samples group were ladies, age between 25 – 30 years old, bachelor’s degree holders, work as an office ladies in a company and family monthly income 10,000 – 20,000 baht. 2. In overview, the decision making factors for Condominiums purchase in Bangkok of the consumers were in the low level in all of 4 aspects which place was the consumers’ most important decision making factor, followed by price, promotion , product and the last was marketing support aspect. 3. Asumption results of decision making factors for Condominiums purchase in Bangkok are different in statistic level .05 classified by sex and age while customer’ characteristic classified by education level, occupation and income are not different.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-05-28
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ HD7287.67 อ253 ป6 2549
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๗

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการตัดสินใจซื้อหมู่บ้านจัดสรรในเขตพุทธมณฑลสาย 3
Title Alternative The factor of decision to home estate buying in Phutthamonthon Sai 3 Area
Creator Name: สงวนศักดิ์ มัททวกุล
Subject keyword: บ้านจัดสรร — การตัดสินใจซื้อ ; ที่อยู่อาศัย
ThaSH บ้านจัดสรร — การตัดสินใจซื้อ ; การซื้อบ้าน — การเลือกซื้อ
Description Abstract:การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อหมู่บ้านจัด สรรในเขตพุทธมณฑลสาย 3 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่ซื้อหมู่บ้านจัดสรรในเขตพุทธมณฑลสาย 3 ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2549 จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9118 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ( Scheffe’s Method ) ผลการศึกษาพบว่า 1 ) ลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงจำนวน 121 คน มีอายุระหว่าง 30 – 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่สถานภาพ โสด มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ครอบครัวต่อเดือน 20,000 – 40,000 บาท และจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 – 5 คน 2 ) น้ำหนักการตัดสินใจของลูกค้าในการตัดสินใจซื้อหมู่บ้านจัดสรรในเขตพุทธมณฑล สาย 3 จากปัจจัยด้านต่างๆ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3 ) ลูกค้าที่มีเพศ สถานภาพ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจซื้อหมู่บ้านจัดสรรในเขตพุทธมณฑลสาย 3 ไม่แตกต่างกัน ส่วนลูกค้าที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ครอบครัวต่อเดือนต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจหมู่บ้านจัดสรรในเขตพุทธมณฑลสาย 3 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this study was to study and compare of the effective factor to buying housing estate in Phutthamonthon Sai 3 area. This study classified by personal attributes of consumers by survey research from 222 persons sampling group between May – June 2006. The instrument in this study is questionnaire of 0.9118 reliability and the statistic for Analyze cate are percentage, standand denation, t – test , F – test and Schaffer’s Method for compare the data. The result revealed that 1. The most of costomers were 121 females between 30 – 40 aged. They are bachelor degree , single and government offices have salary 20,000 – 40,000 baht per month , and have 3 – 5 persons in their family. 2. The weight of decision making of the customers in purchasing house in villages around Phutthamonthon Sai 3 Area was high. Its highest mean was the product. Next were price, promotion and way to sell. 3. Differences of sex, status and number of members of family were not different in decision making of house purchase. However, the differences of age, educational status, profession and monthly income were different in hypothec in .05 level.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address:กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-05-28
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ TH169.55 ส142 ป6 2549
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๘

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่น (13-19 ปี) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative Brand Name Products: Buying Behaviour of Teenagers (13-19 years old) in Bangkok Metropolis Area
Creator Name: ยิ่งลักษณ์ สุขแก้ว
Subject keyword: สินค้าแบรนด์เนม ; พฤติกรรมผู้บริโภค
ThaSH พฤติกรรมผู้บริโภค ; เสื้อผ้า — แบรนด์เนม ; สินค้าแบรนด์เนม
Description Abstract:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่น (13-19 ปี) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มแบบรายสะดวก โดยสูตรยามาเน ( Yamane) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ ± 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือวัยรุ่น (13-19 ปี)ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมด วิเคราะห์โดยใช้ SPSS โปรแกรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 215 คน คิดเป็นร้อยละ 53.75 อายุ 13-14 ปี จำนวน 169 คน คิดเป็นร้อยละ 42.25 ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 44.50 อาชีพนักเรียนจำนวน 307 คน คิดเป็นร้อยละ 76.75 รายได้ ต่ำกว่า 3,000 บาท จำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 50.50 2. พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่น (13-19 ปี)ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เลือกซื้อคือเสื้อยืด เหตุผลที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพราะคุณภาพ เหตุผลในการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมเพราะเป็นความชอบส่วนตัว คุณสมบัติหลักของแบรนด์ที่นิยมคือแบรนด์ที่ผลิตเสื้อผ้าออกมา สามารถใส่ได้ตลอด แบรนด์เสื้อผ้าที่เน้นความสดใส น่ารักคือ ยี่ห้อ AIIZ ยี่ห้อกางเกงยีนส์ที่เลือกซื้อคือ Levi สถานที่ที่นิยมไปหาซื้อคือสยามสแควร์ เหตุผลที่เลือกซื้อจากแหล่งดังกล่าวคือความสะดวก หากไม่มียี่ห้อที่ต้องการจะซื้อแบบเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อ ระยะเวลาที่ใช้เสื้อผ้าแบรนด์เนมมา คือ 1 ถึง 2 ปี ช่วงเวลาที่ซื้อคือจะไม่ระบุเวลาการเลือกซื้อแล้วแต่ความสะดวก ความถี่ในการซื้อคือเดือนละครั้ง จำนวนในการซื ้อแต่ละครั้งคือครั้งละ 2-3 ตัว 3.ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ในภาพรวมวัยรุ่น (13-19 ปี)ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ทุกด้าน The study aimed to study and compare the brand name products buying behaviour of teenagers (13-19 years old) in Bangkok Metropolis Area, classified by personnel characteristics. Convenience Sampling was applied in this study by using Yamane formula at the error level of ±5. The instrument used for data collection was a questionnaire. The sample group consisted of 400 teenagers, aged between 13-19 years old in Bangkok are. SPSS Program was used for data analysis, and the statistics were percentage, and Chi-Square. The research found that: 1.Most of the respondents or 53.75% (No. 215) were female, while 169 of them or 42.25% were between 13-14 years of age, and doing mathayom 1-3 at 44.50% (No. 178). Out of all, 307 of those teenagers or 76.75% were students, earning less than 3,000 Baht per month at 50.50% (No. 202). 2.The brand name products buying behaviour of teenagers (13-19 years old) in Bangkok Metropolis Area, showed that most of the products selected were T-shirt. The quality of the T-shirts was the reason they spent money on this kind of product. The reason for buying brand name garments was personnel fondness, and the main qualification of those popular brand name was the products were always in trend.The brand that focused on producing vivid, and cute clothes was AIIZ, while the brand of jeans that was most selected was Levi. The most popular place for this purpose was Siam Square, and the reason being “convenience”. If the particular brand could not be found, other brands with the styles would be considered. The length of time spent on wearing brand name products was between 1-2 years, and the shopping time was not fixed, depending on when it was convenient. The frequency was once a month, and around 2-3 pieces each time. 3.The hypothesis testing found that, overall, teenagers (13-19 years old) with different personnel characteristics had different brand name products buying behaviour at statistical significance of .05 in all aspects.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified:2551-07-13
Issued: 2551-05-28
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber:วพ HF5415.32 ย265 พ3 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๒๙

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเลียนแบบ Brand name ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative Buying Behavior of Customer in Bangkok Metropolitan in an Imitated Brand Name Products
Creator Name: ชมัยทิพย์ บารมีอนันต์
Subject keyword: พฤติกรรมผู้บริโภค ; ตราสินค้า ; Brand name
ThaSH พฤติกรรมผู้บริโภค ; ตราสินค้า ; Brand name
Description Abstract:การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเลียนแบบ Brand name ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเลียนแบบ Brand name จำแนกตามคุณลักษณะของผู้บริโภค ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากผู้ที่ซื้อสินค้าในห้างมาบุญครอง ในช่วงเดือน เมษายน ถึง กันยายน พ.ศ. 2547 จำนวน 400 คน สถิติใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1.ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 69.75ซึ่งมีอายุเท่ากันระหว่าง 21 – 34 ปี ร้อยละ 39.50 และ 35 – 44 ปี ร้อยละ 39.50 มีอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 28.50 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 60.50 มีรายได้ระหว่าง 5,000 – 15,000 บาท ร้อยละ 49.50 2.ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเลือกซื้อประเภทเสื้อผ้า ร้อยละ 51.00 ยี่ห้อ Levi’s ร้อยละ 14.50 โดยคำนึงถึงรูปแบบ ร้อยละ 35.75 ที่มีอยู่ตามท้องตลาด ร้อยละ 33.25 ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความสวยงาม ร้อยละ 38.25 ที่เป็นเครื่องแต่งกาย ร้อยละ 56.25 ส่วนใหญ่ซื้อที่ห้างมาบุญครอง ร้อยละ 27.00 ซึ่งเป็นร้านที่พบของถูกใจ ร้อยละ 59.00 มีลักษณะเป็นแผงลอย ร้อยละ 60.25 ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อในช่วงเทศกาล ร้อยละ 51.75 โดยจะซื้อเดือนละครั้ง ร้อยละ 63.00 วิธีการซื้อส่วนใหญ่ซื้อจากหน้าร้าน ร้อยละ 85.50 โดยสอบถามกับทางร้าน ร้อยละ 57.75 โดยดูจากความประณีต ร้อยละ 30.50 และเป็นสินค้าเกรด A (เหมือนของแท้มากที่สุด) ร้อยละ 49.00 สาเหตุที่ซื้อส่วนใหญ่เพราะรูปแบบที่ถูกใจ ร้อยละ 46.25 ซึ่งดูจากโลโก้ ร้อยละ 76.75 ส่วนใหญ่มักไปซื้อกับเพื่อน ร้อยละ 65.00 และให้เป็นของขวัญกับเพื่อน ร้อยละ 46.00 3).ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า เลียนแบบ Brand name อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน The Purpose. This research attempted to study and compare the Buying Behavior of Customer in Bangkok Metropolitan in an Imitated Brand Name Products and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the customers of the company. The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 400 who were shopped at Maboonkrong Department Store during April to September 2004. The collected data is analyzed by SPSS for Windows for the Percentage, Mean, S.D. t-test, F-test. Findings. The study shows that ; 1. The majority of the customers are female (69.75 %), age between 21-34 years (39.50%) and The respondents occupation are government services and state enterprises (28.50%). They generally graduated in bachelor degree (60.50%), and monthly income between 5,000-15,000 (49.50%). 2. The buying behavior of the respondents mostly on the clothing products (51.00%), the Levi’s Strauss (14.50%), concern about the style (35.75%), available through the vendor at the market (33.25%), mostly concern about the beauty (38.25%), being the costume (56.25%), mostly buy at Maboonkrong Department Store (27.00%), buying at the shop that provides the most satisfaction products (59.00%), being a mobile vendor (60.25%), unnecessary to buy during the festival (51.75%), and buy once a month (63.0%). Other factors influence the buying behavior are ; buying at the shop (85.50%), by asking information from the vendor (57.75%), selected by the neatness and elaborate of the products (30.50 %), the most similar to genuine products (49.00%), satisfied with style and design (46.25%), considered from the logos (76.75%), went out to shopping with friend (65.00%). Gift for a friend (46.00%) respectively. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant differences at .05 in buying behavior of the respondents in term of gender, age, educational level and occupation.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-05-28
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 974-181-225-6
Source CallNumber: วพ HF5415.32 ช162 พ3 2547
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๐

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์เอกชนของผู้บริโภคในเมืองทองธานี
Title Alternative The factor of decision about selecting the postal service of consumers in Muangthong Thani District
Creator Name: ชฎาภรณ์ รวมวงษ์
Subject keyword: ไปรษณีย์ — ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ; ไปรษณีย์ — ผู้ใช้บริการ
ThaSH ไปรษณีย์ — ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ; ไปรษณีย์ — การตัดสินใจ ; ไปรษณีย์ — ผู้ใช้บริการ
Description Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ของผู้บริโภคในเมืองทอง ธานี และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ ของผู้บริโภคในเมืองทองธานี จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่าศัยอยู่ในเมืองทองธานี จำนวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9496 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe’s) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 59.0 อายุระหว่าง 26 – 35 ปี จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 มีสถานภาพโสด จำนวน 238 คน คิดเป็นร้อยละ 61.3 ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 62.6 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 39.7 และมีรายได้ระหว่าง 5,000 – 10,000 บาท จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 28.6 2) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ของผู้บริโภคในเมืองทองธานี โดยภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอยู่ในระดับปานกลางกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.02 ส่วนเบนมาตรฐาน .445) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้บริโภคมีน้ำหนักการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์เอกชนมากเป็นอันดับแรก คือ ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ( ค่าเฉลี่ย 3.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .668) รองลงมา คือ ด้านเอกสารที่ใช้ในการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .588) ด้านสถานที่บริการ(ค่าเฉลี่ย 3.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .646) ด้านความสะดวกรวดเร็ว(ค่าเฉลี่ย 3.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .655) ด้านราคา(ค่าเฉลี่ย 2.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .728) และด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นอันดับสุดท้าย(ค่าเฉลี่ย 2.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .637) 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์ ของผู้ บริโภคในเมืองทองธานี จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์เอกชนในเมืองทองธานี ในภาพรวมไม่แตกต่างกันส่วน ผู้บริโภคที่มี สถานภาพต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการไปรษณีย์เอกชนในเมืองทองธานีในภาพรวม แตกต่างกันกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this study is to find out and compare the factor of decision about selecting the postal service of consumers in Muangthong Thani District classified the characteristic in terms of the gender, age, status, education level, occupation and personal income. This study was carried out by surveying on 388 samplers of consumers living in Muanthong Thani District. The instrument of data collection are interviewing through out the questionnaires being at 0.9496 of the confident interval. Collected data was analyzed by percentage, mean averge, standard deviation (t-test) and F-test moreover it was compared the information description along with Scheffe’s method. The result of surveying showed that: 1. The number of 229 women on the percentage about 59 were the most of consumer samplers who response the questionnaires. The most age level of them was between 26-35 years old in the number of 153 persons on the percentage of 39.4 and 238 persons or about 61.3% of all were single. 243 persons educated in Bachelor degree level that is about 62.6% of all consumer samplers. From interviewing about the occupation of consumer samplers, it was found that 154 persons or about 39.7% of all were officers in private company and the income level between 5,000-10,000.-Baht of 111 persons of consumer samplers was on the percentage about 28.6. 2. From replying questionnaires, it was found that the factor of decision about selecting the postal service of consumers in Muangthong Thani District that most samplers attended to was in the middle level on the average of 3.02 (SD = 0.445). Considering in each side, it was found that the first important topic of factor selected mostly by consumer samplers choosing the postal service of private company was officer service topic on the average of 3.27 (SD = 0.668). The second important topic was the servicing document on the average of 3.26 (SD = 0.588), the service place on the average of 3.24 (SD = 0.646), the service convenience on the average of 3.01 (SD = 0.655), the service price on the average of 2.73 (SD = 0.728) and the topic of public relationship and advertisement was the last one of factor on the average of 2.60 (SD = 0.637) 3. From the hypothesis testing relating to factor of decision about selecting the postal service of consumers in Muangthong Thani District identified by the personal characteristic determinate that the consumers with the different characteristic in term of gender, age, occupation, education level and personal income had indifferent factor of decision about selecting the postal service of private company in Muangthong Thani. In an overview condition, most consumers with the different status had different factor of decision about selecting the postal service of private company in the significant at 0.05.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2551-07-13
Issued: 2551-05-28
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: ไม่มี
Source CallNumber: วพ HE6185.T5 ช122 ป6 2550
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๑

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรถร่วมบริการ สาย 89 และ 162
Title Alternative Job Satisfaction of the Co-Service City Bus No. 89 and 162 ‘s Officer
Creator Name: พชร คณารมย์
Subject keyword: รถร่วมบริการ ความพึงพอใจ
; พนักงานบริการ ความพึงพอใจ
Description Abstract:การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรถ ร่วมบริการสาย 89 และ 162 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรถร่วมบริการสาย 89 และ 162 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ รูปแบบการศึกษาคือการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสำรวจสอบถามกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานรถร่วมบริการสาย 89 และ 162 ทั้งหมดจำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8437 การวิเคราะห์โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. พนักงานรถร่วมบริการสาย 89 และ 162 ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 53.3 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 47.5 สถานภาพสมรสแล้วร้อยละ 75 มีการศึกษาระดับต่ำกว่า ปวช. ร้อยละ 43.3 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 6-10ปี ร้อยละ 67.5 ระดับรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 8000-10000บาท ร้อยละ 72.5 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรถร่วมบริการสาย 89 และ 162 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพการทำงานอยู่ในระดับปานกลางเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง และด้านนโยบายของบริษัทอยู่ในระดับปานกลางเป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าพนักงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน อายุ สถานภาพและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้าน เพศ ประสบการณ์ และรายได้ พบว่าไม่แตกต่างกัน The Purpose. This research attempted to study and compare Job Satisfaction of the Co-Service City Bus No. 89 and 162 ‘s Officer and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be an employee of the company. The survey questionnaire were used for collecting the data from a sample of 170. Convenience sampling of probability design was used as the method of selecting the sample. The collected data were analyzed by SPSS for Windows for the Percentage, Mean, S.D. t-test, F-test and Sheffe’ method. Findings. The study shows that ; 1. The major of the respondents were male (53.30 %), with an age range between 31-40 years old and 75 % or the respondents were married with educational background below secondary school (43.3% ). The respondents had work experience between 6-10 years (67.5%) and had monthly income between 8,000-10,000 baht (72.5) respectively. 2. The overall work satisfaction of these respondents were at the moderate. However, the analysis in each aspects found that the first satisfaction were on (3) the work condition, second was on the personal relations, third was on the allowance and welfare, fourth was on the company’s policy. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant difference at .05 in job satisfaction of the respondents in term of age, marital status and education. But there were no significant difference in job satisfaction of the respondents in term of gender, work experience and income.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HE5693.55.A1 พ179 ค2 2547
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๒

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภค
Title Alternative Fruit Juice Consumer Behavior
Creator Name: นวพร ประพันธ์
Subject keyword: พฤติกรรมการบริโภค
; น้ำผลไม้
; ผู้บริโภค
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้ บริโภคที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จากกลุ่มตัวอย่าง คอ ผู้บริโภคน้ำผลไม้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน จากนั้นนำผลที่ได้รับมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมประมวลผล SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคน้ำผลไม้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ 56.88 มีอายุอยู่ในช่วง 20-25 ปี จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 28.13 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 229 คน คิดเป็น 47.71 มีอาชีพพนักงานบริษัท 155 คน คิดเป็นร้อยละ 32.29 และมีรายได้ 5,000-10,000 บาท จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 39.79 2. ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการซื้อน้ำผลไม้อาทิตย์ละครั้ง ยี่ห้อน้ำผลไม้ที่ชอบดื่ม คือ ยูนิฟ ประเภทของน้ำผลไม้ที่ซื้อดื่ม คือ ชนิดความเข้มข้น 100% รสที่ผู้บริโภคชอบดื่ม คือ รสผักผลไม้รวม โดยจะเลือกซื้อด้วยตนเอง ราคาที่ซื้อเป็นประจำ คือ ต่ำกว่า 20 บาท ลักษณะของภาชนะที่เลือกซื้อ คือ แบบกล่อง จำนวนที่ซื้อ คือ 1 ขวด/กล่อง/กระป๋อง โอกาสพิเศษที่จะเลือกซื้อ คือ ซื้อดื่มโดยไม่จำกัดเทศกาล สาเหตุที่ซื้อดื่ม คือ เพื่อสุขภาพ ช่วงเวลาที่ดื่ม คือ ดื่มไม่เป็นเวลา สถานที่ซื้อ คือ นิยมซื้อจากห้าง/ซุปเปอร์มาร์เก็ต สื่อที่รับรู้และอิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ โทรทัศน์ และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ เพื่อน 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ และรายได้แตกต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน พบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ ไม่แตกต่างกัน The Purpose. This research attempted to study and compare the factors related to Consumers’ Consumption Behavior of an Fruit Juice in Bangkok Metropolitan Area and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the customers living in the Bangkok Metropolitan area. The questionnaire are used for collecting the data from a sample of 480. The collected data is analyzed by SPSS version 11 for Windows for the percentage and Chi-square. Findings. The study shows that ; 1. Most of the respondents were 273 female (56.88%) , the 135 respondents had an average age of 20-25 (28.13%) , 229 of the respondents had bachelor degree (47.71%) and 155 respondents were private companies’ employee (32.29%) ,191 respondents had monthly salary between 5,000 – 10,000 baht (39.79%) respectively. 2. Most of the respondents had reveal that they consume fruit juice once a week The most favorite brand is “Unif” and the most preferred type is the 100% full-flavoured, the most favorite taste is mixed-fruit and vegetable and had stated that they will choose themselves. The average buying price is below 20 baht with the box packaging which buy one box. There are no special occasion to buy but just consume anytime. The main reason to drink is for health at unspecific time of drinking. Supermarket and department store are the convenience place for buying. Television is the most influence buying factor at the same time friend is the most influence person for buying. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant differences at .05 in factors related to consumption behavior of an fruit juice products of the respondents in Bangkok Metropolitan Area in term of age, occupation, and monthly salary , But there were no-significant difference in factor related to consumption behavior of an fruit juice products of the respondents in Bangkok Metropolitan Area in term of age, educational level.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: .อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ TX815 น297 พ3 2547
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๓

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของศูนย์การค้าซิตี้คอมเพล็กซ์ ประตูน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
Creator Name: นิรมล พรหมสุภา
Subject keyword: ความพึงพอใจของลูกค้า
; การให้บริการ
; ศูนย์การค้าซิตี้คอมเพล็กซ์
; บริการของศูนย์การค้า
Description Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้ บริการของศูนย์การค้าซิตี้คอมเพล็กซ์ ประตูน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของศูนย์การค้าซิ ตี้คอมเพล็กซ์ ประตูน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบสะดวก โดยคำนวณด้วยสูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าที่มาใช้บริการในศูนย์การค้า ซิตี้คอมเพล็กซ์ ประตูน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดวิเคราะห์ โดย โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test สำหรับตัวแปร 2 กลุ่ม และ F-test สำหรับตัวแปรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป และวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 53.00 มีอายุ 20 ถึง 34 ปี จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 33.50 ระดับการศึกษาอนุปริญญา / ปวส. จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 26.50 อาชีพเจ้าของกิจการ จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 30.50 ภูมิลำเนากรุงเทพมหานคร จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 24.50 ระยะเวลาที่เป็นลูกค้า 2 ปี จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 22.00 (1) 2. ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของศูนย์การค้าซิตี้คอมเพล็กซ์ ประตูน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในน้ำหนักความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านราคาอยู่ในน้ำหนักความพึงพอใจมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ด้านพนักงานและการต้อนรับ ด้านสินค้า ด้านการบริการ และด้านสถานที่ เป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โดยภาพรวมลูกค้าที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านการศึกษา และด้านระยะเวลาที่เป็นลูกค้า มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้าน เพศ อายุ อาชีพ และภูมิลำเนา พบว่าไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5438 น645 ค2 2547
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๔

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The Marketing Communication Foctors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Swimwear in District Bangkok
Creator Name: อรทัย อาริยพัฒนกุล
Subject keyword: ชุดว่ายน้ำ การเลือกซื้อ การตลาด
; ธุรกิจชุดว่ายน้ำ
Description Abstract: การศึกษาเรื่องปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำของผู้ บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสิน ใจซื้อชุดว่ายน้ำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 เป็นเครื่องมือ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 83.3 เพศชาย ร้อยละ 16.8 โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.0 โดยมีการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 65.5 อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 59.5 และมีรายได้สุทธิของครอบครัวอยู่ในช่วง 10,000 – 20,000 คิดเป็นร้อยละ 40.3 2. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำของผู้บริโภค เขตกรุงเทพมหานคร ด้านการขายแบบรายบุคคลมีน้ำหนักการตัดสินใจ มากเป็นอันดับ 1 ด้านการส่งเสริมการขายมีน้ำหนักการตัดสินใจมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาได้แก่ด้านการโฆษณา ด้านการตลาดแบบขายตรงและด้านการประชาสัมพันธ์มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ใน ระดับปานกลาง 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าในภาพรวม ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ของครอบครัวแตกต่างกันใช้ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจ ซื้อชุดว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านระดับการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน The Study Report Title: The Marketing Communication Foctors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Swimwear in District Bangkok. The objective of the study is to compare the factors of the decision making by consumer. The procedure of this project is to survey 400 consumers. From the collecting data, there are 5 factors: Advertising, Public Relation, Sale Promotion, Personal Selling, and Direct Marketing. The statical analysis used in the study in facilitated by SPSS software. 1. Most of sampling people is female which is 83.3% male 16.8% It was found consumer has age 20-30 years old,36.0%. The majority has at least bachelor degree, 65.5% most of them are employee, 59.5% and with monthly income than 10,000 -20,000 baht. 2. The Marketing Communication Foctors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Swimwear in District Bangkok in overall picture is affected the more. The most factors that affected personal selling. The second is sale promotion and advertising, direct marketing, public relations is affected the middle. 3. The result of hypothesis indicated that people who have different gender have the same factor of marketing communication for the decision to Purchase Swimwear in District Bangkok. For the people who have sex, age, occupation and income the factor of marketing communication for the decision to Purchase Swimwear in District Bangkok have significant different of statistic at level .05 but high education don’t different.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.32 อ324 ป6 2549
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการการสื่อสารการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The Marketing Communication Factors of the Decision Made by the Consumers to Purchase Motorcycle in Bangkok
Creator Name: สมชัย อุดมมงคลกูล
Subject keyword: รถจักรยานยนต์ การเลือกซื้อ กรุงเทพฯ
; การเลือกซื้อ
Description Abstract:การศึกษาเรื่องปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสิน ใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจ ซื้อรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 เป็นเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครรวมทั้ง สิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่มียี่ห้อจักรยานยนต์ ที่ชอบที่สุดคือ ยี่ห้อฮอนด้าคิดเป็นร้อยละ 60.8 มีอายุระหว่าง 21-31 คิดเป็นร้อยละ 48.0 ระดับการศึกษาปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 198 อาชีพพนักงานบริษัทคิดเป็นร้อยละ 38.0 มีรายได้ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทคิดเป็นร้อยละ 47.0 2. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร อันดับ 1 คือ ด้านการส่งเสริมการขาย มีและมีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก อันดับ 2 คือ ด้านการโฆษณา มีน้ำหนักการ ตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง อันดับ 3 คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ มีน้ำหนักการตัดสินใจในระดับปานกลาง และอันดับ 4 คือ ด้านการขายแบบขายตรง มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับน้อย 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ในภาพรวม ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบคคลที่มียี่ห้อรถจักรยานยนต์ที่ชอบมากที่สุด ด้านการศึกษาต่างกัน และรายได้ ใช้ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหา นครไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอายุและ อาชีพ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The Study Report Title: The Marketing Communication Factors of the Decision Made By the Consumers to Purchase Motorcycle in Bangkok The objective of the study is to compare the factors of the decision making by consumer. The procedure of this project is to survey 400 consumers. From the collecting data, there are 4 factors: Advertising, Sale Promotion, Public Relation, and Direct Marketing. The statical analysis use in the study in facilitated by SPSS software. 1. Most of sampling people has the most favorited motorcycle brand which is Honda 60.8% it was found consumer has age 21-30 years old, 48.0%. The majority has at least bachelor degree, 49.5% most of them are employee, 38.0% and with monthly income less than 10,000 baht. 2. The Factors of Marketing Communication for the Decision that they purchase the motorcycle in overall picture is affected the middle. The most factors that affected people’ is sale promotion. The second is advertising and public relations, direct marketing accordingly. 3. The result of hypothesis indicated that people who has different favorited motorcycle brand and high education have the same factor of marketing communication for the decision to purchase the motorcycle. For the people who have age, occupation and income the factor of marketing communication for the decision to Purchase Motorcycle in Bangkok have significant different of statistic at level .05
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ TL440.2 ส238 ป6 2549
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการสื่อสารการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด
Creator Name: นันทนา สวัสดิ์ธนากุล
Subject keyword: พฤติกรรมผู้บริโภค
; การเลือกซื้อสินค้า
; ผู้บริโภค
Description Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด ในเขตกรุงเทพฯ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้สูตรเรมอนด์อาร์(Raymon R) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5± เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าภายในร้านไล อ้อน เรคคอร์ด เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมด วิเคราะห์โดย SPSS โปรแกรมสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 55.28 มีอายุระหว่าง 21–25 ปี จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 32.50 การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00 รายได้ระหว่าง 5,000–15,000 บาท จำนวน 197 คน คิดเป็นร้อยละ 54.72 อาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 40.56 2. พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด ในเขตกรุงเทพฯ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อสินค้าประเภท VCD มากที่สุด ปริมาณการซื้อโดยเฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่มีจำนวนน้อยกว่า 5 แผ่น สถานที่ซื้อส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้า จากห้างสรรพสินค้า ช่วงเวลาที่เลือกซื้อ คือ ช่วงเวลาระหว่าง 18.01 – 20.00 น. ใน 1 สัปดาห์ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อภาพยนตร์ภายในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด จำนวน 1 – 2 ครั้ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อมากกว่า 10 นาที – 2 ชั่วโมง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีเหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าภายในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด เนื่องจากราคาถูก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบภาพยนตร์จาก ฮอลลีวูดมากที่สุด ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น สิ่งสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคส่วนใหญ่คือ ดารา – นักแสดง ราคาสินค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบคือ ราคา 99 – 149 บาท ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพอใจในราคาสินค้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด ไปให้ตัวเอง ผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้บริโภคส่วนใหญ่คือ ตัวเอง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากร้านไลอ้อน เรคคอร์ด ด้วยวิธีเลือกซื้อ ณ จุดขายแล้วชำระเงินสด 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าภายในร้านไลอ้อน เรคคอร์ด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีอายุ อัตราเงินเดือน และอาชีพแตกต่างกันพบว่า มีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าภายในร้านไลอ้อน เรคคอร์ดไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๖

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจใช้ระบบโทรศัพท์มือถือ ทีเอ ออเร้นจ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The Marketing Communication Factors of The Decision Made By the Consumers to Purchase TA Orange Mobile Phones in the Bangkok
Creator Name: พิสมัย บุญศรี
Subject keyword: โทรศัพท์เคลื่อนที่ การจัดการ การตัดสินใจ
; โทรศัพท์เคลื่อนที่ การตลาด
; พฤติกรรมผู้บริโภค
; การตลาด
; การจัดการ
; การตัดสินใจ
Description Abstract: การศึกษาเรื่องปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจใช้ระบบโทรศัพท์มือถือ ทีเอ ออเร้นจ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจใช้ระบบโทรศัพท์ มือถือ ทีเอ ออเร้นจ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 เป็นเครื่องมือ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57. เพศชาย ร้อยละ 43 มีอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.8 มีการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 69 อาชีพพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 51.5 และมีรายได้สุทธิของครอบครัวอยู่ในช่างต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 62.3 2. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจใช้ระบบโทรศัพท์มือถือ ทีเอ ออเร้นจ์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจใช้ระบบโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้าน การส่งเสริมการขายมีน้ำหนักการตัดสินใจมากในอันดับ 1 ด้านการขายโดยใช้บุคคลมีน้ำหนักการตัดสินใจมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาได้แก่ด้านการตลาดทางตรง ด้านการโฆษณา และด้านประชาสัมพันธ์ มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ และรายได้แตกต่างกันใช้ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจใช้ระบบ โทรศัพท์มือถือ ทีเอ ออเร้นจ์ในเขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันพบว่าใช้ปัจจัยการสื่อสาร การตลาดในการตัดสินใจใช้ระบบโทรศัพท์มือถือ ทีเอ ออเร้นจ์ในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน The Study Report Title: The Marketing Communications Factors of the Decision Made By the Consumers to Purchase TA Orange Mobile Phones in Bangkok The objective of the study is to compare the factors of the decision making by consumer. The procedure of this project to survey 400 consumers. From the collecting data, there are 5 factors: Advertising, Public Relation, Sale Promotion, Personal Selling, and Direct Mar keting. The staical analysis used in the study in facilitated by SPSS software. 1. Most of sampling people is female which is 57.0% male 43.0% It was found consumer has age 20-30 years old,65.8%. The majority has at least bachelor degree,69.0 % most of them are employee, 51.5% and with monthly income less above 10,000 baht. 2. The Factors of Marketing Communication for the Decision that they purchase the TA Orange Mobile Phones in overall picture is affected the middle. The most factors that affected people’s is sale promotion. The second is personal selling and public relations, advertising, direct marketing accordingly. 3. From Hypothesis testing, we found that the consumer in Bangkok, who have the different range of age, occupation and revenue, 0.05 statistic significantly use the different marketing communication factors to choose TA system. For the consumer in Bangkok who have different sex and level of education, there is no different to use marketing communication factors to choose TA system.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-02
Modified: 2553-08-02
Issued: 2553-08-02
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HD9697.T452 พ772 ป6 2549
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการสื่อสารการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๗

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title การบริหารความสัมพันธ์ผู้จัดจำหน่าย บริษัทกิ้มหยูเส็งค้ากระจก จำกัด
Title Alternative Supplier Relationship Management : A Case Study of the KIM YOO SENG CO., LTD.
Creator Name: วิไลลักษณ์ ทวีสกุลชัย
Subject keyword: การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
; การบริการลูกค้า
; การจัดการ
Description Abstract: การศึกษาเรื่องการบริหารความสัมพันธ์ผู้จัดจำหน่าย ระหว่างบริษัท กิ้มหยูเส็งค้ากระจก จำกัด กับ บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี จำกัด และ บริษัท กระจกสยามการ์เดียน จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารความสัมพันธ์ผู้จัดจำหน่าย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้บริหารและพนักงานทั้ง 3 บริษัท จำนวน 17 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความ จากการศึกษาพบว่า การบริหารความสัมพันธ์ผู้จัดจำหน่ายของบริษัทกิ้มหยูเส็งค้ากระจก จำกัด ทั้ง 5 ด้าน สรุปได้ดังนี้ ในด้านการผลิต เน้นการผลิตสินค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายและคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ในด้านการจัดส่ง สินค้านั้น บริษัทฯ ได้รับสินค้าตรงตามกำหนดเวลา และได้รับความสะดวกในการไปรับสินค้าด้วยตนเองได้กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถลดค่าใช้จ่ายโดยร่วมกันวางแผนการผลิต การจัดส่งสินค้าเพื่อใช้ในโครงการโดยไม่ต้องเก็บสินค้าคงคลัง ในด้านการเงิน มีการยืดหยุ่นและสะดวกในการชำระเงิน และมีการตรวจสอบเครดิตลูกค้าใหม่และเก่าอย่างสม่ำเสมอ ด้านการสั่งซื้อสินค้านั้น บริษัทฯ สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตลอดเวลา ซึ่งโอกาสความผิดพลาดในการผลิตน้อยมากเพราะมีการรับรองความถูกต้องจากลูกค้า และด้านการบริการหลังการขาย มีโอกาสได้เยี่ยมชมโรงงานเพื่อศึกษาดูงาน ได้รับความรู้และการอบรมในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-03
Issued: 2553-08-03
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.5 ว734 ก6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๘

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความคาดหวังของพนักงานในการพัฒนาบริหารงานขององค์การคลังสินค้า
Title Alternative Employee’s Expectation in Work Administration Development Of the Warehouse Organization
Creator Name: มัทนินท์ เขียนวิจิตร์
Subject keyword: พนักงาน
; การพัฒนาองค์การคลังสินค้า
; การบริหารบุคคล
Description Abstract:การศึกษาความคาดหวังของพนักงานในการพัฒนาบริหารงาน ขององค์การคลังสินค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความคาดหวังของพนักงานในการพัฒนาบริหารงานขององค์การ คลังสินค้า จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจจากลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ใน องค์การคลังสินค้า จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น .9322 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test f-test และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหญิง จำนวน 161 คนคิดเป็นร้อยละ 78.54 มีอายุระหว่าง 41 ถึง 50 ปีจำนวน 63 คนคิดเป็นร้อยละ 30.73 ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 139 คนคิดเป็นร้อยละ 67.80 ระดับเงินเดือนที่พนักงานได้รับอยู่ที่ 30,001 – 40,000 บาท จำนวน 69 คนคิดเป็นร้อยละ 33.66 ประสบการณ์ในการทำงานในหน่วยงานขององค์การคลังสินค้า 25 ปี ขึ้นไป จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 27.80 2. ความคาดหวังของพนักงานในการพัฒนาบริหารงานขององค์การคลังสินค้า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความคาดหวังในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความมั่นคง และด้านบทบาทของ (2)พนักงานตามลำดับ ส่วนด้านนโยบายบริหารงานมีความคาดหวังมีความคาดหวังเป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคาดหวังในการพัฒนาบริหารงานขององค์การคลังสินค้าไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับเงินเดือนต่างกันมีความคาดหวังในการพัฒนาบริหารงานของ องค์การคลังสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 The Purpose. This research attempted to study and compare Employee’s Expectation in Work Administration Development of the Warehouse Organization and relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be an Employees of the Warehouse Organization. The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 205. Convenience sampling of probability design of .9322 was used as the method of selecting the sample. The collected data is analyzed by SPSS version 12 for Windows for the Frequency, Percentage, Mean, S.D. t-test, F-test and Sheffe’ method. Findings. The study shows that ; 1. The majority of the respondent were 161 female (78.54%) , 63 (30.73% ), respondents has an average age between 41-50 years old 139 (67.80 %), respondents were graduated bachelor degree 69 (33.66%) respondents has been in the office more than 25 years (75.68 %) , 57 respondents (27.80%) has average monthly income 30,001 – 40,000 baht respectively. 2. The overall Employee’s Expectation in Work Administration Development of the Warehouse Organization were at moderate level in all aspects. Especially in aspect of the working environment , welfare and salary, job security and job involvement. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were no significant differences in Employee’s Expectation in Work Administration Development of the Warehouse Organization in term of gender , age ,education and work experience. But there were significant different at .05 in Employee’s Expectation in Work Administration Development of the Warehouse Organization in the aspects of monthly income.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2010-08-04
Modified: 2553-08-05
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HD37 ม347 ค2 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๓๙

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อสำนักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : งานทะเบียนราษฎร
Title Alternative Customer’s Satisfaction for Services of Bangkoknoi District Bangkok: A Case Study on Registration
Creator Name: อนุศักดิ์ เดชแก้ว
Subject keyword: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
; งานทะเบียนราษฎร
; ผู้ใช้บริการงานทะเบียนราษฎร
Description Abstract:การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : งานทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อศึกษาถึงความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของผู้รับบริการและเปรียบเทียบ ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจำแนกข้อมูลตาม คุณลักษณะส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มาใช้บริการ ณ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9492 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ในส่วนของการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการด้าน พนักงาน สถานที่ ข้อมูลข่าวสาร และบริการของสำนักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สำหรับเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้วิธีการศึกษา สถิติ t-test คือ วิเคราะห์ตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ F-test สำหรับตัวแปรอิสระที่มีตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 52.75 อายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 40.75 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 53.25 อาชีพนักเรียนนักศึกษา จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 30.50 2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อสำนักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา งานทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชน ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากด้านพนักงาน เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านบริการ เป็นอับดับที่สองและสาม และด้านสถานที่พอใจ ปานกลาง เป็นอันดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โดยภาพรวมผู้ใช้บริการมีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันในทุกๆ ด้าน The Purpose. This research attempted to study and compare the Customer Satisfaction for the Services of District of Bangkok Noi Office : Case Study for the Citizen Registration Section and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the customers of the district office. The survey questionnaire were used for collecting the data from a sample of 400 . Convenience sampling of probability design of .9492 was used as the method of selecting the sample. The collected data is analyzed by SPSS for Windows for the Percentage, Mean, S.D. t-test, F-test . Findings. The study shows that ; 1. The majority of the customers were 211 male (52.75 %), age between 21-30 years,198 respondents (40.75%), 213 respondents were bachelor degree graduated (53.23% ), an occupation of 122 respondents were students (30.50 %). 2. The overall satisfaction of these customers toward the services in citizen registration, citizen card were highly satisfied. However, the analysis in each aspects found that the first satisfaction were on the officer, follow by information aspect, the service aspect and office building respectively. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were no significant differences in satisfaction of the respondents in all term.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email:srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-05
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ JS745 อ225 ค2 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๐

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ
Creator Name: วีรวรรณ สิทธิโชค
Subject keyword: การไฟฟ้านครหลวง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
; ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
; พนักงานการไฟฟ้า นครหลวง เขตวัดเลียบ
; การปฏิบัติงานพนักงานไฟฟ้า
Description Abstract: การศึกษาในเรื่อง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน โดยรูปแบบการศึกษา คือ การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสำรวจสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9266 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่เพิ่มเติมด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. พนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.21 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 45.50 มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ75.68 และมีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ40.99 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านคหลวง เขตวัดเลียบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยอันดับที่ 1 ได้แก่ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ รองลงมา ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ตามลำดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าพนักงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันในทุกๆด้าน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-05
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HD6495 ว835 ค2 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๑

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(เขื่อนบางลาง)
Title Alternative Job Satisfaction of an Employee of Electricity Generation Authority of Thailand (Banglang Power Dam)
Creator Name: ทิวรรก์ พูลละผลิน
Subject keyword: การไฟฟ้าผ่ายผลิต ความพึงพอใจ
; การปฏิบัติงานของพนักงานไฟฟ้า
; พนักงานการไฟฟ้า เขื่อนบางลาง
Description Abstract: การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้า (เขื่อนบางลาง) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานการไฟฟ้า (เขื่อนบางลาง) จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ คือ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เขื่อนบางลาง) รูปแบบการศึกษาคือ การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสำรวจสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เขื่อนบางลาง) จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8788 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า 1. พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เขื่อนบางลาง) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 90.55 มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาปวช.และปวส. ร้อยละ 40.16 มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ95.28 และมีรายได้น้อยกว่า30,000 บาท ร้อยละ40.94 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (เขื่อน บางลาง) โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก พบว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มี ความพึงพอใจมากเป็นอันดับแรก รองลงมาด้านสภาพการทำงาน ด้านค่าตอบแทน และมีความพึงพอใจปานกลางในด้านนโยบายการบริหาร 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ที่เหลือพบว่าไม่แตกต่างกันทุกๆ ด้าน The purpose. This research attempted to study and compare the Job Satisfaction of an Employee of Electricity Generation Authority of Thailand (Banglang Power Dam) and the relationship between personal factors. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the officers and workers of the Electricity Generation Authority of Thailand (Banglang Power Dam). The survey questionnaire are used for collecting the data from a sample of 127. Convenience sampling of probability design of .8788 is used as the method of selecting the sample. The collected data is analyzed by SPSS version 11 for Windows for the percentage, Mean, S.D. t-test, F-test and Sheffe’ method. Findings. The study shows that ; 1. The majority of the respondent were male (90.55%) , have an average age more than 35 years old with an educational background of junior and senior vocational certificate (40.16%), has been in the office more than 10 years (95.28%), the respondents have monthly salary less than 30,000 baht (40.94%). 2. The overall job satisfaction of the officers and workers were at most. Especially in the aspect of personal relations, follow by working condition, work payment and moderately satisfied to the aspect of administration policy. 3. The testing of hypotheses of the study found that there were significant differences at .05 in job satisfaction of the respondents in term of educational background. But there were no-significant difference of the respondents in other factors.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-05
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HD6495 ท512 ค2 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๒

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The Factors for Marking Decision in Digital Camera of Consumer in Bang Metropolitan Area
Creator Name: สมศรี สมประมุข
Subject keyword: กล้องถ่ายรูปดิจิตอล การเลือกซื้อ
; กล้องดิจิตอล การเลือกซื้อ
Description Abstract:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอล ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9189 จากกลุ่ม ตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคกล้องดิจิตอล ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ข้อมูลที่ได้จาก แบบสอบถามทั้งหมดวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานt-test และ F-test และวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟในกรณีที่พบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 225 คน คิดเป็นร้อยละ 56.3 อายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 55.3 การศึกษาในระดับปริญาตรี จำนวน 278 คน คิดเป็น ร้อยละ 69.5 อาชีพนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 26.3 2. ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้บริโภคมีปัจจัยการตัดสินใจมากในด้าน ผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัด จำหน่าย ตามลำดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โดยภาพรวมผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ อาชีพ อายุและการศึกษา ไม่แตกต่างกันทุกด้าน The purpose of this research is to study and compare the factor of making decision to buy digital camera of Consumer in Bangkok Metropolitan Area. By classifying the Qualification. This study uses survey research. Using the inquiry from as the tool to be convinced measurement .9189.The tool of this research to collect the data is, was distributed to 400 persons who live in Bangkok Metropolitan Area. The researcher collects the result randomly and calculates by using Taro Yamane’s formula. The data from questionnaire is analyzed by using SPSS Program. Data is analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The research is further analyzed on the sheffe’s pair comparison in the case of finding the significant different of statistic. The findings revealed that: 1. The majority samplers is 225 samplers who are women or 65.3%, 221 samplers who are between 20-30 years old or 55.3%, 278 samplers who are Bachelor’s degree graduates or 69.5%, and150 samplers who are study/under graduates or 26.3%. 2. The factor of making the decision to purchase digital camera of Consumer in Bangkok Metropolitan Area. The overall image is in the hard decision making. When considering each part, we found that product is the major factor in making decision. The second is price. The distribution channel is in the third place. 3. The result of hypothesis indicated that in overall image of consumer’s gender age education and career are not different.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-05
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ TR256 ส279 ป6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๓

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative Criteria for Selecting and Purchasing Electrical Appliances in Bangkok by consumers
Creator Name: เรวดี สระบัว
Subject keyword: เครื่องใช้ไฟฟ้า การเลือกซื้อ
; เครื่องใช้ไฟฟ้า การเลือกซื้อ กรุงเทพฯ
Description Abstract:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหา นคร และเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .7796 จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานt-test และ F-test และวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยวิธีของเชฟเฟในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 53.25 อายุระหว่าง 21 – 30 ปี จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 39.00 การศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 53.25 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 32.75 2. ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้บริโภคมีปัจจัยการตัดสินใจมากในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โดยภาพรวมผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ ด้านอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่แตกต่างกันทุกด้าน The purpose of this research is to study and compare Criteria for Selecting and Purchasing Electrical Appliances in Bangkok by consumers. By classifying the Qualification. This study uses survey research. Using the inquiry from as the tool to be convinced measurement .7796. The tool of this research to collect the data is, was distributed to 400 persons who live in Bangkok Metropolitan Area. The researcher collects the result randomly and calculates by using Taro Yamane’s formula. The data from questionnaire is analyzed by using SPSS Program. Data is analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The research is further analyzed on the sheffe’s pair comparison in the case of finding the significant different of statistic. The findings revealed that: 1. The majority samplers is 213 samplers who are women or 53.25%, 156 samplers who are between 21-30 years old or 39.00%, 213 samplers who are Bachelor’s degree graduates or 53.25%, and 131 samplers who are state enterprise or 32.75%. (3) 2. Criteria for Selecting and Purchasing Electrical Appliances in Bangkok by consumers. The overall image is in the hard decision making. When considering each part, we found that product and service is the major factor in making decision. The second is price. The distribution channel is in the third place. 3. The result of hypothesis indicated that in overall image of consumer’s gender age education and career are not different.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.335 ร767 ป6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๔

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคที่ร้านเจ๊ติ๋ม (เขากะโหลก) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Title Alternative Factors effecting the consumer’s decision of choice at J Tim’s Restaurant ( Khaokaloke ) Pranburi Prachaupkhirikhan
Creator Name: วาสนา หน่อทิม
Subject keyword: ร้านเจ๊ติ๋ม พฤติกรรมผู้บริโภค
; พฤติกรรมผู้บริโภค ประจวบคีรีขันธ์
; อาหาร พฤติกรรมผู้บริโภค ประจวบคีรีขันธ์
Description Abstract: การศึกษา เรื่อง ปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคที่ร้านเจ๊ติ๋ม (เขากะโหลก) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหาร ของผู้บริโภคที่ร้านเจ๊ติ๋ม(เขากะโหลก) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่ร้านเจ๊ ติ๋ม(เขากะโหลก) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 222 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ F– test ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน131 คน คิดเป็นร้อยละ 59.0 อายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 41.8 ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8 และอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 33.8 2) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคโดยภาพรวมมีน้ำหนักการตัดสิน ใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 โดยมีปัจจัยด้านอาหารเป็นอันดับแรก รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านการ (1) ส่งเสริมการตลาดปัจจัยด้านราคาอาหารและปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็น ปัจจัยสุดท้ายโดยปัจจัยด้านอาหารที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของ ผู้บริโภคอันดับแรก คือ รสชาติอาหารเป็นที่น่าพอใจปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสิน ใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคอันดับแรกคือพนักงานมีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม แจ่มใสปัจจัยด้านราคาอาหารที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้ บริโภคอันดับแรกคือราคาอาหารคุ้มค่าเมื่อเทียบกับร้านอื่นและปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของ ผู้บริโภคอันดับแรก คือ ร้านมีความสะอาด สะดวก สบาย 3) ผลการทดสอบสมมติฐานโดยภาพรวมพบว่าผู้บริโภคที่มี อายุ และ อาชีพ ต่างกันมีปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารที่ร้านเจ๊ติ๋ม(เขากะโหลก) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ผู้บริโภคที่มี เพศ และ ระดับการศึกษาต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารที่ร้านเจ๊ติ๋ม (เขากะโหลก) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.3 ว231 ป6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคที่ร้านเดอะ รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Creator Name: รสริน นิพภยะ
Subject keyword: ร้านเดอะรีสอร์ท พฤติกรรมผู้บริโภค
; พฤติกรรมผู้บริโภค เพชรบุรี
Description Abstract: การศึกษา เรื่อง ปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคที่ร้าน เดอะ รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหาร ของผู้บริโภคที่ร้าน เดอะ รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภค คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่ร้าน เดอะ รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8877 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ F– test ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 59.5 อายุระหว่าง 41 – 50 ปี จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 27.5 ระดับการศึกษาอนุปริญญาตรี/ปวส. จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 32.4 และอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 25.2 2) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภคโดยภาพรวมมีน้ำหนักการตัดสิน ใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.89 โดยมีปัจจัยด้านอาหารเป็นอันดับแรก รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคาอาหาร และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด เป็นปัจจัยสุดท้าย โดยปัจจัยด้านอาหารที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภค อันดับแรก คือ รสชาติอาหารเป็นที่น่าพอใจ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภค (1) อาหารของผู้บริโภคอันดับแรก คือ มีบรรยากาศและรูปแบบการจัดสถานที่เหมาะสม ปัจจัยด้านราคาอาหารที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้บริโภค อันดับแรก คือ การระบุราคาอาหารชัดเจน และปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารของผู้ บริโภคอันดับแรก คือ พนักงานมีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส 3) ผลการทดสอบสมมติฐานโดยภาพรวม พบว่า ผู้บริโภคที่มี อายุ และ อาชีพ ต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารที่ร้าน เดอะ รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ผู้บริโภคที่มี เพศ และ ระดับการศึกษาต่างกัน มีปัจจัยการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารที่ร้าน เดอะ รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.3 ร176 ป6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๖

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า
Title Alternative Factor Related Purchasing Decisions in Computer From Pantip Plaza
Creator Name: รัชนีวรรณ เจตบุตร
Subject keyword: คอมพิวเตอร์ การตัดสินใจซื้อ
Description Abstract: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจ ซื้อคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่าจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าที่มาซื้อคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ ทิพย์ พลาซ่า จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ ผลการศึกษา พบว่า 1) สถานภาพของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 58.18 อายุ 21-30 ปี ร้อยละ 44.68 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 46.49 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ35.06 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 27.27 2) ปัจจัยการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่าในภาพรวม อยู่ในระดับน้ำหนักการตัดสินใจมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าน้ำหนักการตัดสินใจมากด้านราคาเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาดเป็นอันดับที่ 2 และ 3 โดยมีน้ำหนักการตัดสินใจปานกลางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นอันดับสุดท้าย 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ในภาพรวมผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่างกัน อาชีพต่างกัน และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ ทิพย์พลาซ่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่าไม่ต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ QA76.9 ร343 ป6 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights 

 

 

 

 

 

 

©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๗

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

 

 

 

Title

ประโยชน์จากการนำระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์มาในทรรศนะของข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่เพชรบุรี
Title Alternative The performances ’ benefit on the official staff for using an E- office System in Phetchburi Area Revenue.
Creator Name: ลักษมณ พุ่มเงิน
Subject keyword: สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์
; สำนักงานอัตโนมัติ ทัศนคติ
; e-office
Description Abstract:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประโยชน์จากการ นำระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ปฏิบัติงานในทรรศนะของข้าราชการสำนักงาน สรรพากรพื้นที่เพชรบุรีมาใช้ปฏิบัติงานโดยจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของข้า ราชการโดยใช้วิธีศึกษาเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการสำนักงาน สรรพากรพื้นที่เพชรบุรี จำนวน 120 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test , F-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคลของข้าราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คือประมาณร้อยละ 82.5 อายุระหว่าง 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.2 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 21.7 ระยะเวลาการทำงานมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 59.2 และฝ่ายงานหรือหน่วยงานที่สังกัด คือ ทีมกำกับดูแล คิดเป็นร้อยละ 21.7 2) ประโยชน์จากการนำระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ปฏิบัติงานในทรรศนะของข้า ราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่เพชรบุรีในภาพรวมมีความคิดเห็นว่าได้รับ ประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะด้านการลาของเจ้าหน้าที่ ด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ด้านหนังสือเวียนและด้านการคัดข้อมูลผู้เสียภาษี โดยผู้ศึกษาตั้งนัยสำคัญในการทดสอบค่าสถิติที่ระดับ .05 (1) 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้าราชการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการทำงานและฝ่ายหรือหน่วยงานที่สังกัดมีความคิดเห็นว่าประโยชน์ การใช้ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมไม่แตกต่างกันส่วนข้าราชการที่มี ตำแหน่งปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นว่าประโยชน์การใช้ระบบสำนักงาน อิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The Purpose. This research attempted to study and compare the factors related the Application of the Electronic Office System as Perceived by the Civil Servants of the Revenue Office, Petchaburi Province and the relationship between personal factors which are gender,age, educational level, and occupation. Methods. A field survey research design was used in the study. Respondents were required to be the Civil Servants of the Revenue Office, Petchaburi Province . The questionnaire are used for collecting the data from a sample of 120. Convenience sampling of probability design of .85 is used as the method of selecting the sample. The collected data is analyzed by SPSS version 11 for Windows for the percentage, mean, S.D. t-test, F-test respectively. Findings. The study shows that ; 1. Most of the respondents are female (82.5 %), an age between 36-45 years (44.2 %), bachelor degree graduated (21.7%) , length of the service more than 10 years (59.2%) and attached to the Department of Internal Regulation (21.7%). 2. The overall factors related to the Application of the Electronic Office System as Perceived by the Civil Servants of the Revenue Office, Petchaburi Province were at the most level ,especially for the benefit to the absent recording system ,the electronic mail, the internal letter, and the classification of database of the tax payer. (3) 3. The testing of hypotheses of the study found that there were no-significant differences in factors related to the respondents perception to the application of electronic office system as perceived by the Civil Servants of the Revenue Office, Petchaburi Province in term of gender, age, educational level , length of service and attached unit. However, there were significant difference differences at .05 in factors related to the respondents perception to the application of electronic office system as perceived by the Civil Servants of the Revenue Office, Petchaburi Province in term of the position and rank.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5548 ล228 ป3 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๘

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

 

Title การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของโรงเรียนนวดแผนโบราณไทย ในวัดโพธิ์
Title Alternative Satisfaction of the Customer towards a Service of Wat PhoThai Traditional Massage School
Creator Name: ชาญศักดิ์ ตันหยงมาศกุล
Subject keyword: การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้า
; บริการของโรงเรียนนวดแผนโบราณไทย
; วัดโพธิ์
Description Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้ บริการของโรงเรียนนวดแผนโบราณไทยในวัดโพธิ์ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อ การให้บริการของโรงเรียนนวดแผนโบราณไทยในวัดโพธิ์ จำแนกคุณตามคุณลักษณะส่วนบุคคลการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจโดผู้ ทำการศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบสะดวกโดยคำนวณด้วย สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในโรงเรียนนวดแผน โบราณไทย ในวัดโพธิ์ จำนวน 300 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดวิเคราะห์โดย SPSS โปรแกรมสถิตติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test สำหรับตัวแปร 2 กลุ่มขึ้นไป กับ F – test สำหรับตัวแปร 3 กลุ่มขึ้นไป และวิเคราะห์ด้วยกรณีเชฟเฟในกรณีที่พบทางแตกต่างโดยมีนัยสำคัญทางสถิติผลการ ศึกษาพบว่า 1.คุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 164 คนคิดเป็นร้อยละ 54.67 มีอายุ 51 ถึง 60 ปี จำนวน 90 คน คิดเป็น ร้อยละ 30.00 ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 54.33 ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว 120 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 รายได้ 15,001 ถึง 20,000 จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 23.00 ระยะเวลาที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 2 ชั่วโมง จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 48.33 (1) ประเภทที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้แก่ นวดเพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 39.33 2.ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของโรงเรียนนวดแผนโบราณไทย ในวัดโพธิ์ โดยภาพรวมอยู่ในน้ำหนักความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านการบริการของพนักงานมีน้ำหนักความพึงพอใจมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านสถานที่บริการ ด้านบริการเสริม ด้านราคา และด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นอันดับสุดท้าย 3.ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า โดยภาพรวมลูกค้าที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านอาชีพ มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเพศ อายุ การศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และประเภทที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ พบว่าไม่แตกต่างกัน Purpose of this Study was to find out the Customer Satisfaction towards a Service of Watpho Thai Traditional Massage School. The research was compare Satisfaction of the Customer to Service and segregate personal type with personal data and instruments use questionnaire. That was computation with Taro Yamane‘s formulation. That had reliability at 0.88. The samples consisted 300 customers to service altogether data was analysis for SPSS, use percentage, mean for analysis. Standard deviation T- test for changer 2 group and F- test respectively 3 groups and analyses from Sheffe, the Statistic was different a significant, And to found, 1. Personal Quality the majority samples were Males,164 customers or 54.67% that 51-60 years was 90 customers or 30% and were bachelor degree holders 163 to 54.33% and Private Business 120 to 40%, Income more than 15,001-20,000 baht had 69,to 23% Time for the customer to service to 2 hours that 145 or 48.33%. The massage for service was abating exhausted 188 or 39.33%. (3) 2. Total of Customer ‘s Satisfaction were mostly peruse particularly satisfaction was personal massage that first and then Place, Promotion, Price Information for level 3. Hypothesis testing was found total of Customer to personal quality, occupation had satisfaction at 0.5 and sex, age, education, income, time to service and massage program were found no satisfaction difference.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๔๙

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่น (13-19 ปี)ในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative Brand Name Products: Buying Behaviour of Teenagers (13-19 years old) in Bangkok Metropolis Area
Creator Name: ยิ่งลักษณ์ สุขแก้ว
Subject keyword: พฤติกรรมผู้บริโภค
; เสื้อผ้า แบรนด์เนม
; สินค้าแบรนด์เนม
Description Abstract:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่น (13-19 ปี) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มแบบรายสะดวก โดยสูตรยามาเน ( Yamane) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ ± 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือวัยรุ่น (13-19 ปี)ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมด วิเคราะห์โดยใช้ SPSS โปรแกรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 215 คน คิดเป็นร้อยละ 53.75 อายุ 13-14 ปี จำนวน 169 คน คิดเป็นร้อยละ 42.25 ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 44.50 อาชีพนักเรียนจำนวน 307 คน คิดเป็นร้อยละ 76.75 รายได้ ต่ำกว่า 3,000 บาท จำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 50.50 2. พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมของวัยรุ่น (13-19 ปี)ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เลือกซื้อคือเสื้อยืด เหตุผลที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพราะคุณภาพ เหตุผลในการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมเพราะเป็นความชอบส่วนตัว คุณสมบัติหลักของแบรนด์ที่นิยมคือแบรนด์ที่ผลิตเสื้อผ้าออกมา สามารถใส่ได้ตลอด แบรนด์เสื้อผ้าที่เน้น ความสดใส น่ารักคือ ยี่ห้อ AIIZ ยี่ห้อกางเกงยีนส์ที่เลือกซื้อคือ Levi สถานที่ที่นิยมไปหาซื้อคือสยามสแควร์ เหตุผลที่เลือกซื้อจากแหล่งดังกล่าวคือความสะดวก หากไม่มียี่ห้อที่ต้องการจะซื้อ แบบเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อ ระยะเวลาที่ใช้เสื้อผ้าแบรนด์เนมมา คือ 1 ถึง 2 ปี ช่วงเวลาที่ซื้อคือจะไม่ระบุเวลาการเลือกซื้อแล้วแต่ความสะดวก ความถี่ในการซื้อคือเดือนละครั้ง จำนวนในการซื้อแต่ละครั้งคือครั้งละ 2-3 ตัว 3.ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ในภาพรวมวัยรุ่น (13-19 ปี)ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ทุกด้าน The study aimed to study and compare the brand name products buying behaviour of teenagers (13-19 years old) in Bangkok Metropolis Area, classified by personnel characteristics. Convenience Sampling was applied in this study by using Yamane formula at the error level of ±5. The instrument used for data collection was a questionnaire. The sample group consisted of 400 teenagers, aged between 13-19 years old in Bangkok are. SPSS Program was used for data analysis, and the statistics were percentage, and Chi-Square. The research found that: 1.Most of the respondents or 53.75% (No. 215) were female, while 169 of them or 42.25% were between 13-14 years of age, and doing mathayom 1-3 at 44.50% (No. 178). Out of all, 307 of those teenagers or 76.75% were students, earning less than 3,000 Baht per month at 50.50% (No. 202). 2.The brand name products buying behaviour of teenagers (13-19 years old) in Bangkok Metropolis Area, showed that most of the products selected were T-shirt. The quality of the T-shirts was the reason they spent money on this kind of product. The reason for buying brand name garments was personnel fondness, and the main qualification of those popular brand name was the products were always in trend.The brand that focused on producing vivid, and cute clothes was AIIZ, while the brand of jeans that was most selected was Levi. The most popular place for this purpose was Siam Square, and the reason being “convenience”. If the particular brand could not be found, other brands with the styles would be considered. The length of time spent on wearing brand name products was between 1-2 years, and the shopping time was not fixed, depending on when it was convenient. The frequency was once a month, and around 2-3 pieces each time. 3.The hypothesis testing found that, overall, teenagers (13-19 years old) with different personnel characteristics had different brand name products buying behaviour at statistical significance of .05 in all aspects.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-04
Issued: 2553-08-04
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5415.32 ย265 พ3 2548
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๐

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม
Title Alternative Customers’ Satisfaction for the Services of Thai Military Bank ( Public Company Limited ) Ministry of Defence Branch
Creator Name: ชุธิดา ยามา
Subject keyword: ความพึงพอใจของลูกค้า
; การใช้บริการ
; ธนาคารทหารไทย
Description Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 52.3 มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 39.0 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 59.7 อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 49.7 เงินเดือน 10,001 – 30,000 บาท จำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 67.3 2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม พบว่า ด้านพนักงานและการต้อนรับ ด้านระยะเวลาในการให้บริการด้านข้อมูลที่ได้รับ ด้านความสะดวกที่ได้รับ และด้านสถานที่ประกอบการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้ง 5 ด้าน 3. การทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของลูกค้า ด้านอายุ และรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้บริการไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-06
Issued: 2553-08-06
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๑

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัด
Title Alternative The Satisfaction of the employees working In Sithiporn Associate Company Ltd.
Creator Name: ขวัญนภา จันทร์วิวัฒนากูล
Subject keyword: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
; พนักงาน การปฏิบัติงาน
Description Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติ งานของพนักงาน บริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัด จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระดับงานที่ปฏิบัติ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือน ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของบริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัด จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และประเมินผลแบบ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายหญิง ร้อยละ 59 มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี ร้อยละ 45.5 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.2 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 74.6 ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 79.9 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในบริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัด (อายุงาน) ระหว่าง 1-5 ปี เป็นร้อยละ 38.1 และอัตราเงินเดือน 10,001-15,000 บาท เป็นร้อยละ 41 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านระบบการบริหารการจัดการ และด้านผลประโยชน์ตอบแทนและสวัสดิการ ส่วนด้านความสัมพันธ์ มีความพึงพอใจในระดับมาก 3. การทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน ด้านเพศ อายุ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในบริษัท และอัตราเงินเดือน ต่างกันมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนด้านสถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ ต่างกันมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-06
Issued: 2553-08-06
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HF5549.5 ข269 ค2 2550
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๒

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการตัดสินใจทำเว็บไซต์ของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEในเขตกรุงเทพมหานคร
Title Alternative The decision factors to make website for SME owner in Bangkok metropolitan area selected
Creator Name: อิทธิฤทธิ์ พันธุ์อำพล
Subject keyword: เว็บไซต์
; ธุรกิจ SME
Description Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยการตัดสินใจทำเว็บไซต์ของผู้ประกอบการธุรกิจ SME ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตัดสินใจการเลือกทำเว็บไซต์ จำแนก ตามคุณลักษณะส่วนบุคคลเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน t-test, F-test และ เปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม สวนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 65.0 มีอาชีพลูกจ้างบริษัทเอกชน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 51.5 และมีรายได้ 100,001 บาทขึ้นไป จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 73.5 2. ปัจจัยการตัดสินใจทำเว็บไซต์ของผู้ประกอบการธุรกิจ SME ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.87 บี่ยงเบนมาตรฐาน .418 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อันดับแรกคือ ด้านราคา มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .745 รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .605 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.87ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .578 และด้านคุณภาพบริการ มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .703 เป็นลำดับสุดท้าย 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยการตัดสินใจทำเว็บไซต์ของผู้ประกอบการธุรกิจ SME จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ อาชีพ รายได้ พบว่าน้ำหนักในการตัดสินใจทำเว็บไซต์ไม่ต่างกันทุกด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่สำคัญที่ระดับ .05 ส่วน ปัจจัยทางด้านการศึกษา จะพบว่าผู้ประกอบการที่มีการศึกษาต่างกันจะมีน้ำหนักในการตัดสินใจทำ เว็บไซต์ต่างกัน The objectives of Research of factors of creating website for SME Enterprising in Bangkok are to study and compare the decision of creating website, classified by the individual qualification by sampling 200 samples. The questionnaires are conducted for data collection. Frequency, Percentage, Mean, and Standard deviation are used and interpreted. From comparing T-test and F-test table by Sheffe, we found that 1. For sampling Profiles, most of respondents are male, Age between 26 – 35, Level of education: Bachelor degree 130 respondents, or 65.0%, Occupation: Employee, 103 respondents or 51.5 % Income: more than 100,001 Baht, 147 respondents or 73.5% 2. The over all factors for Entrepreneurs to create website are high; The mean is 3.87, Standard deviation is .418. The first most influence factor is Pirce which has mean 3.98, standard deviation is .745. Promotion has mean equal to 3.92 and standard deviation is .605. Distribution Channel has mean equal to 3.87 and standard deviation is .578. The service quality has mean equal to 3.69 and standard deviation equal to .703. 3. From interpreting the hypothesis, the factors for entrepreneurs to create website classified by genders, occupations, income, it revealed that there is no difference for each factors in decision making, the alpha is .05. However, there is difference in decision making for creating website for each level of education.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-06
Issued: 2553-08-06
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ TK5105.7 อ727 ป6 2550
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๓

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์ของผู้โดยสารคนไทย
Title Alternative The Factors Affecting Thai Passengers Decision of Selecting To Use Services From Bangkok Airways
Creator Name: มานิต ศิริวัชรไพบูลย์
Subject keyword: สายการบินบางกอกแอร์เวย์ การใช้บริการ
; ความพึงพอใจ การบริการ
Description Abstract:การศึกษาเรื่อง ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์ของ ผู้โดยสารคนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินบางกอก แอร์เวย์ของผู้โดยสารคนไทย โดยวิธีการศึกษาได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้ F-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 117 คน อายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 82 คน มีสถานภาพสมรส จำนวน 93 คน ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 125 คน อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 60 คน และมีรายได้มากกว่า 40,000 บาท จำนวน 61 คน 2. ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการเดินทางโดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า อันดับแรกคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ มีน้ำหนักการตัดสินใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านขั้นตอนการให้บริการ อันดับที่สามคือด้านพนักงานที่ให้บริการ อันดับที่สี่คือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อันดับที่ห้าคือด้านการให้บริการ อันดับที่หกคือด้านราคา ค่าโดยสาร อันดับที่เจ็ดคือด้านการส่งเสริมการตลาด 3. การทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้โดยสารที่มี เพศ อายุ สถานะภาพ ระดับ การศึกษา อาชีพ และ รายได้ ที่ต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินบางกอก แอร์เวย์แตกต่างกัน The purposes of this research were to study the factors affecting Thai passengers decision of selecting to use services from Bangkok Airways. This research was a survey research. The sample consisted of 200 consumers. The data is analyzed through statistical method by percentage, mean, standard deviation and F-test. The result revealed that : 1. The majority of sample were 117 male passengers. There were 82 people with age between 20 – 30 years old, 93 people were married, 125 people graduated with Bachelor Degree, 60 people were working with private company, and 61 people earn income more than 40,000 baht. 2. On the factors affecting Thai passengers decision of selecting to use services from Bangkok Airways found that the physical evidence was the first most important for passengers. The second most important for passengers was the procedure and process how to service. The third important issue for passengers was employees. The forth important issue was distribution channel. The fifth important issue was services. The sixth important issue was price and promotion. And the least important issue for passengers was marketing campaign. 3. The hypothesis test showed that passengers with different sex, age, status, education, career, and income had different factors of decision making of how to select to use the service from Bangkok Airways.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: ird@dusit.ac.th
Email: srinacorn_pun@dusit.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Modified: 2553-08-06
Issued: 2553-08-06
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Source CallNumber: วพ HD8039 ม453 ป6 2550
Language tha
Thesis DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาการตลาด
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๔

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับ กลางชาวไทยในบริษัทข้ามชาติของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย
Title Alternative The relationship between corporate culture and leadership styles of Thai middle managers in Korean multinational coporation’s company in the eastern region of Thailand
Creator Name: อรวรรณ รัศมี
Subject ThaSH วัฒนธรรมองค์กร
; ภาวะผู้นำ
; มหาวิทยาลัยบูรพา–สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Classification : DDC 658
Description Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมองค์กร ภาวะผู้นำ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับ กลางชาวไทยในบริษัทข้ามชาติของสาธารณรัฐเกาหลีที่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออก ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารระดับกลางชาวไทยในองค์กรข้ามชาติสาธารณรัฐ เกาหลี จำนวน 229 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลาง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้1. การรับรู้ของผู้บริหารระดับกลางชาวไทยในบริษัทข้ามชาติของสาธารณรัฐเกาหลี เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร พบว่าวัฒนธรรมองค์กร เป็นค่านิยมการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนตัวมีคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ค่านิยมความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร และค่านิยมการนับถือผู้อาวุโส ตามลำดับ2.ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลาง พบว่าภาวะผู้นำแบบผู้คุมกฏ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ภาวะผู้นำแบบผู้ยอมความและภาวะผู้นำแบบผู้คุมงานตามลำดับ3.ภาวะผู้นำแบบผู้ คุมกฎมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กรในด้านค่านิยมการจ้างงานตลอดชีวิตและ ค่านิยมการทำงานหนัก (r=0.921,0.412) ตามลำดับ ภาวะผู้นำแบบผู้บุกงาน มีความสัมพันธ์กับค่านิยมการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนตัว (r=0.406) ภาวะผู้นำแบบผู้คุมงานมีความสัมพันธ์กับค่านิยมการนับถือผู้อาวุโส และ ค่านิยมความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร (r=0.901, 0.320) ตามลำดับ และภาวะผู้นำแบบผู้ยอมความมีความสัมพันธ์กับค่านิยมการยกย่องเพศชาย (r=0.864) อย่างมีนียสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Abstract:The purposes of this study were to determine the relationship between corporate culture and leadership styles of the Thai-middle-range mangers of the South Korean Multinational corporation in the Eastern region of Thailand. The sample used in this study consisted of 229 Thai middle-rang managers who in oversea South Korean companies in the Eastern region of Thailand. The instrument implemented in collecting the data was a set of five-level rating scale questionnaires. The data were analyzed using descriptive statistics and multiple regressions.The results revealed that the corporate culture of the Thai middle-range managers were described as following ; interpersonal relationship, sense of belonging and seniority, respectively. The leadership styles were described as following ; bureaucrat, compromiser and autocrat.Correlation showed the relationship between corporate culture and leadership styles as following; bureaucrat was related to long term employment and hard working (r=0.921, .412), benevolent autocrat was related to interpersonal relationship (r=0.406), autocrat was related to seniority and sense of belonging (r=0.901, 0.320) and compromiser was related to muscularity (r=0.864) with statistical significance (p<0.01)
Publisher มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด.
Address: ชลบุรี (Chonburi)
Email: library@buu.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Name: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
Role: กรรมการ
Date Created: 2547
Modified: 2550-01-22
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
ISBN: 9743835768
Source CallNumber: 658.4012 ร156
Language tha
Coverage ไทย (ภาคตะวันออก)
Thesis DegreeName: การจัดการมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Grantor: มหาวิทยาลัยบูรพา
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๕

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความคาดหวังของพนักงานต่อบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ : ศึกษากรณี พนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
Title Alternative Employees expectation of the roles to the executives human resource department of Krung Thai bank public limited company
Creator Name: มงคลรัตน์ จันทร์ศรี
Subject ThaSH ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) – – พนักงาน.
; การจัดการทรัพยากรมนุษย์.
; การบริหารงานบุคคล.
Classification : DDC 658
Description Abstract: การศึกษาเรื่องความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ : ศึกษากรณี พนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ แบบวัดผลครั้งเดียว จากพนักงานธนาคารกรุงไทย จำนวน 200 คน โดยมีวัตุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของพนักงาน ต่อบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ใน 4 ด้าน คือ การสรรหา/คัดเลือก การพัฒนา การรักษา และการใช้ประโยชน์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test หรือ One Way ANOVA Analysis) รวมถึงการวิเคราะห์ค่า LSD Testผลการศึกษา พบว่า พนักงานเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่มากกว่าสาขา มีอายุการทำงาน 10 ปีขึ้นไป และรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาทพนักงานมีความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ใน ภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีความคาดหวังมากที่สุดในด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ รองลงมาคือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือก และด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามลำดับผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปว่า อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวม ที่แตกต่งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ขณะที่ เพศ หน่วยงานที่สังกัด และอายุงาน ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด.
Address: ชลบุรี (Chonburi)
Email: library@buu.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2547
Issued: 2548-12-07
Modified: 2550-01-22
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 974-383-704-3
Source CallNumber: 658.3ม117ค
Language tha
Coverage ไทย
Thesis DegreeName: การจัดการมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Grantor: มหาวิทยาลัยบูรพา
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๖

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title การศึกษาความต้องการการฝึกอบรมของพนักงานระดับบริหาร กรณีศึกษาบริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)
Title Alternative Education needs of training executive case study : surapoon foods public company limited
Creator Name: กิตติกร บุญเพ็ชร
Subject ThaSH การบริหารการพัฒนา – – พนักงาน.
; การจัดการบุคคล.
; การฝึกอบรม.
Classification : DDC 658
Description Abstract: การศึกษาเรื่องความต้องการฝึกอบรมของพนักงานระดับบริหารเป็นการวิจัยเชิง สำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากพนักงาน จำนวน 100 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test, F-test การทดสอบค่า One Way ANOVA การทดสอบค่าความแตกต่าง Duncan ผลการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าชาย มีอายุระหว่าง 26-33 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป เป็นผู้บริหารระดับกลาง ประสบการณ์ทำงาน 4-6 ปี การวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรมของพนักงานระดับบริหารในทักษะ 3 ด้าน ด้านเทคนิควิธี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านทักษะความคิดรวบยอด โดยรวมอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.54) เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบความต้องการฝึกอบรมของพนักงานระดับบริหาร จัดลำดับคะแนนเฉลี่ยของความต้องการฝึกอบรมด้านความคิดรวบยอด มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.59) การทดสอบสมมติฐานสามารถสรุปได้ว่า ความต้องการการฝึกอบรมของพนักงานระดับบริหาร จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานระดับบริหารของบริษัท ฯ ในแต่ละด้านมีความต้องการการฝึกอบรมที่ไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด.
Address: ชลบุรี (Chonburi)
Email: library@buu.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2547
Issued: 2548-12-07
Modified: 2550-01-22
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 974-383-767-1
Source CallNumber: 658.3124ก673ก
Language tha
Thesis DegreeName: การจัดการมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Grantor: มหาวิทยาลัยบูรพา
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๗

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ภาวะผู้นำของหัวหน้างานที่ประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชา กรณีศึกษาองค์กรที่บริหารงานโดยผู้บริหารชาวสิงคโปร์แห่งหนึ่งในนิคม อุตสาหกรรมบางปะอิน
Title Alternative Leadership of superiors in subordinate’s point of view a case study of singaporean company in Bangpa-in industrial estate
Creator Name: อัญชุลี ชาญณรงค์
Subject ThaSH ภาวะผู้นำ – – การประเมิน.
; ภาวะผู้นำ.
; ผู้นำ.
; 658
Description Abstract: การวิจัยเรื่องภาวะผู้นำของหัวหน้างานทีประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นการ ศึกษาเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 68 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่า T-test ค่า F-test และ LSD-test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ผลกาวิจัยสรุปว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-30 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และพนักงานส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ร่วมงานกับหัวหน้างานต่ำกว่า 1 ปีผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของหัวหน้างาน พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ประเมินภาวะผู้นำของหัวหน้างาน โดยเห็นว่า หัวหน้างานส่วนใหญ่มีภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.15, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.06)มากทีสุด รองลงมามีภาวะผู้นำแบบเผด็จการในระดับปานกลาง(ค่าเฉลีย = 3.00, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.11) และมีรูปแบบภาวะผู้นำแบบตามสบายในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.62, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.17)น้อยที่สุดผลการทดสอบสมมติฐาน สามารถสรุปได้ว่า มีเพียงตัวแปรระดับการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของหัวหน้างานที่ ประเมิน โดยผู้ใต้บังคับบัญชาที่แตกต่างกัน โดยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนเพศ อายุ และระยะเวลาที่ร่วมงานกับหัวหน้างาน จากผลการทดสอบให้ผลต่อการประเมินภาวะผู้นำของหัวหน้างานไม่แตกต่างกัน
Publisher มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด.
Address: ชลบุรี (Chonburi)
Email: library@buu.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2547
Issued: 2548-12-15
Modified: 2550-01-22
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 974-383-766-3
Source CallNumber: 658.4092อ528ภ
Language tha
Thesis DegreeName: การจัดการมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Grantor: มหาวิทยาลัยบูรพา
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๘

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างองค์การกับความพึงพอใจในการทำงาน ของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน
Title Alternative The relationship of change program and job satisfactions : A case study of the head office employees of the siam commercial Bank public company limited
Creator Name: ปิยะวรรณ บุญประเสริฐ
Subject ThaSH ความพอใจในการทำงาน.
; พนักงานธนาคาร – – ความพอใจในการทำงาน.
; ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) – – พนักงาน.
Classification : UDC 658
Description Abstract: การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างองค์การกับความพึงพอ ใจในการทำงานของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากพนักงานธนาคาร จำนวน 344 ตัวอย่างผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56.4 และ ร้อยละ 43.6 ตามลำดัย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิเป็นร้อยละ 58.1 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 51.2 และมีระยะเวลาการทำงานกับธนาคาร 5-10 ปี สังกัดในหน่วยงานหลักมากกว่าหน่วยงานสนับสนุน คิดเป็นร้อยละ 79.9พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างองค์การใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.50, S.D. =.80) และความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.49, S.D. =.78) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าพนักงานมีความพึงพอใจด้านเพื่อนร่วมงานมากที่สุด (x = 3.92, S.D. =.77) โดยมีความพึงพอใจด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงานน้อยกว่าด้านอื่น (x = 3.10, S.D. =.84)ปัจจัยส่วนบุคคลทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการปรับปรุงโครงสร้างองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความพึงพอ ใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.72) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .48-.64)
Publisher มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด.
Address: ชลบุรี (Chonburi)
Email: library@buu.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2547
Issued: 2548-12-19
Modified: 2550-01-22
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 974-383-718-3
Source CallNumber: 658.314ป622ค
Language tha
Coverage ไทย (ภาคกลาง)
Thesis DegreeName: การจัดการมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Grantor: มหาวิทยาลัยบูรพา
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา

 

บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยลำดับที่ ๕๙

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ

Title ความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพของพนักงาน บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน)
Title Alternative The expentancy of the staffs for their promotion along the functional line at sirivatana interprint public Co., Ltd
Creator Name: อาจหาญ เทียมสุวรรณ
Subject ThaSH ความก้าวหน้าตามสายอาชีพ
Description Abstract:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบ เทียบความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพ เพื่อที่จะนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลต่อไป โดยจำแนกตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ตัวแปรต้น คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน หน่วยงาน และรายได้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในบริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) เลือกกลุ่มตัวอย่างบุคลากรจากหน่วยงานดังต่อไปนี้ วางแผนการผลิต เตรียมการพิมพ์ พิมพ์ หลังการพิมพ์ การตลาด และหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 311 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ากลางของคะแนน ค่าของความถี่ และตัวสถิติไคสแควร์ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตัวสถิติที ตัวสถิติเอฟและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพของพนักงานบริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพด้านการเลื่อนตำแหน่ง อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง และความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมาก โดยพนักงานที่มีเพศ, อายุ, ระดับการศึกษา และ ตำแหน่งงานแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพไม่แตกต่างกัน ในส่วนของพนักงานที่มีหน่วยงาน และรายได้ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อความก้าวหน้าตามสายอาชีพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01
Abstract: The purpose of this research were to study and to compare, the expectancy for promotion along the functional line in order to make use of the study result in establishing guidelines for human resource management. The variables used in the study were personal data consisting of sex, age, education, job position, type of organizations and income. The sample group was the staff working at Sirivatana Interprint Public Co., Ltd., selected from production planning department, marketing department and other supporting units totally 311 people. The data gathering tool is a questionnaire. The statistics used in analyzing the data were mean, frequency, Chi-square test. standard deviation, student’s T statistics, F statistics and Pearson Correlation Coefficient.The conclusion of the research found: high-level of expectancy of the staff for advancement along functional line at Sieivatana Interprint Public Co., Ltd., high-level of expectancy for promotion along the functioinal line, middle-level of expectancy for remuneration and welfare, high-level of expectancy for advancement in form of personal development along the functional line. Differences of sex, ages and educational levels. among the staff were found having no different level of expectancy for advancement among various rank of job positions. However, in case of the staff from different section and the staff of different income, the level of expectancy was found different with statistical significance level of .01
Publisher มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด.
Address: ชลบุรี (Chonburi)
Email: library@buu.ac.th
Contributor Name: อุทิส ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Name: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
Role: กรรมการ
Date Created: 2548
Issued: 2548-12-21
Modified: 2549-11-30
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 9745026166
Language thai
Thesis DegreeName: การจัดการมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Grantor: มหาวิทยาลัยบูรพา
Rights ©copyrights มหาวิทยาลัยบูรพา

 

Comments

comments